ขยะพลาสติกก็เปลี่ยนเป็นงานศิลปะได้ ชมผลงานที่น่าสนใจจากพลาสติกรีไซเคิลได้ที่งาน ‘คาโอ 60 ปี Saving Future Smiles’ มาพร้อมกับนวัตกรรมที่ใส่ใจโลก ใส่ใจคุณ

ในมุมมองของการรักษาสิ่งแวดล้อม ขยะพลาสติกมักถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายในการทำลายระบบต่างๆ ไปจนถึงความยั่งยืนของธรรมชาติ แต่หากได้ทำความเข้าใจเรื่องของขยะพลาสติก จะเห็นได้ว่าขยะเหล่านี้สามารถเปลี่ยนรูปแบบเพื่อสร้างคุณค่าและให้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ๆ ได้ เช่นการนำมารีไซเคิลในรูปแบบใหม่ อย่างการเปลี่ยนให้เป็นผลงานศิลปะดีไซน์สวยจากเหล่าศิลปินรุ่นใหม่ที่เล็งเห็นถึงการสร้างคุณค่าให้พลาสติกและตระหนักถึงการสร้างความรู้ในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีศิลปะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและส่งต่อความเข้าใจออกไปให้ผู้คนในสังคมได้รับรู้ด้วย เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ‘คาโอ’ จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้ให้กับคนในสังคม จากการดำเนินงานตามหลัก ESG (Environment, Society และ Governance) ที่แบรนด์ยึดถือมาโดยตลอด และพร้อมเดินหน้าสร้างความยั่งยืนทั้งการดำเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน ร่วมด้วยกับ 5 ศิลปิน ได้แก่ ‘Melt District’, ‘Benzilla’, ‘Shortbutveryverycute’ และ ‘Asazak’ ที่จะมาช่วยลดขยะพลาสติกด้วยการรีไซเคิลเปลี่ยนเป็นเครื่องใช้ที่มีดีไซน์ร่วมสมัย โดยทุกคนสามารถไปทำความเข้าใจพร้อมต่อยอดความรู้ และชมงานศิลปะจากขยะพลาสติกกันได้ในนิทรรศการ คาโอ ‘Saving Future Smiles’ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน – 5 ตุลาคมนี้ ที่สามย่านมิตรทาวน์ แต่หากใครอยากรู้เรื่องราวความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ คาโอ ก่อนจะไปชมงานนิทรรศการแบบเต็มๆ คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปดูกันว่า คาโอ ดำเนินงานตามหลัก ESG […]

จุดชมฉลาม ‘Pusaran Ocean Deck’ ระเบียงลอยน้ำสร้างจากไม้รีไซเคิล เป็นมิตรกับทั้งนักท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม

เมื่อธรรมชาติถูกใช้งานเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับความเสียหายทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจากการออกแบบพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสธรรมชาติด้วยตัวเอง ทางสตูดิโอออกแบบจากอินโดนีเซีย RAD+ar Studio ได้ทำโปรเจกต์ที่จะแสดงให้เห็นว่า การออกแบบที่เรียบง่ายและยั่งยืนก็สร้างความรู้และความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยวได้ เพื่อเป็นแนวทางการก่อสร้างที่ยั่งยืนในประเทศอินโดนีเซีย เริ่มต้นโครงการแรกกันที่ระเบียงลอยน้ำ ‘Pusaran Ocean Deck’ บนเกาะส่วนตัวในหมู่เกาะ Karimun Jawa เป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากความต้องการขยายจุดชมฉลามที่มีอยู่ให้เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว และมอบประสบการณ์ต่างๆ โดยยังคงไว้ซึ่งความยั่งยืนทางธรรมชาติด้วย แม้จะสร้างขึ้นบนฐานของสระชมฉลามที่มีอยู่แล้ว แต่ด้วยโครงสร้างที่เป็นการทดลองสร้างพื้นที่ที่ยั่งยืนในมหาสมุทร จึงต้องคำนึงถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ใต้น้ำด้วย โดยวัสดุที่นำมาใช้เป็นไม้ท้องถิ่นรีไซเคิลที่มีความทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าคอนกรีตที่คนมักนำมาใช้กัน โครงสร้างไม้นี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะหมุนวนจากพื้นระเบียง และขยายตัวออกไปในรูปแบบทแยงมุม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วนบังแดดและกันลมให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการ โดยเราสามารถเดินออกไปยังจุดกิจกรรมต่างๆ ได้ เพราะในพื้นที่ของ Pusaran นั้นนอกจากจะเป็นจุดชมวิวแล้ว ยังมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมหลากหลายระดับ เพื่อเป็นการลดการรบกวนสิ่งมีชีวิตในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นดำน้ำ กีฬาทางน้ำ อาบแดด หรือพื้นที่ละหมาดบนดาดฟ้า โดยเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับทั้งการศึกษา ความบันเทิง ไปพร้อมๆ กับการรักษาระบบนิเวศในท้องถิ่น ด้วยความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมกับระบบนิเวศปะการังธรรมชาติ Pusaran ยังมีการจัดพื้นที่สำหรับปะการังที่เพิ่งปลูกและกิจกรรมทางน้ำต่างๆ ให้อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ขัดขวางการเติบโตของเหล่าปะการังด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/yzfxe4njRAD+ar | tinyurl.com/3dm86hp5

นักวิจัยเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ที่รีไซเคิลปัสสาวะให้เป็นน้ำดื่ม ช่วยให้นักบินได้รับน้ำที่เพียงพอ

น้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย แต่ชุดอวกาศในปัจจุบันนั้นมีน้ำดื่มในตัวเพียง 1 ลิตรเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเดินทางในอวกาศเป็นเวลานาน แถมชุดที่ใส่ยังประกอบไปด้วยผ้าอ้อมหลายชั้น ที่อาจทำให้ไม่สบายตัวและเสี่ยงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ได้หาวิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยการเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ ‘Dune’ ซึ่งมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่จะช่วยรีไซเคิลปัสสาวะของนักบินให้กลายเป็นน้ำสะอาดที่นำมาดื่มได้ โดยทีมนักวิจัยได้ออกแบบชุดแบบใหม่และสร้างชุดชั้นในที่มีถ้วยสำหรับเก็บปัสสาวะ ก่อนจะส่งปัสสาวะนั้นไปยังระบบกรองที่เป็นอุปกรณ์หนัก 8 กิโลกรัมขนาดเท่ากล่องรองเท้า สามารถกรองน้ำปริมาณครึ่งลิตรได้ภายในเวลา 5 นาที โดยระบบการทำงานประกอบไปด้วยปั๊ม เซนเซอร์ และหน้าจอแสดงผล ซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 20.5 โวลต์ น้ำสะอาดที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วจะจัดเก็บไว้ในถุงและนำไปใส่ไว้ในชุดอวกาศ ช่วยให้นักบินอวกาศได้มีน้ำดื่มที่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันชุดนี้ยังเป็นต้นแบบที่ทดสอบในห้องแล็บอยู่ แต่จะเริ่มนำออกไปทดลองใส่กับมนุษย์ รวมไปถึงทดสอบขั้นตอนการเก็บปัสสาวะเพื่อรีไซเคิลเป็นน้ำดื่มภายในช่วงสิ้นปีนี้ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/bdntkwzkNew Scientist | tinyurl.com/yk4jvc9nScience News | tinyurl.com/du5ar8u4

‘Forest Crayons’ กระตุ้นการดูแลป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น ด้วยการผลิตสีเทียนธรรมชาติจากไม้รีไซเคิล

ปกติแล้ว ไม้มักจะถูกนำมาแปรรูปเป็นของใช้ต่างๆ ที่ยังคงลักษณะของไม้เอาไว้ แต่สตูดิโอออกแบบในญี่ปุ่นได้มองเห็นความพิเศษของไม้ในมุมที่แตกต่างออกไป ทำให้เราได้เห็นการรีไซเคิลออกมาในรูปแบบใหม่อย่างสีเทียน ‘Daniel Coppen’ และ ‘Saki Maruyama’ ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบ Playfool พบว่า พื้นที่สองในสามของประเทศญี่ปุ่นปกคลุมไปด้วยต้นไม้ที่ถูกปลูกขึ้นหลังช่วงสงครามกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติ จึงต้องคอยตัดและปลูกต้นไม้อยู่เป็นประจำ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ไม้ในประเทศนั้นก็ลดน้อยลง ทำให้การดูแลต้นไม้เหล่านี้ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างความเสี่ยงต่อภัยพิบัติปัญหาดินถล่มตามมาด้วย Playfool ได้คิดถึงวิธีการนำไม้เหล่านั้นมาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลรักษาป่าไม้ และทำให้คนรุ่นหลังเห็นถึงคุณค่าของป่าไม้ เกิดเป็น Forest Crayons สีเทียนจากไม้รีไซเคิล ที่นำมาใช้งานได้จริง และยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย สีเทียนนี้สกัดขึ้นจากเม็ดสีจากต้นไม้สายพันธุ์ต่างๆ เช่น ซีดาร์ ไซเปรส และแมกโนเลีย ผสมกับไม้ ขี้ผึ้งข้าว และน้ำมันข้าว จนได้ออกมาทั้งหมด 10 สี ที่ไม่ได้มีแค่โทนน้ำตาลอย่างสีไม้ที่เราคุ้นเคยกัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว สีของไม้ในธรรมชาตินั้นมีหลากหลายเฉด ไม่ว่าจะเป็นสีเขียวอ่อนของต้นแมกโนเลีย ไปจนถึงสีเขียวอมฟ้าเข้มของไม้ที่ย้อมเชื้อรา โดยเฉดสีต่างๆ นอกจากจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ไม้แต่ละชนิดแล้ว ก็ยังเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้เหล่านั้นเติบโต มากไปกว่านั้น Forest Crayons ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยป่าไม้ของญี่ปุ่นอีกด้วย […]

Heineken ลดขยะจากขวดเบียร์ด้วยการดัดแปลงเป็นของแต่งบ้านและเครื่องประดับที่สวมใส่ได้

การเฉลิมฉลองในแต่ละครั้ง แน่นอนว่า ‘ขวดแก้ว’ จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักจะเป็นขยะที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก แบรนด์เครื่องดื่มอย่าง Heineken ที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นขวดแก้วจึงเล็งเห็นปัญหาจากการสร้างขยะนี้ Heineken South Africa เปิดตัวโครงการ Fields Green With Grass, Not Glass ที่ตั้งใจจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนและปรับปรุงพื้นที่เมืองให้สวยงามด้วยการใช้ขวดแบบคืนได้ และสร้าง Green Zone พื้นที่สีเขียวให้กับเมืองต่างๆ สำหรับแคมเปญล่าสุดมีชื่อว่า ‘Waste to Wear’ ที่รีไซเคิลขวดแก้วให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง จากการรวบรวมขวดจากแหล่งต่างๆ มาทำเป็นสินค้าชิ้นใหม่ ด้วยความช่วยเหลือของเอเจนซีโฆษณา Sonic State และการร่วมมือกับ Matthew Edwards และ Deji Dada นักออกแบบท้องถิ่น ในการผลิตแหวนกว่า 3,000 วง เหรียญรางวัล ชุดอาหารค่ำ รวมไปถึงโคมไฟแขวนที่นำมาใช้งานภายในบ้านได้ โดยของตกแต่งทุกชิ้นล้วนแล้วแต่มีรอยประทับที่แสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่ใส่ใจและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/42wy5mhxFamous Campaigns | tinyurl.com/y2zz7yvyHeineken | tinyurl.com/2sazmbw6

ไม่ต้องเป็นพ่อมดแม่มดก็หายตัวได้ด้วย ‘โล่ล่องหน’ พกพาง่าย ช่วยซ่อนตัวจากสังคมได้ทันที

ครั้งหนึ่งเราอาจเคยอยากมีผ้าคลุมล่องหนของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ไอเทมที่เอาไว้ซ่อนตัวจากสถานการณ์ยุ่งยากหรือความวุ่นวายของสังคมที่เราอยากหลบหนี แต่ไม่ต้องเข้าไปถึงโลกแห่งเวทมนตร์เราก็หายตัวได้แล้วด้วย ‘โล่ล่องหน’ สินค้าของบริษัท Invisibility Shield Co. จากสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นโล่รุ่นที่สองหลังจากเปิดตัวรุ่นแรกในปี 2022 ที่ผ่านมา โล่ล่องหนนี้ทำขึ้นจากแผ่นโพลีคาร์บอเนตคุณภาพสูง มีส่วนประกอบของอาร์เรย์เลนส์ ที่ช่วยซ่อนคนด้านหลังโล่ด้วยการเปลี่ยนเส้นทางแสงที่สะท้อนออกมา และสะท้อนภาพของพื้นหลังจากด้านใดด้านหนึ่งของโล่ออกมาแทน ทำให้คนที่ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกันนั้นมองไม่เห็นคนหรือวัตถุด้านหลังโล่แม้แต่น้อย โล่รุ่นใหม่นี้มีให้เลือกถึงสามขนาดตั้งแต่ 8 นิ้ว หรือประมาณ 20 เซนติเมตร ไปจนถึง 6 ฟุต หรือประมาณ 180 เซนติเมตร ที่สามารถบดบังตัวคนที่ยืนอยู่ด้านหลังโล่ได้อย่างแนบเนียน นอกจากนี้ โล่ทุกขนาดยังกันน้ำได้ แถมยังทำขึ้นจากวัสดุรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย อินโทรเวิร์ตคนไหนที่อยากซ่อนตัวจากสังคม แต่ก็ยังอยากเดินทางไปที่นั่นที่นี่ แค่พกพาเจ้าโล่นี้ติดตัวไปด้วย แค่ม้วนมันใส่กระบอกและสะพายขึ้นหลังได้ทันที โล่ล่องหนรุ่นสองสั่งซื้อแบบพรีออเดอร์ได้ทาง Kickstarter โดยราคาเริ่มต้นที่ 69 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2,530 บาท Sources :Designboom | tinyurl.com/2erz2jcrDesignTAXI | tinyurl.com/j57uarxyKickstarter | […]

รู้จัก ‘Recou’ แกลบรีไซเคิล ทำหน้าที่แทนโฟมกันกระแทก แต่ไม่ทำให้สินค้าและโลกเสียหาย

ปกติเวลาที่เราสั่งเฟอร์นิเจอร์หรือสินค้าต่างๆ มาส่งที่บ้าน นอกจากตัวสินค้าแล้ว ภายในกล่องก็มักมาพร้อมกับโฟมกันกระแทก เพื่อป้องกันความเสียหายในระหว่างขนส่งพัสดุ ข้อดีคือช่วยป้องกันของให้อยู่ในสภาพดีจนถึงมือผู้สั่ง แต่ข้อเสียคือวัสดุเหล่านี้อาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าไรนัก เพราะมักถูกทิ้งไปเนื่องจากไม่ได้นำไปใช้งานในลักษณะอื่นๆ อีก บริษัท Proservation ในเยอรมนี ได้หาวิธีในการใช้วัสดุอื่นๆ แทนการใช้โฟม เพื่อลดขยะและไม่สร้างมลพิษต่อโลก ซึ่งวัสดุที่บริษัทเลือกใช้นั้นคือแกลบจากพืช โดยปกติแล้ว เมื่อเก็บเกี่ยวเมล็ดพืช แกลบเหล่านี้มักถูกคัดออกเพื่อนำไปทำเป็นที่นอนสัตว์ หรือไม่ก็นำไปเผาทิ้ง Proservation จึงนำเอาแกลบเหล่านี้ไปรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์ด้วยการเปลี่ยนให้เป็น ‘Recou’ วัสดุที่มีความอ่อนนุ่มและทนทานต่อแรงกระแทกเช่นเดียวกับโฟม แต่สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักหรือทิ้งได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเมื่อไม่ได้ใช้งานแล้ว Proservation ตั้งใจทำให้ Recou ใช้งานทดแทนโฟมจำนวนมากในปัจจุบันได้ แต่อย่างไรก็ตาม Recou ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งระยะการผลิตที่ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่า 6 – 8 ชั่วโมงต่อชิ้น น้ำหนักที่มากกว่าโฟม และถึงแม้ว่า Recou จะมีการออกแบบให้ทนทานต่อความชื้น แต่หากโดนความชื้นสูงในระยะเวลานานก็อาจทำให้เกิดกระบวนการย่อยสลาย มีเชื้อรา และไม่สามารถใช้งานต่อได้ Sources :Proservation | proservation.eu/enYanko Design | tinyurl.com/mpwct2jt

‘ทีทีบี’ กับการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน ผ่านปรัชญา ‘Make REAL Change เปลี่ยน… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’ มุ่งสร้างตามกรอบ B+ESG

ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนมากขึ้น แนวคิดในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องเปลี่ยนผ่านสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ หรือ ‘ทีทีบี’ ที่ใส่ใจประเด็นนี้มาอย่างยาวนาน ได้ตอกย้ำในการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนผ่านกรอบแนวคิด ‘B+ESG’ ที่ผสมผสาน B (Business) เข้ากับ ESG (Environment, Social และ Governance) เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าของธนาคารดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง นอกจากกลยุทธ์ B+ESG แล้ว ทีทีบียังทำงานภายใต้ปรัชญา ‘Make REAL Change เปลี่ยน… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’ ล่าสุดได้สร้างสรรค์นำวัสดุรีไซเคิลมาต่อยอดผลิตของที่ระลึก เพื่อส่งมอบความสุขให้กับลูกค้า โดยเน้นที่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยังใช้งานได้จริง รวมไปถึงสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งสังคมและโลกของเราน่าอยู่มากกว่าเดิม ประชากรมากขึ้นทำให้ขยะกลายเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวมากขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะมีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอยู่ตลอด แต่ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ยังคงทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกเป็นทางเลือกเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต จนเกิดปัญหาตามมา คือขยะพลาสติก ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งในการทำลายสิ่งแวดล้อมของเรา ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษเปิดเผยว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณขยะทั้งหมด หรือมีประมาณ 12 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้มีประมาณ 0.5 […]

โปรเจกต์ ‘Guilty Flavours’ ไอศกรีมจากพลาสติกรีไซเคิล ทางเลือกการกำจัดขยะในอนาคต

ดูเหมือนว่าขยะพลาสติกจะเป็นปัญหาที่ยังหาทางแก้ไม่ได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะมีกระบวนการรีไซเคิลที่ช่วยลดขยะพลาสติกได้ แต่งานรีไซเคิลในปัจจุบันก็มักเข้าสู่กระบวนการออกแบบขึ้นมาใหม่พร้อมกับเรซินหรือวัสดุอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อีกครั้ง จากปัญหานี้ทำให้ ‘Eleonora Ortolani’ นักศึกษาปริญญาโทจาก Central Saint Martins ได้แรงบันดาลใจในการทำโปรเจกต์ปีสุดท้ายของเธอ เนื่องจากมองว่าการรีไซเคิลอาจไม่ได้เป็นวิธีการแก้ปัญหาพลาสติกที่แท้จริง เธอจึงตั้งข้อสงสัยว่า มีวิธีไหนที่ทำให้คนกำจัดพลาสติกได้อย่างสมบูรณ์ด้วยการ ‘กิน’ ได้บ้าง หลังจากคิดค้นมานาน ในที่สุดก็เกิดเป็นโปรเจกต์ ‘Guilty Flavours’ ซึ่งเธอได้ ‘Hamid Ghoddusi’ หัวหน้าหลักสูตรวิทยาศาสตร์การอาหารแห่งมหาวิทยาลัย London Metropolitan และ ‘Joanna Sadler’ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Edinburgh ที่ใช้แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสังเคราะห์ ‘วานิลลิน’ จากพลาสติกมาร่วมงานด้วยกัน วานิลลินคือสารให้กลิ่นสังเคราะห์คล้ายกลิ่นวานิลลาที่เป็นทางเลือกที่ราคาถูกกว่าวานิลลาธรรมชาติ และมักผลิตจากน้ำมันดิบที่มีต้นกำเนิดจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นเดียวกับพลาสติก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เลือกโมเลกุลของสารชนิดนี้มาใช้ในการทดลอง ในการทดลองนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ออกแบบเอนไซม์ที่สามารถสลายพันธะที่แข็งแกร่งระหว่างโมเลกุลในโครงสร้างของพลาสติก เพื่อให้เอนไซม์อีกตัวสังเคราะห์โมเลกุลที่ไม่เชื่อมโยงเหล่านี้ให้เป็นวานิลลิน Ortolani อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อเอนไซม์ตัวแรกทำลายโครงสร้างลง มันจะไม่เป็นพลาสติกอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครที่ได้ลองชิมสารชนิดนี้ เพราะถือเป็นสารสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นใหม่ และนักวิทยาศาสตร์จะไม่อนุญาตให้ชิมจนกว่าจะมั่นใจว่ามีความปลอดภัยต่อร่างกายจริงๆ ตอนนี้ Guilty Flavours เป็นไอศกรีมที่แช่อยู่ในตู้เย็น และแสดงอยู่ในนิทรรศการ CSM […]

‘CATUP’ สตาร์ทอัพที่อยากช่วยลดขยะบนโลก ด้วยการรีไซเคิลพลาสติกให้เป็นโดมแมวและปากกา

ปัจจุบันนี้ผู้คนตระหนักถึงภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น จึงหันมาใส่ใจกับการแยกขยะเพื่อความสะดวกต่อการคัดแยกและเข้าสู่กระบวนการทำลายอย่างถูกวิธี ซึ่งบางคนอาจเลือกเก็บขยะพลาสติกไว้ขาย แต่ถ้าใครที่ไม่รู้ว่าจะส่งต่อให้ใครและจะนำไปทำอะไรได้บ้าง Urban Creature ขอแนะนำให้รู้จักกับสตาร์ทอัพ ‘CATUP อัพไซเคิลแบบแมวๆ’ ที่เกิดขึ้นโดย ‘นคร แขฉายแสง’ วิศวกรผู้อยากเปลี่ยนขยะให้เป็นของที่มีคุณค่ามากขึ้น นครบอกกับเราว่า จุดเริ่มต้นของ CATUP อัพไซเคิลแบบแมวๆ นี้เกิดจากความชอบในงานประดิษฐ์ บวกกับตัวเขาสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรักษ์โลกอยู่แล้ว และเป็นช่วงว่างหลังจากที่เพิ่งออกจากงานพอดี ทำให้เขาอยากสร้างสรรค์สินค้าที่มาจากกระบวนการจัดการขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติก แรกเริ่มนั้นเขาซื้อฝาพลาสติกบางส่วนจาก ‘Precious Plastic Bangkok’ องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มีการรับบริจาคขยะรีไซเคิล และแบ่งซื้อฝาขวดน้ำบางส่วนจากโรงงานรีไซเคิล เพื่อนำมาเป็นวัสดุในการผลิตสินค้า โดยสินค้าจากขยะพลาสติกของ CATUP มีทั้งหมดสองประเภท คือ โดมแมวและปากกา นครอธิบายต่ออีกว่า ทีแรกเขาตั้งใจจะทำเพียงโดมแมวเท่านั้น แต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม จึงขยายไปสู่การผลิตปากกาจากฝาขวดน้ำเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง “กระบวนการผลิตสินค้าทั้งสองอย่างนั้น ทาง CATUP ทำขึ้นเองทั้งหมดทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการแยกสีฝาขวดน้ำ ทำความสะอาด ย่อยขยะ หรือแม้แต่การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ด้วยความที่เป็นวิศวกรมาก่อน เราก็ประดิษฐ์เครื่องจักรและทำแม่พิมพ์สำหรับสินค้าทั้งสองอย่างนี้ด้วยตัวเอง “ทาง CATUP ยังมองถึงการผลิตสิ่งของที่ต้องใช้ขยะปริมาณมากๆ ด้วย เพราะปากกาหนึ่งแท่งที่เราทำนั้นมาจากฝาขวดน้ำเพียงเจ็ดฝา ส่วนโดมแมวหนึ่งหลังใช้ขยะพลาสติกที่เป็นขวดน้ำยาซักผ้าปริมาณห้าลิตรเพียงสองขวดเท่านั้น ทำให้เราอาจยังกำจัดขยะไปได้ไม่มากนัก” […]

‘Recycoex’ แพลตฟอร์มออนไลน์ไทย สำหรับซื้อขายและเข้ารับขยะรีไซเคิล หมดปัญหาแยกขยะแล้วไปไหน

หลายครอบครัวอาจกำลังประสบปัญหา ‘การสะสมขยะที่รีไซเคิลได้’ เพื่อนำไปขายต่อ หรือถ้าจะให้ขนขยะออกไปขายด้วยตัวเอง หลายคนก็อาจไม่รู้แหล่งที่ขยะของเราจะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างถูกต้อง วันนี้เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก ‘Recycoex’ แพลตฟอร์มที่จะมารับขยะถึงที่และนำขยะเหล่านี้ไปแปลงโฉมใหม่อีกครั้ง Recycoex เป็นแพลตฟอร์มของไทยสำหรับรับซื้อและขายขยะรีไซเคิล โดยขยะรีไซเคิลที่รับซื้อมีทั้งหมด 9 ประเภท คือ ขวดน้ำ PET, กระป๋อง, พลาสติกยืด/อ่อน, กล่องเครื่องดื่ม/แก้วกระดาษ, ถุงขนม/ซองกาแฟ, ขวดแก้ว, พลาสติก HDPE, กระดาษ และเสื้อผ้า รองเท้า ของเล่นต่างๆ ก่อนหน้านี้ กรรมการของบริษัท Recycoex เป็นสถาปนิกที่ทำธุรกิจก่อสร้างที่ผลิตและจำหน่ายไม้เทียม ซึ่งไม้เทียมนี้ส่วนหนึ่งทำมาจากพลาสติก HDPE โดยเป็นการอัปไซเคิลจากขยะรีไซเคิล จึงมีแนวความคิดที่จะรวบรวมขยะรีไซเคิลอย่างไรให้ได้มากที่สุด จึงเกิดเป็น Recycoex สำหรับซื้อขายขยะรีไซเคิลขึ้นมา โดย Recycoex ตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยจัดการขยะในประเทศไทยผ่านแพลตฟอร์มนี้ เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้ประโยชน์และเส้นทางของขยะทุกประเภท เพราะก่อนหน้านี้ ขยะประเภทพลาสติกยืด กล่องนม ถุงขนม เป็นขยะกำพร้าที่รถซาเล้งไม่ค่อยรับซื้อ หรือเป็นขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ แต่ทาง Recycoex เลือกที่จะรับซื้อขยะกำพร้าเหล่านี้โดยเฉพาะกล่องนม ก่อนจะนำไปทำเป็นอิฐบล็อกในขั้นตอนต่อๆ ไป เพื่อนำขยะเหล่านั้นกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง สำหรับการทำงานของแพลตฟอร์มนี้ […]

ที่พักชั่วคราวของผู้ลี้ภัยและคนไร้บ้าน Maawa X บ้านกระดาษแข็งพับง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก และรีไซเคิลได้

ที่พักอาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญกับชีวิต หากใครไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง การมีเต็นท์สักหลังที่สามารถใช้หลับนอนและพกพาไปไหนก็ได้ก็คงจะเพียงพอ แต่เต็นท์ก็อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมาก อาจทำให้เคลื่อนย้ายลำบาก รวมไปถึงขั้นตอนการประกอบที่ยุ่งยากจนอาจทำให้เสียเวลา ‘Maawa’ บริษัทสตาร์ทอัปจากสหราชอาณาจักร จึงได้ออกแบบและผลิต ‘Maawa X’ บ้านป็อปอัปที่สามารถพับเก็บใส่กระเป๋าเดินทางและพกพาไปได้ทุกที่ด้วยน้ำหนักเพียง 13.6 กิโลกรัม สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน สถานการณ์ผู้ลี้ภัย หรือแม้แต่ค่ายของกลุ่มคนไร้บ้านที่ต้องการที่อยู่อาศัยที่แข็งแรง  ตัวบ้านกระดาษสามารถกางออกและใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมในการช่วยประกอบ เมื่อกางออกมาแล้ว บ้านจะมีขนาดใหญ่มากพอที่จะให้ผู้ใหญ่เข้าไปนอนได้ 1 – 2 คน ส่วนวัสดุทำขึ้นจากกระดาษแข็งที่กันน้ำได้ ทำให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเต็นท์ เพราะย่อยสลายทางชีวภาพหรือนำไปรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ บ้านกระดาษยังรองรับพลังงานแสงอาทิตย์ ภายในบ้านจึงมีแผงควบคุมอัจฉริยะที่ควบคุมพื้นที่ต่างๆ ของบ้าน และช่วยให้องค์กรต่างๆ ติดตามการใช้งานในสถานที่ของผู้ลี้ภัยได้ด้วย  ปัจจุบัน Maawa X ยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการจดสิทธิบัตร โดย Maawa ตั้งเป้าไว้ว่า บ้านป็อปอัปนี้จะเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวสำหรับบรรดาผู้ลี้ภัยและกลุ่มคนไร้บ้านในพื้นที่ต่างๆ ได้ Sources :DesignTAXI | bit.ly/3LPcWYhMaawa | maawa.coYanko Design | bit.ly/42BEMx5

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.