‘Climate Migrants’ เมื่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป บีบบังคับให้คนต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อการอยู่รอด

วิกฤตโลกร้อนในตอนนี้เรียกได้ว่าก้าวเข้าสู่ภาวะโลกเดือดอย่างเต็มตัว จากกิจกรรมของมนุษย์ทุกคนที่ส่งผลกระทบให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิที่สูงขึ้น ภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ ที่รุนแรงขึ้นกว่าเมื่อก่อน จนทำให้ในหลายพื้นที่ต้องหาทางรับมือให้ได้ และไม่ใช่แค่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงทางพื้นที่และภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ต้องอพยพจากบ้านเดิมออกไปหาถิ่นที่อยู่ใหม่ เพราะผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงด้วย ออกจากบ้านเพื่อหลบไปตั้งหลักชั่วคราว ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าปัจจุบัน สภาพอากาศกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้คนต้องบอกลาบ้านเก่าเพื่อหาที่อยู่ใหม่ภายในประเทศ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรุนแรงส่งผลให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงกว่าเดิมหรือเกิดบ่อยขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ หรือคลื่นความร้อน จนทำให้ผู้ประสบภัยต้องโยกย้ายถิ่นฐานออกไปตั้งหลักในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาสั้นๆ  เห็นได้ชัดจากรายงาน Global Report on Internal Displacement 2020 โดย Internal Displacement Monitoring Centre (IDMC) ที่ระบุว่า ในปี 2562 มีจำนวนผู้พลัดถิ่นใหม่จากเหตุภัยพิบัติเพิ่มมากขึ้นกว่า 24.9 ล้านคนใน 140 ประเทศและเขตการปกครองเลยทีเดียว ที่มีจำนวนมหาศาลขนาดนั้นเพราะภัยพิบัติเหล่านี้กระทบการใช้ชีวิตหลายส่วน ทั้งเรื่องของการดำเนินชีวิต โรคภัยไข้เจ็บ เศรษฐกิจ รวมไปถึงการประกอบอาชีพ เช่น กลุ่มเกษตรกรที่ต้องเจอกับระบบนิเวศเสียหาย หรือกลุ่มชาวประมงที่ต้องเจอกับทะเลเป็นกรด จนไม่สามารถทำงานได้ เหล่าผู้ได้รับผลกระทบจึงต้องหาทางในการดำเนินชีวิตต่อ การย้ายถิ่นฐานชั่วคราวเพื่อการดำรงชีพเลยกลายเป็นทางเลือกของใครหลายคน รอจนเมื่อสถานการณ์ในพื้นที่ที่จากมาเริ่มฟื้นฟูเป็นปกติ ถึงจะย้อนกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิม จากการย้ายชั่วคราว อาจกลายเป็นถาวรในอนาคตอันใกล้ […]

Mitsubishi Electric ชวนมองปัญหาโลกร้อนในมุมมองสัตว์โลก ผ่านแคมเปญ ‘#MEเธอแล้วโลกโอเค’

อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจนทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่แล้วมักมาจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปของมนุษย์โลก ซึ่งบางครั้งเราเองอาจไม่ได้ทันนึกว่าสิ่งของรอบตัวจะเป็นส่วนที่ทำให้อายุของโลกสั้นลง โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุให้สภาพอากาศแย่ลงไปด้วย ในฐานะของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน ‘Mitsubishi Electric’ ได้ตระหนักถึงปัญหานี้อยู่เสมอ จึงมีแนวทางในการดำเนินงานด้วยความใส่ใจทั้งคุณภาพสินค้า คุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้วัสดุที่มีความทนทานเพื่อลดปริมาณขยะลง ใช้วัสดุรีไซเคิล และเพิ่มระบบประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการช่วยลดโลกร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของแบรนด์ รวมไปถึงยังมีการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบวงกว้างของปัญหาโลกร้อนต่อสัตว์โลก ที่นอกเหนือจากความร้อนแล้ว เราอาจไม่รู้ว่าปัญหาโลกร้อนนั้นส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างไรบ้าง กับแคมเปญ #MEเธอแล้วโลกโอเค โดยนำเสนอผ่าน Documentary Film 3 เรื่อง ได้แก่ ต้าวหมาขี้ร้อน VS ทาสผู้หวังดี เล่าถึงสุนัขพันธุ์โกลเดนรีทรีฟเวอร์ที่เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ต้องออกไปใช้เวลาสนุกสนานกับเจ้าของบ้าน ซึ่งอากาศภายนอกนั้นเต็มไปด้วยมลภาวะที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ แถมยังร้อนจนอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นฮีตสโตรกให้กับน้องหมา แต่อย่างไรก็ตาม เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้น้องหมาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ด้วยผลิตภัณฑ์ของ Mitsubishi Electric ที่ช่วยดูแลสภาพอากาศภายในบ้านให้ดีขึ้น ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 ทั้งคนและสัตว์เย็นสบาย หายใจรับอากาศสะอาดภายในบ้านอย่างเต็มปอด หมีแท้ VS หุ่นหมี ภาวะโลกร้อนไม่ได้ส่งผลแค่น้ำแข็งขั้วโลกละลายเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดฤดูหนาวที่อาจหนาวยาวนานขึ้นหรือสั้นลง จนหมีที่จำศีลได้รับผลกระทบถึงขั้นตายได้ ถึงแม้ว่าหมีขั้วโลกจะดูเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไกลตัวเรามาก แต่ในฐานะมนุษย์ เราสามารถช่วยเหลือเจ้าหมีพวกนี้ได้ด้วยการใช้ Mitsubishi Electric […]

คนรวยใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า ต่อให้คนจนใช้ถุงผ้าก็ช่วยลดโลกร้อนไม่ได้

ปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน จนทำให้คนทั้งโลกออกมารณรงค์เพื่อปกป้องโลกของเราด้วยวิธีต่างๆ เช่น ลดการใช้พลาสติก พกถุงผ้าไปช้อปปิง รณรงค์ไม่ใช้สินค้า Fast Fashion ลดการใช้พลังงาน และอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ต่อให้คนทั่วไปหันมารักโลกและพยายามสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยหยุดภาวะโลกร้อนได้ เพราะมีรายงานระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทั่วโลกคือ ‘กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก’ นั่นเอง รายงานที่ว่านี้ไม่ได้โจมตีกลุ่มคนรวยแต่อย่างใด แต่สื่ออย่าง ‘The Guardian’, องค์กรไม่แสวงหากำไร ‘Oxfam’, สถาบันสิ่งแวดล้อม ‘Stockholm Environment Institute’ และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ได้ร่วมมือกันศึกษาความไม่เท่าเทียมที่เกิดจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และพบว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ปล่อยคาร์บอนมากกว่ากลุ่มคนที่ยากจนที่สุดถึง 66 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว การใช้ชีวิตแบบปกติของคนรวยทำให้สภาพอากาศไม่ปกติ ผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอาจไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของกลุ่มคนรวยมากเท่าไรนัก เพราะหากอากาศร้อนก็แค่เปิดเครื่องปรับอากาศทุกตัวในบ้านหลังใหญ่ หรือแค่เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ที่อากาศเย็นก็ได้ ซึ่งกิจกรรมที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองทั้งสิ้น แถมยังปล่อยมลภาวะกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ในขณะที่กลุ่มคนจนต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยที่ไม่เคยมีโอกาสแม้แต่จะได้ขึ้นเครื่องบินสักครั้ง คนรวยเหล่านี้จึงอาจไม่ได้ตระหนักว่าการใช้ชีวิตแบบปกติในทุกๆ วันนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายโลกและเพื่อนร่วมโลกหรือไม่ เช่น ในปี 2019 มีจำนวนรถ SUV เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก […]

Scientist Rebellion กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ประท้วงให้โลกหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก่อนที่มนุษย์จะเจอกับหายนะโลกร้อน

ใครเป็นคอหนังคงรู้จักหรือเคยดู Don’t Look Up ภาพยนตร์เกี่ยวกับนักดาราศาสตร์สองคนที่ออกมาเตือนมนุษยชาติเกี่ยวกับดาวหางที่ใกล้จะทำลายโลก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ นักการเมือง นักข่าว และผู้คนจำนวนมากกลับไม่สนใจ อีกทั้งยังทำให้คำเตือนถึงหายนะครั้งใหญ่นี้กลายเป็นเรื่องตลกอีกด้วย ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหนังไม่ได้ไกลตัวแต่อย่างใด เพราะตอนนี้เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันกำลังเกิดขึ้นจริงในโลกของเรา 6 เมษายน 2565 ปีเตอร์ คาลมุส (Peter Kalmus) นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศจากนาซา (NASA) ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่ง ได้รวมตัวประท้วงอยู่ที่หน้าสำนักงานของบริษัทเจพีมอร์แกนเชส (JPMorgan Chase) ในนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา พวกเขามัดข้อมือของตัวเองไว้กับประตูของบริษัท และยังมีผู้ประท้วงรายอื่นๆ ยืนปักหลักอยู่บริเวณหน้าสำนักงานด้วย นักวิทยาศาสตร์และผู้ประท้วงเลือกมารวมตัวที่หน้าสถาบันทางการเงินและการลงทุนยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เนื่องจากระหว่างปี 2559 – 2564 ในบรรดาธนาคารเพื่อการลงทุนทั้งหมดของโลก เจพีมอร์แกนเชสคือบริษัทที่ระดมทุนสนับสนุนโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลมากที่สุด หรือกว่า 382 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 12,900 ล้านบาท)  นักวิทยาศาสตร์เรียกร้องให้เจพีมอร์แกนเชส รวมถึงบริษัทอื่นๆ หยุดสนับสนุนเงินทุนให้แก่โครงการเชื้อเพลิงฟอสซิล เพราะผลผลิตสุดท้ายของการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกให้ค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก โครงการเหล่านี้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โลกเผชิญกับหายนะจากภาวะโลกร้อน  คาลมุสกล่าวพร้อมน้ำเสียงสั่นเครือว่า “ผมมาประท้วงที่หน้าบริษัทแห่งนี้ เพราะไม่มีใครฟังเสียงของนักวิทยาศาสตร์เลย ผมพร้อมเสี่ยงชีวิตและอาชีพเพื่อโลกที่สวยงามใบนี้ นักวิทยาศาสตร์พยายามเตือนพวกคุณมาหลายสิบปีแล้วว่าโลกกำลังมุ่งหน้าสู่หายนะที่เลวร้ายและใหญ่หลวง” แม้ว่าการประท้วงเป็นไปอย่างสงบ แต่ทางการได้ส่งเจ้าหน้าที่ในชุดปราบจลาจลกว่า […]

โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เทศกาลหนังสั้นวิกฤตโลกร้อนทั่วเอเชีย รับชมฟรีทางออนไลน์ 2 – 10 เม.ย. 65

เมษายนนี้ เราขอชวนทุกคนที่สนใจและใส่ใจประเด็นสิ่งแวดล้อมรับชม 25 หนังสั้นสะท้อนวิกฤตโลกร้อนหลากมิติจากทั่วทวีปเอเชียที่ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 2’ หรือ ‘CCCL Film Festival 2022’ หนังสั้นทั้ง 25 เรื่องที่จะฉายในเทศกาลหนังสั้นรูปแบบออนไลน์ปีนี้คือผลงานที่เคยฉายในเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยนที่สมาคมฝรั่งเศสในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็นหนังสั้นจากประเทศไทย 18 เรื่อง และหนังสั้นจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย 7 เรื่อง  หนังสั้นเหล่านี้เล่าเรื่องราวครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่วิกฤตมลพิษพลาสติก ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงการรักษาดินตามความเชื่อและประเพณีท้องถิ่น มากไปกว่านั้น ปัญหาวิกฤตโลกร้อนยังถูกถ่ายทอดในหลายรูปแบบ เช่น แอนิเมชัน สารคดี และฟิกชัน ผู้ชมจะได้ซึมซับและเข้าใจปัญหาทางธรรมชาติผ่านมุมมองที่หลากหลาย ตัวอย่างหนังสั้นที่น่าสนใจ ได้แก่ เด-ปอ-ทู่ (Deportu)ประเทศ : ไทยผู้กำกับ : ณัฐธัญ กรุงศรีเรื่องย่อ : เซเก่ทู ชายหนุ่มชนเผ่าปกาเกอะญอ ลาออกจากงานในเมืองหลวงเพื่อกลับมาปกป้องป่าเดปอผืนสุดท้าย เมื่อรู้ข่าวว่าจะมีนายทุนมากว้านซื้อที่เพื่อทำรีสอร์ตและแหล่งท่องเที่ยว เขาจึงต้องหาหนทางเพื่อรักษาผืนป่าแห่งนี้ไว้ ผีตาแฮก สารพันวัฒนธรรมข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ (Journey of Wisdom)ประเทศ : […]

Central Park เปิด Climate Lab เก็บข้อมูลศึกษาธรรมชาติในสวนฯ เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของป่าในเมือง

สวนสาธารณะชื่อดังแห่งนิวยอร์ก กำลังเปิดห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของป่าในเมือง  หลังจากที่เฮอริเคนไอดาพัดเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมาจนมีปริมาณน้ำฝน 3.5 นิ้ว และสูงเป็นประวัติการณ์ใน Central Park จนเอ่อท่วมร้านอาหาร Boathouse ที่มีชื่อเสียง และสร้างความเสียหายให้ต้นไม้กว่า 50 ต้น Norman Selby สมาชิกของ Central Park Conservancy องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดูแลสวนสาธารณะแห่งนี้ ก็รู้ทันทีว่าถึงเวลาต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง วิธีแก้ปัญหาของเขาคือการจัดตั้ง Central Park Climate Lab ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเรื่องสัตว์ป่า พืชพรรณ และดินนับหลายสิบปีที่ Central Park Conservancy ให้เป็นประโยชน์ในอีกทางหนึ่ง เขาจึงบริจาคเงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น และเดินหน้าระดมทุนต่อเนื่อง ซึ่งต้องการเงินราว 4 – 5 ล้านดอลลาร์ เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายของห้องทดลองในอีก 3 ปีข้างหน้า  ห้องปฏิบัติการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับแบ่งปันข้อมูลที่จะช่วยปกป้องพื้นที่สีเขียวให้กับสวนสาธารณะในเมืองต่างๆ ทั่วโลก และยังใช้เครื่องมือที่ช่วยในการระบุตำแหน่งในการเลือกฟื้นฟูสภาพป่า และแนะนำวิธีการปลูกพืชให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เมืองต่างๆ ทั่วโลก สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงที่สุด และช่วยลดความร้อนในพื้นที่สวน  “โครงการนี้อาจจะช่วยเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้โลกเห็น […]

เข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมฟรีๆ ผ่าน WaterBear เว็บสตรีมมิงฉายหนัง-สารคดีสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ช่องทางสนับสนุนแคมเปญดูแลโลก

ถ้าอยากเข้าใจปัญหาและวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหน เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ WaterBear แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมสื่อและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมเอาไว้อย่างรอบด้าน WaterBear คือบริการสตรีมมิงอินเตอร์แอ็กทีฟน้องใหม่ที่รวบรวมภาพยนตร์ สารคดี และคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับโลกใบนี้ ตั้งแต่เรื่องภาวะโลกร้อน สิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความยั่งยืน วัฒนธรรม ไปจนถึงชุมชนต่างๆ  เนื้อหาที่อยู่บน WaterBear ถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์และสารคดีที่ได้รับรางวัล หนังนอกกระแส หนังสั้น และ ‘WaterBear Originals’ ซีรีส์ที่ทาง WaterBear ลงทุนและผลิตเอง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ‘แผนการพัฒนาโลกเพื่อความยั่งยืน’ (SDGs) ของสหประชาชาติ ที่ให้ความสำคัญเรื่อง ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ ‘ภูมิอากาศ’ ‘วัฏจักร’ และ ‘ชุมชน’  ผู้ชมสามารถเลือกรูปแบบและประเภทของเนื้อหาได้ตามความสนใจ ที่สำคัญ หนังและสารคดีทั้งหมดบน WaterBear กว่า 800 เรื่องยังเปิดให้รับชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หลังจากดูภาพยนตร์จบ ผู้ชมสามารถกดแถบ ‘Connect’ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น หรือจะกดแชร์ภาพยนตร์และสารคดีไปยังโซเชียลมีเดียของตัวเอง เพื่อให้คนรอบตัวตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ก็ได้เช่นกัน WaterBear […]

‘Khudi Bari’ บ้านประกอบได้ราคาถูกและทำจากวัสดุธรรมชาติเพื่อรับมือกับวิกฤตภูมิอากาศ

คุณเคยย้ายที่อยู่อาศัยเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไหม? เราอยากชวนจินตนาการนึกภาพตามว่าถ้าหากบ้านของคุณตั้งอยู่ในจุดที่ด้านขวามือคือทะเล และด้านซ้ายเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบกัน เป็นแหล่งสะสมตะกอนชั้นดีสำหรับเพาะปลูก หรือดำรงชีพด้วยการหาปลา แต่ผู้อยู่อาศัยก็ต้องโยกย้ายตามฤดูกาล คุณจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้อย่างไร?  และหากน้ำทะเลด้านขวาเพิ่มสูงขึ้น แม่น้ำด้านซ้ายปริมาณมากขึ้นเพราะน้ำแข็งละลายจากบนเทือกเขา และท้องฟ้าด้านบนฝนตกหนักผิดวิสัย สถานการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องเผชิญภัยธรรมชาติ บ้างต้องโยกย้ายที่อยู่บ่อยครั้งกว่าปกติ และบ้างต้องจำใจทิ้งวิถีชีวิตแบบเดิมเข้าไปหาเลี้ยงชีพในเมืองใหญ่และอาศัยอยู่ในสลัม นี่คือสถานการณ์ในบังกลาเทศจาก Marina Tabassum สถาปนิกชาวบังกลาเทศผู้ออกแบบโปรเจกต์ ‘Khudi Bari – บ้านจิ๋ว’ ขนาดรองรับสมาชิก 4 คนสำหรับผู้ที่อาศัยตามพื้นที่ลุ่มน้ำ  ความตั้งใจของ Tabassum คือจะใช้สถาปัตยกรรมที่เธอร่ำเรียนมาให้เป็นประโยชน์กับคนที่อาศัยตามพื้นที่ปากแม่น้ำ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Char Dwellers’) อย่างไรให้ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และปรับให้เข้ากับบริบททางธรรมชาติเพื่อรองรับความผันแปรให้ได้มากที่สุด จากการเก็บข้อมูลของเธอ โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายการสร้างบ้านสำหรับคนในพื้นที่ลุ่มน้ำอยู่ที่ราว 1,500 ปอนด์ (ประมาณ 60,000 บาท) และต้องใช้สถาปนิก 3 คน ช่างไม้ 1 คน เพื่อประกอบในเวลา 15 วันให้เป็นรูปร่าง โปรเจกต์ ‘Khudi Bari’ นี้ Tabassum […]

buildbetternow.co นิทรรศการจาก COP26 รวม 17 แนวคิดสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่เล่าเรื่องผ่านภาพ เสียง และวิดีโอจากทั่วโลก

นอกจากการแสดงวิสัยทัศน์เรื่องสิ่งแวดล้อมของบรรดาผู้นำกว่า 190 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุม COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (UN Climate Change Conference of the Parties) ในปีนี้ยังมีนิทรรศการออนไลน์ ‘Build Better Now’ ที่เปิดให้ผู้ชมทางบ้านจากทั่วมุมโลกเข้าชมได้ฟรีที่เว็บไซต์ www.buildbetternow.co  Build Better Now เป็นนิทรรศการออนไลน์แบบ 360 องศาที่จัดแสดงไอเดียและโปรเจกต์ที่ออกแบบเกี่ยวกับ ‘Built Environment’ หรือแนวคิดสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่คำนึงถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรับมือกับปัญหา Climate Change โดยมีแนวคิดว่าการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นตึกสูง อาคาร บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จะต้องทำให้เกิดความสมดุล 3 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่และส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์จะพบกับโครงการสถาปัตยกรรมต้นแบบจากทั่วโลกกว่า 17 โครงการที่คัดสรรโดย UK Green Building Council (UKGBC) เช่น Favela […]

โลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุบสถิติ สูงสุดในรอบ 3 – 5 ล้านปี เสี่ยงอุณหภูมิทะลุ 2 องศาเซลเซียส

ระหว่างการประชุมด้านสภาพภูมิอากาศครั้งสำคัญหรือ COP26 ในเมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติ (WMO) ได้เปิดเผยว่า ล่าสุด ‘ก๊าซเรือนกระจก’ หรือระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก ได้ทุบสถิติสูงสุดในรอบ 3 – 5 ล้านปี โดยทาง WMO เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2015 ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกพุ่งสูงถึงระดับ 400 ส่วนต่อล้านส่วน หลังจากนั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาโดยตลอด จนกระทั่งปีนี้ระดับดังกล่าวมีมากถึง 413.2 ส่วนต่อล้านส่วน ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่ายุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ระหว่างปี 1850 – 1900) ถึง 149% WMO แสดงความกังวลอย่างมาก เพราะระดับก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น ทั้งๆ ที่ในปี 2020 ที่โลกเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 การล็อกดาวน์และมาตรการต่างๆ ส่งผลให้ทั่วโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 5.6%  แต่ทาง WMO ก็ได้อธิบายว่า สัดส่วนที่ลดลงเมื่อปีที่แล้วเทียบไม่ได้กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากกิจกรรมของมนุษย์ อย่างเช่น การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล […]

Google และ YouTube แบนโฆษณาของผู้ผลิตคอนเทนต์ที่ปฏิเสธแนวคิด Climate Change

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change เป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังตระหนักและให้ความสนใจอยู่ ล่าสุดทาง Google ประกาศเตรียมระงับการแสดงโฆษณาบนวิดีโอใน YouTube และคอนเทนต์อื่นๆ ที่ส่งเสริมการกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Climate Change ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ Google เกิดขึ้นหลังจากรายงานในปี 2020 ของ Avaaz องค์กรไม่แสวงหากำไรของสหรัฐฯ ได้กล่าวหาว่า YouTube มีวิดีโอที่มีเนื้อหาไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Climate Change ซึ่งคอนเทนต์เหล่านี้มีผู้รับชมมากกว่า 21 ล้านครั้ง และยังสร้างรายได้จากโฆษณาด้วย นโยบายนี้จะเป็นการตัดช่องทางรายได้ของบรรดาผู้ผลิตคอนเทนต์บน YouTube และเว็บไซต์ต่างๆ ที่สร้างรายได้จากโฆษณาบนเนื้อหาหรือข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการมีอยู่และสาเหตุของ Climate Change ทาง Google ยังอธิบายเพิ่มเติมว่านโยบายนี้ครอบคลุมไปถึงเนื้อหาที่กล่าวอ้างว่า Climate Change คือการหลอกลวง เนื้อหาที่ปฏิเสธแนวโน้มระยะยาวที่แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิของโลกกำลังเพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงเนื้อหาที่ปฏิเสธว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนก่อให้เกิด Climate Change  โดยทางบริษัทจะใช้เครื่องมืออัตโนมัติ (Automated Tools) และการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อบังคับใช้นโยบายนี้ Sources : BBC | t.ly/TIJwBloomberg […]

ฝนตกบนยอดภูเขาน้ำแข็งกรีนแลนด์ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์!

สภาพภูมิอากาศของโลกเรากำลังเข้าขั้นวิกฤต! กรีนแลนด์ กำลังเผชิญหน้ากับน้ำแข็งละลายครั้งใหญ่ เพราะฝนตกบนยอดภูเขาน้ำแข็ง ละลาย Ice Sheet 337,000 ตารางไมล์

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.