เราจะอยู่ที่ไหนก็ได้ที่ตัวเองพอใจ ในแบบจ่ายไหว โดยไม่อิงกับที่ทำงานอีกต่อไป

ปีที่ผ่านมาโควิด-19 เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของโลกใบนี้ไปโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันเมื่อประเทศชั้นนำได้แจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ทั่วถึงประชาชนส่วนมากแล้ว สิ่งที่คุ้นตาก็เริ่มมีมาให้เห็น เมืองเริ่มกลับมาคึกคัก ผู้คนนำชีวิตชีวามาสู่ท้องถนน ร้านอาหารเปิดขายตามปกติ มหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์เต็มไปด้วยนักศึกษา  แต่บาดแผลที่ไวรัสทิ้งไว้ให้ยังไม่หายดี โดยเฉพาะย่านศูนย์กลางธุรกิจหรือ CBD (Central Business District) พื้นที่ใจกลางเมืองที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ที่ส่อแววว่าอาจจะไม่กลับมาคึกคักในเร็ววันอย่างที่เห็นได้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้บริษัทจะเปิดให้กลับมาทำงานได้แล้ว แต่พนักงานกว่าครึ่งหนึ่งยังเลือกที่จะทำงานจากโซฟาในห้องนั่งเล่น แวะทานมื้อสายบนเก้าอี้บาร์และท็อปครัวที่ทำจากหินอ่อน มากกว่าไปแออัดยัดเยียดกันที่ใจกลางเมือง และดื่มน้ำล้างแก้วจากร้านกาแฟราคาแพงใต้สำนักงานเพื่อกระตุ้นสมองให้พร้อมรับแรงกดดันตลอดเวลา CBD ยังไม่ได้รับวัคซีน ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 ย่านศูนย์กลางธุรกิจชั้นนำของโลกเต็มไปด้วยความเงียบเหงา พนักงานกว่า 4.5 ล้านคน ไม่ได้รับอนุญาตให้ประจำการอยู่ที่ออฟฟิศเหมือนเคย เมื่อเวลาล่วงเลยไปร่วมขวบปีในขณะที่ประเทศไทยเริ่มปูพรมฉีดวัคซีนเมื่อต้นเดือนมิถุนายน และประกาศว่าจะเปิดประเทศในอีก 120 วันให้หลัง สหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วประเทศไปแล้วกว่า 300 ล้านโดส และเตรียมส่งมอบให้โครงการ COVAX อีก 500 ล้านโดส ล่าสุด นิวยอร์กเกอร์ สามารถออกมาสูดอากาศในที่สาธารณะได้โดยไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย และกฎข้อบังคับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็แทบจะยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง  แม้การฉีดวัคซีนจะเข้าถึงอเมริกันชนส่วนใหญ่แล้ว แต่ CBD ดูจะยังหาวัคซีนเข็มแรกของตัวเองไม่เจอ ตัวเลขจาก Kastle Systems […]

ทำไมมอเตอร์ไซค์ห้ามขึ้นสะพาน ความเหลื่อมล้ำบนถนน ดีต่อรถยนต์แต่ไม่เอื้อพาหนะสองล้อ

ภาพอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำบนสะพานถูกกั้นด้วยกระจกรถยนต์หนาไม่กี่มิลลิเมตรที่ขับผ่านไปคันแล้วคันเล่า ถ้ามองจากวิวบนพาหนะ 4 ล้อ บ้างอาจคิดว่าเจ้าของมอเตอร์ไซค์เหล่านั้นน่าสงสาร บ้างอาจคิดว่าขับมอเตอร์ไซค์อันตรายจนรีบบอกลูกที่นั่งเบาะข้างๆ ว่าอย่าไปขับเชียวนะ บ้างอาจคิดว่าทำผิดกฎหมาย ‘ห้ามขึ้นสะพาน’ เองนี่ หรืออาจคิดว่าคนขับมอเตอร์ไซค์ผิดตั้งแต่เลือกขับแล้ว เพราะกฎหมายเข้มงวดสารพัดสิ่งถูกบังคับใช้กับคนขับมอเตอร์ไซค์เป็นส่วนใหญ่ แม้อุบัติเหตุบางส่วนเกิดขึ้นเพราะคนขับรถยนต์ และลักษณะการออกแบบของสะพานก็ตาม นั่นน่ะสิ ทำไมคนขับมอเตอร์ไซค์ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ (มีจำนวน 21,452,050 คัน มากกว่ารถยนต์กว่า 10 ล้านคันเลยนะ) ถึงห้ามขึ้นสะพานฝ่ายเดียว ตามมาตรา 139 (1) ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 3 กล่าวว่า ห้ามรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิดเดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ รวม 39 สาย  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาตให้มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานจากกลุ่มประชาชนตัวอย่างในเขต กทม. 1,254 คน พบว่า ร้อยละ 51.12 ไม่เห็นด้วย เพราะสะพานข้ามแยกค่อนข้างลาดชัน ไม่เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ เนื่องจาก ‘รถยนต์’ […]

หากวันหนึ่งคุณหูหนวกจะพบอะไรบ้าง ในเมืองไร้เสียงที่ชื่อว่ากรุงเทพฯ

‘…………..’ หากวันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าเสียงที่ได้ยินกลายเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมด กลายเป็นเสียงแห่งความเงียบงัน ที่ดังก้องกังวานจนคุณไม่ได้ยินเสียงของผู้อื่นหรือแม้กระทั่งเสียงของตัวเอง คุณหันไปหยิบโทรศัพท์ที่เคยตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอน 7 โมงเช้า แต่เช้าวันนี้กลับไม่ได้ยินเสียงปลุกชวนรำคาญหูอีกต่อไป สัมผัสได้เพียงแรงสั่นไหวจากโทรศัพท์เท่านั้น และภาพที่คุณเห็นจากตาดวงเดิมกลายเป็นเหมือนโลกใบใหม่ ที่มือไปถูกปุ่ม Mute ไว้ตลอดกาล คุณจะทำอย่างไรต่อในเช้าวันนี้  แค่เรื่องสมมุติ ‘หากวันหนึ่งกลายเป็นคนหูหนวก’ ยังทำให้เราเป็นกังวลไม่น้อย เพราะการได้ยินเป็นสัมผัสสำคัญของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสาร Urban Creature จึงอยากจะชวนทุกคนไปรู้จักโลกของคนหูหนวกผ่านการพูดคุยกับ ปรียานุช ศศิธรวัฒนกุล หรือนุ้ย และล่ามภาษามือ เต็มศิริณ ชลธารสีหวัฒน์ หรือไข่มุก ตัวแทนจากสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตภายในเมืองของคนหูหนวก เพื่อให้คนหูดีและคนหูหนวกได้เข้าใจกันและกันมากขึ้น หากวันหนึ่งคุณหูหนวก จะพบกับอะไรบ้าง การสื่อสารที่ใช้ภาษามือและภาษากายแทนภาษาพูด – ปัญหาพื้นฐานในชีวิตประจำวันของคนหูหนวกคือเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากคนหูหนวกใช้ภาษามือสื่อสารเป็นภาษาแรก และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ทำให้การใช้ภาษาไทยของคนหูหนวกอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร อาจไม่เข้าใจความหมายของคำทุกคำ เวลาเขียนรูปประโยคภาษาไทยก็มักจะเขียนตามไวยากรณ์ภาษามือของคนหูหนวก อย่างประโยคที่ว่า ‘ฉันกินข้าว’ แต่คนหูหนวกจะเขียนประโยคดังกล่าวเป็น ‘ข้าวฉันกิน’ สลับตำแหน่งคำ เหมือนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้คนอ่านอาจจะเกิดความฉงนสงสัยและไม่เข้าใจสิ่งที่คนหูหนวกจะสื่อสาร และเมื่อคนหูหนวกเจอรูปประโยคยาวๆ เขาจะอ่านและแปลความหมายทีละคำ ทำให้ไม่เข้าใจรูปประโยคยาวนั้นเท่าไหร่ แต่เขาจะเข้าใจรูปประโยคสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้สื่อสารบ่อย รูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสารกับคนหูหนวกจึงควรเป็นประโยคคำพูดสั้นๆ […]

ใบสั่งจราจร ไม่หนี ไม่จ่าย ได้ปะ

โดนใบสั่งจราจร ไม่หนี ไม่จ่าย ได้ปะ เป็นคำถามไท้ยไทยที่เราพบบ่อย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวินัยการขับขี่ของคนไทยได้เป็นอย่างดี เพราะคำตอบดังกล่าวทุกคนต่างรู้อยู่แก่ใจว่า ‘ควรจะต้องจ่าย’ หากคุณทำผิดกฎหมาย เหตุผลสำคัญที่คนทำผิดกฎจราจรส่วนใหญ่เพิกเฉยต่อการจ่ายค่าปรับ เกิดขึ้นจากระบบใบสั่งจราจรยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลกรมการขนส่งทางบกได้ทั้งหมด จึงทำให้ใบสั่งบางใบไม่ได้อยู่ในระบบ และเมื่อไม่อยู่ในระบบ ใบสั่งก็จะมีอายุความเพียง 1 ปี เหตุผลประการต่อมาคือ มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการติดตามเรียกเก็บค่าปรับใบสั่งทุกใบที่ออกมานับ 10 ล้านใบต่อปี จึงกลายเป็นปัญหาใบสั่งคั่งค้างในระบบ และผู้คนที่ได้รับใบสั่งต่างเพิกเฉยเพราะขาดการติดตามให้ไปชำระค่าปรับตามกฎหมาย ที่ตลกร้ายสำหรับเรื่องนี้ คือสถิติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.ต. เอกราช ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง กล่าวในเวทีสัมมนาเรื่องถนนไว้ว่า ในปี 2562 มีการแจกใบสั่งสูงถึง 11,839,622 ใบ ราว 12 ล้านใบ แต่มีผู้มาชำระค่าปรับเพียงแค่ 2,141,818 ใบ หรือ 18.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เทียบกับสถิติผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่จักรยานยนต์ประมาณ 30 ล้านคน และรถยนต์ประมาณ 10 ล้านคน นับเป็นการกระทำผิดสูงถึงราว 1 ใน 5 ของผู้ขับขี่บนท้องถนน […]

อย่าโดนเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพวัคซีน COVID-19 หลอก!

หากดูเผินๆ ‘เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพ’ น่าจะเป็นสิ่งที่บอกว่าวัคซีนตัวไหนมีดีกว่ากัน และตัวเลข 95 เปอร์เซ็นต์ก็ดูน่าเชื่อมั่นกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ เป็นไหนๆ แต่ที่จริงแล้ว ตัวเลขที่ห่างกันเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถระบุว่าวัคซีนตัวไหนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 มากกว่ากัน เพื่อตอบคำถามว่าทำไมตัวเลขที่สูงจึงไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ก็ต้องย้อนกลับไปดูก่อนว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีน มีที่มาจากอะไร  ในการทดสอบว่าวัคซีนจะใช้งานได้จริง นักวิทยาศาสตร์จะแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริงๆ โดยจะปล่อยให้กลุ่มตัวอย่างออกไปใช้ชีวิตตามปกติ เพื่อติดตามผลว่าทั้งสองกลุ่มนี้มีกี่รายที่จะติดเชื้อ  หากเราสมมติจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10,000 คน สุดท้ายแล้วมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด 100 รายจากกลุ่มที่ได้วัคซีนจริงและยาหลอกเป็นจำนวนเท่ากันที่ 50 คน เท่ากับว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดนี้คือ 0 เพราะไม่ว่าคุณจะได้รับวัคซีนหรือไม่ ก็มีโอกาสติดเท่ากัน แปลว่าวัคซีนนี้ไม่มีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อแม้แต่น้อย  แต่ถ้าผลออกมาว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 95 คน แต่ผู้ที่ได้วัคซีนมีคนติดเชื้อแค่ 5 คนเท่านั้น นั่นแปลว่าวัคซีนตัวนี้มีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งการหาเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนทุกชนิดใช้วิธีเดียวกันนี้ทั้งหมด ทำให้ดูเหมือนว่าวัคซีนที่มีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพมากกว่าต้องได้ผลมากกว่าตามไปด้วย แต่ที่จริงแล้วมีรายละเอียดในการทดสอบมากกว่านั้น   เปอร์เซ็นต์จะมีผล ถ้าวัดในสถานการณ์เดียวกัน ในบรรดาวัคซีนหลายตัวจะเห็นว่า Pfizer-BioNTech […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.