ปลดล็อกวงการสุราไทย! สภาฯ โหวตผ่านร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า โอกาสของผู้ประกอบการรายเล็ก-สุราชุมชน

8 มิถุนายน 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการ ‘ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต’ หรือ ‘ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ วาระที่หนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 178 เสียง ไม่เห็นด้วย 137 เสียง งดออกเสียง 15 เสียง ร่างกฎหมายฉบับนี้เสนอโดย เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล พร้อมคณะ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อน 60 วัน ก่อนจะส่งกลับมาให้สภาฯ พิจารณาอีกครั้งเมื่อวานนี้  สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า มีดังต่อไปนี้ 1) กำหนดให้ผู้ที่ผลิตสุราเพื่อการบริโภค ที่ไม่ใช่สำหรับการค้า เช่น การต้มสุราเพื่อบริโภคเองในครัวเรือน (Homebrewing) หรือการทดลองต้มสุราเพื่อคิดค้นสูตรใหม่ สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่มีความผิดทางกฎหมาย 2) ไม่กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตสุรา เช่น ต้องจดทะเบียนบริษัทหรือต้องมีทุนขั้นต่ำในการจดทะเบียน เปิดทางให้ผู้ประกอบการผลิตสุราที่มีเจ้าของเดียวหรือมีรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามารถเริ่มกิจการได้ 3) ไม่กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องกำลังการผลิต กำลังแรงม้า และจำนวนพนักงานในการขออนุญาตผลิตสุรา เป็นการเปิดโอกาสให้การผลิตสุราในชุมชน ที่แต่เดิมกำหนดว่า […]

ถ่ายรูปติดหน้าคนอื่นอาจโดนฟ้อง กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เริ่มใช้ 1 มิ.ย. 65 ปรับสูงสุด 5 ล้าน

30 พฤษภาคม 2565 รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กยืนยันว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) จะบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (พ.ศ. 2562) หรือ Personal Data Protection Act B.E. 2562 (PDPA) ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ หลังจากเลื่อนการประกาศใช้มาแล้ว 2 ปี กฎหมายฉบับนี้มีหลักสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนว่า ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ จะถูกนำไปใช้อย่างเป็นธรรม โปร่งใส และได้รับการดูแลมิให้มีการนำข้อมูลไปใช้งานในทางที่ผิด โดยกำหนดให้ทุกองค์กรหรือบุคคลที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใดก็ตาม ต้องขอความยินยอมจากลูกค้าในการเข้าถึงและใช้ข้อมูล ต้องบอกวัตถุประสงค์ในการนำข้อมูลไปใช้ และใช้ข้อมูลให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุ นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังให้สิทธิแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข ขอสำเนา และขอให้ลบข้อมูลดังกล่าวได้ หากไม่ขัดกับหลักกฎหมายใดๆ และองค์กรที่ได้ข้อมูลส่วนบุคคลมาจะต้องมีมาตรการและมาตรฐานในการบริหารจัดการดูแลข้อมูลเหล่านี้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ข้อมูลส่วนบุคคลที่กฎหมาย PDPA คุ้มครองคือข้อมูลใดก็ตามที่สามารถช่วยให้ระบุตัวตนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ชื่อ-สกุล, […]

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

‘ศาสตราจารย์วิริยะ’ ชายตาบอดผู้ผลักดันกฎหมายและสู้เพื่อสิทธิคนพิการไทย

สนทนากับ ‘ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์’ ชายตาบอดผู้ไม่เคยง้อโชคชะตา เพราะเชื่อมั่นว่าตัวเราคือคนกำหนดเส้นทางชีวิต จึงลุกขึ้นยิ้มสู้เพื่อให้ได้กฎหมาย และสร้างความเท่าเทียมให้ผู้พิการไทย

บ้าจริง VS หงายการ์ด กฎหมายหรือความคิด อะไรเป็นตัวตัดสิน

ชวนมาหาคำตอบว่า ‘คนบ้าทำอะไรไม่ผิด’ ผ่านข้อเท็จจริง และกระบวนการทางกฎหมายที่ใครหลายคนอาจยังไม่รู้

สงสัยกันไหม ทำไมตึกส่วนใหญ่มักมีหน้าตาเหมือนขั้นบันได

ทำไมบางตึกชอบดีไซน์ปาดเฉียง ? ทำไมบางตึกต้องหั่นยอดตึกเป็นขั้นบันได ? เวลานั่งรถไฟฟ้าวิ่งผ่านใจกลางเมือง เรามักจะพบกับทัศนียภาพของตึกสูงอยู่รายรอบ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าตึกสูงในประเทศไทยอย่างออฟฟิศ หรือคอนโดมิเนียมในเมืองส่วนใหญ่ ทำไมถึงต้องมีรูปร่างหน้าตาเป็นขั้นบันได บางตึกเฉียงไปเฉียงมา เหล่าสถาปนิกเขามีแนวคิดอย่างไร จะด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม หรือแค่เรื่องบังเอิญ เรามาร่วมไขคำตอบไปด้วยกัน ! | รูปร่างของตึกนั้นมีที่มา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ยอดอาคารสูงมีลักษณะเป็นขั้นบันไดหรือปาดเฉียง สาเหตุมาจากกฎหมายบ้านเราที่ควบคุมความสูงของอาคารเพื่อสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัยของคนในเมือง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 จากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีใจความว่า “ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด ความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด” หมายความว่า ถ้าเราต้องการรู้ว่า อาคารมีความสูงเกินที่กฎหมายกำหนดหรือเปล่า หรือตึกนั้นสามารถสร้างได้สูงสุดกี่เมตร ต้องเริ่มจากวัดความยาวแนวราบจากจุดที่จะสร้างตึกถึงหน้าเขตที่ดินฝั่งตรงข้ามนำมาคูณสอง จะเท่ากับความสูงของตึกที่สามารถสร้างได้ จากตัวอย่างในรูป เช่น ความสูงของตึก ณ จุด A ที่สามารถสร้างได้ คำนวณจาก ระยะทาง X นำไปคูณสอง เท่ากับ 30 X […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.