‘พระนครเมืองใจดีเที่ยวได้ทุกวัย’ โครงการพัฒนาเมืองโดย Mayday! ที่อยากทำให้ทุกคนเดินทางได้ด้วยตัวเอง

กาลเวลาผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน ความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของ ‘กรุงเทพมหานคร’ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การพัฒนาเมืองเป็นเรื่องสำคัญที่หลายหน่วยงานต้องเดินหน้าหาทางออกแบบให้เมืองน่าอยู่กันต่อไป ล่าสุด มีไอเดียหนึ่งที่น่าสนใจและ Urban Creature อยากบอกต่อคือ ‘โครงการพระนครเมืองใจดีเที่ยวได้ทุกวัย’ โดยมี ‘Mayday!’ กลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาขนส่งสาธารณะให้ดีขึ้นเป็นผู้ออกแบบ ในการออกแบบครั้งนี้ Mayday! ตั้งใจอยากทำให้เมืองของเรากลายเป็นเมืองที่ใจดี ทุกคนเดินทางได้ด้วยตัวเอง พวกเขาจึงให้ความสำคัญกับขนส่งสาธารณะที่ทุกคนเดินทางได้อย่างสะดวก และเชื่อมต่อไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็นระบบรถ เรือ ราง และทางเท้า เพื่อให้การเดินทางไม่ใช่อุปสรรคแต่เป็นโอกาสสำหรับทุกคน เริ่มต้นจากการออกแบบป้ายรถเมล์ ที่เป็นงานถนัดของ Mayday! ในโครงการนี้ พวกเขาตั้งใจทดลองพัฒนาปรับเปลี่ยนดีไซน์ป้ายบริเวณ MRT สถานีสามยอด ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในเกาะพระนคร ดังนั้นเราจะได้เห็นป้ายรถเมล์บริเวณนี้ที่นำแผนที่เส้นทางเดินรถ (Route) มาดีไซน์ให้คนทุกวัยเห็นภาพรวมของเส้นทางการเดินรถได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ผ่านการจัดวางองค์ประกอบอย่างมีสไตล์ สีสันสะดุดตา ทั้งยังมีสัญลักษณ์ที่ให้ข้อมูลกับผู้พิการที่เคลื่อนที่ด้วยวีลแชร์  นอกจากนี้ยังมี ‘ป้ายให้ข้อมูลการนำทางระดับย่าน’ ที่นำอัตลักษณ์ของย่านเมืองเก่ามาเป็นหลักในการออกแบบ เพื่อให้ป้ายมีรูปแบบที่กลมกลืนไปกับพื้นที่ โดยเลือกจุดติดตั้งที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่ในเมือง เช่น การติดตั้งบนรั้วถนนตรงทางออก MRT เพื่อไม่ให้เป็นสิ่งกีดขวางทางเท้า หรือบริเวณเสา ไปจนถึงการพัฒนาป้ายร้างในพื้นที่ให้มีชีวิตชีวา น่ามอง กลับใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ Mayday! ยังนำเอาการออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม […]

‘ป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่’ หัวป้ายชัด ข้อมูลเข้าใจง่าย ไม่เกะกะ แก้ทุก Pain Point ผู้ใช้งาน โดย Mayday!

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีทวิตเตอร์แอ็กเคานต์หนึ่งแชร์ภาพป้ายรถเมล์ใหม่แถวสามยอดจนกลายเป็นไวรัล เพราะดูข้อมูลง่าย ใช้สีระบุสายรถที่ผ่านตามสถานที่ต่างๆ อย่างชัดเจน และบอกลักษณะของรถเมล์สายนั้นๆ ว่ารองรับวีลแชร์หรือไม่ เป็นต้น แต่ความจริงแล้ว ป้ายรถเมล์เวอร์ชันที่เป็นที่พูดถึงกันอยู่นี้คือเวอร์ชันที่ยังไม่ใหม่ล่าสุด เพราะ ‘วิช-กรวิชญ์ ขวัญอารีย์’ นักออกแบบประจำ Mayday! บอกกับเราว่า ป้ายรถเมล์รูปแบบล่าสุดที่ผ่านการคิดและดีไซน์เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานทุกคนมาแล้วตั้งอยู่บริเวณย่านเมืองเก่าและแหล่งท่องเที่ยวอย่างเยาวราช บนถนน 2 สายสำคัญคือถนนเยาวราช และถนนเจริญกรุง ป้ายรถเมล์ที่ว่านี้เป็นผลมาจาก Bangkok Design Week ปีนี้ที่ Mayday! ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) พัฒนาป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่ที่มีข้อมูล สว่าง ปลอดภัย รู้เวลา และขนาดที่เหมาะสม ฉีกทุกข้อจำกัดในอดีตที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นป้ายที่เหมาะกับการใช้งานจริง “สำหรับป้ายรถเมล์ย่านเยาวราช เราใช้รูปแบบกราฟิกที่คล้ายคลึงกันกับป้ายรถเมล์ตรงบริเวณสามยอด คือใช้เส้นทางและเส้นโยงใยที่คล้ายกัน แค่เพิ่มฟีเจอร์แผนที่รอบๆ ป้ายรถเมล์ที่ทำให้คนที่ลงจากรถเมล์สามารถเดินไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ด้วย” วิชอธิบาย “ขณะเดียวกัน ถ้าเทียบกับป้ายรูปแบบเดิม มันเป็นป้ายที่ตั้งขวางทางเดินในกรณีที่ทางเท้าแคบ ทำให้เกะกะ ไม่เหมาะกับการใช้งานในเขตเมืองเก่า เราจึงออกแบบป้ายรถเมล์ใหม่ในเยาวราชให้เป็นเสาเดี่ยว โดยติดตั้งในระดับที่ผู้ใช้วีลแชร์สามารถอ่านในระยะที่นั่งได้ง่ายเหมือนเดิม แต่จะนำข้อมูลมาหันขนานกับทางรถวิ่ง เวลาดูข้อมูลก็อ่านด้านข้างได้เลย รวมถึงเดินผ่านตัวป้ายได้สะดวก ไม่เกิดความรู้สึกว่าป้ายมาบดบังทางเท้า […]

ยิ่งหยุดพัก งานยิ่งปัง?

วันศุกร์ทีไร ‘มนุษย์แรงงาน’ ดี๊ด๊าทุกที เพราะเป็นวันสุดท้ายของการทำงานในสัปดาห์! เพื่อชาร์จพลังกลับไปลุยงานต่อวันจันทร์ ว่าแต่การหยุดพัก 2 วันหลังจากเคร่งเครียดกับงานมายาวๆ 5 วันนั้นช่วยให้สมองและร่างกายเราพร้อมกลับไปทำงานจริงหรือเปล่า เพราะยังว่ากันว่าหลังจากได้พักยาวๆ แล้ว เมื่อกลับไปทำงานอีกครั้ง ประสิทธิภาพของคนทำงานจะดีขึ้น จนผลงานที่ออกมาเต็มไปด้วยคุณภาพ เรื่องนี้จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ชวนค้นคำตอบฉลองวันแรงงานกัน  ทำ 5 พัก 2 มาจากไหน ย้อนกลับไปศตวรรษที่ 19 สมัยที่ยังไม่มีกฎหมายแรงงาน ทำให้นายจ้างกำหนดเวลาเข้า-ออกงาน รวมถึงชั่วโมงทำงานอย่างไรก็ได้ บางที่ดีหน่อยให้หยุดพัก 1 วัน ไม่เสาร์หรืออาทิตย์ขึ้นอยู่กับวันประกอบพิธีของแต่ละศาสนา แต่บางที่ก็แย่เกินใครเพราะไม่มีวันหยุด และให้พนักงานโหมทำงานมากถึง 14 ชั่วโมง/วัน เนื่องจากงานหนักจนคนทำงานทนไม่ไหว จึงเกิดการนัดหยุดงานเพื่อออกมาประท้วง ท้ายที่สุดพี่น้องแรงงานเลือดนักสู้ก็ได้เวลาทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และหลายประเทศบรรจุเข้าข้อกฎหมาย ประกอบกับปัญหาการขอหยุดงานไม่ตรงกันของแต่ละศาสนาที่ยากต่อการจัดการ และประสิทธิภาพการทำงานตกลง จึงมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดงานประจำสัปดาห์ไปโดยปริยาย  ปี 1926 ‘เฮนรี ฟอร์ด’ เจ้าของฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอเมริกา คือนายทุนแรกที่ทดลองให้คนงานทำงานแค่ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.