ดุกมั้ง : ร้านอาหารโฮมเมดที่รับลูกค้าวันละ 2 โต๊ะ และขายเฉพาะ ‘ปลาดุก’ เท่านั้น

คุณเคยไปทานอาหารร้านไหนที่มีวัตถุดิบหลักอย่างเดียวแต่ครีเอตได้หลากหลายเมนูไหม? ถ้ายังไม่เคยเจอร้านไหนใจกล้าขายแบบนี้ เราอยากแนะนำให้รู้จักกับ ‘ดุกมั้ง (Duke Munk)’ ร้านอาหารโฮมเมดในบ้านที่มีวัตถุดิบหลักอย่างเดียวคือ ‘ปลาดุก’ แถมยังมีเมนูไม่เยอะ และรับลูกค้ากลุ่มเล็กๆ แค่วันละ 2 โต๊ะ เท่านั้น  ดุกมั้ง คือร้านอาหารในบ้านของ ดอกฝิ่น-ธเนศ ทรัพย์ศาสตร์ และ เนย-ณัชชา วารีรัตนโรจน์ ในซอยชัยพฤกษ์ (ซอยสุขุมวิท 65) ที่เริ่มจากความชอบทำอาหาร เปิดขายเมนูปลาดุกเฉพาะเดลิเวอรีและเปิดบ้านให้เพื่อนมากินข้าวสังสรรค์ จนปัจจุบันเปิดบ้านเป็นร้านอาหารเล็กๆ ที่ช่วยกันทำแค่ 2 คน เหมือนมากินข้าวบ้านเพื่อน และต้องจองกันเป็นเดือนถึงจะได้กิน  ที่เปิดรับลูกค้าน้อยขนาดนี้ไม่ได้ต้องการจะเป็นร้านลับ หรือทำให้กินยากแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะทั้งคู่ไม่ใช่เชฟ เป็นแค่คนที่ชอบทำอาหารและอยากเปิดบ้านให้คนได้เข้ามากินอาหารฝีมือของตัวเองเท่านั้น จึงต้องใช้เวลาในการเตรียมวัตถุดิบและทำอาหารให้ได้คุณภาพเท่าที่ตัวเองจัดการไหว  นอกจากเมนูปลาดุกทุกจานในร้านนี้จะมีลูกเล่นน่าสนใจแล้ว เรื่องราวของปลาดุกก็สนุกไม่แพ้กัน เพราะกว่าจะทำอาหารจานปลาดุกได้หลากหลายแบบนี้ ดอกฝิ่นใช้เวลาศึกษาและทดลองอยู่นานพอสมควรกว่าจะค้นพบวิธีปรุงปลาดุกทุกจานให้ลงตัว ชื่อร้านดุกมั้ง (Duke Munk) ได้ไอเดียมาจากตอนที่ไปบวช ในวัดมีปลาดุกและเขาก็ชอบกินปลาดุกอยู่แล้ว จึงใช้คำว่า มั้ง (Monk) ที่แปลว่า พระ และอีกนัยหนึ่งคืออยากให้คนที่มากินตั้งคำถาม เกิดความสงสัยว่านี่ใช่ปลาดุกจริงๆ ไหม ปลาดุกมั้ง? […]

More Meat อาหารทางเลือก กินเนื้อไม่ใช่เนื้อ l Urban เจอนี่ EP.3

กระแสรักสุขภาพและเทรนด์การบริโภคอาหารทางเลือกลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยที่สุด กำลังเป็นที่นิยม URBAN เจอนี่ EP. นี้ ขอเอาใจสายโปรตีน พาไปเจอ More Meat : Plant Based Food โปรตีนจากพืช อาหารทางเลือกของคนยุคใหม่ ที่ใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรชุมชนไทย มาพัฒนาให้รสสัมผัสเสมือนเนื้อสัตว์ บอกเลยว่าหากคุณหลับตากินเข้าไป นึกว่าเนื้อสัตว์จริงๆ! ติดตามรายการ URBAN เจอนี่ ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20.00 น. ช่องทาง Facebook และ Youtube : Urban Creature หากมีข้อติชมหรืออยากให้เราไปที่ไหน ร่วม Comment เป็นกำลังใจให้ทีมงานได้เลยครับ #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #URBANเจอนี่ #Moremeat #PlantBasedFood #food

Fermentory มิตรรักนักหมัก งานรวมตัวของคนรักของหมักดอง 7 พ.ค. 65 ที่ Whispering Cafe สามพราน

ใครเป็นแฟนของหมักดองมารวมกันตรงนี้ เพราะเสาร์ที่ 7 พ.ค. นี้กำลังจะมีงาน ‘Fermentory มิตรรัก นักหมัก’ ตลาดที่รวมคนรักของหมักดองและร้านขายของหมักกว่า 30 ร้านที่ตั้งใจหมักมาเพื่องานนี้ ที่ Whispering Cafe สามพราน การหมักทำให้เราได้ถนอมอาหารด้วยวิธีธรรมชาติ ได้สืบต่อวัฒนธรรมอาหารที่สืบทอดกันมายาวนาน นอกจากจะทำให้เราได้อาหารรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังทำให้นักหมักทั้งหลายกลายเป็นคนละเมียดละไม ช่างสังเกต รอคอย และมีวินัยอย่างเลี่ยงไม่ได้ (ใครเคยหมักอะไรสักอย่างด้วยตัวเองจะรู้ดี วันๆ เราแทบจะหยุดดูโหลไม่ได้เลย ต้องไปคอยด้อมๆ มองๆ ดูการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด)  ซึ่งอาหารหมักดองเหล่านี้ยังมีคุณค่าทางอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นวัฒนธรรมที่ควรค่าต่อการส่งต่อ มีเทคนิคการหมักดองที่น่าสนใจทั้งของไทยและต่างประเทศ สิ่งดีงามอีกเรื่องของการหมักนอกเหนือจากการทำให้เราทิ้งอาหารน้อยลง คือการประหยัดพลังงาน บางคนบอกว่ากระบวนการหมักบางอย่างได้เปิดโอกาสให้เราได้ทำงานกับภายในกับตัวเองด้วย  นอกจากจะน่าตามไปกินแล้ว ภายในงานจะมีทั้ง Workshop และ Talks ของนักหมักตัวจริง มีความรู้จากการทำคอมบุฉะ (kombucha), ความรู้ในการหมักดอง, ชาหมักผู่เอ๋อ, การเลี้ยงยีสต์ทำขนมปัง, การทำเทมเป้, Cider Vinegar, การก่อหม้อคราม ฯลฯ ใครชอบหัวข้อไหนตามไปเรียนรู้กันได้เลย เพราะคงไม่มีงานไหนรวมเรื่องหมักดองไว้มากเท่านี้แล้ว งานนี้นอกจากตลาดจะน่าสนใจแล้ว อาหารและขนมของ […]

FlexiFarm ตู้คอนเทนเนอร์ปลูกผัก นวัตกรรมฟาร์มสำเร็จรูป ปลูกง่าย เคลื่อนที่ได้ และทำให้คนเมืองมีสวนได้ง่ายขึ้น

มีพื้นที่ไม่เยอะ แต่อยากทำฟาร์มเล็กๆ ในเมือง จะทำอย่างไรให้คุ้มค่าและได้ผลผลิตดี เพราะในเมืองที่มีพื้นที่จำกัดอย่างกรุงเทพฯ ไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีฟาร์มหรือทำแปลงผักเหมือนในเกม Harvest Moon ได้ง่ายๆ  หากคุณมีพื้นที่บ้านจำกัด และอยากมีฟาร์มขนาดกะทัดรัดในรั้วบ้าน เราอยากพามารู้จักกับ FlexiFarm ต้นแบบ ‘ฟาร์มสำเร็จ’ ผู้คิดค้นโมเดลธุรกิจปลูกผักในตู้คอนเทนเนอร์ ที่ทำให้การปลูกผักสดเป็นเรื่องง่าย และตอบโจทย์คนเมืองที่มีพื้นที่น้อยได้เป็นอย่างดี FlexiFarm (เฟล็กซี่ฟาร์ม) นวัตกรรมการปลูกผักในตู้คอนเทนเนอร์ คือทางเลือกใหม่ของการทำฟาร์มในไทย เป็นฟาร์มที่เคลื่อนที่ได้ โยกย้ายสะดวก ใช้พื้นที่น้อยแต่ได้ผลผลิตคุ้มค่า เหมาะกับคนที่อยากทำธุรกิจฟาร์มเล็กๆ ในรั้วบ้าน หรืออยากจะปลูกผักไว้กินเอง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักสุขภาพที่อยากมีสวนผักปลอดสารพิษของตัวเอง คุณยุทธพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ก่อตั้ง FlexiFarm เล่าว่า “สถานการณ์ความเป็นอยู่ของเราในปัจจุบันมีความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงคราม สภาพเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และมลภาวะที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัย 4 โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกินซึ่งเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ ด้วยเหตุนี้ FlexiFarm จึงถือกำเนิดขึ้น ด้วยความมุ่งหวังที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในยุคปัจจุบันให้ดีขึ้น ส่งเสริมความมั่นคงทางด้านอาหาร รับมือกับผลกระทบและทลายข้อจำกัดต่างๆ ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่ดี มีคุณภาพ สะดวกสบาย และปลอดภัยได้ อีกทั้งยังเป็นโมเดลธุรกิจการปลูกผักที่ดีในอนาคต” คำว่า ‘Flexi’ […]

เกล็ดน้ำแข็งในไอศกรีมคือฝันร้าย นักวิทย์ค้นพบวิธีให้ไอศกรีมไม่แข็งกระด้าง อาจต่อยอดไปถึงการขนส่งอวัยวะช่วยชีวิต

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบอนุภาคนาโนพิเศษในพืช ที่สามารถป้องกันการก่อตัวของผลึกน้ำแข็งทำลายรสสัมผัสอันนิ่มนวลของไอศกรีมให้กลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง การค้นพบดังกล่าวไม่เพียงแต่จะนำไปสู่ไอศกรีมที่อร่อยและอยู่ได้นานมากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนำมาใช้ในการทางแพทย์ได้อีกด้วย เช่นการทำให้อวัยวะของผู้บริจาคอยู่ได้นานขึ้นระหว่างการขนส่ง โดยปกติแล้วผลึกน้ำแข็งในไอศกรีมจะมีขนาดเล็กมากจนแทบไม่ส่งผลในการลิ้มรส แต่ถ้าอุณหภูมิของไอศกรีมมีการเปลี่ยนแปลงเยอะขึ้น เช่นระหว่างทางจากร้านขายของชำกลับไปแช่ตู้เย็นที่บ้าน ผลึกเหล่านี้ก็จะละลายแล้วรวมตัวกันเป็นผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่ขึ้นจนรู้สึกได้ และหากทิ้งไอศกรีมให้ละลายก่อนนำไปแช่ซ้ำรสสัมผัสก็จะยิ่งแข็งกระด้าง เป็นเกล็ด และแย่ลงมาก เพื่อป้องกันการก่อตัวของผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่เหล่านี้ในไอศกรีม ผู้ผลิตจึงใส่สารเพิ่มความหนืดลงไปเพื่อให้ไอศกรีมคงตัวได้นานขึ้น แต่ Tao Wu นักวิทยาศาสตร์การอาหารจากมหาวิทยาลัยเทนเนสซีบอกว่า สารที่เพิ่มความคงตัวเหล่านี้ไม่ได้ผลเสมอไปเพราะมีปัจจัยหลายอย่าง เช่นเวลาในการเก็บรักษาหรือส่วนผสมที่ไม่เท่ากัน ทำให้สารดังกล่าวไม่สามารถใช้กับทุกผลิตภัณฑ์ได้ ไอเดียของเรื่องนี้คือพืชและสัตว์บางชนิดสามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส โดยผลิตโปรตีนต้านการแข็งตัวชนิดพิเศษที่ทำให้ผิวมีทั้งคุณสมบัติในการไล่น้ำและกักเก็บน้ำ ซึ่งโปรตีนดังกล่าวจะจับกับผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กเพื่อป้องกันไม่ให้หลอมละลายจนรวมเป็นผลึกขนาดใหญ่ที่จะทำลายเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต แต่ถึงโปรตีนชนิดนี้จะป้องกันการแข็งตัวในไอศกรีมได้แต่ก็น่าจะมีราคาแพงเกินไป รวมถึงมีกระบวนการที่ยุ่งยาก Wu ทราบดีว่าผนังเซลล์ของพืชมีอนุภาคที่เรียกว่า เซลลูโลสนาโนคริสตัล ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับโปรตีนต้านการแข็งตัว แต่ราคาถูกและหาได้ง่ายกว่า จึงทดลองเพิ่มอนุภาคดังกล่าวลงในไอศกรีม ซึ่งหลังจากทิ้งไอศกรีมไว้สามชั่วโมงก็พบว่า ผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กในไอศกรีมมีขนาดเท่าเดิม ไม่ได้หลอมละลายมารวมกัน และไอศกรีมยังรับมือกับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นได้ดี จึงเกิดเป็นไอเดียของไอศกรีมที่ละลายช้าลงขึ้นมา จากการเปิดเผยของ Wu ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า โปรตีนต้านการแข็งตัวในไอศกรีมไม่มีความเป็นพิษ แต่ FDA ยังคงต้องทบทวนก่อนจะอนุญาตให้ใช้ในอาหาร.อย่างไรก็ตาม เราสามารถมองไปได้ไกลกว่าโลกของขนมหวาน Wu ตั้งข้อสังเกตว่า การค้นพบครั้งนี้อาจช่วยชีวิตของผู้คนได้มากขึ้น เช่นการปลูกถ่ายหัวใจที่ต้องดำเนินการภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังอวัยวะถูกนำออกมาจากร่างกายของผู้บริจาค ซึ่งโปรตีนต้านการแข็งตัวจากพืชมีความเป็นไปได้ในการยืดอายุของหัวใจที่ถูกนำออกจากร่างกายให้นานขึ้นได้ระหว่างการขนส่งด้วยอุณหภูมิต่ำ 

ใครติดคลิปสตรีทฟู้ดอินเดียเชิญทางนี้ ดูแบบยาวๆ ที่ช่อง Aamchi Mumbai ยูทูบที่พาไปดูทุกขั้นตอน พร้อมบอกพิกัด

เคยไหม? กำลังจะล้มตัวลงนอนอยู่แล้ว แต่คลิปสตรีทฟู้ดอินเดียโผล่ขึ้นมาบนเฟซบุ๊ก แล้วนั่งดูวนไปจนดึกดื่น เพราะสงสัยว่าเขาทำเมนูอะไรกันอยู่ ถ้าคุณเป็นแฟนคลับคลิปสตรีทฟู้ดอินเดียและรอดูคลิปแบบแรนด้อมทุกคืน เราอยากชวนดูกันแบบยาวๆ ที่ยูทูบช่อง Aamchi Mumbai ช่อง Foodie ในเมืองมุมไบที่มีชื่อว่า Mehul Mahendra Hingu จะพาเราไปลิ้มรสความอร่อยตามข้างทาง ในเมืองมุมไบซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่มีสตรีทฟู้ดน่าตื่นตาตื่นใจอยู่หลายร้าน บางคลิปมีคำบรรยายเมนูให้เราเข้าใจด้วยว่ากำลังดูอะไรอยู่ พร้อมทั้งบอกพิกัดให้เหล่าฟู้ดดี้จากทั่วโลกตามไปกินได้ เสน่ห์ของอาหารอินเดียไม่ได้อยู่ที่รสชาติเท่านั้น หากใครเคยดูคลิปสตรีทฟู้ดอินเดียและติดใจจนต้องดูต่ออีกหลายคลิป คงคุ้นเคยกับขั้นตอนการทำที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะความรวดเร็ว คล่องแคล่ว ว่องไว ของบรรดาพ่อครัวสตรีทฟู้ดทั้งหลาย (บางร้านเน้นทำหกมากกว่าเน้นกิน) แค่ดูลีลาการทำอาหารของแต่ละร้านก็ชวนฉงนแล้วว่าทำอะไร หรือใส่อะไรให้เรากินบ้าง แต่นี่แหละคือจุดขายชั้นดีที่ทำให้คนมามุง หรือแม้แต่คนไทยเองก็ยังมุงผ่านอินเทอร์เน็ตว่าเขาขายอะไรกัน บางร้านเสิร์ฟธรรมดาก็ได้ แต่พี่ๆ เขาไม่ทำ ต้องโยนขึ้นกลางอากาศแล้วใช้จานรับ คลิปถึงได้ Viral เพราะสกิลการเสิร์ฟสุดเทพนี้   ใครยังไม่เคยดูคลิปสตรีทฟู้ดอินเดียต้องลองดูสักคลิปแล้วจะรู้ว่ามันเพลินกว่าที่คิด เพราะความสนุกอยู่ที่การดูความคิดสร้างสรรค์ของบรรดาพ่อครัวทั้งวัตถุดิบและลีลา และดูความหลากหลายทางวัฒนธรรมอาหารที่น่าไปตามรอยสักครั้ง ที่แน่ๆ เราเชื่อว่ามีบางคนดูแล้วหิวและอยากออกจากบ้านไปหาอาหารอินเดียกินทันที ติดตามคลิปสตรีทฟู้ดอินเดียเพิ่มเติมได้ที่ YouTube : Aamchi Mumbai Instagram : @StreetFoodRecipeFacebook : https://www.facebook.com/street.food.videos/

Hannari Cafe de Kyoto คาเฟ่ชาเขียวจากเกียวโต ที่ช่วยเยียวยาใจคนอยากไปญี่ปุ่น

‘คิดถึงญี่ปุ่น’ เราเชื่อว่าคนไทยหัวใจญี่ปุ่นต้องมีความคิดนี้วนเวียนอยู่ในหัวตลอด 2 ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่คนที่มีแพลนจะไปญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2020 จนตอนนี้แล้วก็ยังทำได้เพียงเที่ยวญี่ปุ่นออนไลน์แบบเหงาๆ กันต่อไป ถ้ามีอะไรที่พอจะทำให้เยียวยาใจและคลายความคิดถึงญี่ปุ่นได้บ้าง ก็คงจะเป็นอาหารและบรรยากาศในไทยที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้วาร์ปไปญี่ปุ่นสักพัก เราจึงอยากชวนไปรู้จักกับ Hannari Cafe de Kyoto คาเฟ่น้องใหม่ที่เพิ่งเปิดเมื่อกลางปี 2021 ที่ผ่านมา คาเฟ่ที่นำเอาชาเขียวจากเมืองอุจิ เกียวโต มาสร้างสรรค์เป็นเมนูขนมและของหวานอย่างหลากหลาย และยังมีเมนูคิสสะเต็นที่เป็นเมนูคาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่นเรโทรยุค 80 อีกด้วย ทำให้เราได้สัมผัสกับความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆ ที่ใจกลางทองหล่อ ร้านตั้งอยู่ใกล้ๆ กับดองกิ มอลล์ ทองหล่อ นี่เอง อิมพอร์ตความญี่ปุ่นจากเกียวโตสู่กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้นที่เดินทางไปญี่ปุ่นไม่ได้ในช่วงนี้ แต่บริษัท เอช.ไอ.เอส. ทัวร์ส์ (HIS Tours) หนึ่งในบริษัทท่องเที่ยวชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องบริการด้านการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นก็เช่นกันที่อดพาทุกคนไปญี่ปุ่นในช่วงที่โควิด-19 ระบาด จึงได้เปิด Hannari Cafe de Kyoto ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พักใจของคนที่คิดถึงบรรยากาศความเป็นญี่ปุ่น หรือแม้แต่คนญี่ปุ่นเองยังติดใจที่นี่เช่นกัน เพราะเมื่อเข้ามาในร้านเราจะได้พบกับแม่บ้านญี่ปุ่นแวะเวียนมานั่งทานขนมหวานช่วงบ่ายกันเรื่อยๆ คำว่า ฮันนาริ (はんなり) เป็นภาษาท้องถิ่นของเกียวโต มีความหมายว่า “งดงาม” “สวยงาม” […]

ชม 7 หนังวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นและเอเชีย เทศกาล CROSSCUT ASIA Delicious! ดูฟรีออนไลน์ วันนี้ – 3 ก.พ. 65

ใครอยากดูภาพยนตร์ ‘รสดี’ บ้าง? สำหรับปี 2022 เจแปนฟาวน์เดชั่นได้จัดงานเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์ ‘CROSSCUT ASIA Delicious!’ อีกครั้ง ในปีนี้เทศกาลพร้อมเสิร์ฟ 7 ภาพยนตร์ที่เล่าถึงวัฒนธรรมอาหารจากญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ทุกคนได้ลิ้มลองและสัมผัสวัฒนธรรมอาหารของแต่ละประเทศอย่างลึกซึ้ง ภาพยนตร์ 7 เรื่องแสนเลิศรสที่ทางเจแปนฟาวน์เดชั่นคัดสรรมา ได้แก่ 1) Aruna & Her Palate (2018) เรื่องราวเกี่ยวกับ ‘อรุณา’ นักระบาดวิทยาที่ถูกส่งตัวไปตรวจสอบโรคไข้หวัดนกที่กำลังระบาด เธอจึงชวนเพื่อนอีกสามคนไปด้วย ทุกคนจึงได้ใช้เวลาและทานอาหารต่างๆ ร่วมกันตลอดการเดินทาง ผู้ชมจะได้เห็นความหลากหลายของอาหารอินโดนีเซีย พร้อมๆ กับฟังดนตรีแจ๊สรื่นหูผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้  2) Balut Country (2015) เรื่องราวเกี่ยวกับ ‘จุน’ ชายหนุ่มที่ได้รับฟาร์มเป็ดจากพ่อผู้ล่วงลับ เขาต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่จะส่งผลต่อชีวิตของผู้คนนับร้อย เพราะเขาต้องเลือกระหว่างการขายฟาร์มเพื่อรองรับอนาคตของตัวเอง และการรักษาฟาร์มไว้เพื่อให้ผู้ดูแลฟาร์มทั้งหลายยังมีงานทำและดำเนินชีวิตต่อไปได้ 3) Kampai! Sake Sisters (2019) สารคดีที่เล่าเรื่องของผู้หญิงสามคนที่ก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าของอุตสาหกรรมหมักสาเก ทั้งผู้หญิงที่ได้รับมรดกตกทอดเป็นโรงหมักอายุกว่าร้อยปี จนกลายเป็นหัวหน้าโรงหมัก อีกหนึ่งคนคือที่ปรึกษาด้านสาเกจากนิวซีแลนด์ที่ทำงานสนับสนุนให้สาเกแพร่หลายไปทั่วโลก ส่วนคนสุดท้ายคือบริกรสาเก ผู้เป็นนักจับคู่เมนูอาหารเพื่อกินคู่กับสาเก ผู้หญิงทั้งสามคนทำให้เห็นว่าโลกของสาเกพัฒนาไปไกลและเปิดกว้างมากขึ้น […]

กระแสเกาหลีมาแรง จนยอดส่งออกกิมจิเพิ่มจาก 61 เป็น 89 ประเทศ

Soft Power ของประเทศเกาหลีปังแค่ไหน ให้ดูจากยอดการส่งออกกิมจิไปทั่วโลก ใช่แล้ว กิมจิจากเกาหลีกำลังบูมอย่างมาก ในปี 2021 ข้อมูลจากกระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทของเกาหลีใต้ ระบุว่ามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กิมจิของประเทศพุ่งสูง จนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่จำนวนเงินกว่า 159.9 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5,000 ล้านบาท) ทำให้การค้าเกินดุลไปถึง 19.2 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 640 ล้านบาท) นั่นหมายความว่าประเทศต้องมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้าในจำนวนที่สูงขึ้นหลายเท่า ถ้าย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ประเทศเกาหลีใต้มีการค้าขายกิมจิเกินดุลเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2009 ทำให้ภายในประเทศต้องนำเข้ากิมจิจากประเทศจีนมาบริโภคเป็นหลัก ในปี 2012 มีการส่งออกกิมจิไปยังประเทศญี่ปุ่นประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องปรุงรสเผ็ดของประเทศยังเพิ่มจำนวนตลาดในต่างประเทศเป็น 82 ประเทศ ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียด้วย กระทรวงเกษตรยังระบุอีกว่าในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกกิมจิของประเทศเติบโตขึ้นถึง 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจำนวนประเทศผู้นำเข้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 61 ประเทศในปี 2016 จนเป็น 89 ประเทศในปีที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญมาจากความนิยมของกระแสเพลงป็อปเกาหลี (K-POP) และซีรีส์ (K-DRAMA) […]

Lampang to Bangkok อาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบระหว่างทางจากบ้านเกิดที่ลำปางถึงบางกอก

‘ลำปาง-บางกอก’ แค่ได้ยินชื่อก็พอจะนึกออกแล้วว่าต้องเป็นร้านอาหารที่มีกลิ่นอายของภาคเหนือผสมอยู่ด้วยแน่ๆ แต่ที่น่าสนใจคือไอเดียเบื้องหลังอาหารที่เล่าเรื่องราวระหว่างทางจากลำปางถึงบางกอก ‘Lampang to Bangkok’ หรือ ‘ลำปาง-บางกอก’ เป็นคาเฟ่และร้านอาหารในซอยเอกมัย 12 ของ มิ้นท์-วรามล ชุนชาติประเสริฐ เจ้าของแบรนด์เซรามิก Cone Number 9 ที่ต่อยอดเอาความรักในการกินอาหารและความเป็นสาวเหนือแท้ๆ มาถ่ายทอดผ่านอาหารที่ปรุงขึ้นจากวัตถุดิบที่ค้นพบระหว่างเดินทางจากบ้านเกิดที่ลำปางถึงกรุงเทพฯ และเสิร์ฟความอร่อยด้วยจานชามเซรามิกสวยๆ ของ Cone Number 9 ที่อิมพอร์ตมาจากโรงงานที่ลำปาง ทุกวันนี้ร้านอาหารเหนือในกรุงเทพฯ มีเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เราเชื่อว่าอาหารเหนือในสไตล์ของลำปาง-บางกอกนั้นไอเดียจัดจ้านและไม่ซ้ำกับร้านไหนอย่างแน่นอน นอกจากอาหารจะสนุกแล้ว ยังทำเองตั้งแต่จาน ชาม ไปจนถึงผนังร้าน ให้สมกับเป็นลูกหลานโรงงานเซรามิก ใส่กิมมิกการเดินทางลงไปในอาหารทุกจาน ทำให้เราเหมือนได้แวะกินเที่ยวระหว่างทางไปพร้อมๆ กับเธอ เกิดที่ลำปาง โตที่กรุงเทพฯ มิ้นท์เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของลำปาง-บางกอก มาจาก  Cone Number 9  แบรนด์เซรามิกที่เธอต่อยอดมาจากธุรกิจของคุณป้าที่ทำโรงงานเซรามิกที่ลำปางมากว่า 20 ปี มีคอนเซปต์เป็นจานชามแก้วน้ำที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน แต่จะมีการดีไซน์ใหม่ ที่ผสมผสานกับสีดั้งเดิมที่มีอยู่ เพื่อให้ทันสมัยและเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองมากขึ้น เดิมทีแบรนด์ Cone Number 9 […]

ง้อด้วย ‘ของหวาน’ ทำไมถึงทำให้หายโกรธ?

จริงๆ แล้วแผนการเอาของหวานมาหลอกล่อให้รู้สึกดีไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์และความสัมพันธ์ในร่างกายที่เกี่ยวข้องกัน เราจึงต่อสายตรงไปคุยกับ ‘คุณหมอปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์’ จากเพจ Theory of love​ ผู้มองเรื่องความสัมพันธ์ของความรัก ผ่านวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา เพื่อไขข้อสงสัยว่า ทำไมง้อด้วยของอร่อยถึงหายโกรธง่ายทุกทีเลย

ศึกประชันคู่หูเมนูอีสาน

ไขข้อข้องใจกับความต่างของชื่อเมนู ส่วนผสม ไปจนถึงรสชาติของเมนูนั้นๆ ว่าจะเหมือนหรือแตกต่างกันแค่ไหน เมนูในดวงใจที่เราหลงรักกันมานานแสนนาน แท้จริงเราเข้าใจถูกหรือผิดกันแน่นะ

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.