Age Difference and Love รักต่างวัย อายุห่างไกลแต่ใจใกล้กัน

รักต่างวัยจะไปกันรอดไหม ? ต้องอายุห่างกันขนาดไหน ทุกคนถึงยอมรับ ? ระยะห่างของอายุมีความสำคัญต่อชีวิตคู่มากหรือเปล่า ? ถ้าเสิร์ชข้อมูลเกี่ยวกับ ‘ความรักต่างวัย’ ในอินเทอร์เน็ต มักจะต้องมีคำถามที่เราพูดถึงข้างต้นโผล่ขึ้นมาเสมอ ความหมายที่แฝงไปด้วยความกังวล และไม่มั่นใจในระยะห่างของตัวเลข หากย้อนไปในสมัยก่อนรุ่นพ่อแม่ ความสัมพันธ์รูปแบบนี้อาจจะเป็นที่พูดถึงในสังคมด้วยภาพลักษณ์ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ จนเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ที่ดูเหมือนจะเปิดกว้างกับรูปแบบความรักมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเปิดใจทุกคนเสมอไป แต่ความรักต่างวัย ก็ถือว่าเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ดีอย่างหนึ่ง เราจึงอยากเผยมุมมองความรักเกี่ยวกับ ‘ระยะห่างของวัย’ ให้ทุกคนได้เข้าใจกันมากขึ้น และบอกเล่าให้ฟังถึงความสุขของความสัมพันธ์รูปแบบนี้ | ‘รักต่างวัย’ ความสัมพันธ์ระยะห่างด้วย ‘ตัวเลข’ ในสมัยนี้ เป็นเรื่องปกติที่ผู้ชายจะมีแฟนที่อายุมากกว่าตน หรือผู้หญิงบางคนก็มีสามีวัยเท่าพ่อ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องแปลกเหมือนสมัยก่อน สาเหตุที่มีความรักต่างวัย คงจะเป็นเหมือน ความสัมพันธ์ที่ ‘ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย’ นั่นหมายถึงทั้งคู่ต่างเติมเต็มส่วนที่ขาดให้เข้ากันอย่างลงตัว เช่น ชายสูงวัยจะชอบสาวรุ่นเด็ก เพราะทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย และเหมือนย้อนกลับไปสู่วัยหนุ่มอีกครั้ง ส่วนในมุมของผู้หญิงที่รักผู้ชายที่มีอายุ อาจเป็นเพราะต้องการความเป็นผู้ใหญ่ มั่นคง รู้สึกวางใจที่จะพึ่งพิงได้ ถึงแม้ผลสำรวจจากนักวิจัย Emory University ในรัฐ Atlanta จะกล่าวว่า คู่รักที่ห่างกันแค่ปีเดียว มีโอกาสหย่าร้างกันน้อยสุดถึง 3% ถ้าห่างกันประมาณ […]

ไขความลับ ‘ห้องเสื้อบรอดเวย์’ ร้านสูทเก่าแก่ หนึ่งในผู้ตัดชุดทหารรักษาพระองค์ในงานพระราชพิธี


ฝีมือช่างที่บรรจงเย็บลงบนผ้ากว่าจะออกมาเป็นสูทหนึ่งตัวนั้น ต้องผ่านกระบวนการสุดปราณีตที่ต้องใช้ความชำนาญและผ่านการฝึกฝน อาชีพช่างตัดเสื้อที่มีความเฉพาะตัวของครอบครัว “หอมศิลป์กุล” เริ่มต้นจากรุ่นทวดที่อาศัยครูพักลักจำและก้าวขึ้นมาเป็นช่าง ถ่ายทอดความพิถีพิถันกันมารุ่นสู่รุ่นจนเกิดเป็น “ห้องเสื้อบรอดเวย์” บนถนนตรีทองแถวโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง กลายเป็นตำนานห้องเสื้อที่เฟื่องฟูในยุคนั้น เมื่อผ่านกาลเวลาจึงเปลี่ยนทำเลที่ตั้งมาเป็นห้องเสื้อปัจจุบันบนถนนเพรชบุรี เรามีโอกาสได้ฟังเรื่องราวอันมีเสน่ห์ ผ่านคำบอกเล่าของ “คุณภูมินทร์ หอมศิลป์กุล” เจ้าของห้องเสื้อรุ่นที่ 2 โดยมีทายาทอย่าง “คุณป่าน-ภาวันต์ หอมศิลป์กุล” และ “คุณแพร-สิริชนา หอมศิลป์กุล” มารับช่วงต่อธุรกิจที่ถือเป็นมรดกของครอบครัว  | สายใยครอบครัวสู่เส้นทางธุรกิจ จริงๆ แล้วอาชีพช่างโดยเฉพาะช่างตัดเสื้อสำหรับบ้านเราเนี่ย ไม่มีการสอนอย่างเป็นรูปแบบ ไม่มีตำรา หรือวิธีการทำ ซึ่งในสมัยก่อนต่างประเทศเขามีอยู่แล้ว แต่คนที่ประกอบอาชีพนี้ในบ้านเรา ส่วนใหญ่จะเรียนรู้จากครูพักลักจำ และประสบการณ์ชีวิตของตัวเอง วิธีการสอนก็เลยเป็นวิธีถ่ายทอดจากประสบการณ์ ผมเองก็ได้รับการถ่ายทอดจากคุณพ่อเหมือนกัน สำหรับคุณพ่อผมถือว่าท่านเป็นคนที่เก่งมาก เรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ด้วยตัวเอง ต่อสู้มาตั้งแต่สมัยเป็น ‘เด็กตึ๊ง’ หรือที่เข้าใจง่ายๆ ก็เด็กฝึกงานนั่นแหละ คอยรับใช้อาจารย์ไปซื้อข้าว ไปซื้อน้ำ ไปส่งของ ในเวลาเดียวกันก็เรียนรู้จากอาจารย์ จดจำรายละเอียด แล้วก็ไปฝึกเองตอนเลิกงาน เก็บกระดาษหนังสือพิมพ์เก่าๆ เอามาฝึกสร้างแพทเทิร์น จนชำนาญก็ออกมาเป็นช่างเอง แล้วก็มาถึงช่วงรอยต่อระหว่างผมกับคุณพ่อ ซึ่งผมเองก็ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกเดินทางนี้ต่อจากท่าน แต่ว่าผมก็ทำไม่ได้ […]

ศิลปินชาวออสซี่ ‘Jack Irvine’ อดีตเด็กมือบอน เบื้องหลังปกอัลบั้มวง Skegss

‘เด็กมือบอน’ คำสบประมาทในวัยเด็กผลักดันให้เขาเป็นศิลปิน เบื้องหลังงานปกอัลบั้มของ ‘Skeggss’ วงร็อกขวัญใจวัยรุ่นชาวออสซี่ที่มีฐานแฟนเพลงทั่วโลก

วิชาค้นหาตัวตนของ ‘พลอย พลอยไพลิน’ เพื่อตอบคำถาม ‘เรียนจบแล้วทำไรต่อ?’

คลิปวิดีโอ ’39 วัน 8 ประเทศ ทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย’ คงผ่านตาใครหลายคนอยู่หลายครั้ง และทำให้ตัดสินใจกดติดตามเพจ ‘พลอยเรียนจบแล้วทำไรต่อ ?’ ของ ‘พลอย – พลอยไพลิน ตั้งประภาพร’ สาวน้อยตาโตวัย 22 ปีที่อาจรู้จักเธอในบทบาทของนักแสดง แต่อีกมุมหนึ่ง พลอยยังคงเป็นเพียงเด็กจบใหม่ ที่สับสนกับชีวิตหลังเรียนจบว่าจะเดินไปทางไหนดี

A bond of Love : เมื่อความผูกพันซื้อความรักส์ไม่ได้

เมื่อเราโตขึ้นเป็นธรรมดาที่จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนทางพฤติกรรมภายนอกที่สังเกตเห็นได้ด้วยตา หรือการเปลี่ยนแปลงภายในที่ต้องใช้ใจสัมผัส หรือแม้กระทั่งฮอร์โมนสารสื่อประสาท ไปจนถึงการทำงานของเซลล์สมอง ล่วงเลยมาจนถึงห้วงเวลาสำคัญ มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการมีความรัก เมื่อใครสักคนเริ่มก้าวเข้ามาในชีวิต หลายครั้งที่ความผูกพันถูกพัฒนากลายเป็นความรัก แต่กับบางคนมันอาจไม่ใช่อย่างที่เราคิด จนทำให้บางครั้งเราสับสันและไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ และตัวตนของเขาหรือเธอคนนั้นเลย หรือจริงๆ แล้วความรักอาจไม่ใช่แค่เรื่องของหัวใจ แต่มันสามารถเข้าใจได้ด้วยหลักจิตวิทยา Attachment Theory | ทฤษฎีความผูกพัน ทฤษฎีความผูกพัน หรือ ทฤษฎีความผูกพันทางอารมณ์ (Attachment theory) เป็นหนึ่งในแบบจำลองทางจิตวิทยา ที่อธิบายถึงความเป็นไปของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ที่โดยพื้นฐานแล้วเด็กทุกคนเมื่อเกิดมามักจะมีความผูกพันกับผู้ที่ให้กำเนิดหรือผู้ที่เลี้ยงดู แต่ลักษณะของความสัมพันธ์ของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป โดยนักจิตวิทยา ‘จอห์น โบลบี (John Bowlby)’ ผู้สร้างทฤษฎีความผูกพัน ได้กล่าวเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า พฤติกรรมความรู้สึกผูกพันที่เกิดขึ้นนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกระบวนการ ‘คัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural selection)’ และ ‘การปรับตัวที่สมดุลตามสภาพแวดล้อม (Adaptive value)’ ซึ่งหลักการเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้เด็กมีโอกาสอยู่รอดในสภาวะสังคมได้มากกว่า เพราะมีพ่อแม่และครอบครัวอยู่ใกล้เพื่อให้การปกป้องเลี้ยงดู โดยหลักสำคัญที่สุดของทฤษฎีนี้คือ เด็กจะสร้างความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงเปรียบเสมือน ‘เสาหลัก’ ในชีวิต อย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งกลายเป็นทฤษฎีหลักที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อศึกษาพฤติกรรมของทารกและเด็กในด้านต่างๆ ทั้งยังขยายไปถึงความสัมพันธ์ในแบบคู่รักด้วยนะ หลายคนอาจสงสัยว่าคนนี้ที่กำลังคุยๆ กันอยู่ […]

ยิ่งสูงยิ่งไกล การให้ยิ่งสำคัญ “ครูอาสาบนดอยสูง”

หลายคนตั้งเป้าหมายในชีวิตเอาไว้หลายอย่าง อยากได้อาชีพที่ทำงานสบายๆ อาชีพที่เงินเดือนสูงๆ อาชีพที่ทำแล้วมีหน้าตาในสังคม แล้วถ้าคุณเลือกได้อาชีพในฝันของคุณล่ะคืออะไร คงเป็นคำถามที่ตอบยากอยู่เหมือนกันใช่ไหมล่ะ แต่กับชายหนุ่มคนหนึ่งในอาชีพของเขาคือการเป็นอาสาสมัครอาสาสมัครในชนบทห่างไกลเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ชาวดอยให้ชีวิตที่ดีขึ้นโดยเขาได้รับแรงกดดันจากการรับชมรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราวของ ‘คุณครูจันทร์แรม ศิริคำฟู’ ครูบนดอยในพื้นที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ที่อุทิศชีวิตให้กับนักเรียนและชาวเขาที่ไม่รู้หนังสือทั้งที่เธอจบเพียงป. 4 จนทำให้ ‘คุณต้อม’ ชายหนุ่มจากเมืองกรุง ผู้ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ให้กับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งได้ค้นพบเส้นทางชีวิตของตัวเอง และได้ลองสมัครเข้าร่วมโครงการครูบ้านนอก ของมูลนิธิกระจกเงา เพื่อเป็นอาสาสมัครไปสอนเด็กๆ ตามต่างจังหวัดในเวลาว่างจากงานประจำ เพื่อท้าทายตัวเองว่า หากลองทำตามฝันแล้วจะทำได้ไหม ? ทำแล้วจะมีความสุขหรือเปล่า ? และเขาก็ค้นพบว่า นี่คืออาชีพและสิ่งที่เขาใฝ่ฝันจะทำจริงๆ ซึ่งในเวลาต่อมามีรายการโทรทัศน์รายการ ‘โรงเรียนของหนู’ ได้เปิดรับสมัครครูอาสา เพื่อไปสอนหนังสือยังโรงเรียนชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ คุณต้อมจึงไม่รอช้าที่จะยื่นใบสมัครแล้วก็ได้รับการคัดเลือก ทำให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้กลายเป็นอาชีพถาวรจากเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์กลายเป็น ‘ครูต้อม’ ครูอาสานับแต่นั้นมา จากประสบการณ์แรมปีในการไปสอนในครั้งนั้น ทำให้ครูต้อมมองเห็นว่า “เด็กๆ ในพื้นที่บนดอยสูงยังต้องการโอกาส และความช่วยเหลือด้านการศึกษาอยู่อีกมาก” โดยเฉพาะในพื้นที่ที่สูงและห่างไกลอย่างบ้านแม่ฮองกลาง และหมู่บ้านอื่นๆ ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ครูต๋อยได้มีโอกาสเดินทางไปช่วยเหลือในครั้งหนึ่งด้วย ซึ่งลักษณะของพื้นที่แห่งนี้ไร้ซึ่งการเข้าถึงของไฟฟ้า ถนนก็เป็นดินโคลนจากลูกรัง เมื่อถึงหน้าฝนรถยนต์ก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ ไปได้ก็แต่เพียงหน้าแล้งเท่านั้น จึงทำให้การลงมาศึกษาหาความรู้ยังตัวอำเภอ ที่มีทรัพยากรความรู้พร้อมมากกว่านั้นค่อนข้างลำบาก และด้วยเหตุผลเหล่านี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ครูต้อมและเพื่อนอีก 3 คนก่อตั้งโครงการ […]

ไขความลับ “ดอกทานตะวัน” ของ ‘แวน โก๊ะ’

เราเชื่อว่า หลายคนเคยเห็นภาพเซ็ท “Sunflowers” หรือ “ดอกทานตะวัน” ผลงานของ ‘วินเซนต์ แวน โก๊ะ’ (Vincent van Gogh) จิตรกรชาวดัชต์ สายอิมเพรสชันนิสต์ระดับตำนาน ที่อุทิศทั้งชีวิตให้กับการสะบัดพู่กัน ปาดลวดลายด้วยเหล่าสีสัน และหยิบสิ่งรอบตัวที่สนใจ มาสร้างภาพศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘ดอกทานตะวัน’ ที่แวน โก๊ะหลงใหล และให้คุณค่า

‘MAZELEE’ ครอบครัวสุขสันต์ เมื่อหนุ่มเกาหลีปิ๊งรักกับสาวแอฟริกัน

เราคงเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้ง เกี่ยวกับการกีดกันหรืออคติในแง่ลบต่อความแตกต่างของเชื้อชาติ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการเปิดกว้างเรื่องความหลากหลายมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในสังคมของเรายังมีค่านิยมผิดๆ เรื่องเชื้อชาติและวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่ จากข้อมูลในปี 2017 ของคณะกรรมาธิการยุโรป สำรวจว่า คุณจะรู้สึกสบายใจไหมถ้าลูกคุณมีความสัมพันธ์กับคนผิวสี พบว่าคนยุโรปส่วนมากที่รู้สึกพอใจ คิดเป็นอัตราร้อยละ 64 ถ้าเป็นคนเอเชีย พบว่ามีกลุ่มคนที่พอใจ 69 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นคนมุสลิม พบว่ามีอัตราเฉลี่ย 50 เปอร์เซ็นต์ที่รู้สึกรับได้ จากข้อมูลจะเห็นว่า จำนวนกว่าครึ่ง ชาวยุโรปรู้สึกสบายใจถ้าลูกของตนเองจะมีความสัมพันธ์กับคนที่ต่างเชื้อชาติกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีส่วนต่างเกือบครึ่งที่ไม่ค่อยโอเคกับความสัมพันธ์นี้เท่าไหร่นัก ทำให้เห็นว่าเรื่องของเชื้อชาติเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และไม่ได้เป็นที่ยอมรับอย่างเปิดกว้างมากนักเมื่อเทียบกับความสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน แต่บทความนี้เราจะมาพูดถึงครอบครัวสุดอบอุ่น ‘Mazelee’ ในช่องยูทูบ ที่เล่าถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตบนวัฒนธรรมและเชื้อชาติที่แตกต่างกันแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งบ้านของพวกเขาอยู่ในรัฐลอสแอนเจลิส ประเทศอเมริกา ของคุณแม่ผิวสีลูกครึ่งแอฟริกัน-อเมริกัน และคุณพ่อชาวเกาหลีใต้–อเมริกัน กับลูกน้อยทั้ง 6 คน และอีกไม่นานก็จะเตรียมตัวต้อนรับคนที่ 7 แล้ว | เรื่องราวความรักระหว่างสองเชื้อชาติ เกาหลีใต้–แอฟริกัน ก่อนที่พวกเขาจะได้ใช้ชีวิตครอบครัวด้วยกัน ความรักของทั้งสองระหว่าง Alena Maze และ Joseph Lee เคยเป็นเพื่อนร่วมชั้นสมัยไฮสคูลมาก่อน ทั้งคู่ต่างมีความรู้สึกดีๆ ร่วมกัน แต่ด้วยวัยที่ยังเด็กอยู่ต่างคนจึงต่างใช้ชีวิตของตัวเอง […]

“โรงเรียนดนตรีในชุมชนคลองเตย” ที่ใช้ดนตรีและศิลปะ สร้างโลกใบใหม่ให้เด็กคลองเตย

ภาพของบ้านหลังเล็กสี่เหลี่ยมที่ถูกตีด้วยไม้เก่าๆ มุงหลังคาด้วยสังกะสีที่เกือบขึ้นสนิม อยู่ในพื้นที่อันน้อยนิดที่หลายพันชีวิตอาศัยอยู่ ปรากฏให้เราเห็นจนชินตา ผ่านพื้นที่ที่เรียกกันว่า “ชุมชนคลองเตย” ภาพลักษณ์ของชุมชนที่คนกล่าวถึง คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วย ยาเสพย์ติด การพนัน อาชญากรรม และการฉกฉิงวิ่งราว ด้วยปัญหาเหล่านี้ จึงทำให้เกิดกลุ่มคนเล็กกลุ่มหนึ่งที่อยากจะสร้างโอกาสทางสังคม รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี พร้อมเปิดโลกที่แตกต่างผ่านการเรียนดนตรีและศิลปะให้กับน้องๆในชุมชนคลองเตย จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “Khlong Toey Music Program” โรงเรียนดนตรีขนาดเล็กในละแวกชุมชน 70 ไร่ ของคลองเตยนั่นเอง ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2555  คือจุดเริ่มต้นของโรงเรียนดนตรีที่มีชื่อว่า “Khlong Toey Music Program” ถูกก่อตั้งโดย 2 สาวชาวฝรั่งเศสและชาวไทย โดยได้รับทุนสนับสนุนเบื้องต้นจากมูลนิธิ Playing For Change องค์กรที่ให้การสนับสนุนโครงการสอนดนตรีกับชุมชนต่างๆ ทั่วโลก แรกๆ ทั้งสองเข้าไปเรียนรู้และทำความเข้าใจกับคนในชุมชน ก่อนจะเริ่มชักชวนให้เด็กๆ มาเรียนดนตรีด้วยกันในทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จากวันนั้นที่มีเพียงไม่กี่คน จนมาถึงตอนนี้โครงการมีเด็กๆ อยู่ในความดูแลกว่า 30 คน โดยมีการสอนดนตรี และสอนกาโปเอย์ราสลับกันไป และแม้จะมีเด็กเพิ่มมากขึ้น แต่ขนาดของโรงเรียนยังคงเท่าเดิม […]

The Lost Generation : เด็ก Gen Z กับช่องโหว่ทางการศึกษาไทย

ศึกษาของเด็กไทยกำลังถูกกวนด้วย ‘Disruption’ หรือ ‘สภาวะการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือในช่วงเวลาสั้นๆ’ และเด็กที่ได้รับผลกระทบด้านการศึกษามากที่สุด ณ ขณะนี้คงไม่พ้นเด็ก ‘Generation Z’ ที่ต้องปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว เพื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่รุ่นต่อไป อะไรคือช่องโหว่ที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทยของเด็กยุคเจนฯ Z เรามาหาคำตอบไปพร้อมกัน

ช่วงชีวิต 10 ปีของ ‘ลุลา’ ที่บรรเลงด้วยเสียงเพลงและงานคราฟต์

คุยกับ ‘ลุลา’ ถึงช่วงชีวิต 10 ปี ที่ดนตรี และงานคราฟต์ ทำให้เธอยังคงเป็น ลุลา และยังคงรักษาความเป็นศิลปินให้ไหลวนอยู่ในตัวตน 

เปิดบันทึก 5 เรื่องราวของ Frida Kahlo ศิลปินหญิงเม็กซิกันผู้มอบแรงบันดาลใจ

‘วันสตรีสากล’ มีจุดเริ่มต้นครั้งแรกในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 เมื่อกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เดินขบวนเรียกร้องขอความเป็นธรรม

1 4 5 6 7 8 9

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.