เมื่อคำบรรยายแทนเสียง (CC) ใน Squid Game เปลี่ยนความหมายซีรีส์ จนคนหูหนวกอาจเข้าใจเนื้อเรื่องผิด

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซีรีส์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้น Squid Game ซีรีส์จากเกาหลีใต้ที่ว่าด้วยการแข่งขันเกมเด็ก 6 ด่าน ที่เดิมพันด้วยชีวิตของผู้เข้าแข่งขัน เพื่อชิงเงินรางวัล 45,600 ล้านวอน  Squid Game ได้รับความนิยมจากผู้ชมทั่วโลก จนขึ้นแท่นรายการยอดนิยมอันดับ 1 บน Netflix ในกว่า 90 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย เป็นซีรีส์ที่ทำให้ผู้ชมตื่นเต้น ลุ้นระทึก และตีแผ่ความเป็นมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยม ซีรีส์จากเกาหลีใต้เรื่องนี้มาพร้อมกับคำบรรยายหรือซับไตเติลภาษาต่างๆ เพื่อให้ผู้ชมต่างชาติสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องที่ตัวละครพูดภาษาเกาหลีเป็นหลักได้ ทว่า การแปลคำบรรยายจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง อาจทำให้ความหมายที่แท้จริงของเนื้อเรื่องเปลี่ยนไป ผู้ใช้งาน TikTok ที่ชื่อว่า Youngmi Mayer ได้โพสต์วิดีโออธิบายว่า ในฐานะที่เธอสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่องและเรียนภาษาเกาหลีมา หลังจากที่เธอได้ดู Squid Game พร้อมกับเปิดคำบรรยายภาษาอังกฤษแล้ว เธอสังเกตว่า บทพูดของตัวละครที่เป็นภาษาเกาหลีเขียนไว้ได้ดีมาก แต่คำบรรยาย Closed Caption Subtitles ซึ่งเป็นคำบรรยายที่นอกจากจะบรรยายบทพูดของตัวละครแล้ว ยังบรรยายเสียงและสิ่งสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย เหมาะสำหรับคนพิการทางการได้ยินหรือผู้ชมที่ไม่ได้เปิดเสียง หนึ่งในตัวอย่างที่ Youngmi พูดถึงก็คือ Closed […]

Squid Game : หรือชีวิตคนจนจะเป็นได้แค่ของเล่นของคนรวย?

ในโลกอุดมคติ “ความเท่าเทียม” คงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของใครหลายคน โลกที่แม้อำนาจทางเศรษฐกิจหรือตัวเลขในบัญชีอาจมีไม่เท่ากัน แต่คุณค่าความเป็นคนไม่มีใครต่ำต้อยกว่าใคร น่าเศร้าที่สิ่งนี้ยังเป็นได้เพียงอุดมคติ เพราะในโลกแห่งความเป็นจริง เราได้เห็นการที่คนมากมายถูกจัดวาง วาดภาพ หรือกดทับให้เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงเพราะพวกเขาเป็นคนที่อยู่ชั้นลำดับล่างของฐานเศรษฐกิจ จนก็ต้องอยู่อย่างเจียม จนก็เพราะขี้เกียจ ไม่พยายาม เป็นคนไม่ดี เอาแต่สบาย จนก็ต้องอยู่อย่างคนจน หรือดีสุดก็เป็นเพียงเครื่องรองมือรองเท้าของคนรวย บางครั้งการกดทับหรือบังคับขืนก็อาจเป็นไปอย่างแนบเนียน หรือเป็นเพียงทัศนคติคำพูดเหยียดหยามแต่โลกใน “Squid Game” ซีรีส์กระแสแรงแห่งบ้าน Netflix จากประเทศเกาหลีใต้ คือโลกที่จับคนชายขอบไร้ทางไปในสังคมเข้ากรง มาเล่นเกมเพื่อเอาชีวิตรอด ทั้งจากตัวเกม และจากนรกในชีวิตประจำวันที่พวกเขาต้องอาศัยอยู่ให้ได้เห็นกันแบบถึงเลือดถึงเนื้อ และถึงอารมณ์ สเตจเซตอัปสีสันสดใสไฮโปรดักชัน แอบหยอดเอเลเมนต์ของวัยเยาว์ให้เข้ากับธีมเกม เจ้าหน้าที่ในชุดสีชมพูช็อกกิ้งพิงก์พร้อมหน้ากากสกรีนรูปทรงสามแบบที่บ่งบอกถึงชนชั้นภายใน ความหวาดระแวงระหว่างกันอันนำไปสู่การเผยความดำมืดในจิตใจมนุษย์ เงินรางวัลที่มากเกินกว่าชั่วชีวิตของใครหลายคนจะกล้าแม้แต่ฝันถึง และเกมแบบเด็กๆ ที่การก้าวพลาดไม่ใช่แค่เข่าถลอกหรือได้แผลฟกช้ำ แต่หมายถึงความตายแบบศพไม่สวย ยิงเป็นยิง ตลอดเรื่องคือมหกรรมละเลงเลือดแบบที่คำอ้อนวอนใดๆ ก็ไม่อาจดังไปกว่าเสียงปืน เหล่านี้คือองค์ประกอบที่ทำให้ Squid Game เป็นซีรีส์ Survival Horror ที่ถึงเครื่องและตอบโจทย์ในแง่การกระตุ้นอะดรีนาลีนในกายให้หลั่งไหล เอาใจช่วย เห็นใจ เกลียดชัง สาปส่งตัวละครหลากสีสันหลายสันดาน แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีคอนเทนต์ที่รวบรวม “ช่องโหว่” ทั้งรายละเอียดที่ไม่สอดคล้อง ลอจิกที่ไม่ค่อยน่าซื้อสักเท่าไหร่ […]

เรียนเพศศึกษานอกตำราไทยกับ Sex Education Season 3

‘เพศศึกษา’ คือหนึ่งในวิชาที่สะท้อนค่านิยมที่ล้าหลังในระบบการศึกษาไทย ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีเนื้อหาและค่านิยมที่อยู่ในบทเรียนก็ไม่เคยพัฒนาไปไกลกว่าคำว่าศีลธรรมอันดี นอกจากจะไม่ช่วยให้เด็กเปิดกว้างเรื่องเพศแล้ว ยังส่งต่อความเชื่อแบบผิดๆ และส่งผลกับสุขภาพทางเพศเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย ทำให้หลายครั้งเรามักจะพบคำถามแปลกๆ ในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับสุขอนามัยทางเพศ ทั้งๆ ที่เป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนควรจะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เพื่อให้เขาเข้าใจธรรมชาติของร่างกาย มากกว่าที่จะทำให้เซ็กซ์กลายเป็นเรื่องต้องห้าม Sex Education คือซีรีส์ที่ว่าด้วยเรื่องเซ็กซ์วุ่นๆ ของวัยรุ่นในโรงเรียนมัวร์เดลจาก Netflix ที่เคยกระตุกต่อมศีลธรรมอันดีของคนไทย จนมีพรรคการเมืองเข้ายื่นหนังสือต่อ กสทช. เพื่อขอให้ตรวจสอบ ‘เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนไทย’ มาแล้ว (ทั้งที่คนเขาดูกันทั้งโลก) ทำให้ชาวเน็ตแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้กันอย่างล้นหลาม เพราะยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ จึงทำให้ซีรีส์เรื่องนี้ได้รับความนิยมมาตลอด ตอนนี้ Sex Education Season 3 กลับมาพร้อมความแสบ คัน และยังสอนเพศศึกษาได้มันเหมือนเคย เราจะพาไปเรียนรู้เรื่องเพศกับ Sex Education ซีซันนี้ผ่าน 8 บทเรียนที่ไม่มีในตำราไทย แต่เรียนรู้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่อยากเปิดใจศึกษาเรื่องเพศมากกว่าเดิม  นอกจากเรื่องเซ็กซ์แล้วในซีซันนี้ยังมีเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละคร เพื่อน ครอบครัว คนรัก และสารพัดปัญหาของช่วง Coming of Age เช่น การ Come Out การค้นหาตัวเอง […]

Hometown Cha-Cha-Cha เมื่อหมอฟันสาวโซลซัดโซเซจากเมืองหลวงไปซบไหล่ ตจว. ในหมู่บ้านชายทะเลที่กงจิน

พอนึกถึงซีรีส์เกาหลีใต้ทีไร ส่วนใหญ่โลเคชันหลักของเรื่องก็มักเกิดขึ้นในโซล เพราะโซลคือภาพแทนของเมืองหลวงสุดป็อป ที่เป็นภาพจำของคนทั้งโลก ในฐานะศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี การศึกษา การท่องเที่ยว และเป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคนจนเรียกเป็น Megacity ของโลกใบนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ถ้าไม่ดำเนินเรื่องในโซล แล้วหันไปมองโลเคชันเมืองอื่นอย่างจังหวัดคังวอน พื้นที่ที่เค-ซีรีส์ส่วนใหญ่ไม่เลือกใช้ดำเนินเรื่องล่ะ คุณพอจะนึกถึงซีรีส์เรื่องไหนที่มีฉากหลังเป็นจังหวัดนี้ไหม ถ้านึกไม่ออก เราขอยก Hometown Cha-Cha-Cha ออริจินัลซีรีส์จาก Netflix มาเล่า เพราะนอกจากจะถ่ายทอดชีวิตคนในพื้นที่หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดคังวอน เรายังอยากชวนผู้ชมหลบจากกรุงโซลมาสำรวจเรื่องราวในพื้นที่นอกเมืองหลวงผ่านซีรีส์โรแมนติกคอเมดี้เรื่องนี้ คาจา! (ไปกัน) เดินทางไม่นานหรอก เพราะถ้ากะเส้นทางขับรถจากโซลไปคังวอนคร่าวๆ จะมีระยะทางประมาณ 100 กว่ากิโลเมตร มาเหยียบคันเร่งด้วยจังหวะ Cha-Cha-Cha จากเมืองหลวงสู่ปลายทางที่หมู่บ้านริมทะเลแสนสงบ (โลเคชันสมมติ) เพื่อพบกับเรื่องรักของทันตแพทย์สาวจากโซลที่ปิ๊งรักกับหนุ่ม ตจว.ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ถ้าพร้อมแล้วคาดเข็มขัดให้มั่นเพราะตอนนี้เรากำลังอยู่บนรถของ Yoon Hye-jin (Shin Min-a) ทันตแพทย์สาวมั่นที่จำใจละทิ้งโซล เพราะดันไปมีความขัดแย้งกับผู้อำนวยการคลินิกทันตกรรมผู้มีคอนเนกชันกว้างขวางในเมืองหลวง ฮเย-จินเลยตกงาน เธอเศร้าจนต้องออกมานั่งเหม่อริมทะเลเงียบๆ คนเดียว ซึ่งซีนนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตบทใหม่ของฮเย-จินแบบไม่อาจย้อนกลับ นอกจากจะเล่าเรื่องรักโรแมนติกเจือกับความโกลาหลที่เกิดขึ้น ยังมีแง่มุมเกี่ยวกับสังคมเมืองและสังคมชนบทให้เราได้สังเกตกันสนุกๆ แถมดูแล้วก็ได้อมยิ้มไปกับเคมีของ […]

Roh หนังผีมาเลย์ ความเฮี้ยนบนฐานเรื่องเล่าพื้นบ้านและพื้นเพศาสนา

Roh หนังผีเสียวสันหลังทุนน้อยสัญชาติมาเลเซีย ความเฮี้ยนที่ผูกเรื่องเล่าพื้นบ้าน ความเชื่ออิสลาม และอัลกุรอาน

บอล ธิติกรณ์ 20 ปี ‘คนหาโลเคชัน’ ผู้พลิกเมืองกาญจน์เป็นอินเดีย เนปาล ใน The Serpent

‘ตื่นเต้นว่ะ’ คำถามในสมุดที่จดไว้ตั้งแต่เมื่อคืน แบตสำรองชาร์จเต็มเพื่อกันเครื่องดับระหว่างอัดเสียง และความอิน The Serpent ซีรีส์ฆาตกรรมจากเรื่องจริง ว่าด้วยฆาตกรต่อเนื่องยุค 70 อย่าง ชาร์ล โสภราช aka อาแลง (แสดงโดย Tahar Rahim) และแฟนสาว มารี อังเดร aka โมนิค (แสดงโดย Jenna Coleman) คู่รักที่ฉาบหน้าเป็นเศรษฐีขายอัญมณี ช่วยเหลือชาวต่างชาติที่มาหาอิสระใน ‘ไทย’ แต่เบื้องหลังเป็นนักต้มตุ๋นซึ่งลงมือฆ่าพร้อมชิงทรัพย์อย่างเลือดเย็น ทั้งหมด พาฉันมายืนอยู่ใน Kanit House หรือ บ้านคณิต อะพาร์ตเมนต์เลขที่ 77/5 สถานที่หลักที่ทั้งคู่หลอกเหยื่อมาสร้างเวทีฆาตกรรม ซึ่งดูได้ใน Netflix ถ้าอิงเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นช่วงปี 1970 บ้านคณิตตั้งอยู่แถวศาลาแดง แต่หากอิงจากสถานที่ถ่ายทำของซีรีส์ปี 2021 สองเท้าที่กำลังสัมผัสพื้นบ้านเบลล่าวิน อะพาร์ตเมนต์เล็กๆ เกือบท้ายซอยสุขุมวิท 4 คือคำตอบ สระว่ายน้ำคุ้นตากลางอะพาร์ตเมนต์ในซีรีส์ ตอนนี้ไม่มีน้ำสักหยด มันไม่ได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรอกนะ แค่กลับไปเป็นแบบเดิมก่อนถ่ายทำ เพราะสระนี้ร้างมานานแล้ว! […]

ชวนดู 7 หนังไทยชวนสยอง พาหลอนกรรมตามสนอง

ประโยคบอกเล่าธรรมดาที่กลายเป็นวลีฮิต เพราะการมาถึงของเด็กใหม่ชื่อ ‘แนนโน๊ะ’ จากซีรีส์เรื่อง ‘เด็กใหม่’ ที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งบน Netflix บ้านเราตอนนี้ ตามมาด้วยเรื่องราวประหลาดล้ำสุดสยอง แต่ไม่มีอะไรจะน่ากลัวไปกว่าการที่มนุษย์ห้ำหั่นกันเอง แนนโน๊ะมีหน้าที่เพียงเก็บกวาดคนชั่ว ด้วยการให้บทเรียนจากการกระทำอย่างสาสม

Seaspiracy ไม่บอกอะไร เมื่อประมงทำร้ายทะเล แต่ถ้าหยุดกินปลาตามสารคดีก็เป็นหายนะของคนจน

บรรณาธิการบริหารแห่ง Urban Creature บอกทีมในเช้าวันประชุมกองบรรณาธิการว่า “ภายในปี 2048 มหาสมุทรอาจว่างเปล่า ไร้สิ่งมีชีวิต” หลังจากเมื่อคืนพี่แกใช้เวลาจดจ่อกับ Seaspiracy ภาพยนตร์สารคดีใน Netflix ที่ตีแผ่อุตสาหกรรมประมงซึ่งทำร้ายสิ่งมีชีวิตในทะเลไปมหาศาล ทั้งอวนจับปลาที่สร้างขยะและฆ่าสัตว์น้อยใหญ่มากกว่าพลาสติก ปัญหาการจับสัตว์น้ำพลอยได้ที่เน้นกวาดทุกสปีชีส์ในทะเลด้วยอวนขนาดใหญ่ที่คลุมโบสถ์ได้ทั้งหลัง แรงงานทาสที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ฟาร์มสัตว์ทะเลที่เข้ามาแย่งพื้นที่ป่าโกงกางซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญบนโลกจนเกิด Climate Change รวมไปถึงการชี้ให้ทุกคนหยุดกินปลาเพื่อจบทุกปัญหา หลากเสียงในห้องประชุมเริ่ม “เชี่ย แล้วต้องทำไงวะ” “กูดูจบแล้วอยากเลิกกินปลา” “โหดร้ายว่ะ” “คืนนี้จะกลับไปดู” ขึ้นมาจนกลายเป็นเสียงนอยซ์ เย็นวันนั้น เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ฉันใช้ไปกับการดู Seaspiracy พร้อมความรู้สึกหดหู่ที่เกิดขึ้น แต่เดี๋ยวก่อน…หลังจากที่สติแตกไปครู่หนึ่ง อยู่ดีๆ ก็คิดขึ้นว่า “เคยเรียนข่าวมา หาข้อมูลเพิ่มเติมและอัปเดตมันหน่อยเป็นไง” อวนสร้างความเสียหายต่อทะเลมากแค่ไหน การลดใช้พลาสติกไม่จำเป็นเลยหรือเปล่า การจับสัตว์น้ำพลอยได้ต้องเร่งแก้ไขก่อนที่มันจะสูญพันธุ์หรือไม่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทะเลส่งผลเสียอย่างไร ตกลงแรงงานทาสในไทยมีอยู่ไหม และการเลิกกินปลาเป็นคำตอบที่ดีจริงหรือในวันที่ชาวประมงพื้นบ้านยังคงเลี้ยงชีพด้วยการหาปลา ทุกคำถาม มีคำตอบ ขอเวลาไม่นาน เพ่งสายตาให้มั่น ไล่อ่านทุกบรรทัด ไปเจาะข้อมูลเอกสารที่สารคดีไม่ได้บอก และความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านประมงในไทยกัน ลุย […]

‘Izakaya Bottakuri’ ซีรีส์ญี่ปุ่นที่สอนให้รู้ว่า คุณค่าของอาหารคือรสชาติของชีวิต

ณ ตรอกที่อยู่ถัดจากถนนย่านการค้า มีร้านอิซากายะอยู่ร้านหนึ่ง ร้านนี้มีเครื่องดื่มดีๆ อาหารอร่อยๆ และกลุ่มคนที่มีหัวใจอบอุ่นยินดีต้อนรับเสมอ “อิรัชชัยมาเสะ” ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Izakaya Bottakuri ซีรีส์ญี่ปุ่นขนาดสั้นที่ถูกดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนในชื่อเดียวกัน บอกเล่าเรื่องราวร้านอาหารของสองพี่น้องมิเนะและคาโอรุ ที่คอยสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตา ให้ผู้คนในร้าน ผ่านเมนูอาหารจานพิเศษของร้านในแต่ละวัน ทำให้บรรยากาศภายในร้านแห่งนี้ตลบอบอวลไปด้วยความอบอุ่น ความสุข และความสัมพันธ์ ผ่านการปรุงอาหารด้วยหัวใจทุกจาน นอกจากจะเป็นซีรีส์ชวนหิว ยังชวนให้เราเข้าครัวในเวลาเดียวกัน ถ้าอยากรู้ว่าเป็นยังไง ต้องดูให้จบตอน! ซีรีส์ที่พาเราไปรู้จักวัฒนธรรมการกินแบบ Izakaya เมื่อพูดถึงดินแดนอารยธรรมอย่างญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจ Izakaya คือรูปแบบร้านกินดื่มประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากร้านเหล้าที่เราคุ้นเคยในประเทศไทย ด้วยเอกลักษณ์การเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควบคู่ไปกับอาหารประเภทต่างๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกินดื่มให้มีรสชาติมากขึ้น ส่วนบรรยากาศภายในร้านจะเน้นความอบอุ่นเป็นกันเอง เหมาะแก่การเป็นสถานที่สังสรรค์หลังเลิกงานเพื่อคลายเครียดและกระชับความสัมพันธ์กับผู้คนไปในคราวเดียวกัน รูปแบบการกินดื่มดังกล่าวได้รับความนิยมจนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น และค่อยๆ แพร่กระจายไปยังสถานที่อื่นทั่วโลก ‘Bottakuri’ ชื่อร้านที่หมายถึงการขูดรีด ความพิเศษของร้านแห่งนี้คงต้องเริ่มจากชื่อร้าน ‘Bottakuri’ ซึ่งหมายถึงการขูดรีด โดยมีที่มาจากความคิดของคุณพ่อเจ้าของร้านว่า การที่เรารับเงินจากการเสิร์ฟอาหารที่บ้านไหนก็มี บ้านไหนก็ทำได้ คงเหมือนการขูดเลือดขูดเนื้อผู้มาใช้บริการหรือเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ‘บตตากุริ’ กลายเป็นที่มาที่ไปของชื่อร้าน ถึงแม้ร้านแห่งนี้จะเสิร์ฟอาหารทั่วๆ ไป แต่ต่างตรงที่ความตั้งใจพิถีพิถันของคนปรุงซึ่งปรุงอาหารทุกจานด้วยหัวใจ และเมื่ออาหารสร้างรอยยิ้มบนใบหน้าของผู้คนได้ เมื่อนั้นลูกค้าก็จะไม่เสียดายเงิน ทุกคนที่ก้าวเท้าเข้ามาในร้านจึงพร้อมถูกขูดรีดอยู่เสมอ  เมนูนี้สอนให้รู้ว่า […]

นั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาผ่านคราบน้ำตาจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น’

‘เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น’ อาจเป็นระยะเวลาที่ไม่นานเท่าไหร่ แต่กลับมีความหมายสำหรับใครหลายคน ขณะนี้เรากำลังพาคุณเข้าสู่เรื่องราวของภาพยนตร์จาก Netflix เรื่อง ‘เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น’ ร้านกาแฟที่สามารถพาคุณย้อนเวลาได้ผ่านการกินกาแฟหนึ่งแก้ว

ปล่อยหัวให้โล่งกับ Headspace ซีรีส์ Netflix ฝึกสมาธิเหมือนเชิญนักจิตบำบัดมาที่บ้าน

“ช่วงนี้เป็นไงบ้าง สบายดีไหม?” ข้อความจากเพื่อนที่ไม่ได้คุยกันมานานเด้งขึ้นมาหน้าแชต คำทักทายทั่วไปที่ฉันมักตอบสั้นๆ “อืม ก็ดีนะ” แต่วันนี้ฉันกลับมานั่งคุยกับใจตัวเองอย่างจริงจัง

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.