‘Sabus’ รถบัสเก่าที่เปลี่ยนให้เป็นซาวน่าเคลื่อนที่ ออกเดินทางให้บริการรอบจังหวัดเฮียวโกะ 

เมื่อไม่มีการนำไปใช้งานต่อ ‘รถบัสรุ่นเก่า’ อาจต้องจอดทิ้งไว้เฉยๆ เพื่อรอการแยกชิ้นส่วน แต่บริษัทสตาร์ทอัปในประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ยังใช้งานได้ของรถโดยสารประเภทนี้ จึงเกิดเป็นไอเดียที่ผสมผสานการชมวิวผ่านหน้าต่างรถและการอบซาวน่าไว้ในรถคันเดียวกัน ‘OSTR’ บริษัทสถาปัตยกรรมในโอซาก้าได้ร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัป ‘Sauna Ikitai’ ในการเปลี่ยนรถบัสเก่าให้กลับมาใช้งานได้ แต่เป็นในรูปแบบของซาวน่าเคลื่อนที่ ที่จะเดินทางให้บริการรอบจังหวัดเฮียวโกะ ซาวน่าติดล้อนี้มีชื่อว่า ‘Sabus’ เป็นรถบัสที่ได้รับการปรับปรุงให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเลือกระดับความร้อนได้จากตำแหน่งที่นั่งและระยะห่างจากเพดาน โดยแถวแรกจะอยู่ใกล้เตาที่สุดและได้รับความร้อนโดยตรง ซึ่งสามารถควบคุมปุ่มทำความร้อนเองได้ แถวที่สองจะมีพื้นสูงและอยู่ใกล้เพดานมากที่สุด และแถวสุดท้ายจะนั่งสบายที่สุด ด้วยม้านั่งแบบยาวที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการยืดขาหรือจะนอนก็ยังได้ อุปกรณ์ซาวน่าส่วนใหญ่ทำขึ้นจากการนำชิ้นส่วนในรถบัสมาใช้ใหม่หรือปรับปรุงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นราวจับที่ติดกับที่นั่งที่นำป่านมาหุ้มเพื่อให้รู้สึกสบายยิ่งขึ้น สายสำหรับห่วงจับถูกนำมาใช้กับเทอร์โมมิเตอร์เพื่อบอกอุณหภูมิภายใน กล่องตั๋วที่มีหมายเลขก็ถูกเปลี่ยนเป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำหอม ส่วนบริเวณด้านหน้าของรถบัสยังถูกปรับให้เป็นพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนและเก็บสัมภาระ โดยรถคันนี้ยังคงรักษาหน้าต่างขนาดใหญ่เอาไว้เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ชมวิวทิวทัศน์ระหว่างที่ซาวน่าเคลื่อนตัวไปด้วย สำหรับรูปลักษณ์ด้านนอกนั้นยังคงลักษณะของรถบัสสีส้มเอาไว้ แต่มีการเพิ่มเติมองค์ประกอบบางอย่าง เช่น เติมเส้นสีฟ้าอ่อนเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างซาวน่ากับอ่างน้ำเย็น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการใช้งานใหม่ และป้ายข้อมูลไฟฟ้าด้านหน้ารถบัสที่เปลี่ยนให้เป็น ‘ซาวน่าไอน้ำ 37’ ซึ่งหมายถึงซาวน่าที่จะพกพาไปยังที่ต่างๆ รวมไปถึงรูปสัญลักษณ์ของรถเข็นวีลแชร์ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญลักษณ์ของห้องซาวน่าแทน Sources :Designboom | bit.ly/3zP5bdyOSTR | bit.ly/3ZWpnVySauna Ikitai | bit.ly/3mrI6dW

ปิดตำนานรถเมล์สาย ‘ก.ไก่’ พ่วงท้าย จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรถเมล์สาย ‘73ก’ ไม่มี ‘ก’ อีกต่อไป

‘กว่าคุณจะได้อ่านบทความนี้ ประเทศไทยคงไม่มีรถเมล์สาย 73ก อีกต่อไปแล้ว’ ‘73ก’ รถเมล์ที่มีเส้นทางผ่านไปทักทายผู้คนมากมายหลายย่าน ตั้งแต่แหล่งออฟฟิศย่านรัชดาฯ รับ-ส่งอากง-อาม่าที่เยาวราช ดรอปนักช้อปตัวยงที่ปากคลองตลาด-พาหุรัด-สำเพ็ง-ประตูน้ำ ผ่านแหล่งศูนย์รวมเยาวรุ่นอย่างสยาม-เซ็นทรัลเวิลด์ แม้แต่จะเดินทางไปจับมือเกิร์ลกรุ๊ปไกลถึงเดอะมอลล์ บางกะปิ หรืองาน Cat Festival แถวห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา สายนี้ก็ไปทั่วถึง! (ด้วยเส้นทางที่ทั้งแมสและทรหด)  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครหลายคนจะเคยใช้บริการรถเมล์สายนี้มาแล้ว บางคนก็เป็นขาประจำ ไปเรียน ไปทำงาน หรือไปต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะชาวลาดพร้าว บางกะปิ และนวมินเนี่ยนอย่างผม จนแม้แต่ในรายการแฟนพันธุ์แท้ EP.01 พิธีกรอย่าง กันต์ กันตถาวร ก็เคยพูดถึงรถเมล์สายนี้ด้วยเหมือนกัน ในวาระเดียวกับบรรทัดที่ 1 ‘เจอนี่เจอนั่น’ เดือนนี้ เลยขอบอกลาเพื่อนเก่าที่คุ้นหน้ามานานอย่างรถเมล์สาย ‘73ก’ รถประจำทางที่หลายคนคุ้นหน้าหรือเคยได้ขึ้นไปไหนมาไหน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นรถเมล์สายแมสที่สุดของตระกูล ก ซึ่งตอนนี้รถเมล์สาย 73ก นี้ได้เลิกใช้ ‘ก’ ห้อยท้ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลังใช้ชื่อนี้มายาวนานกว่า 22 ปี  ว่าแต่ทำไมชื่อ 73 […]

รถเมล์ไทย อายุเท่าไหร่

รถเมล์ พาหนะหลักที่คนเมืองใช้สัญจรในชีวิตประจำวันนั้นมีหลากหลายสาย โดยจะวิ่งรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถ้าใครขึ้นรถเมล์เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งไม่ค่อยได้ขึ้น คงเห็นสภาพรถเมล์ไทยที่ปะปนกันไปทั้งใหม่-เก่า แล้วเคยสงสัยไหมว่า รถเมล์ในกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการกันอยู่ทุกวันอายุเท่าไหร่แล้ว เราเลยชวนทุกคนไปสำรวจรถเมล์ เพื่อดูว่าตอนนี้สภาพรถเมล์ไทยเป็นยังไงบ้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาต่างไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหนกัน “เมล์ครีม-แดง ออริจินัลรถเมล์ไทยที่วิ่งมานานถึง 30 ปี กระเป๋ารถเมล์มาเก็บค่าโดยสารแล้ว ถึงเวลาควักเหรียญ” “ค่าโดยสาร 8 บาท กับรถที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร” “ครีม-น้ำเงิน นายอายุ 44 ปีเป็นคุณลุงแล้ว” “ทุกชีวิตล้วนผุพังตามกาลเวลา รถเมล์ก็เช่นกัน” “แต่ฝั่งนี้แดดส่องลงเต็มๆ” “เงียบเหงาจัง”  “ติดบ้าง ขยับบ้าง พอถนนโล่งทีไร คนขับก็ซิ่งใหญ่เลย” “มันก็…อันตรายอย่างที่ป้ายบอกนั่นแหละครับ” “สาย 8 ในตำนาน” “เดี๋ยวก็มีคนขึ้นรถครับป้า” “คุณลุงขึ้นไปนั่งแล้ว” “มินิบัสส้มแก๊งนี้ก็อายุ 12 ปีแล้วนะ” “10 บาทตลอดสาย” “อ้าวว กดกริ่งลงยังไงล่ะครับ มองหากริ่งใหม่แทบไม่ทัน” “พกไม้ถูพื้นด้วย รักสะอาดนะเรา” “ปอ.สีเหลืองนี่ก็อายุ 11 ปี อายุไม่น้อยเหมือนกันนะเรา” “ดูแล้วก็…อายุไม่น้อยจริงๆ […]

รถเมล์ไทยหลังโควิด-19

แม้เครื่องบินจะหยุดชะงักเมื่อโรคระบาดมา แต่เชื่อว่าคนไทยเองยังจำเป็นต้องเดินทางอยู่ ดังนั้นรถสาธารณะอย่าง ‘รถเมล์’ ยังคงขายดีอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งที่ผู้ใช้บริการจะคำนึงเป็นอันดับแรกคงหนีไม่พ้นความสะอาด และความปลอดภัย เราเลยลองจินตการดีไซน์รถเมล์ไทยหลังโควิด-19 มาให้ดูกัน แล้วเพื่อนๆ ล่ะ อยากให้รถเมล์ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบไหนกันบ้าง

บัตรตั๋วร่วมใช้แน่ ! เริ่มเดือนมิถุนายน 2563 รวมทุกการขนส่งในบัตรเดียว BTS + MRT + ARL + รถเมล์

ปลัดกระทรวงคมนาคม เร่งให้เกิดระบบ ‘ตั๋วร่วม’ ใบเดียวที่ใช้ข้ามขนส่งสาธารณะได้ทั้งหมด เพื่อสะดวกในการเชื่อมการเดินทางในกรุงเทพฯ ได้อย่างครอบคลุม โดยวางแผนไว้ว่าจะใช้จริงตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป หากไม่มีปัญหาขัดข้อง

รถเมล์ที่ดีควรเป็นอย่างไร? ส่องรถเมล์ชาวบ้าน เขาไปกันไกลถึงไหนต่อไหน ทำไมเรายังย่ำอยู่ที่เดิม

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ชาวกรุงคงได้ลองนั่งรถเมล์สายใหม่กันไปแล้ว ซึ่งเป็นการทดลองวิ่งตามแผนปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และแน่นอนว่าคนส่วนมากต่างก็บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.