ตึกสูงที่ถูกทิ้งร้างในเมือง ส่งผลอะไรกับการใช้ชีวิตของคนเมืองบ้าง

‘ตึกร้าง’ มักเป็นสถานที่อันดับต้นๆ ที่ใช้เป็นโลเคชันประจำในรายการแนวลึกลับ กับการเข้าไปทำภารกิจพิสูจน์ความลี้ลับของอาคารเก่าทรุดโทรม ไม่ว่าจะเป็นตึกร้างชื่อดังหรือตึกร้างโนเนม เพราะทุกที่มีเรื่องเล่าทั้งสิ้น แต่นอกเหนือจากเรื่องผีๆ ที่เชื่อมโยงกับตึกร้างแล้ว ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีตึกร้างเยอะแยะนัก เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปย่านไหนก็มักพบเห็นตึกสูงที่ปล่อยทิ้งร้างเอาไว้แทบทุกที่ ทั้งๆ ที่มีข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในตึกร้างมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบถึงเรื่องนี้ พร้อมกับสำรวจว่าการมีอยู่ของตึกร้างพวกนี้ส่งผลเสียอะไรกับเมืองและผู้คนบ้าง เบื้องหลังตึกสูงที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเฟื่องฟูและพัฒนา ส่งผลให้เกิดโครงการก่อสร้างอาคารจำนวนมากในเมือง โดยส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัยในทำเลทองต่างๆ เพื่อรองรับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมือง  แต่ขณะที่การก่อสร้างกำลังดำเนินไป ก็เกิดวิกฤตการเงินปี 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เศรษฐกิจพังพินาศ สถาบันการเงินหลายแห่งถูกสั่งปิดจนทำให้ต้องยุติการกู้เงิน โครงการก่อสร้างต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยังไม่เสร็จดีก็ตาม ทำให้มีอาคารที่ถูกปล่อยทิ้งร้างมากกว่า 200 แห่ง เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี หลายตึกได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นตึกใหม่ใช้งานได้แล้ว แต่บางตึกก็ยังถูกปล่อยทิ้งไว้ด้วยหลายเหตุผล ตั้งแต่ปัญหาเงินทุนที่นายทุนยังไม่สามารถหามาเดินหน้าโครงการต่อได้ การรอเจ้าของคนใหม่มารับช่วงต่อในการก่อสร้าง การฟ้องร้องค่าเสียหายจากการหยุดปล่อยเงินกู้จนผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการจนแล้วเสร็จได้ ติดคดีความเกี่ยวกับการสร้างอาคารผิดแบบหรือโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง และอีกเหตุผลสำคัญคือค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารที่อาจสูงกว่าการเดินหน้าสร้างต่อ นายทุนหลายเจ้าจึงเลือกวิธีการปล่อยอาคารทิ้งไว้เฉยๆ ให้เก่าไปตามกาลเวลา ดีกว่าต้องมาเสียเงินก้อนโต นอกจากนี้ อาคารบางแห่งที่ถูกหน่วยงานรัฐฟ้องร้องเนื่องจากก่อสร้างโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร […]

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

เงยหน้าหา ‘หัวมุมตึก’ สถาปัตยกรรมที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองในอดีต

หัวมุมตึก หนึ่งจุดเด่นที่อยู่คู่กันกับตึกแถว เป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งโครงสร้างและลักษณะของสถาปัตยกรรมสามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย หัวมุมของอาคารในปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นทำเลทองที่มีการอนุรักษ์ ปรับปรุงโดยภาคเอกชน จนกลายเป็นย่านเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไปแล้ว จากความหลงใหลในการเดินย่านที่เต็มไปด้วยตึกเก่าแก่มากมาย ทำให้เราลองเปลี่ยนมุมมองตัวเองจากการมองดูสิ่งรอบตัว เป็นการยกกล้องถ่ายรูปขึ้นแล้วเล็งชัตเตอร์ไปที่ ‘หัวมุมตึก’ “มุมนี้อยู่มาหลายยุคหลายสมัย” “มุมนี้ครบวงจร” “มุมนี้ถูกทิ้งร้าง” “มุมนี้ขายแว่น” “มุมนี้มีพิพิธภัณฑ์” “มุมนี้เปลี่ยนเป็นธนาคาร” “มุมนี้มีคาเฟ่แซมด้วยต้นไม้” “มุมนี้ขายทอง” “มุมนี้เหมือนในหนังฮ่องกง” “มุมนี้ขายตาชั่ง” “มุมนี้มีของอร่อยขาย” “มุมนี้มีโรงแรม” “มุมนี้หุง อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง” “มุมนี้เป็นจุดกำเนิดการประปา” “มุมนี้รวม Art of Hand Painting” “มุมนี้สมดุล” “มุมนี้มีอะไหล่”

เดอะ เคหา บ้านของนักเดินทางแห่งพลับพลาไชย ที่เพนต์ตึกด้วยมือทุกกระเบียดนิ้ว

ชวนดูตึกเก่าที่ถูกรีโนเวตจนกลายเป็นโรงแรมและคาเฟ่ใจกลางย่านเก่า

สงสัยกันไหม ทำไมตึกส่วนใหญ่มักมีหน้าตาเหมือนขั้นบันได

ทำไมบางตึกชอบดีไซน์ปาดเฉียง ? ทำไมบางตึกต้องหั่นยอดตึกเป็นขั้นบันได ? เวลานั่งรถไฟฟ้าวิ่งผ่านใจกลางเมือง เรามักจะพบกับทัศนียภาพของตึกสูงอยู่รายรอบ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าตึกสูงในประเทศไทยอย่างออฟฟิศ หรือคอนโดมิเนียมในเมืองส่วนใหญ่ ทำไมถึงต้องมีรูปร่างหน้าตาเป็นขั้นบันได บางตึกเฉียงไปเฉียงมา เหล่าสถาปนิกเขามีแนวคิดอย่างไร จะด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม หรือแค่เรื่องบังเอิญ เรามาร่วมไขคำตอบไปด้วยกัน ! | รูปร่างของตึกนั้นมีที่มา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ยอดอาคารสูงมีลักษณะเป็นขั้นบันไดหรือปาดเฉียง สาเหตุมาจากกฎหมายบ้านเราที่ควบคุมความสูงของอาคารเพื่อสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัยของคนในเมือง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 จากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีใจความว่า “ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด ความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด” หมายความว่า ถ้าเราต้องการรู้ว่า อาคารมีความสูงเกินที่กฎหมายกำหนดหรือเปล่า หรือตึกนั้นสามารถสร้างได้สูงสุดกี่เมตร ต้องเริ่มจากวัดความยาวแนวราบจากจุดที่จะสร้างตึกถึงหน้าเขตที่ดินฝั่งตรงข้ามนำมาคูณสอง จะเท่ากับความสูงของตึกที่สามารถสร้างได้ จากตัวอย่างในรูป เช่น ความสูงของตึก ณ จุด A ที่สามารถสร้างได้ คำนวณจาก ระยะทาง X นำไปคูณสอง เท่ากับ 30 X […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.