City Lab โปรเจกต์ทดลอง ‘เมือง’ เพื่อหาคำตอบว่า ‘พื้นที่สาธารณะแบบไหนตรงใจชาวกรุงเทพฯ’
เราจะมาพูดคุยกับ City Lab ถึงที่มาและการดีไซน์ของโปรเจกต์ ซึ่งทดลองสร้างพื้นที่นั่งเล่นของเมือง เพื่อหาแนวทางพัฒนาย่านให้น่าอยู่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพฯ
เราจะมาพูดคุยกับ City Lab ถึงที่มาและการดีไซน์ของโปรเจกต์ ซึ่งทดลองสร้างพื้นที่นั่งเล่นของเมือง เพื่อหาแนวทางพัฒนาย่านให้น่าอยู่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพฯ
เยาวชนไร้สัญชาติจากเชียงใหม่รวมตัวกันสร้างสรรค์ ‘สื่อเพื่อการขอสัญชาติ’ เพื่อให้ความรู้ด้านการขอสัญชาติ ผ่านการประกวดโครงการ Youth Co:Lab Thailand 2019 และคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับสองได้ในที่สุด
ในยุคที่ศิลปินรุ่นใหม่เกิดขึ้นมากมาย เต็มไปด้วยแพสชันและพลังความคิดสร้างสรรค์ที่เต็มเปี่ยม ในการครีเอทงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง และหลุดออกจากกรอบเดิมๆ เพิ่มเติมคือมุมมองต่อผลงานศิลปะที่มีความตื่นตาตื่นใจมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในศิลปินที่หลายคนคุ้นเคยกับลายเส้นและเรื่องราวที่มีเอกลักษณ์อย่าง ‘ก้องกาน – กันตภณ เมธีกุล’ ชายหนุ่มผู้เปลี่ยนเอา Depression หรือความเศร้าให้กลายเป็นงานอาร์ตที่มีเอกลักษณ์เฉียบคม แฝงไปด้วยความหมายและสัญลักษณ์จนกลายเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และโด่งดังไกลไปถึงนิวยอร์ก วันนี้ Urban Creature พามารู้จักกับเจ้าของ ‘เทเลพอร์ต’ ทะลุมิติที่จะพาคุณวาร์ปไปในที่ที่พบแต่ความสุขในแบบที่ตัวเราอยากให้เป็น การสนทนาครั้งนี้เปิดประเด็นด้วยคำถามเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของ ‘หลุมดำ’ ซึ่งคุณก้องได้เล่าเรื่องย้อนกลับไปสมัยที่ตัดสินใจก้าวออกจากเซฟโซน ไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ๆ ถึงนิวยอร์ก | จุดเริ่มต้นของ ‘เทเลพอร์ต’ ทะลุมิติ ก้อง : ความคิดนี้เกิดขึ้นช่วงที่เราเคยรู้สึกเครียดตอนที่อยู่ต่างประเทศแรกๆ ทำให้เราอยากหาทางออกให้ชีวิต อยากมีประตูวิเศษที่พาเราไปในชีวิตที่เราอยากไป “ ถ้าเราสามารถเทเลพอร์ตไปอยู่ในโลกที่ดีขึ้น หรือโลกที่มีความสุขมากขึ้นก็คงดี” แต่นอกจากเรื่องของความเครียดจากภาวะคัลเจอร์ช็อกแล้ว จุดเริ่มต้นของงานศิลปะในครั้งนี้ยังมาจากสังคมในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยปัญหา ทั้งเรื่องธุรกิจ สิ่งแวดล้อม ปัญหาเรื่องเพศ หรือความไม่เท่าเทียมกันในสังคม จึงเกิดแนวคิดที่ว่า “ถ้าเราสามารถเทเลพอร์ตไปอยู่ในโลกที่ดีขึ้นหรือโลกที่มีความสุขมากขึ้นก็คงดี” | ‘หลุมดำ’ ซิกเนเจอร์ที่ไม่เหมือนใคร ก้อง : ตอนอยู่นิวยอร์ก ผมใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับตัวเอง ทำให้สามารถผลิตงานอาร์ตที่เกิดจากอินเนอร์ของผมจริงๆ ผนวกกับที่นั่นเป็นโลกที่รวมเอาหลายเชื้อชาติมาอยู่ด้วยกัน ทำให้ผมเห็นความแตกต่างทางวัฒนธรรม […]
การใช้ชีวิตในเมืองที่แสนชุลมุน ทั้งต้องเผชิญกับการเดินทางหลากหลายรูปแบบ และต่อสู้กับระบบอำนวยความสะดวกที่อาจไม่ได้สะดวกสำหรับทุกคนจริงๆ มาลองฟังความคิดเห็นและประสบการณ์จากปากคนตาบอด ‘พี่แก๊ป – เทอดเกียรติบุญเที่ยง’ ผู้พิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิดวัย 29 ปี กับตำแหน่งผู้ช่วยวิจัยที่ NECTEC หรือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กับมุมมองที่คนตาดีทั่วไปอาจไม่เคยรู้มาก่อน
คุณเคยชมงาน Interactive Art แล้วรู้สึกว่า ‘โคตรสุดไหม’ ? สุดในที่นี้ เราหมายถึงสุดทั้งตัวผลงาน แนวคิด วิธีการ ลูกเล่น ไปจนถึงสิ่งที่เอฟเฟ็กต์กลับมาเมื่อเราแวะปฏิสัมพันธ์ไปกับมัน ซึ่งเราเพิ่งรู้สึกโคตรสุดตอนไปเดินงาน Bangkok Design Week 2019 แถวเจริญกรุงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แท่นโทเท็มยักษ์ มีแสงไฟระยิบระยับแดนซ์ตามจังหวะเพลงใน Warehouse 30 จนต้องถ่ายคลิปเก็บไว้ดูต่อ และผลงานชิ้นนี้ยังได้ไปโชว์ตัวในฐานะตัวแทนประเทศไทยที่กรุงโซล, เกาหลีใต้ เมื่อปลายปี 2018 แถมยังเจอนกพิราบเปล่งแสงทั่วซอยศาลเจ้าโรงเกือกย่านตลาดน้อย ที่เราได้รู้ที่หลังว่ามีเป็นพันตัว นั่นคือผลงานสุดๆ แบบฉบับ YIMSAMER (ยิ้มเสมอ) ชาวสถาปัตย์และวิศวะ ที่รวมแก๊งกันเพื่อร่วมออกแบบประสบการณ์ภายใต้คอนเซปต์ T-EXPERIENCE DESIGN ให้คนดูอย่างเราเปิดโลกไปกับงาน Installation และ Visual Effect เราเลยขอนัดพวกเขา แวะไปนั่งคุยปนขำไปแบบโคตรสุดเกี่ยวกับวันแรกที่เริ่มยิ้ม วันที่อาจไม่ยิ้ม และรอยยิ้มที่คิดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เขามองว่าเราเป็นเด็กไม่เอาไหน ยิ้มเสมอ : ยิ้มเสมอเริ่มจากเด็กหลังห้อง 12 คนที่ไม่ค่อยเรียนหนังสือครับ เป็นพวกถูกตราหน้าว่าเป็นกลุ่มไม่ค่อยเอาไหน ห้าวๆ แต่เราก็ไปหาอะไรที่เราอยากทำกัน จนไปเจอสิ่งที่เรียกว่า […]
หากวันหนึ่งไปหาหมอแล้วพบว่า มีก้อนบางอย่างอยู่ในร่างกาย ไม่ว่าใครก็คงกังวลกับความเปลี่ยนแปลงที่จะตามมา หรือไม่ก็หูอื้อนึกอะไรไม่ออก แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนสาวที่น่ารักสดใส ‘เจิ้ล’ หรือ แองเจิ้ล – ณัฐณิชา พิมพ์พาพ์ ในตอนนั้นเธออายุ 24 เพิ่งเรียนจบและกำลังเดินบนเส้นทางนักวาดภาพประกอบ โดยใช้นามสกุล ‘พิมพ์พาพ์’ เป็นนามปากกา
หากมองอาชีพหมอฉุกเฉินในชีวิตจริงไม่อิงละคร รู้ไหมว่าหมอฉุกเฉินมีบทบาทหน้าที่อะไร และต้องแบกรับความท้าทายมากน้อยแค่ไหน
เมื่อไม่กี่วันก่อน รายการ ‘เชฟกระทะเหล็ก The Next Iron Chef Thailand 2019’ ก็โบกมือลาหน้าจอไปเรียบร้อยแล้ว และแชมป์ใหม่ป้ายแดง คือ ‘เชฟอ๊อฟ – ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์’ ที่เบื้องหน้าเสมือนถูกโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่กว่าจะเดินทางมาถึงวันนี้ได้ รสชาติชีวิตของเชฟอ๊อฟที่ผ่านมาช่างมีหลากหลายรสซะเหลือเกิน จุดเริ่มต้นเชฟ ค่อยเป็นค่อยไป เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงชีวิตในวัยเด็กหลายคนอาจจะได้อยู่กินข้าวกับครอบครัวบ่อยครั้ง แต่สำหรับเชฟอ๊อฟนั้นเมื่ออายุได้ 15 ปี จากที่ต้องอยู่กับครอบครัว แต่เขาต้องจากบ้านเพื่อไปเรียนและใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศกับครอบครัวคนอื่นแทน ช่วงนั้นเชฟอ๊อฟเป็นเด็กที่ค่อนข้างเกเร ใช้คำนี้คงไม่ผิดเท่าไหร่ และหากถามว่า ชอบทำอาหารเป็นทุนเดิมอยู่แล้วไหม ? เชฟอ๊อฟตอบกลับมาว่า เชฟอ๊อฟ : บอกตรงๆ ว่าไม่ใช่ครับ แม้ครอบครัวจะมีกิจการร้านอาหารอยู่แล้วก็ตาม แต่การไปอยู่ต่างแดนอาหารก็ไม่ค่อยถูกปากเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อสถานการณ์พาไปจึงต้องลงมือทำอาหารเองบ้างบางเมนู และนั้นคงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำอาหาร เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ถือว่ากฎหมายอเมริกาอนุญาตให้ดื่มเหล้าได้แล้วเลยเกิดไอเดียอยากเปิดผับเล็กๆ กับเพื่อน จึงได้พื้นที่ในห้องใต้ดินร้านอาหารไทยแห่งหนึ่ง ช่วงชีวิตตอนนั้นระยะแรกเรียกว่าเฟื่องฟูแต่สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลงแบบไม่สวยนัก เชฟอ๊อฟ : ตอนนั้นทำร้านและเรียนไปด้วย เราได้เงินเยอะมากๆ แต่ทำได้เพียง 7 เดือนก็ต้องปิดตัวลง […]
สทนากับทีม ‘ธนบุรี มี คลอง’ ถึงความสำคัญของคลองกับเมือง และหนทางที่จะทำให้คลองอยู่คู่กับเมืองได้อย่างยั่งยืน
คุยกับอาจารย์และนิสิตหลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรม กับประเด็นการเรียนหลักสูตรพิพิธภัณฑ์ และมุมมองต่อวงการพิพิธภัณฑ์ไทย
ทุกครั้งที่ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ เรามักได้ยินเสียงบอกเล่าเรื่องราวของงานที่จัดแสดงอยู่เสมอ นั่นคือเสียงที่เปล่งออกมาจาก ‘คนนำชมพิพิธภัณฑ์’ หรือเรียกว่า ‘มัคคุเทศก์’ ที่ตั้งใจ เต็มใจ และใส่ใจลงไปในทุกถ้อยคำที่กล่าวออกมา ซึ่งปกติมักจะเห็นคนนำชมตั้งแต่วัยเด็กประถม ไล่ระดับมาเรื่อยๆ จนถึงวัยทำงาน แต่ครั้งนี้ นับว่าเป็นโชคดีของเราไม่น้อย ที่ได้เดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไปพร้อมกับ ไกด์วัยหกสิบกว่ายังแจ๋ว อย่าง ‘คุณพี่ซ้วง – สุมิตรา ชาคริยานุโยค’
ผืนผ้าไหมฝีมือช่างไทยเป็นมรดกตกทอดที่เชิดหน้าชูตาคนไทย โดยเฉพาะแถบภาคอีสานที่การทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ในกรุงเทพฯ เราคงไม่เห็นคนทอผ้าไหมกันเท่าไรนัก แต่ย่านใจกลางเมืองอย่างราชเทวี กลับซุกซ่อนชุมชน ‘บ้านครัว’ ที่ในอดีตเคยย้อมไหมทอผ้ากันแทบทุกบ้าน เป็นจุดเริ่มต้นของผ้าไหม ‘จิม ทอมป์สัน’ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง ‘ลุงอู๊ด’ เท่านั้นที่ยังคงสืบทอดภูมิปัญญาผ้าไหมของกรุงเทพฯ