ความสัมพันธ์แม่ลูก การเมือง และอำนาจปิตาธิปไตย ที่ยังคอยย้ำเตือนอยู่ในช่วงเวลาของ ‘อย่ากลับบ้าน’

*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของซีรีส์* เพื่อไม่ให้เป็นการเสียอรรถรสสำหรับคนที่อยากรับชม ‘อย่ากลับบ้าน’ ซีรีส์ออริจินัลสัญชาติไทยเรื่องล่าสุดของ Netflix คงต้องเรียนให้ผู้ที่เข้ามาอ่านบทความไปชมซีรีส์เรื่องนี้ก่อนโดยไม่ต้องรับรู้ข้อมูลใดๆ ยิ่งรู้น้อยเท่าไหร่ยิ่งดีที่สุด เพราะว่ากันตามตรง อย่ากลับบ้าน เป็นซีรีส์ที่เล่นกับความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับเรื่องราวลึกลับที่เก็บงำซ่อนเอาไว้เป็นไม้เด็ด ซึ่งหากรับรู้เรื่องราวมากเกินไป ความตั้งใจที่ตัวซีรีส์พยายามจะสร้างความรู้สึกคาดไม่ถึงแก่ผู้ชมก็อาจหายไปโดยพลัน แต่หากต้องเล่าเรื่องย่อให้คนที่อยากรู้จริงๆ เนื้อเรื่องคร่าวๆ ของ อย่ากลับบ้าน นั้นเล่าถึง ‘วารี’ (นุ่น วรนุช) หญิงสาวผู้มีใบหน้าฟกช้ำและคราบน้ำตากำลังเดินทางหอบลูกสาววัย 5 ขวบชื่อ ‘มิน’ (เจแปน พลอยปภัส) เดินทางกลับสู่บ้านเก่าของครอบครัว ณ อำเภอตะกั่วป่าที่เธอเติบโตในวัยเด็ก บ้านหลังนี้มีชื่อว่า ‘บ้านจารึกอนันต์ 2475’ เป็นบ้านเก่าทรงยุโรปกลางป่าที่เก็บซ่อนความลึกลับพิศวงของอดีตเอาไว้ และยังเชื่อมโยงไปถึงเหตุผลที่แม่ลูกทั้งสองเดินทางหนีบางสิ่งบางอย่างมาสู่สถานที่แห่งนี้ ที่ซึ่งนำไปสู่เหตุผลและความหมายของคำว่า ‘อย่ากลับบ้าน’ หลังจากนี้จะเป็นการพูดถึงเนื้อหาที่จะเปิดเผยเรื่องราวสำคัญในซีรีส์ อย่ากลับบ้าน แล้ว ด้วยวิธีการเล่าท่าทีล่อหลอกผู้ชมให้เชื่อไปในทางหนึ่ง ในที่นี้คือหลอกให้หลงเชื่อว่านี่คือซีรีส์แนว ‘สยองขวัญ’ ว่าด้วยผีวิญญาณร้ายที่สิงสถิตอยู่ในบ้านร้างและหลอกหลอนตัวละครสองแม่ลูก หลังจากหลอกตีหัวคนดูเข้าบ้านได้ด้วยแนวทางที่เหมาะสมแก่การเป็นซีรีส์ฉายในคืนวันฮาโลวีน จากนั้นเรื่องราวจะพาคนดูหัวหมุนตีลังกาด้วยความสงสัย ก่อนพลิกผันเฉลยตัวตนที่แท้จริงว่าเป็นแนว ‘ไซไฟ’ ในภายหลัง เป็นการเล่นกับความคาดหวังสงสัยใคร่รู้ของคนดูอย่างน่าตื่นเต้น หากแต่สิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ในซีรีส์เรื่องนี้ไม่ได้มีเพียงลูกเล่นที่เล่นกับการคาดเดาของคนดูเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความหมายซุกซ่อนอยู่ในเอเลเมนต์ต่างๆ ที่สะท้อนประเด็นสังคมได้อย่างน่าค้นหา ค่านิยมของสังคมที่วนลูปและไม่เคยหายไป การผันตัวเองจากความคาดหวังว่าจะได้ชมซีรีส์สยองขวัญแนวผีๆ ไปสู่การเป็นซีรีส์แนวไซไฟย้อนเวลาของ […]

จำลองสถานการณ์แบบไทยๆ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘Gate’ จากเรื่อง Solo Leveling เปิดขึ้นใจกลางกรุงเทพฯ

เอาล่ะ เหล่า ‘ฮันเตอร์’ ผู้ถูกปลุกพลังทั้งหลาย ในช่วงที่ฮันเตอร์จินอูและสมุนเงาในเรื่อง Solo Leveling กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง หลังจากมันฮวาสุดฮิตของ KAKAO WEBTOON กลายเป็นแอนิเมชันฉายทาง Netflix และ TrueID งานนี้ Urban Creature เลยขออิเซไกไปในโลกสุดแฟนตาซี ลองคิด Scenario ขึ้นเล่นๆ ว่า ถ้าอยู่ดีๆ เกิดเหตุประตู ‘เกต’ (Gate) เปิดขึ้นใจกลางเมืองกรุงเทพฯ เชื่อมระหว่างโลกของเรากับ ‘ดันเจี้ยน’ อีกฝั่งที่เต็มไปด้วยเหล่า ‘มอนสเตอร์’ เหมือนในเรื่อง ‘Solo Leveling’ ขึ้นมาจริงๆ จะเป็นยังไงกันนะ Step 1 ปรากฏการณ์ไทยมุง แม้ไม่มีเกาหลีมุงเหมือนในมันฮวา แต่ประเทศไทยเรามี ‘ไทยมุง’ กับเขาแน่นอน อันนี้รับประกัน แถมยิ่งเป็นเกตระดับสูงเท่าไหร่ เชื่อว่าคนจะมามุงเยอะเท่านั้น เพราะสิ่งที่ตามมาคือฮันเตอร์แรงก์สูงสุดเท่น่ะสิ! งานนี้จะได้มีเรื่องไปเมาท์กับเพื่อนต่อยาวๆ Step 2 ทวิตเตอร์ (X) คือแหล่งข่าวชั้นดี ว่าแต่จะไปเมาท์ที่ไหนดี […]

ชวนชมการต่อสู้เพื่อศาลเจ้าแม่ทับทิม ผ่านสารคดี ‘The Last Breath of Sam Yan’ พร้อมกันทาง Netflix วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

เมื่อปี 2563 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ได้สั่งรื้อถอน ‘ศาลเจ้าแม่ทับทิม’ ที่เป็นเหมือนศูนย์รวมความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่สามย่าน เพื่อนำพื้นที่ไปสร้างเป็นคอนโดมิเนียม จนเกิดการเรียกร้องจากนิสิตจุฬาฯ และชาวบ้านถึงการคัดค้านการรื้อถอนศาล และในปีที่ผ่านมา เรื่องราวการต่อสู้เพื่อศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง ก็ถูกทำเป็นสารคดี ‘The Last Breath of Sam Yan’ และออกฉายช่วงเดือนมิถุนายนทางโรงภาพยนตร์ House Samyan และ Doc Club & Pub. ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ชม เนื่องจากสารคดีเรื่องนี้ช่วยจุดประเด็นให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงปัญหาการพัฒนาเมืองที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษจีนที่กำลังมาถึง เราจึงอยากชวนทุกคนชมสารคดี The Last Breath of Sam Yan ที่มีโอกาสกลับมาฉายอีกครั้งในวงกว้างมากขึ้นผ่าน Netflix โดยเริ่มสตรีมวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ ที่ www.netflix.com/title/81719493 ส่วนใครที่อยากไปเยี่ยมเยียนและสักการะศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลยังอยู่ที่โลเคชันเดิม บริเวณไซต์ก่อสร้างคอนโดฯ ข้างๆ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ แวะไปได้ทุกวันตั้งแต่เวลา […]

เปลี่ยน ‘เรื่องตลก 69’ ให้ไม่ตลกร้าย ด้วยทางเลือกใหม่ที่ ‘ตุ้ม’ ทำได้

ถ้าชีวิตของคุณถูกโชคชะตาเล่นตลก ชนิดที่อยู่ดีๆ ก็ถูกเลิกจ้างงาน แถมจู่ๆ มีกล่องพัสดุปริศนาที่เต็มไปด้วยเงินสดมาวางอยู่หน้าประตูห้องแบบงงๆ คุณจะรับมือกับสถานการณ์แบบนี้อย่างไร หลายๆ สิ่งอาจดูเป็นเรื่องตลก แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นกับเราจริงๆ อาจจะทำเอาเราหัวเราะฮือๆ แทนฮาๆ ไม่แพ้ ‘ตุ้ม’ ในเรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ได้เหมือนกัน ด้วยโอกาสที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ถูกนำมารีเมกให้กลายเป็นซีรีส์ขนาดสั้น 6 ตอนที่กำลังฉายอยู่ใน Netflix โดยผู้กำกับเจ้าเดิมอย่าง ‘เป็นเอก รัตนเรือง’ คอลัมน์ Urban Isekai จึงขอหยิบบางช่วงบางตอนของซีรีส์มาลองคิดในมุมกลับ ปรับมุมมองเล่นๆ ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ วิธีการจัดการควรเป็นอย่างไร ถึงจะไม่เกิดเรื่องตลกร้ายแบบที่ตุ้มต้องเผชิญ ถ้า…การถูกเลิกจ้างไม่แย่เท่าที่ตุ้มคิด ในช่วงโควิดที่ผ่านมา หลายๆ คนอาจถูกเลิกจ้างเพราะพิษเศรษฐกิจไม่ต่างกับตุ้มในเรื่องตลก 69 แต่ถ้าเป็นการจับฉลากหาคนออกโดยไม่สนใจถึงผลการทำงานที่เรานั่งหลังขดหลังแข็งทำกันมาขนาดนี้ แค่คำว่าหัวร้อนคงไม่พอ นี่มันผิดกฎหมายแรงงานชัดๆ! ในกรณีนี้ สิ่งที่ตุ้มควรทำไม่ใช่การเก็บของลาออกอย่างจำยอม แต่ต้องเป็นการแบมือขอรับเงินชดเชยก้อนใหญ่ที่เราควรได้จากการบอกเลิกจ้างทันที เพราะหากตุ้มทำงานอยู่ที่นี่มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน เงินเหล่านี้เป็นเงินที่เธอควรได้รับตามกฎหมาย แถมในกรณีที่นายจ้างไล่ออกทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า 30 – 60 […]

‘แพรรี่ ธัญพิชชา’ Set Designer คนไทยในฮอลลีวูดที่ได้ออกแบบฉากให้ซีรีส์ Netflix

ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพหญิงสาวผู้สวมแว่นตาที่นั่งอยู่หน้าคอมฯ บนหน้าจอเต็มไปด้วยภาพทำเนียบขาวของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมคำอธิบายประกอบอย่างละเอียด เร็วเท่าความคิด, ภาพทำเนียบขาวที่เธอดีไซน์ในหัวปรากฏขึ้นในพื้นที่ว่างเปล่าข้างตัว…ถ้าเรื่องราวดำเนินในยุคนี้ มีตัวละครหลักเป็นคนนิสัยแบบนี้ ทำเนียบขาวควรจะมีหน้าตาเป็นยังไง…เธอออกแบบตั้งแต่ข้างนอกตึกไปจนถึงพื้นที่ภายใน ชั้นที่ 1 ถึง 5 เจาะลงไปถึงรายละเอียดเล็กๆ กระทั่งสีผนังและกลอนประตู นี่คือสิ่งที่ ‘แพรรี่-ธัญพิชชา ไตรวุฒิ’ ต้องทำในซีรีส์ใหม่ของ Netflix เรื่อง The Residence ซึ่งว่าด้วยคดีฆาตกรรมในทำเนียบขาว ย้อนกลับไปราวต้นปี 2023 เธอได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในทีมนักออกแบบฉาก (Set Designer) ประจำโปรเจกต์นี้ ความเจ๋งคือเธอเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่เป็นทีมงานเบื้องหลัง และเท่าที่เรารู้ เธอเป็นคนไทยหนึ่งในไม่กี่คนที่มีโอกาสได้ทำงานให้หนังและซีรีส์ฮอลลีวูด ไม่เคยฝันว่าจะมาถึงตรงนี้ได้เหมือนกัน-เธอสารภาพกับเราในเช้าที่เราวิดีโอคอลคุยกัน ก่อนจะเริ่มเล่าเรื่องราวอดีตเด็กสาวช่างฝันผู้รักศิลปะ ผู้ที่กว่าจะค้นพบว่าตัวเองชอบออกแบบฉากก็ตอนได้ทำละคอนถาปัดในรั้วจามจุรี ก่อนจะตัดสินใจเดินตามฝันในวัยใกล้ 30 จนสำเร็จ แน่นอนว่าหลังจากฟังเธอเล่าจบ ภาพจำที่เรามีต่อฉากในหนังหรือซีรีส์ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซีนแรกกรุงเทพฯ, 2011 ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพเด็กหญิงธัญพิชชาในโรงภาพยนตร์ หน้าจอปรากฏภาพจากหนังในตำนานอย่าง Star Wars และ Jurassic Park เด็กหญิงหัวเราะคิกคัก สนุกสนานไปกับเรื่องราว ไม่รู้หรอกว่าวันหนึ่งตัวเองจะได้ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโลกในจอ […]

กิจกรรม My Story, Our Story ฉายหนังจากกองทุน Netflix เพื่อความหลากหลายบนหน้าจอ

ในเดือนแห่งความหลากหลายนี้ นอกจากเรื่องเพศที่สังคมควรให้ความสำคัญและผลักดันอย่างเต็มที่แล้ว ภายใต้ร่มของความหลากหลายก็ยังมีมิติอื่นๆ ที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ สีผิว หรือความเชื่อ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา Netflix ได้จัดงานฉายภาพยนตร์ ‘My Story, Our Story’ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนผู้สร้างผลงานจากประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ไม่ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานของตัวเอง ให้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและร่วมเฉลิมฉลองการเล่าเรื่องที่แตกต่างหลากหลาย ภายในกิจกรรมมีการจัดฉายภาพยนตร์สั้นที่ได้รับการสนับสนุนและสร้างขึ้นจากกองทุน ‘Netflix Fund for Creative Equity’ ที่ทาง Netflix ลงทุนมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ตลอดระยะเวลา 5 ปี เพื่อปูเส้นทางให้แก่ผู้สร้างผลงานที่ไม่ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานของตัวเองทั่วโลก ภาพยนตร์ที่ฉายในงานมีทั้งหมด 3 เรื่อง ประกอบด้วย ‘Dear You’ (ประเทศไทย) โดย ‘เหมือนดาว กมลธรรม’ ที่เล่าเรื่องของแม่เลี้ยงเดี่ยวผู้ต่อสู้ดิ้นรนในช่วงโรคระบาด ‘Soul-Kadhi’ (ประเทศอินเดีย) โดย ‘Sameeha Sabnis’ ที่หยิบเอาความแฟนตาซีมาผสมกับดราม่า เพื่อสำรวจถึงเสรีภาพผ่านสายสัมพันธ์ของลูกสะใภ้และแม่สามี และ ‘Pao’s Forest’ (ประเทศเวียดนาม) โดย […]

ภารกิจพิชิตความรู้สึกทางเพศ การเดินทางไกลอีกครั้งของผู้สูงวัย ในหนัง Thai Massage ที่ Netflix

คนจำนวนไม่น้อยอาจมีความเหงาเป็นเพื่อนทุกช่วงเวลา ยิ่งกับผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่มองเห็นโลก ผ่านประสบการณ์มาอย่างยาวนาน หลายคนอาจคิดว่าพวกเขาน่าจะปลงและปล่อยวางปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้แล้ว ทว่าผู้สูงวัยก็ยังมีความรู้สึกบางอย่างที่ไม่อาจบอกกับใครได้ และในบางสังคม สิ่งที่คิดหรือความต้องการของผู้สูงวัยก็ดูเป็นเรื่องต้องห้ามไปเสียทั้งหมด  เช่นเดียวกันกับ ‘อาตมะ (Atmaram Dubey)’ ชายชราวัย 70 ปี ผู้เป็นที่เคารพนับถือของคนในครอบครัวและเป็นที่รักของผู้คนรอบตัว เขาเปรียบเสมือนบุรุษผู้ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ  อาตมะเป็นผู้ถือมั่นในคู่ครองแบบรักเดียวใจเดียวตลอดมา แต่ชีวิตของเขาช่างโดดเดี่ยวเดียวดาย เพราะภรรยาผู้เป็นที่รักของเขาป่วยนอนติดเตียงมากว่า 20 ปีก่อนเสียชีวิตจากไปในที่สุด เขาใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวและดูแลหลานๆ แม้จะยิ้มแย้มแจ่มใส เดินเหินคล่องแคล่ว แต่ความรู้สึกในใจที่เขาไม่เคยปริปากบอกใครก็ทำให้ทุกข์ทนเหลือเกิน  อาตมะค้นพบว่าตนเองมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และร่างกายของเขาไม่ทำงานอย่างที่เคย ความเสน่หายังคงทำให้เขาหวนคิดถึงความใกล้ชิดของภรรยาในวันเก่าก่อน และตระหนักว่าชีวิตคนเราช่างแสนสั้น อาตมะจึงอยากมีเพศสัมพันธ์อีกครั้งก่อนวาระสุดท้ายมาเยือน  แต่เพราะสังคมของชาวอินเดียนั้นมีขนบวัฒนธรรมที่ยึดถือกันมา ทำให้ภาพของผู้สูงอายุต้องเป็นคนที่ไม่มีความปรารถนาใด ยิ่งกับเรื่องความต้องการทางเพศยิ่งเป็นเรื่องลับๆ ที่ต้องคอยปกปิดไว้ไม่ให้ผู้อื่นรู้โดยเด็ดขาด หากต้องไปพูดคุย บอกเล่า ปรึกษากับใครถึงปัญหาสมรรถภาพทางเพศหย่อนยาน ก็จะกลายเป็นเรื่องไร้สาระและอาจเป็นความตลกขบขันที่ถูกพูดต่อไปอีกสามบ้านแปดบ้าน  แผนการจาริกแสวงบุญสุดปั่นป่วนจึงเกิดขึ้น โดยชายสูงวัยได้รับการช่วยเหลือจากชายหนุ่มสุดทะเล้นนามว่า ‘ซานตุลัน (Santulan)’ ที่อยู่ในหมู่บ้านละแวกเดียวกัน คอยช่วยหาหนทางให้อาตมะได้กลับมาปึ๋งปั๋งและมีชีวิตชีวาอีกครั้ง อาตมะได้ออกเดินทางไกลจากบ้านโดยเครื่องบินเป็นครั้งแรก เพื่อผจญภัยไปแสวงบุญทำภารกิจพิชิตความรู้สึกทางเพศที่ ‘กรุงเทพมหานคร-ประเทศไทย’ ซึ่งเป็นดินแดนที่การันตีได้ว่า ความเสียวซ่านที่อาตมะต้องการนั้นจะบรรลุผลอย่างแน่นอน  ทั้งหมดนี้คือเรื่องย่อของภาพยนตร์อินเดียเรื่อง ‘Thai Massage’ ที่จะทำให้ผู้ชมได้ เฮฮาไปกับบทสนทนาของเหล่าตัวละคร […]

อิ่มใจกับ Comfort Food ซาบซึ้งกับมิตรภาพเพื่อนซี้เกอิชาฝึกหัด ในซีรีส์ ‘แม่ครัวแห่งบ้านไมโกะ’ ที่ Netflix

เดือนแรกของปีแบบนี้ เราขอแนะนำซีรีส์ใหม่แนวอบอุ่นใน Netflix ที่น่าจะโดนใจสายกินอยู่ไม่น้อย นั่นคือ ‘แม่ครัวแห่งบ้านไมโกะ’ (The Makanai : Cooking for the Maiko House) ซีรีส์เรื่องนี้เป็นผลงานจากญี่ปุ่นที่ได้ ‘ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ’ ผู้กำกับหนังเรื่อง Shoplifters มาช่วยตำแหน่ง Showrunner กำกับและเขียนบทร่วม ทั้งยังมี ‘เกงกิ คาวามูระ’ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของหนัง Your Name มารับตำแหน่งโปรดิวเซอร์ โดยพวกเขาได้นำมังงะยอดนิยมของนักเขียน ‘โกยามะ ไอโกะ’ มาสร้างสรรค์ใหม่เป็นซีรีส์ที่เล่าเรื่องราวมิตรภาพของสองเพื่อนรักวัย 16 ปี ได้แก่ ‘โนซึกิ คิโยะ’ (รับบทโดย นานะ โมริ) และ ‘เฮราอิ สุมิเระ’ (รับบทโดย นัตสึกิ เดกุจิ) เรื่องย่อมีอยู่ว่า ในฤดูร้อนคิโยะกับสุมิเระได้เดินทางจากบ้านเกิดที่อาโอโมริไปยังเกียวโต ระหว่างท่องเที่ยวพวกเธอได้ถ่ายรูปคู่กับเกอิชาสาวสวยประจำเมือง และเกิดเป็นแรงบันดาลใจ จนสัญญากันว่าเมื่อเรียนจบมัธยมต้นจะกลับมายังเกียวโตอีกครั้งเพื่อตั้งใจเข้าฝึกเป็นไมโกะหรือเกอิชาฝึกหัดให้จงได้ เมื่อมีโอกาสได้เข้าสู่บ้านฝึกไมโกะ พรสวรรค์และแพสชันที่สุมิเระมีก็นำทางให้เธอมุ่งมั่นฝึกซ้อมจนเติบโตไปสู่จุดที่ต้องการ ต่างกับคิโยะที่ค้นพบว่าตัวเองนั้นไม่มีพรสวรรค์ในเรื่องศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นแขนงนี้เอาเสียเลย […]

ออกแบบหลักสูตรวิชาเสรี Nevermore Academy ใน Wednesday เชื่อมสัมพันธ์ชาว Outcast กับชาวเมือง Jericho

สวัสดีชาว Outcast และชาวเมือง Jericho ทั้งหลาย นับตั้งแต่ปี 1791 ที่ Nevermore Academy ของเราได้ก่อตั้งขึ้นในเมือง Jericho เพื่อให้การศึกษากับพวก Outcast คนพิลึก และสัตว์ประหลาด เวลาก็ผ่านล่วงเลยมากว่า 231 ปีแล้ว แต่ทำอย่างไรความสัมพันธ์ระหว่างชาว Outcast กับชาวเมือง Jericho ก็ดูเหมือนจะไม่ดีขึ้นสักที ด้วยเหตุนี้ Urban Creature เลยขอทำการอิเซไกในโลก Wednesday ซีรีส์จาก Netflix ที่ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง ด้วยการสวมบทบาทเป็นครูใหญ่แห่ง Nevermore Academy ออกแบบหลักสูตรวิชาเสรี 6 วิชา ที่เปิดให้ชาวเมืองและเด็กจากโรงเรียน Jericho School ได้มีโอกาสเลือกลงเรียนตามความสนใจ เปิดโอกาสให้ชาวเมืองได้ทำความรู้จักฝั่ง Outcast มากขึ้น เราหวังว่าหลักสูตรนี้จะทำให้ Jericho กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับทุกคนอย่างแท้จริง เพื่อให้ตรงกับวิสัยทัศน์ของครูใหญ่ ‘ลาริสซา วีมส์’ ที่ว่า “Nevermore is a […]

Extraordinary Attorney Woo ซีรีส์ทนายออทิสติกคนแรกของเกาหลีใต้ ที่ใช้ความสามารถไขคดี จนคว้าใจคนทั่วโลก

‘Extraordinary Attorney Woo (อูยองอู ทนายอัจฉริยะ)’ คือซีรีส์เกาหลีใต้มาแรงที่ทะยานสู่อันดับ 1 ของ Netflix หมวดรายการทีวีภาษาต่างประเทศทั่วโลก ควบคู่กับความนิยมซีรีส์เรื่องนี้ในเกาหลีใต้ที่เพิ่มขึ้นไม่แพ้กัน จากอีพีแรกที่มีเรตติง 0.948% ก็ก้าวกระโดดเป็น 9.569% ในอีพี 6 ที่ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา และแน่นอนว่าตอนนี้ความสามารถในการไขคดีและท่าทีที่น่ารักของทนายอูยองอูก็กำลังสร้างความฟีเวอร์ในประเทศไทยด้วย  ซีรีส์เกาหลีที่เป็นกระแสปากต่อปากเรื่องนี้ เป็นเรื่องราวของ ‘อูยองอู’ ทนายวัย 27 ปีผู้เกิดมาพร้อมกับภาวะออทิสติกสเปกตรัม แต่ด้วยไอคิวที่สูงถึง 164 ทำให้มีความสามารถในการอ่านและจดจำประมวลกฎหมายได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ทั้งยังสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนสูงสุดจากมหาวิทยาลัยกฎหมายแห่งชาติโซล ทำให้เธอได้เข้าทำงานในบริษัททนายความชั้นนำของประเทศ  ถึงจะเป็นทนายที่เก่งกาจแค่ไหน แต่เมื่อมีภาวะเป็นออทิสติกที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยังไม่ยอมรับ อูยองอูจึงถูกปรามาสจากเพื่อนร่วมงาน เพราะพฤติกรรมเวลาเข้าสังคมในแบบที่เธอแสดงออกนั้นต่างจากคนทั่วไป ยกตัวอย่าง ประโยค “ชื่อของฉันไม่ว่าจะอ่านตามตรง หรืออ่านกลับด้านก็เป็นอูยองอู” ที่เป็นสโลแกนประจำตัวของเธอเวลาแนะนำตัวเอง การที่ไม่มองหน้าหรือสบตาใครเวลาพูด มีความไวต่อผิวสัมผัสและเสียงมากๆ แถมยังงุ่มง่ามซุ่มซ่าม พูดจาตะกุกตะกัก มีท่าทีไม่เป็นธรรมชาติ ไม่เข้าใจการแสดงอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น นี่ยังไม่นับรวมที่เธอมีแพสชันอันแรงกล้าในความชื่นชอบ ‘วาฬ’ แบบที่จดจำได้ทุกสายพันธุ์ จนบางครั้งการเมาท์มอยเรื่องวาฬๆ ของเธอทำให้คนรอบตัวเหม็นเบื่ออยู่เสมอ  […]

จากซีรีส์สู่ Squid Game ชีวิตจริง Netflix รับสมัครผู้เข้าแข่งขัน 456 คน ชิงเงินรางวัล 160 ล้านบาท

หลังจาก Squid Game ซีรีส์เกาหลีแนวเอาชีวิตรอด ที่ออกอากาศในแพลตฟอร์มสตรีมมิงอย่าง Netflix เมื่อปี 2563 ได้รับความนิยมสูงที่สุดในเน็ตฟลิกซ์ และเป็นหนึ่งในซีรีส์ที่มียอดผู้ชมสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ จนเกิดปรากฏการณ์ฟีเวอร์ทั่วโลก  ทำให้ขนมน้ำตาลเกาหลีอย่าง ‘ทัลโกนา’ กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ยูนิฟอร์มของผู้คุมและผู้เล่นที่วางขายให้เห็นโดยทั่วไป หรือแม้กระทั่งการละเล่นพื้นบ้านของเกาหลีอย่าง ‘ดอกมูกุงฮวาบานแล้ว’ ที่ถูกนำมาแปลงเป็นเพลง ‘ชุดโกโกวา’ จนติดหูคนไทยไปพักใหญ่ ฟีเวอร์ชนิดที่ว่ามีการคอนเฟิร์มออกมาแล้วว่า Squid Game จะกลับมาอีกครั้งกับ Season 2 ในช่วงปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567 ที่จะถึงนี้ แต่ก่อนที่จะถึงช่วงเวลาเหล่านั้น ครั้งนี้ Netflix ได้มีประกาศที่สร้างเสียงฮือฮาในโลกโซเชียลอีกครั้ง กับการสร้างเรียลลิตี้ครั้งที่ยิ่งใหญ่ในชื่อ Squid Game: The Challenge ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากซีรีส์ Squid Game เดิม ด้วยการรวบรวมผู้เข้าแข่งขัน 456 คน ตามจำนวนในซีรีส์และถือเป็นจำนวนที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันเรียลลิตี้ เพื่อชิงเงินรางวัล 4.56 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 160 ล้านบาท โดยจะแข่งขันกันเป็นระยะเวลา […]

รอชมขบวนหนังรางวัลเข้า Netflix CODA, Flee, Drive My Car, Petite Maman ตลอดเดือน มิ.ย. นี้

เราเชื่อว่าต้องมีคอหนังจำนวนไม่น้อยที่อยากดูหนังหลายเรื่องที่ทั่วโลกชื่นชมกัน ทว่าหนังเรื่องนั้นกลับฉายเฉพาะในโรงหนังจังหวัดใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น เป็นต้น ทำให้สุดท้ายหลายคนต้องพลาดชมหนังดีๆ ไปหลายเรื่อง ทั้งที่มีคนนำหนังเข้ามาฉายในไทยแล้วแท้ๆ อาจเพราะทนฟังคำเรียกร้องไม่ไหว Netflix ไทยที่เคยพาลิสต์หนังไทยในตำนานเข้าฉายไปเมื่อเดือนเมษายน ก็เลยจัดเต็มยกขบวนหนังรางวัลต่างประเทศที่กวาดเสียงวิจารณ์ในด้านบวกเมื่อปีที่แล้ว มาฉายให้ชมกันถึง 4 เรื่องในเดือนมิถุนายนนี้ รายชื่อหนังรางวัล 4 เรื่องที่ว่านั้น ได้แก่ – CODA เข้าฉาย 10 มิ.ย. หนังอบอุ่นหัวใจที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมบนเวทีออสการ์ปีล่าสุด กับเรื่องราวของ รูบี้ (แสดงโดย Emilia Jones) ผู้มีน้ำเสียงอันไพเราะ ที่เกิดมาในครอบครัวคนหูหนวก เธอได้รับโอกาสจากครูสอนดนตรีที่เห็นความสามารถในตัวเธอ จึงเสนอให้สอบชิงทุนที่สถาบันดนตรี กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้หญิงสาวต้องตัดสินใจว่าจะเลือกทำตามความฝัน หรือเลือกอยู่บ้านเพื่อช่วยเหลือคนในครอบครัวต่อไป – Flee เข้าฉาย 17 มิ.ย.Flee คือหนังแอนิเมชันอันงดงาม ทว่ามีเนื้อหาที่หดหู่สะเทือนใจ ซึ่งได้รับคำชื่นชมอย่างมากในหลายๆ เทศกาลหนังระดับโลก เนื่องจากเรื่องราวของหนังดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานที่ต้องจากบ้านมานานกว่า 30 ปี โดยเขาได้ย้อนรำลึกถึงอดีตของตัวเองที่เผชิญความสูญเสียจากภัยการเมือง เป็นการบอกเล่าถึงความยากลำบากของผู้อพยพที่ต้องต่อสู้ชีวิตท่ามกลางความเจ็บปวด ไม่มีที่ไป และไว้ใจใครไม่ได้ – Drive My […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.