EDeaf : Education for the Deaf โครงการที่อยากเห็นเมืองเป็นมิตรกับคนหูหนวก

กลับมาอีกครั้งกับ ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ’ หรือ ‘Bangkok Design Week’ ที่จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และชวนเหล่านักสร้างสรรค์ไปร่วมกิจกรรมมากมายใน 9 ย่านกันตั้งแต่วันที่ 4 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 โดย Bangkok Design Week 2023 ในปีนี้มาพร้อมกับธีม ‘urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี’ เพื่อสร้างความน่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยวใน 6 มิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การเดินทาง วัฒนธรรม ชุมชน ธุรกิจสร้างสรรค์ และความหลากหลายของผู้คนในสังคม ออกแบบผ่านกิจกรรม 4 รูปแบบคือ Showcase & Exhibition, Talk & Workshop, Creative Market & Promotion และ Event & Program หนึ่งในกิจกรรม Showcase & Exhibition […]

ฮังการีห่วง ‘Pink Education’ การศึกษาที่มีความเป็นผู้หญิงเกินไป อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ตอนนี้ในประเทศฮังการีกำลังให้ความสนใจกับรายงานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ‘Pink Education’ และความเสี่ยงของระบบการศึกษาที่มีความ ‘เป็นผู้หญิงมากเกินไป’ จนอาจจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในประเทศและปัญหาสัดส่วนของประชาชน เพราะผู้หญิงที่มีการศึกษาจะไม่สามารถหาคู่สมรสที่อยู่ในระดับการศึกษาเดียวกันได้ ซึ่งจะเป็นผลให้อัตราการเกิดของคนในประเทศลดลง  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของฮังการีได้เผยแพร่รายงานชิ้นนี้ออกมาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 แต่เพิ่งได้รับความสนใจหลังถูกพูดถึงในบทความของหนังสือพิมพ์ Népszava เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จนกลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในหมู่นักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญทางด้านสิทธิมนุษยชน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ฮังการีมีผู้หญิงลงทะเบียนเข้ารับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยมากกว่าผู้ชาย โดยตัวเลขของผู้หญิงเข้าศึกษาช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้อยู่ที่ 54.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่อัตราการลาออกจากการศึกษาของผู้ชายก็สูงขึ้นด้วย ส่วนจำนวนผู้หญิงในวิชาชีพครูนั้นก็มีมากถึง 82 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว รายงานอธิบายว่า ‘คุณลักษณะของผู้หญิง’ อย่างเรื่องของวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคมที่ได้รับการส่งเสริมในระบบการศึกษาของฮังการีนั้นจะทำให้ความเท่าเทียมทางเพศอ่อนแอลงมาก และยังมองว่าเศรษฐกิจของฮังการีอาจตกอยู่ในความเสี่ยงหาก ‘คุณลักษณะของผู้ชาย’ อย่างทักษะทางเทคนิค การแบกรับความเสี่ยง และการเป็นผู้ประกอบการนั้นถูกประเมินค่าต่ำลง  นอกจากนี้ รายงานยังมองว่าเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเด็กรุ่นใหม่ในการแก้ปัญหาที่ถูกมองว่าเป็นงานของผู้ชาย อย่างเช่นคอมพิวเตอร์ค้าง ก๊อกน้ำรั่ว หรือแม้แต่ปัญหาไม่มีคนประกอบเฟอร์นิเจอร์ที่ซื้อมาใหม่ แม้ว่าความจริงแล้วบรรดาผู้หญิงเองก็สามารถแก้ปัญหาหรือทำงานเหล่านี้ได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ชายเสมอไป ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านอย่าง Endre Toth ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์รายงานชิ้นนี้บนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า การพูดถึงคุณสมบัติชายและหญิงเป็นความไร้สาระทางวิทยาศาสตร์ และถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องเปลี่ยนแนวคิดที่คร่ำครึนี้เสียที ฮังการีต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศในประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว หลังจาก Dunja Mijatović กรรมาธิการด้านสิทธิของ Council of Europe ได้กล่าวขณะเยือนฮังการีในปี […]

ABC Human Rights โปสเตอร์ท่อง ABC สำหรับเด็กยุคใหม่ ปลูกฝังเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ตั้งแต่เด็ก

อยากปลูกฝังให้ลูกเข้าใจเรื่องสิทธิตั้งแต่ยังเด็กจะเริ่มอย่างไร ถ้าหนังสือเรียนและระบบการศึกษาไทยแทบไม่มีเรื่องเหล่านี้อยู่เลย? ‘ABC Human Rights’ คือโปสเตอร์สื่อการสอน ABC ที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้พ่อแม่หรือคุณครูสามารถนำไปใช้ในการสร้างบทสนทนา เพื่อปูพื้นฐานให้เด็กๆ เข้าใจเรื่องสิทธิได้ง่ายขึ้น ผ่านภาพประกอบสื่อสารถึงความหลากหลาย และคำศัพท์ที่เหมาะกับการเรียนรู้เรื่องสิทธิในหลายช่วงวัย  โปสเตอร์ ABC Human Rights ขนาด A1 ชิ้นนี้เป็นผลงานการออกแบบของคุณบอม-วศิน ปฐมหยก และคุณตุ๊กตา-เพลงมนตรา บุบผามาศ สามีภรรยาที่กำลังสนุกกับการหาสื่อการเรียนรู้ดีๆ ให้ลูก จนได้พบกับหนังสือ ABC ที่น่าสนใจหลายเล่มจาก The Book Depository โดยเฉพาะการเลือกใช้คำศัพท์บน ABC ที่แตกต่างออกไปจากสื่อ ABC ที่มีขายในประเทศไทย และต่างจาก ABC ที่เราเคยท่องจำกันมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น A is for activist, E isfor equality หรือ F is for feminism  ด้วยความที่ทั้งคู่อยากหาสื่อการเรียนรู้ดีๆ ให้กับลูก เพราะมองเห็นปัญหาว่าสื่อแบบนี้ไม่ได้มีเยอะในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักจะเป็นสื่อจากต่างประเทศทั้งนั้น […]

ร่วมลงชื่อปกป้องเสรีภาพการใช้หลักสูตรของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้เด็กไทยเปิดกว้างทางการศึกษามากขึ้น

ประเด็นที่กำลังถูกถกเถียงบนโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางก็คือ กระแสข่าวที่ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และสื่อบางสำนักระบุว่า หลักสูตรของ ‘โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ อาจบิดเบือนประวัติศาสตร์และสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้นายกฯ สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลเรื่องนี้ ทั้งนี้ ทางโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า กระแสข่าวในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับหลักสูตรและแนวทางการเรียนการสอน อาจทำให้เกิดความสับสน คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ลดทอนคุณค่าและความมุ่งมั่นอันแท้จริงของโรงเรียน  ความเคลื่อนไหวทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจาก รศ. ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานบริหารโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กขอบคุณ ศ. ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีส่วนร่วมในการออกแบบ ‘แนวทางการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์’ ของโรงเรียน ทำให้นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระชื่อดัง หยิบเรื่องดังกล่าวมาพูดถึงในหัวข้อ ‘การศึกษาหรือล้างสมอง’ เพราะกังวลว่า นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาผิดๆ และ ‘ถูกล้างสมองตามแนวคิดที่จะนำไปสู่การปฏิรูปที่ซ่อนเร้น’ นอกจากนั้น ยังแสดงความไม่เห็นด้วยต่อแนวทางของโรงเรียนที่ไม่มีเครื่องแบบนักเรียน ไม่สอนวิชาพระพุทธศาสนา ไม่ให้เด็กยืนเคารพธงชาติตอนเช้า และไม่มีสวดมนต์ตอนเช้า ทางโรงเรียนได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า โรงเรียนได้พัฒนาหลักสูตรที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ที่พร้อมใช้วิจารณญาณในการเผชิญความเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทัน นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนที่ทันสมัยและครอบคลุมเนื้อหาการเรียนรู้ของแต่ละช่วงชั้น ซึ่งนอกจากวิชาสาระหลัก ทางโรงเรียนยังมีวิชาเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง เช่น วิชาอยู่รอดปลอดภัย วิชาว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด วิชาวัยรุ่นศาสตร์ วิชารู้ทันการเงิน […]

‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ สะท้อนชีวิตในรั้ว รร. ผ่านเลนส์กล้องฟิล์มเด็กมัธยมฯ ขอนแก่น

ตั้งแต่โควิด-19 ระบาด ชีวิตในรั้วการศึกษาของเด็กรุ่นนี้ก็ยาวนานขึ้นไปโดยปริยาย นักเรียนบางกลุ่มยังคงต้องเรียนออนไลน์ บ้างกำลังจะเปิดเทอมในวันพรุ่งนี้ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการที่เลื่อนเปิดเทอมจากวันที่ 1 มิถุนายนมาเป็น 14 มิถุนายน ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับการเรียนแล้ว เด็กแต่ละคนย่อมมีมุมมองที่แตกต่างกัน  คอลัมน์ Urban Eyes ชวนมองภาพสะท้อนการศึกษาผ่านชุดภาพ ‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ จากฝีมือเด็กนักเรียนมัธยมที่ 1 – 5 โรงเรียนน้ำพองศึกษา จังหวัดขอนแก่นที่ได้จับกล้องฟิล์มเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งเป็นกิจกรรมดีๆ จาก มูลนิธิ Teach For Thailand และ FilmGalong จังหวัดขอนแก่น ก่อนนำมาพิมพ์เป็นโปสต์การ์ดเพื่อส่งต่อความรู้สึกถึงกัน เพราะเชื่อว่าภาพหนึ่งใบสามารถสะท้อนความรู้สึกภายในใจได้อย่างมากมาย  ทางหนึ่ง…นี่อาจเป็นของที่ระลึกบันทึกความรู้สึกใน ‘ภาพปัจจุบัน’ ก่อนจะกลายเป็นอดีต และอีกทางหนึ่ง ชุดภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉันอาจเป็นไทม์แมชชีนพาย้อนกลับสู่ ‘ภาพวันเก่า’ ก่อนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้เช่นกัน เพื่อนสนิท – เด็กหญิงอรินนา ดุสิทธิ์ ม.2 ทำไมต้องใส่กระโปรง – นางสาวมัตตัญญุตา อภัยพลชาญ ม.5 ฉันคือใครในวันนี้ […]

รุ่งทิพย์ ActionAid จากเยาวชนสนใจปัญหาสังคมสู่นักเคลื่อนไหวผู้สู้ไม่ให้ รร. ขนาดเล็กถูกยุบ

เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่เรียนโรงเรียนขนาดเล็กใกล้บ้านตั้งแต่อนุบาล-ประถมฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องย้ายไปอยู่บ้านญาติในตัวเมืองเพื่อเรียนชั้นมัธยมฯ “ไปอยู่กับป้าเถอะลูกจะได้ไม่ต้องตื่นเช้ามาก เดินทางก็ไม่อันตรายด้วย” พ่อแม่ว่า  เพราะบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนร่วมยี่สิบห้ากิโลเมตร ถ้าไม่ยอมห่างอ้อมอกพ่อแม่ก็ต้องยอมตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อขึ้นรถรับ-ส่งที่จ่ายเป็นรายเดือนแต่เช้าตรู่ และกลับถึงบ้านในเวลาเกือบฟ้ามืด เราในวัยนั้นจนถึงเราในวัยนี้รู้สึกว่าทำไมการเรียนหนังสือให้ครบตามหลักสูตรการศึกษาถึงต้องไกลบ้านออกไปทุกที แต่ยังดีที่พอมีโรงเรียนละแวกบ้านอยู่บ้าง แม้จะถูกจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ที่กระทรวงศึกษาธิการไล่ ยุบ-ควบรวม มานานเกือบ 3 ทศวรรษ  ปี 2536 กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโจทย์จากทาง ธนาคารโลก (World Bank) ที่ทำการวิจัยแล้วพบว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จะทำให้เด็กได้เรียนกับคุณครูครบทุกช่วงชั้น และครบทุกวิชา ไม่น่าเชื่อว่าปีที่หลายคนเพิ่งลืมตาดูโลกอย่างยังไม่ประสากับการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กก็ถูกไล่ยุบ-ควบรวมเสียแล้ว หากแต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่า สถานศึกษาใกล้บ้านนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต่อเด็กในทุกพื้นที่ ยิ่งถ้ามีโรงเรียนใกล้บ้านยิ่งส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงการศึกษาได้อย่างดี รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย (ActionAid Thailand) เป็นอีกคนที่คิดเช่นนั้น เกือบ 10 ปีที่เธอร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เพื่อแถลงให้ใครต่อใครได้รู้ว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ใครเขาว่าดี มีผลเสียซุกอยู่ใต้พรม  และเราสัญญากับเธอไว้ว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนอย่างสุดความสามารถผ่านบทความชิ้นนี้ เพื่อให้สังคมไทยตระหนักว่า โรงเรียนขนาดเล็กร่วม 15,000 แห่งทั่วประเทศไม่ควรถูกยุบ-ควบรวม ร. รุ่งทิพย์ หากเท้าความถึงการต่อสู้ของรุ่งทิพย์ […]

ชีวิตซิ่วสามครั้งของ ‘ชะมิญช์ มิญชญาดา’ กับมุมมองการศึกษาและความหลงไหลในกาแฟที่ดีชะมัด

หนึ่งปีหนึ่งครั้งกับหนึ่งบทเพลงคุ้นหู เป็นเวลาซึ่งเด็กน้อยทุกคนต่างเฝ้าฝันว่าจะได้เป่าเทียนบนเค้กวันเกิดที่แต้มแต่งด้วยครีมหลากสีเพื่ออธิฐานถึงความฝันให้กลายเป็นจริง แต่เมื่อสิ้นเสียงเพลงแห่งการเฉลิมฉลอง ภายใต้บทเพลงที่แฝงมากับคำอวยพรนั้นมาพร้อมการแบกรับความหวังของครอบครัว เหมือนดั่งเรื่องราวในวันเกิดของเธอผู้นี้ ชะมิญช์-มิญชญาดา บุญเรือง หากของขวัญที่ได้รับในวันนั้นยังคงเป็นส่วนหนึ่งที่ยังคงค้างคาใจไปตลอดชีวิต

RAY Thesis Exhibition ธีสิสปล่อยของยุคโควิดของชาวโฟโต้อาร์ตเชียงใหม่

Urban Showcase พื้นที่เล็กๆ ที่จะให้น้องนิสิตนักศึกษามาโชว์ผลงานแบบไม่จำกัดมหาวิทยาลัย เพื่อให้สปอตไลท์ได้ส่องไปถึงความสามารถของทุกคนมากยิ่งขึ้น

ทำไมเด็กคนหนึ่งเกิดมาต้องไปโรงเรียน?

ทำไมเด็กคนหนึ่งเกิดมาต้องไปโรงเรียน ?
นี่คงเป็นคำถามที่ค้างคาอยู่ในใจของเด็กหลายคน หรือแม้กระทั่งวัยผู้ใหญ่ที่ผ่านช่วงเวลาการเรียนมาแล้วก็ยังมีบางครั้งที่ได้แต่นึกและสงสัย

เปิดตำราวิชาพิพิธภัณฑ์ กับอาจารย์และนิสิตที่ผูกพันกับพิพิธภัณฑ์ไทย

คุยกับอาจารย์และนิสิตหลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรม กับประเด็นการเรียนหลักสูตรพิพิธภัณฑ์ และมุมมองต่อวงการพิพิธภัณฑ์ไทย

The Lost Generation : เด็ก Gen Z กับช่องโหว่ทางการศึกษาไทย

ศึกษาของเด็กไทยกำลังถูกกวนด้วย ‘Disruption’ หรือ ‘สภาวะการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือในช่วงเวลาสั้นๆ’ และเด็กที่ได้รับผลกระทบด้านการศึกษามากที่สุด ณ ขณะนี้คงไม่พ้นเด็ก ‘Generation Z’ ที่ต้องปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว เพื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่รุ่นต่อไป อะไรคือช่องโหว่ที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทยของเด็กยุคเจนฯ Z เรามาหาคำตอบไปพร้อมกัน

ปฏิรูปการศึกษาไทยยังไง ทำไมยังอยู่ในกะลานีเซียร์

ล้วงลับ “การศึกษาไทย” เคลียร์ประเด็นที่หลายคนได้แต่คิดแล้วก็สงสัยว่า “เหตุใดปฏิรูปการศึกษาไทยกันมากี่ครั้งต่อกี่ครั้ง เราก็ยังย่ำอยู่กับที่ ไม่ขยับเคลื่อนหน้าไปไหนสักที แถมยังรั้งเกือบท้ายอยู่อันดับที่ 8 ในอาเซียน” เราชวนมาร่วมวงถามตอบกับนักวิจัยสาวมาดเท่ดีกรีวิศวะ ‘คุณทราย-ณิชา พิทยาพงศกร’ จาก “สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” ไปพร้อมกัน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.