อ่านบันทึกเรื่องราวของชาว LGBTQ+ ที่เชื่อมโยงความทรงจำกับสถานที่ บนแผนที่ออนไลน์ ‘Queering the Map’

ทุกคนย่อมมีพื้นที่หรือสถานที่ในความทรงจำ เช่น สวนสาธารณะแห่งนี้เพื่อนสนิทที่เคยแอบชอบมักพามานั่งเล่น ใต้ต้นไม้ต้นนี้เป็นที่ที่เราบอกชอบแฟนคนแรก หรือกระทั่งถนนเส้นนี้เป็นถนนเส้นโปรดของแฟนเก่าที่เธอใช้บอกเลิกเราเมื่อหลายปีก่อน ฯลฯ หลายคนอาจเลือกที่จะเก็บงำไว้กับตัว แต่บางคนก็อยากบอกเล่าความทรงจำเหล่านี้ให้คนอื่นได้รับรู้ Queering the Map เป็นแพลตฟอร์มที่มีหน้าตาคล้ายกับ Google Maps ที่เรารู้จักกันดี แต่ความพิเศษคือ มันเป็นแผนที่สีชมพูที่เปิดให้กลุ่ม LGBTQ+ เข้ามาบันทึกหรือแบ่งปันเรื่องราวในความทรงจำหรือความรู้สึกต่อสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งก็ไม่ได้มีแต่เรื่องเล่าผ่านความทรงจำเท่านั้น แต่ในแผนที่นี้ยังอัดแน่นไปด้วยการเปิดเผยตัวตน การเผชิญหน้ากับความรุนแรง ช่วงเวลาแห่งความรักที่ลืมไม่ลง หรือแม้แต่ความอาลัยต่อช่วงเวลาในอดีต พูดง่ายๆ ว่า Queering the Map ทำหน้าที่เป็นเหมือนที่เก็บบันทึกชีวิตของกลุ่ม LGBTQ+ ซึ่งถ้าใครคิดว่าเรื่องราวเหล่านั้นมีความสำคัญกับตัวเอง แน่นอนว่าสำหรับ Queering the Map ก็มองว่าเรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้มีความสำคัญต่อเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน ‘Lucas LaRochelle’ ผู้สร้างโปรเจกต์นี้เล่าถึงจุดกำเนิดของ Queering the Map ต่อสื่อต่างๆ ว่า ตัวเองได้แรงบันดาลใจจากต้นไม้ที่มักขี่จักรยานผ่าน ซึ่งเป็นจุดที่เขาได้เจอกับคู่ชีวิต และยังเป็นที่ที่พวกเขาทั้งคู่ได้พูดคุยและเปิดเผยตัวตนทางเพศของตัวเอง หลังจากนั้นเมื่อเขาผ่านไปยังต้นไม้ต้นนั้นอีกครั้ง ก็จะรู้สึกถึงความเชื่อมโยงกับพื้นที่ตรงนั้นเสมอ และทำให้เขาคิดถึงสถานที่อื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกแบบนี้ด้วยเหมือนกัน ตามไปอ่านเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆ บนแผนที่สีชมพูฉบับนี้ได้ที่ […]

เพราะโลกนี้มีหลายเฉดสี! ชัชชาติสนับสนุนให้ข้าราชการ กทม. แต่งกายตามเพศวิถี ขอแค่ทำงานดีก็พอ

1 มิถุนายน 2565 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมงาน ‘Samyan Mitr Pride 100% Love เพราะความรักมีหลากหลาย’ ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองให้กับ ‘เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ’ หรือ ‘Pride Month’ ชัชชาติให้สัมภาษณ์ภายในงานว่า การตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศคือเรื่องสำคัญ ในอดีตสังคมอาจไม่ค่อยยอมรับเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันโลกของเราเปลี่ยนไปแล้ว การยอมรับความหลากหลายทางเพศจะทำให้คนในสังคมมีความเข้าใจกัน ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับความแตกต่างเรื่องอื่นๆ มากขึ้นด้วย ที่สำคัญ ชัชชาติยังพูดถึงการยอมรับให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งกายตามเพศวิถี โดยย้ำว่าความชอบส่วนบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ขอให้บริการประชาชนได้เต็มที่ ทำงานให้ดี ไม่บกพร่องก็พอ เพราะเรื่องการแต่งกายเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น โดย กทม. จะต้องทบทวนกฎระเบียบปัจจุบันอีกครั้งว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ซึ่งชัชชาติมองว่าการแต่งกายตามเพศวิถีคือเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการสนับสนุน มากไปกว่านั้น ชัชชาติยังพูดถึงการส่งเสริมความต้องการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น บริการด้านสาธารณสุข บริการด้านจิตวิทยา ความปลอดภัย และห้องน้ำสาธารณะ รวมไปถึงการให้ความรู้ในโรงเรียน การจัดงาน และการจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ กทม. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สังคมเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ชัชชาติระบุว่า “ทั่วโลกยอมรับเรื่องความหลากหลายกันแล้ว ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว โลกไม่ใช่ศูนย์กับหนึ่ง ไม่ใช่มีแค่ขาวกับดำ ผมคิดว่ามันมีสเปกตรัม […]

5 หนังและซีรีส์อินเดียท้าทายค่านิยม โชว์กึ๋นคนทำหนังแดนภารตะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่านาทีนี้ หนึ่งในหนังที่มาแรงสุดๆ ในไทยคือ Gangubai Kathiawadi ที่ทำให้บางคนเปลี่ยนภาพจำของหนังอินเดียที่มักเป็นภาพของการร้อง เล่น เต้นข้ามภูเขาของพระนาง  ในความเป็นจริง หนังอินเดียก้าวไปไกลกว่านั้นมานานแล้ว หนังบางเรื่องจุดประเด็นถกเถียงในความเชื่อและค่านิยมเก่าๆ ในสังคม (ในที่นี้ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก) ไม่ว่าจะด้านศาสนา การศึกษา อาชญากรรม และสิทธิเสรีภาพ บางเรื่องประสบความสำเร็จจนทำรายได้หลักล้านล้าน (ใช่ หลักล้านล้าน อ่านไม่ผิดหรอก) และบางเรื่องถึงขั้นโดนฟ้องร้องตอนออกฉาย อย่างไรก็ดี นี่คือโอกาสเหมาะที่เราอยากแนะนำหนังอินเดียเรื่องโปรดให้ดู เพราะเชื่อว่าหนังจากดินแดนภารตะแห่งนี้มีความ ‘ว้าว’ ที่รอให้เราไปสำรวจอีกเยอะ  01 | Gangubai Kathiawadi (2022) ไม่แปลกใจเลยสักนิดว่าทำไม Gangubai Kathiawadi ถึงมีกระแสฮือฮาในบ้านเรา เพราะนี่คือหนังหญิงแกร่งแห่งมุมไบที่เต็มไปด้วยความบันเทิงครบเครื่อง และเมสเซจอันจัดจ้าน ถึงแก่น มันเล่าเรื่องราวของ ‘คังคุไบ’ ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กสาวที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดง กระทั่งถูกสามีหลอกไปขายให้ซ่องโสเภณี แต่ชีวิตของเธอก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น เธอสู้ชีวิตกลับด้วยการพยายามฝ่าฟันจนกลายมาเป็นแม่เล้า มาเฟีย รวมถึงแอ็กทิวิสต์สาวสุดปังแห่งย่านกามธิปุระผู้ผลักดันสิทธิของผู้ค้าบริการและเด็กกำพร้า  อันดับหนึ่งบนเน็ตฟลิกซ์ไทยตลอดทั้งสัปดาห์คงการันตีได้ว่า Gangubai Kathiawadi เป็นหนังที่ป็อปปูลาร์มากแค่ไหนในบ้านเรา ยังไม่นับรวมการถูกคัฟเวอร์ลุคโดยดารานักร้องและแม่ค้าออนไลน์ทั่วราชอาณาจักร (ถ้าหันมาเรียกร้องสิทธิให้เซ็กซ์เวิร์กเกอร์ไทยด้วยจะดีมากๆ) ดู Gangubai […]

IKEA เปิดตัวเสื้อยืดคอลเลกชันพิเศษ โอบรับความหลากหลายของคนในสังคม จำหน่ายถึง 14 มิ.ย. 65 ที่หน้าร้านเท่านั้น

เดือนมิถุนายนของทุกปีจะเป็น ‘เดือนแห่งความเท่าเทียมทางเพศ’ หรือ ‘Pride Month’ ที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ร่วมกันแสดงออกถึงสิทธิและความเท่าเทียม และเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลายทางเพศ สำหรับปีนี้ เราอยากชวนทุกคนโอบรับและรณรงค์ความแตกต่างของคนในสังคมไปกับ ‘Make the World Everyone’s Home’ เสื้อยืดคอลเลกชันพิเศษจาก IKEA ดีไซน์ด้วยสัญลักษณ์สีรุ้ง พร้อมสกรีนคำว่า Make the World Everyone’s Home ราคาตัวละ 299 บาท รายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายจะมอบให้ ‘สมาคมฟ้าสีรุ้ง’ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตรถคลินิกเคลื่อนที่สำหรับให้บริการตรวจสุขภาพและให้คำปรึกษาด้านต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการสร้างคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น เสื้อยืดรุ่นนี้มีให้เลือกทั้งหมด 3 ไซซ์ ได้แก่ S, M, L มีจำหน่ายที่ สโตร์อิเกีย 3 สาขาเท่านั้น ได้แก่ – อิเกีย บางนา | t.ly/apgE – อิเกีย บางใหญ่ | t.ly/KTUL […]

SPECTRUM เปิดรับเรื่องสั้น Queer/LGBT+ เพื่อตีพิมพ์ใน Bangkok Pride: Rainbowtopia งาน Pride ครั้งแรกของ SPECTRUM

หลังจากที่ SPECTRUM นำเสนอประเด็นเรื่อง ‘เพศ’ และสร้างความตระหนักรู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศให้สังคมมาไม่น้อย ปีนี้ SPECTRUM ก็ขยับบทบาทจากสื่อออนไลน์มาทำกิจกรรมสนุกๆ มากขึ้นอย่างการเปิดรับเรื่องสั้น Queer/LGBT+ สำหรับตีพิมพ์ในงาน Pride ครั้งแรกที่พวกเขาจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2565 สำหรับข้อกำหนดของเรื่องสั้นที่เปิดรับ SPECTRUM ไม่ได้ตั้งกฎเกณฑ์ใดมากนัก เป็นงานเขียนแนวไหนก็ได้ เรื่องแต่ง แฟนตาซี เรื่องจริง หรืองานเขียนเชิงทดลองก็ได้หมด ขอแค่มีความเควียร์แบบสุดๆ อยากตีแผ่เรื่องราวความรัก ความทุกข์ ชีวิต มุมมอง สะท้อนภาพของ LGBT+ ในสังคม หรืออยากวาดฝันถึงภาพในอนาคตที่ทุกคนเท่าเทียมก็ย่อมได้ ไม่มีการปิดกั้นใดๆ ทั้งสิ้น จำกัดความยาวงานเขียนไม่เกิน 4 หน้า A4 ส่งได้ไม่จำกัดจำนวนเรื่องต่อคน โดยผู้ที่สนใจส่งผลงานได้ถึงเวลา 23.59 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 เจ้าของผลงานที่ได้รับเลือก จะได้รับค่าลิขสิทธิ์จำนวน 1,000 บาท และส่วนแบ่งจากการขาย ทั้งนี้ งานเขียนที่ได้รับเลือกจะถูกนำไปตีพิมพ์ เพื่อวางขายร่วมกันในบูทหนังสือของงาน Bangkok Pride […]

ตามหาตัวตนและรักหมดใจใน Heartstopper ซีรีส์วัยรุ่นฟีลกู้ดที่บอกว่าใครก็มีความรักดีๆ ได้

ถ้าตอนเด็กๆ คุณเคยดูหนังรักวัยรุ่นแล้วอินจนอยากมีความรักบ้าง เราคือเพื่อนกัน และถ้าตอนเด็กๆ คุณรู้ว่านั่นเป็นได้แค่ฝัน ความจริงแล้วคุณนึกภาพตัวเองมีความรักแบบตัวละครไม่ออกเพราะคุณกับพวกเขาไม่ ‘เหมือน’ กันเลยสักนิด เราขอยกมือตบบ่าอย่างเข้าใจ ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ เราเติบโตมากับหนังและซีรีส์โรแมนติกที่ตัวเอกเป็นชาย-หญิงที่รักเพศตรงข้าม หากจะมีเรื่องที่เล่าชีวิตรักของคนในคอมมูฯ ก็มักจะจบไม่สวย เต็มไปด้วยภาพชีวิตอันยากลำบากของชาวเพศหลากหลายที่สมจริงแต่ก็หดหู่ จนบางครั้งก็ทำให้เราในวัยเด็กดูแล้วตั้งคำถามว่า เกิดมาชอบเพศเดียวกันแล้วฉันจะมีความรักใสๆ มีโมเมนต์ใจเต้นตึกตักหรือความรู้สึกว่ามีผีเสื้อบินในท้องแบบเด็กคนอื่นไม่ได้เลยเหรอ หลายปีผ่านไปจนเลยวัยเด็กมาไกล ไม่เคยมีหนังหรือซีรีส์เรื่องไหนตอบคำถามนั้นได้ จนกระทั่งเรารู้จัก Heartstopper เพื่อนคนพิเศษ  อันที่จริง ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อ Heartstopper ไม่ใช่ซีรีส์ แต่เป็นคอมิกขายดีของ Alice Oseman นักเขียนชาว LGBTQ+ ที่ได้รับความนิยมมากจน Netflix หยิบมาทำซีรีส์  Heartstopper เริ่มต้นเรื่องราวที่โรงเรียนชายล้วนทรูแฮม ในวันเปิดเทอมหลังเทศกาลปีใหม่ ชาร์ลี (รับบทโดย Joe Locke) เด็กหนุ่มขี้อายผู้เปิดตัวว่าเป็นเกย์คนเดียวในโรงเรียน นัดพบกับ เบน (รับบทโดย Sebastian Croft) เด็กหนุ่มคนรักในความลับเพื่อมาจู๋จี๋กัน เป็นเรื่องปกติสำหรับชาร์ลีไปแล้วที่จะมาเจอเบนในเวลากับสถานที่ที่อีกฝ่ายสะดวก เพราะเบนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่มีแผนจะเปิดตัวกับใคร และใช่ว่าชาร์ลีพูดอะไรไปแล้วเบนจะสนใจ เขาแค่มาหาในเวลาที่อยากกอดจูบกับผู้ชายเท่านั้น แม้ภายนอกจะยิ้มแย้มแจ่มใส […]

Tiffany’s Show เพชรแห่งพัทยาที่อยากเอาใจลูกค้าพอๆ กับสร้างอาชีพให้ชาว LGBT+

Urban Creature x UN Women นึกถึงพัทยา คุณนึกถึงอะไร ต้นมะพร้าว ตลาดน้ำ หาดจอมเทียน หรือชีวิตกลางคืน พัทยาในความคิดของทุกคนอาจแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าถามฉัน ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ และได้ยินชื่อสถานที่แห่งนี้มานาน-ฉันนึกถึง Tiffany’s Show นับตั้งแต่เปิดการแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ.2517 Tiffany’s Show กลายเป็นหมุดหมายสำคัญที่คนมาเยือนพัทยาต้องนึกถึง แต่มากกว่าสาวสวย รวยความสามารถ และการแสดงอันน่าตื่นตาตื่นใจซึ่งเป็นภาพจำของใครหลายคน ที่นี่ยังถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง มากกว่านั้นคือสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน รวมถึงชาว LGBTQ+ ที่เดินทางจากทั่วประเทศหลายร้อยชีวิต สิ่งที่บางคนอาจไม่รู้คือโรงละคร Tiffany’s Show, เวทีประกวด Miss Tiffany’s Universe และ Miss International Queen นั้นควบคุมงานโดย จ๋า-อลิสา พันธุศักดิ์ ทายาทรุ่นสอง และผู้บริหารหญิงที่ยกระดับให้โชว์แห่งนี้โด่งดังไกล ผลักดันให้ LGBTQ+ ไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คอลัมน์ประจำจังหวัดคราวนี้ ฉันจึงอาสาพาทุกคนมาหาลมทะเลพัทยา ก้าวเข้าไปในโถงโอ่อ่าของ Tiffany’s Show เพื่อพูดคุยกับอลิสาถึงประวัติศาสตร์ของโรงละครตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง […]

ความฝัน น้ำตา และแดร็กยาใจของ Pangina Heals แดร็กไทยคนแรกใน RuPaul’s Drag Race

ปันปัน นาคประเสริฐ สักคำว่า Strive ไว้บนอกข้างซ้าย         ความหมายในพจนานุกรม Strive แปลว่า ‘พยายามอย่างหนักเพื่อสร้างสรรค์บางสิ่งให้เกิดขึ้น เป็นความพยายามที่ยาวนาน หรือความพยายามต่อสู้อย่างยากลำบาก’ พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่า ปันปันสักคำนี้ไว้เหนืออกซ้ายทำไม แต่ตลอดชั่วโมงแสนสั้นที่มีโอกาสได้นั่งคุยกัน เรื่องราวจากปากเขาทำให้คำว่า Strive ผุดขึ้นมาในใจเราหลายครั้ง เช่นเดียวกับคำว่า Brave (กล้าหาญ) และ Unapologetic (ไม่อับอายในสิ่งที่ทำ) ก่อนเป็น Pangina Heals แดร็กควีนที่ประสบความสำเร็จเบอร์ต้นๆ ของไทยในวันนี้ ปันปันต่อสู้กับความยากลำบากมาหลายครั้ง ในวัยเด็ก ปันปันนิยามตัวเองว่า เป็นเด็กที่ ‘อ้วนและสาว’ โดนบุลลี่ที่โรงเรียนทุกวัน ครอบครัวไม่ยอมรับ ประสบการณ์เลวร้ายทำให้ปันปันปฏิเสธความเป็นตัวเอง ไม่กล้ากระทั่งจะมีความสุข จนป่วยเป็นโรคการกินผิดปกติ กินเข้าไปก็สำรอกทุกครั้ง นั่นคือจุดเปลี่ยนให้เขาหันกลับมาฟังเสียงข้างในตัวเอง ช่วงวัยรุ่น เขาเปิดตัวว่าเป็นเกย์ อาจเป็นโชคดีที่ครอบครัวรับได้ หลังจากนั้นชีวิตเสมือนได้หายใจอย่างเต็มปอดเป็นครั้งแรก ปันปันบินไปเรียนต่อปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา ที่นั่นทำให้เขารู้จัก RuPaul แดร็กควีนในตำนานและ RuPaul’s Drag Race รายการแข่งขันแดร็กควีนที่ดังที่สุดในโลก จุดประกายให้ลองแต่งแดร็กเล่นๆ แต่ท้ายที่สุด ทำให้เขามั่นใจว่า […]

ทำความเข้าใจคนข้ามเพศในอัตชีวประวัติ ‘บันทึกกะเทยอีสาน’

เรามักได้ยินมายาคติที่ว่า ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของคนเพศหลากหลาย แต่เมื่อมองดูให้ลึกเข้าไปถึงค่านิยม โครงสร้าง เหตุการณ์ความรุนแรงทางเพศที่ผ่านมา และคำบอกเล่าจากคนในคอมมูนิตี้ จะรู้ว่าประโยคด้านบนเป็นคำกล่าวที่เกินจริงไปมาก หนังสือ ‘บันทึกกะเทยอีสาน’ โดย ปณต ศรีนวล ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการประจำ GendersMatter คือหนึ่งในตัวอย่างผลงานที่บอกเล่าความเจ็บปวดที่คนข้ามเพศต้องประสบเป็นอย่างดี โดยที่มาของอัตชีวประวัติเล่มนี้คือผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในโครงการ Progressive Fund จากคณะก้าวหน้า ทำให้ได้รับการตีพิมพ์แบบ Hard Copy และเผยแพร่ทางออนไลน์  ‘บันทึกกะเทยอีสาน’ พูดถึงชีวิตส่วนตัวของปณตตั้งแต่เด็กจนโต สะท้อนปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ ปัญหาการเข้าไม่ถึงการศึกษาของคนต่างจังหวัด รวมถึงปัญหาความแร้นแค้นในพื้นที่ทางภาคอีสานที่รัฐไม่เคยเข้าไปจัดการอย่างจริงจัง “พูดให้ง่ายคือ มันเล่าถึงชีวิตกะเทยอีสานใต้ที่รถทัวร์ชนกับรถขนมังคุดตั้งแต่ก่อนวันสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แล้วดันจับพลัดจับผลูไปเรียนคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เจอ Cyberbully พักการเรียน ต้องฝ่าฟันทั้งเรื่องโรคบูลิเมีย การอยู่ในประเทศบรูไนที่เป็นเมืองมุสลิม รวมไปถึงภาพจำของคนขาวต่อคนไทย ทั้งหมดอัดรวมในหนังสือเกือบ 90 หน้านี้” ปณตสรุปถึงงานเขียนของเธอ นอกจากภาษาที่สละสลวย อ่านเข้าใจง่ายแล้ว ในประโยคเรียบง่ายเหล่านี้ล้วนสอดแทรกความขมขื่นปวดร้าวต่อระบบและโครงสร้างของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา ไปจนถึงสังคมภาพกว้าง หลายครั้งที่คำพูดหรือการกระทำอย่างการพูดแซว การบีบคั้นแล้วอ้างว่าเป็นความหวังดี การทำตามค่านิยมเก่าๆ ถูกมองเป็นเรื่องปกติ ทว่าเมื่อได้ลองทำความเข้าใจในมุมมองของฝั่งผู้ถูกกระทำแล้วจะรับรู้ได้ว่าการตกอยู่ในภาวะนั้นเจ็บปวดสับสนเช่นไร ซึ่งหนังสือเล่มนี้ถ่ายทอดออกมาได้กระทบใจ […]

เรียนเพศศึกษานอกตำราไทยกับ Sex Education Season 3

‘เพศศึกษา’ คือหนึ่งในวิชาที่สะท้อนค่านิยมที่ล้าหลังในระบบการศึกษาไทย ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีเนื้อหาและค่านิยมที่อยู่ในบทเรียนก็ไม่เคยพัฒนาไปไกลกว่าคำว่าศีลธรรมอันดี นอกจากจะไม่ช่วยให้เด็กเปิดกว้างเรื่องเพศแล้ว ยังส่งต่อความเชื่อแบบผิดๆ และส่งผลกับสุขภาพทางเพศเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย ทำให้หลายครั้งเรามักจะพบคำถามแปลกๆ ในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับสุขอนามัยทางเพศ ทั้งๆ ที่เป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนควรจะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เพื่อให้เขาเข้าใจธรรมชาติของร่างกาย มากกว่าที่จะทำให้เซ็กซ์กลายเป็นเรื่องต้องห้าม Sex Education คือซีรีส์ที่ว่าด้วยเรื่องเซ็กซ์วุ่นๆ ของวัยรุ่นในโรงเรียนมัวร์เดลจาก Netflix ที่เคยกระตุกต่อมศีลธรรมอันดีของคนไทย จนมีพรรคการเมืองเข้ายื่นหนังสือต่อ กสทช. เพื่อขอให้ตรวจสอบ ‘เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนไทย’ มาแล้ว (ทั้งที่คนเขาดูกันทั้งโลก) ทำให้ชาวเน็ตแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้กันอย่างล้นหลาม เพราะยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ จึงทำให้ซีรีส์เรื่องนี้ได้รับความนิยมมาตลอด ตอนนี้ Sex Education Season 3 กลับมาพร้อมความแสบ คัน และยังสอนเพศศึกษาได้มันเหมือนเคย เราจะพาไปเรียนรู้เรื่องเพศกับ Sex Education ซีซันนี้ผ่าน 8 บทเรียนที่ไม่มีในตำราไทย แต่เรียนรู้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่อยากเปิดใจศึกษาเรื่องเพศมากกว่าเดิม  นอกจากเรื่องเซ็กซ์แล้วในซีซันนี้ยังมีเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละคร เพื่อน ครอบครัว คนรัก และสารพัดปัญหาของช่วง Coming of Age เช่น การ Come Out การค้นหาตัวเอง […]

‘หยุดเลือกปฏิบัติทางเพศ’ ความหวัง LGBTQ+ เกาหลีที่ถูกกดทับหลายสิบปี

I 01 ชีวิต LGBTQ+ ในเกาหลีไม่ง่าย สิทธิการรับบริการขั้นพื้นฐานที่สะดวกสบายของประชาชนเกาหลีใต้ อาจเป็นเรื่องยากมากเพียงเพราะคุณเป็น LGBTQ+ Park Edhi หญิงข้ามเพศชาวเกาหลี ที่อาศัยในโซล เป็นผู้ประสานงานประจำ DDing Dong ศูนย์ช่วยเหลือเยาวชน LGBTQ แห่งเดียวในเกาหลี ยังต้องเจอกับปัญหามากมาย เพียงเพราะเอกสารราชการระบุว่าเธอเป็นผู้หญิงข้ามเพศ ตัวตนของเธอจึงถูกตั้งคำถามตลอดเวลา ดังนั้นเรื่องง่ายๆ อย่างการสมัครบัตรเครดิต ก็ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องมีการเช็กเวชระเบียนเพื่อรับรองว่าเธอเทคฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ ดังนั้นเลยพูดอย่างเต็มปากได้ว่าชุมชน LGBTQ ในเกาหลีใต้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกัน อัตราการยอมรับความหลากหลายทางเพศของเกาหลี ถือว่าอยู่ในอันดับต่ำมาก ซ้ำยังไม่มีการคุ้มครองด้านกฎหมายสำหรับ LGBTQ+ ด้วย ต้นปี 2564 นี้มีเคสคนข้ามเพศเลือกจบชีวิตในบ้านบนหน้าสื่อถึงสองคน คนแรกคือ Kim Ki-hong นักเคลื่อนไหวและนักการเมืองข้ามเพศ และคนถัดมาคือ Byun Hee-soo ที่ต้องออกจากกองทัพ เพื่อเข้ารับการผ่าตัดยืนยันเพศสภาพ I 02 โควิด-19 กำลังทำร้าย LGBTQ+ เกาหลี ไม่น่าเชื่อว่า COVID-19 จะสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน […]

‘สำนักพิมพ์สะพาน’ กับการใช้นิยายข้ามสะพานไปหาความเท่าเทียมให้หญิงรักหญิง

‘สำนักพิมพ์สะพาน’ สำนักพิมพ์นิยายหญิงรักหญิง ที่ต่อสู้ให้นิยายหญิงรักหญิงได้วางขายบนชั้นหนังสือ และยื่นคำร้องต่อศาล #สมรสเท่าเทียม

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.