‘Name of the Will’ เกมจากความสิ้นหวังในฮ่องกง ที่หวังว่าสักวันประชาธิปไตยจะเบ่งบาน
‘Name of the Will’ โปรเจกต์สร้างเกมที่จำลองสถานการณ์การเมืองที่สิ้นหวังในฮ่องกง เพื่อชวนทบทวน โอบรับความรู้สึก และก้าวเดินต่อไป
‘Name of the Will’ โปรเจกต์สร้างเกมที่จำลองสถานการณ์การเมืองที่สิ้นหวังในฮ่องกง เพื่อชวนทบทวน โอบรับความรู้สึก และก้าวเดินต่อไป
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้สร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่น้ำโขงมากถึง 11 แห่ง เพื่อกักเก็บน้ำปริมาณมหาศาลซึ่งการสร้างเขื่อนทำให้ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงอย่าง ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ต้องเผชิญกับภัยแล้งและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นเรื่อยๆ ศิลปินชาวไทยและชาวจีนจึงร่วมมือกันจัดแสดงผลงานศิลปะที่โฮงเฮียนแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อสะท้อนวิกฤตแม่น้ำโขงและกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการสร้างเขื่อน โดยกลุ่มศิลปินไทยและจีนสร้างสรรค์ผลงานขึ้นหลังจากได้ลงพื้นที่แม่น้ำโขง แม่น้ำอิง และเยี่ยมชุมชนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ศิลปะที่นำมาจัดแสดงมีตั้งแต่ภาพวาด โมไบล์ปลาสังกะสี การแสดงดนตรีสด ไปจนถึงการเพนต์ร่างกายด้วยสีแดงเป็นคำว่า ‘Save River’ เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนหันมาช่วยกันรักษาแม่น้ำโขง นายเรียน จินะราช อดีตพรานปลาบึกและผู้อาวุโสชุมชนริมแม่น้ำโขงเปิดเผยว่า การสร้างเขื่อนอาจทำให้ปลาบึกสูญพันธุ์ เพราะเมื่อก่อนแม่น้ำโขงมีปลาชุกชุมหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะปลาบึกที่มักออกมาในช่วงสงกรานต์ของทุกๆ ปี ในตอนนั้นไม่ต้องใช้เครื่องมือมากก็สามารถจับปลาได้ทีละเยอะๆ ในอดีตเชื่อกันว่าปลาบึกว่ายไปวางไข่ที่ทะเลสาบต้าหลี่ในจีน แต่เมื่อจีนสร้างเขื่อน ปลาบึกจึงไม่รู้จะไปวางไข่ที่ไหน ปลาบึกตัวเมียทุกตัวที่จับได้จะมีไข่ ซึ่งแต่ละตัวมีไข่ 60 – 70 กิโลกรัม แต่การฟักเป็นตัวและเติบใหญ่มีน้อย เพราะมีศัตรูในธรรมชาติมาก โดยวิธีวางไข่คือการปล่อยไหลไปกับน้ำ ทั้งนี้ นายเรียนเปิดเผยว่า ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน เขาไม่เคยเห็นปลาบึกตัวเล็กในแม่น้ำโขงเลย ส่วนใหญ่ที่เห็นจะมีน้ำหนัก […]
เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]
สตูดิโอสถาปัตยกรรม WAY ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รับมอบหมายจากรีสอร์ต Aranya (安啊呀) จุดท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวจีนในเขตเป่ยไต้เหอ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบท่าเรือคนเดินที่เคยมีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ การออกแบบใหม่นี้คือการสร้างท่าเรือออร์แกนิกทอดยาวสู่มหาสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมได้โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น การออกแบบท่าเทียบเรือใหม่โดยสตูดิโอ WAY ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ ท่าเรือจะมีรูปร่างและโครงสร้างออร์แกนิกเรียบง่ายและผสานเข้ากับทะเลและท้องฟ้า เพื่อขับเน้นบรรยากาศอันเงียบสงบของชายทะเลได้อย่างลงตัว ผลงานของกลุ่มสถาปนิกจากปักกิ่งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของ Isamu Noguchi ศิลปินและภูมิสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการออกแบบสร้างเชิงนามธรรมและการตีความพื้นที่ของเขา ที่ช่วยกระตุ้นความคิดจากภายใน มิหนำซ้ำเมื่อมองท่าเรือยื่นออกไปในทะเล ท่าเรือใหม่นี้ก็จะดูลื่นไหลและนุ่มนวล ราวกับว่ามันถือกำเนิดมาจากมหาสมุทรเลยทีเดียว สตูดิโอ WAY เล่าคอนเซปต์ของงานออกแบบไว้ว่า เมื่อพิจารณาจากปัญหาเดิมของท่าเรือ จึงทำช่องเปิดสองช่องขึ้นมาบนแท่นเพื่อช่วยลดแรงดันจากคลื่นทะเล เมื่อคลื่นซัดผ่านโพรงนี้ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เป็นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ การออกแบบท่าเรือที่เพรียวบางได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ไม่เพียงมีความเบาและหน้าตาสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย ทั้งนี้ การออกแบบยังคงรักษาโครงเสาแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณการก่อสร้างใต้น้ำลง ทีนี้เลยเป็นมิตรกับทั้งงบประมาณและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเสียด้วย Sources : Designboom STUDIO WAY ARCHITECTS
ถ้าติดตามการเมืองภูมิภาคเอเชีย ก็จะรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันไม่ค่อยจะสู้ดีมานานมากแล้ว นอกจากการพยายามควบรวมฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมา ไต้หวันก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ของ ‘นโยบายจีนเดียว’ ใหญ่ขนาดที่ประกาศว่าถ้าคนไต้หวันต้องการอิสรเสรีก็ต้องแลกกับเลือดเนื้อและสงคราม จริงๆ แล้วไต้หวันปกครองเป็นอิสระจากจีนตั้งแต่ปี 2492 แต่ถึงอย่างนั้นรัฐบาลปักกิ่งก็มองว่าเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตตัวเอง ซึ่งปักกิ่งตั้งใจแน่วแน่ว่าจะ ‘รวม’ ไต้หวันกับแผ่นดินใหญ่เข้าด้วยกันให้ได้ และจะแข็งข้อใช้กำลังหากจำเป็น ไม่กี่วันมานี้ กระทรวงกลาโหมไต้หวันเผยว่าแสนยานุภาพของกองกำลังติดอาวุธจีนมีศักยภาพมากขึ้น จนพอที่จะขัดขวางการป้องกันตัวเองของชาติได้ มิหนำซ้ำแผ่นดินใหญ่ยังคอยมอนิเตอร์ไต้หวันอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนทางฝั่งไต้หวันเองก็มีการประเมินถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ เพราะทางการปักกิ่งกำลังดำเนินการเพิ่มกิจการทางทหารล้อมเกาะ ชนิดที่ว่าจงใจมาหายใจรดต้นคอ สาเหตุที่ช่วงหลังการเมืองระหว่างสองจีนคุกรุ่น เพราะประธานาธิบดีหญิงของไต้หวันอย่าง ‘ไช่ อิงเหวิน’ แสดงจุดยืนประณามความพยายามของปักกิ่งที่จะบ่อนทำลายประชาธิปไตยของเกาะ ปักกิ่งจึงลุกขึ้นมาเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองและการทหารต่อไทเป กระทรวงกลาโหมไต้หวันเสนอต่อรัฐสภาว่าด้วยเรื่องกองทัพจีน เพราะประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้ายแรงขึ้นกว่าปีที่แล้ว เพราะปี 2564 จีนเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ‘การโจมตีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง’ รวมถึงยุทธการบล็อกการสื่อสารข้ามฝั่งตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่หมู่เกาะที่ทอดยาวจากหมู่เกาะญี่ปุ่นผ่านไต้หวัน และทอดยาวลงไปที่ฟิลิปปินส์ หรือที่เรียกว่าจุดยุทธศาสตร์ First Island Chain ปัจจุบันจีนกำลังใช้ยุทธวิธีแบบออนไลน์ โดยรวบรวมกองทัพอินเทอร์เน็ตเพื่อโจมตีอินเทอร์เน็ตทั่วโลกทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้การป้องกันทางอากาศของไต้หวันเป็นอัมพาตผ่านการบังคับบัญชาทางทะเล และใช้ระบบตอบโต้การโจมตีที่มีประสิทธิภาพ นี่จึงเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อเกาะเล็กๆ อย่างไต้หวัน ทางกระทรวงได้เสริมว่าจีนได้พัฒนาขีดความสามารถของตัวเองด้วยการใช้ดาวเทียม Beidou ซึ่งเป็นการตอบโต้ระบบ GPS ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของ นั่นหมายความว่าปักกิ่งติดตามความเคลื่อนไหวรอบๆ ไต้หวันโดยได้รับความช่วยเหลือจากเครื่องบินสอดแนม โดรน และเรือรวบรวมข่าวกรองของจีน ในขณะที่กระทรวงกลาโหมจีนไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นของไต้หวัน […]
ปัจจุบันแทบไม่มีสินค้าใดบนโลกนี้ที่ไม่สามารถขายบนช่องทางออนไลน์ได้ ยิ่งเมื่อชีวิตผู้คนทั่วโลกต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ต้องล็อกดาวน์ ต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้อุตสาหกรรมรีเทลคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่ พร้อมกับการช้อปออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนทั่วโลก แอปฯ เถาเป่านั้นเป็นที่รู้จักในกลุ่มนักช้อปออนไลน์ตัวยงมาตั้งแต่ก่อนโควิดระบาดแล้ว และเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เลือกขายสินค้าและเปิดตัวสินค้านวัตกรรมใหม่ล่าสุด ถึงแม้ช่วงนี้เราจะยังบินไปไหนไม่ได้ แต่เราอยากพาทุกคนมารู้จักกับงาน Taobao Maker Festival หรือ TMF งานแสดงความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ในระดับแถวหน้าของเอเชียที่จัดต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว เราจะพาไปดูกันว่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่จีนเขาขายอะไรกัน และเถาเป่าทำอย่างไรเพื่อให้ตลาดนักออกแบบและนักสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เติบโตขึ้นได้บ้าง ซึ่งงานนี้เขาไม่ได้สนุกแค่ดีไซน์ แต่เรื่องเทคโนโลยีก็พัฒนาได้ล้ำไม่แพ้ใคร ปีนี้ Taobao Maker Festival จัดขึ้นในวันที่ 17 – 25 กรกฎาคม ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ผู้ร่วมงานจะได้รับชมผลงานนวัตกรรมกว่า 100 ชิ้น พร้อมพูดคุยกับเจ้าของสินค้าเกี่ยวกับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ถึงเวลาที่จะได้ท่องเทศกาลและเปิดหูเปิดตาดูเทรนด์ผลิตภัณฑ์ที่กำลังมาแรงใน TMF ปีนี้ งานนี้เป็นงานที่มีจำนวนเมกเกอร์หน้าใหม่ที่มาโชว์ผลงานออกแบบและนวัตกรรมสุดล้ำเข้าร่วมเพิ่มขึ้นทุกปี รับรองว่าคนไทยไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนอย่างแน่นอน มีอะไรใน Taobao Maker Festival 2021 เทศกาล Taobao Maker Festival 2021 มีจุดประสงค์ในการแสดงผลงานของผู้ประกอบการที่มีไอเดียน่าสนใจ โดยเฉพาะสินค้าที่เจาะตลาดนิช ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ […]
เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ‘เซินเจิ้น’ พลิกบทบาทตัวเองครั้งใหญ่ โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดการสร้างมลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เพื่อสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในอนาคต
เปิดฉากสงครามการค้าระหว่างประเทศครั้งใหม่ของสองประเทศยักษ์ใหญ่ ล่าสุดสหรัฐฯ เตรียมสั่งแบน “ฝ้าย” จากจีน โดยอ้างเหตุผลเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงของจีน ‘มณฑลซินเจียง’ คือบ้านเกิดของชาวอุยกูร์กว่าครึ่งหนึ่งในประเทศ ทั้งยังเป็นดินแดนผลิตฝ้ายรายใหญ่ที่ครองสัดส่วนร้อยละ 84 ของฝ้ายทั้งหมดในประเทศจีนด้วย โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งของกลุ่มแรงงานประเมินว่าร้อยละ 20 ของเสื้อผ้าที่นำเข้ามาในสหรัฐอเมริกามาจากภูมิภาคนี้ แต่ในช่วงปีหลังๆ จีนมักถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติเกี่ยวกับการตั้งค่ายปรับทัศนคติ ที่มีการคาดเดาว่าภายในค่ายขนาดใหญ่อาจมีการควบคุมตัวชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ มากถึง 1 ล้านคน เพื่อบังคับใช้แรงงานแบบผิดกฎหมาย ทำให้ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ เคยประกาศขึ้นบัญชีดำและใช้มาตรการคว่ำบาตรจีนมาแล้ว ซึ่งทั้งประธานาธิบดีทรัมป์และประชาชนชาวอเมริกัน Ken Cuccinelli เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) มีแนวคิดที่ตรงกันว่า “การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นภายใต้เงื้อมมือของรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีน จะไม่ได้รับการยอมรับจากประธานาธิบดีทรัมป์และประชาชนชาวอเมริกัน โดยคำสั่งแบนนี้จะมีผลรวมไปถึงทุกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับฝ้ายของจีนด้วยไล่ไปตั้งแต่ เส้นใยฝ้าย ผ้าฝ้าย เครื่องนุ่งห่มที่ทำจากฝ้าย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่นำเข้าจากซินเจียง ในขณะที่จีนตอบโต้สหรัฐถึงเรื่องนี้ว่า ข่าวเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานในซินเจียงไม่เป็นความจริง เพราะชาวอุยกูร์ในประเทศจีนทุกคนมีสิทธิเลือกอาชีพได้ด้วยตนเอง ซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นข้อโต้แย้งระหว่างยักษ์ใหญ่ 2 ประเทศที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลงง่ายๆ Sources :BBC | https://bbc.in/3lVsAADCNA | https://bit.ly/37O4ansBangkokbiznews | https://bit.ly/37I4vbj
รู้หรือไม่ ทุกๆ ปีจีนจะทิ้งเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วกว่า 26 ล้านตัน และมีเพียงแค่ 1% ของเสื้อผ้าเหล่านั้นที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล
พาทัวร์เส้นทางสีเขียวเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ที่มีดีเรื่องความกรีนไม่แพ้ใคร
การกินอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวจีน และมักจะนั่งล้อมวงมีอาหารวางเสิร์ฟแบบฟูลออปชัน วัฒนธรรมชาวจีนถือว่าการกินอาหารเป็นการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง การสั่งอาหารขึ้นโต๊ะจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในอดีตสังคมจีนมีวิถีการกิน ‘แค่พออิ่ม’ แต่เมื่อเศรษฐกิจก้าวหน้าไปมากชาวจีนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นก็เปลี่ยนมากินแบบ ‘อิ่มหมีพลีมัน’
พาดูการแปลงโฉมตึกแถวเก่าให้กลายเป็นคาเฟ่ฮิปไซซ์มินิ ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน