‘STOP! TORTURE’นิทรรศการจาก Patani Artspace ที่เรียกร้องให้ยุติอุ้มหาย-ซ้อมทรมาน

STOP! TORTURE นิทรรศการจาก Patani Artspace ที่ชวนเปิดตระหนักปัญหาอุ้มหาย-ซ้อมทรมานในสามจังหวัดชายแดนใต้และประเทศไทย เพื่อแสวงหาทางออกสู่การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ศิลปินไทย-จีนสร้างศิลปะแม่น้ำโขง รณรงค์ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการสร้างเขื่อน และสะท้อนวิก​​ฤตลุ่มน้ำโขง

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้สร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่น้ำโขงมากถึง 11 แห่ง เพื่อกักเก็บน้ำปริมาณมหาศาลซึ่งการสร้างเขื่อนทำให้ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงอย่าง ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ต้องเผชิญกับภัยแล้งและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นเรื่อยๆ ศิลปินชาวไทยและชาวจีนจึงร่วมมือกันจัดแสดงผลงานศิลปะที่โฮงเฮียนแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อสะท้อนวิกฤตแม่น้ำโขงและกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการสร้างเขื่อน  โดยกลุ่มศิลปินไทยและจีนสร้างสรรค์ผลงานขึ้นหลังจากได้ลงพื้นที่แม่น้ำโขง แม่น้ำอิง และเยี่ยมชุมชนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ศิลปะที่นำมาจัดแสดงมีตั้งแต่ภาพวาด โมไบล์ปลาสังกะสี การแสดงดนตรีสด ไปจนถึงการเพนต์ร่างกายด้วยสีแดงเป็นคำว่า ‘Save River’ เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนหันมาช่วยกันรักษาแม่น้ำโขง นายเรียน จินะราช อดีตพรานปลาบึกและผู้อาวุโสชุมชนริมแม่น้ำโขงเปิดเผยว่า การสร้างเขื่อนอาจทำให้ปลาบึกสูญพันธุ์ เพราะเมื่อก่อนแม่น้ำโขงมีปลาชุกชุมหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะปลาบึกที่มักออกมาในช่วงสงกรานต์ของทุกๆ ปี ในตอนนั้นไม่ต้องใช้เครื่องมือมากก็สามารถจับปลาได้ทีละเยอะๆ  ในอดีตเชื่อกันว่าปลาบึกว่ายไปวางไข่ที่ทะเลสาบต้าหลี่ในจีน แต่เมื่อจีนสร้างเขื่อน ปลาบึกจึงไม่รู้จะไปวางไข่ที่ไหน ปลาบึกตัวเมียทุกตัวที่จับได้จะมีไข่ ซึ่งแต่ละตัวมีไข่ 60 – 70 กิโลกรัม แต่การฟักเป็นตัวและเติบใหญ่มีน้อย เพราะมีศัตรูในธรรมชาติมาก โดยวิธีวางไข่คือการปล่อยไหลไปกับน้ำ ทั้งนี้ นายเรียนเปิดเผยว่า ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน เขาไม่เคยเห็นปลาบึกตัวเล็กในแม่น้ำโขงเลย ส่วนใหญ่ที่เห็นจะมีน้ำหนัก […]

‘Pellucid’ นิทรรศการศิลปะออนไลน์จากคณะวิจิตรศิลป์ มช. ที่ใช้ศิลปะตั้งคำถามกับชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

หากจำประเด็นการ ‘ตัดโซ่’ หอศิลป์เพื่อเข้าไปจัดแสดงนิทรรศการศิลปะของ นักศึกษาจากสาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ (Media Arts and Design) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 4 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมาได้ หลายคนคงอยากรู้ว่าเนื้อหานิทรรศการมีอะไร ทำไมถึงโดนขัดขวางไม่ให้ใช้พื้นที่? ตอนนี้ไม่ต้องตัดโซ่อีกต่อไปแล้ว เพราะทางคณะผู้จัด Media Arts and Design Festival หรือ MADSFEST ได้ยกนิทรรศการไปจัดทางออนไลน์ยาวถึงเดือนมีนาคม 2022 ให้เข้าถึงได้ทั่วไป และนอกเหนือจากผลงานของชั้นปีที่ 4 ที่จัดแสดง ‘ออฟไลน์’ ไปแล้ว งาน MADSFEST ที่เป็นพื้นที่ทดลองทางความคิด ตั้งคำถามกับ “กฎเกณฑ์ของสังคม” และใช้ศิลปะเพื่อสื่อสารเชื่อมโยงประเด็นหลากหลายสู่สาธารณะนี้ยังรวมผลงานของนักศึกษามีเดียอาร์ตหลายชั้นปีไว้อีกด้วย   เทศกาลปีนี้ใช้ชื่อว่า ‘Pellucid’ ซึ่งผู้จัดอธิบายความหมายว่า เป็น “การวิพากษ์ถึงรูปแบบระบบโครงสร้างสิ่งที่กดทับและครอบคลุมมุมมองของเราเอาไว้ ผ่านแนวคิดแบบโครงสร้างนิยม (Structuralism) ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของรัฐ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ลำดับชนชั้นทางสังคม” โดยใช้ภาพ เสียง […]

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

ปี 2025 โซลจะมีสวนวัฒนธรรมริมน้ำที่ตอบโจทย์ทุกคน

กรุงเทพฯ มี ‘โอ่งอ่าง’ คลองที่สวยที่สุดในเมืองกรุง แต่ในปี 2025 ‘โซล’ เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้กำลังจะมีสวนสาธารณะวัฒนธรรมริมน้ำ ที่มีสามดีเทลสำคัญเป็นหัวใจหลักของการดีไซน์พื้นที่ หนึ่ง. ศิลปะ  สอง. วัฒนธรรม สาม. สเปซที่เชื่อมต่อทั้งย่าน Seongdong เข้าด้วยกันให้เดินไปมาหาสู่กันได้แบบทะลุปรุโปร่ง  ทั้งสามรายละเอียด ถูกคิดค้น ออกแบบเพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตของคนเมืองให้ทุกคนเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และได้พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดทั้งร่างกายและจิตใจกันถ้วนหน้า ทั้งนี้ในปี 2025 เรากำลังจะได้ยลโฉมสเปซบริเวณลำธาร Jungnangcheon (중랑천) ซึ่งจะถูกแปลงโฉมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนเกาหลีได้มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมริมน้ำแห่งใหม่ ซึ่งผสมผสานระหว่างศิลปะและการพักผ่อนหย่อนใจเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว  คลองหรือลำธารจุงนังเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำฮัน มีต้นกำเนิดมาจากหุบเขา Dorak ใน Yangju จังหวัด Gyeonggi ซึ่ง Cheonggyecheon ก็เป็นลำน้ำสาขาของ Jungnangcheon ลุ่มน้ำทั้งหมดมีพื้นที่ 299.9 ตารางกิโลเมตร ลำธารส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอึยจองบูและกรุงโซล อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาลโซล (The Seoul Metropolitan Government) ครั้งนี้จะมีการสร้างถนนใต้ดินระหว่างสะพาน Changdonggyo และสะพาน Sanggyegyo ภายใต้ลำธาร […]

5 กิจกรรมแมสแมส(ก์) ชวนใส่แมสก์ออกไปเสพศิลป์

รวม 5 กิจกรรมแมสแมส(ก์) ชวนใส่แมสก์ออกไปเสพศิลป์ หลายคนคงเบื่อการอยู่บ้าน เบื่อกับการร่วมอีเวนต์ในรูปแบบออนไลน์กันบ้างแล้ว และคงโหยหาการได้ออกจากบ้านไปทำกิจกรรมต่างๆ วันนี้เราจึงรวบกิจกรรมและนิทรรศการหลากหลายรูปแบบ ที่ทุกคนสามารถออกจากบ้านใส่แมสก์ ไปเข้าร่วมอีเวนต์แบบ New Normal ได้อย่างปลอดภัย เพื่อเสพศิลป์ในประเด็นเรื่องการเมือง สังคม วัฒนธรรม และความแตกต่างหลากหลาย ผ่านรูปแบบผลงานศิลปะ เพื่อเสริมสร้างจินตนาการ และเติมสีสันในการใช้ชีวิตให้กลับมาเป็นปกติ | Drama Holiday ให้ศิลปะพาเราไปดูการเติบโต “เมื่อเราเติบโตขึ้น โลกที่เรามองเห็นยังเป็นโลกใบเดิมอยู่หรือไม่…เวลาที่ชีวิตกำเนิด ดวงตาของเรายังพร่าเลือน โลกรอบตัวเต็มไปด้วยคำถาม แต่เมื่อชีวิตเติบโต ดวงตาคู่เดิมกลับเริ่มมองเห็น ‘บางสิ่ง’ ชัดเจนขึ้น แล้วโลกใบนั้นล่ะยังเป็นโลกใบเดิมอีกหรือไม่” คำถามที่ เอกรัตน์ อรุณรัตน์ ตั้งคำถามในใจและวาดมันออกมาเป็นผลงาน Pop Art สีน้ำมันบนผืนผ้าใบ ในการจัดแสดงผลงานที่มีชื่อว่า ‘Drama Holiday’ โดยหยิบเอาตัวละครหลักจากผลงานเก่าของเขาในปี 2019 อย่าง Yellow Eyes มาต่อยอด จากเด็กน้อยในผลงานให้เติบโตขึ้นกลายเป็นสาวแรกรุ่น ที่เริ่มรับรู้เรื่องราวต่างๆ บนโลก ทั้งเรื่องน่ายินดีและโศกเศร้า ฉาบภายนอกของงานด้วยสีน้ำมันสดใสสะดุดตา แต่แฝงด้วยสีหม่นและคู่สีที่ขัดแย้งทางความรู้สึก […]

BPMC2021 คอนเซปต์ Wish เตรียมเติมสีสัน ให้กรุงเทพฯ ด้วยการฉายภาพเคลื่อนไหว ไอเดียจากทั่วโลกบนอาคาร East Asiatique

Bangkok Projection Mapping Competition 2021 หรือ BPMC2021 ฉายภาพเคลื่อนไหวบนอาคาร East Asiatique ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

London Design Biennale 2021 ธีม Design in An Age of Crisis รวมศิลปะยุคโควิด-19 จากทั่วโลก

ข้ามโพ้นทวีปเดินเสพงานศิลป์ที่นิทรรศการ London Design Biennale 2021 จุดรวมพลของนักออกแบบ ภัณฑารักษ์ และสถาบันการออกแบบจากทั่วทุกมุมโลก ที่นำเสนองานในธีม ‘Design in An Age of Crisis’ เพื่อใช้ศิลปะและการออกแบบแก้ปัญหาความยากจน ต่อสู้กับความไม่เท่าเทียม และจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศในยุคที่ทุกคนต่างเผชิญหน้ากับวิกฤตระดับโลก  London Design Biennale 2021 รับผิดชอบโดย Es Devlin ศิลปินและนักออกแบบฉากชื่อดังจากลอนดอน โดยนำผลงานทั้งหมด 500 ชิ้น จาก 50 ประเทศมาตั้งโชว์ในนิทรรศการ ซึ่งเธอได้จำแนกงานศิลปะทั้งหมดออกเป็น 4 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม : เราจะออกแบบสถานที่ให้ดีขึ้นได้อย่างไร สุขภาพ : งานดีไซน์จะช่วยให้คนมีสุขภาพที่ดีได้ง่ายขึ้นอย่างไร สังคม : การออกแบบจะช่วยเราทุกคนได้อย่างไร ผลงาน : เราจะออกแบบผลงานให้มีความหมายได้อย่างไร ซึ่ง Sir John Sorrell CBE ผู้ก่อตั้งนิทรรศการ London […]

Man & Art แปลงโฉม ‘มนุษย์’ เป็นงานศิลปะระดับโลก! ด้วยฝีมือ นศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร

เปลี่ยนภาพจำการเรียนทฤษฎีในห้องเรียน ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกับ ‘ศิลปะ’ มากยิ่งขึ้น เพราะมนุษย์กับศิลปะเป็นของคู่กัน!  เมื่อนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ลุกขึ้นมาเลียนแบบ ‘ภาพศิลปะ’ โดยใช้ร่างกายของตัวเองเป็นแคนวาส บรรจงแต่งองค์ทรงเครื่อง มาประชันความครีเอทีฟผ่านโปรเจกต์ ‘ภาพถ่ายที่ได้แรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะ’ ในรายวิชา ‘มนุษย์กับศิลปะ’ (Man & Art)  นอกจากจะให้นักศึกษาได้ระเบิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแล้ว ยังให้ความสนุกกับการเรียนศิลปะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว! เรามาส่องไอเดียเจ๋งๆ ของเด็กรุ่นใหม่ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ต้นฉบับ : The Fortune Teller โดย Frederic Bazilleชื่อผลงาน : “Fortune Uno” โดย ชลดา ผาติเสถียร ต้นฉบับ : Girl Running with Wet Canvas โดย Norman Rockwell ชื่อผลงาน : “Girl running to class with […]

5 อีเวนต์ทิพย์ สร้างความสุขที่บ้าน

โควิด-19 เจ้ากรรมทำไมใจร้ายอย่างนี้! (หรือเป็นเพราะรัฐบาลยังไม่มีวัคซีนให้ประชาชนฉีดทั่วประเทศกันแน่) แกทำให้ฉันติดแหง็กอยู่ในบ้าน ออกไปไหนไม่ได้ แม้หัวใจจะเรียกร้องให้ออกไปเดินเล่น เอ็นจอยกับการใช้ชีวิต และทำกิจกรรมเพิ่มพลังใจก็เถอะ แต่ความหาทำก็ไม่เป็นสองรองใคร ออกไปไหนไม่ได้ใช่ไหม ได้! Urban Creature ขออาสาพาทำกิจกรรมทิพย์ๆ ที่บ้าน ตั้งแต่ดูคอนเสิร์ตวง PREP เข้าพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ประเทศฝรั่งเศส อ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตา ปลูกป่า หรือช้อปหนังสือที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 49 เพราะทั้งหมดนี้ถูกมัดรวมอยู่ในช่องทาง ‘ออนไลน์’ หมดแล้ว! 01 ตุนหนังสือ ‘สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ เข้ากอง ถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 49 ในคอนเซปต์ ‘อ่านเท่’ ที่ไบเทค บางนาคราวนี้จะถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 5 – 23 พฤษภาคม 2564 แต่ใครว่าทุกสำนักพิมพ์จะยอมถอยทัพง่ายๆ เพราะตอนนี้กองหนังสือเล่มเด็ดตั้งแต่หนังสือประวัติศาสตร์ การเมือง ปรัชญา นิยาย ไปจนถึงมังงะ (ไฮคิว โคนัน วันพีซ ขนมาหมด) เปิดให้ช้อปกันกระหน่ำพร้อมส่วนลดและโปรโมชันพิเศษแบบจัดเต็มเหมือนการออกบูทจริงทุกอย่าง ป.ล. แอบกระซิบว่าแต่ละวันจะมีชั่วโมง Flash […]

พีระ โองาวา ศิลปินผู้เปลี่ยนเสียงแว่วในหูให้เป็นศิลปะเรขาคณิตและความสุขของวัย 75

ยามผมเปลี่ยนเป็นสีดอกเลายามหลังเริ่มงองุ้มตามกาลเวลายามที่สายตาเริ่มพร่าเลือนยามที่คุณอายุเข้าวัยเลข 7ลองจินตนาการสิว่า ตอนนั้นคุณกำลังทำอะไรอยู่ สำหรับเรา…ยังเป็นนักเขียน? ยังไปคอนเสิร์ตของนักร้องวงโปรด? ยังชอบเข้ามิวเซียม?คำตอบคือ ยังไม่รู้เลย ว่าวันนั้นจะยังทำสิ่งที่รักอยู่หรือเปล่า  แต่สำหรับ พีระ โองาวา ศิลปินวัย 75 ปีท่านนี้ ชีวิตทุกวันตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ยังเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อตื่นตอนเที่ยงคืนมาเปิดเพลงบรรเลงของโมซาร์ตและบีโทเฟน แล้วลงมือสร้างสรรค์ ศิลปะเรขาคณิต จนถึงยามฟ้าเริ่มสางช่วง 5 นาฬิกา เขาทำทุกวันอย่างไม่มีหยุดพัก และจะมีความสุขทุกครั้งที่วาดภาพออกมาได้ดั่งใจคิด เสื้อเชิ้ตสีฟ้าอ่อน กางเกงสแล็กสีดำ และรอยยิ้มใจดีของคุณพ่อพีระต้อนรับเรา เมื่อ แตง-ประกายจิต โองาวา ลูกสาวคนโตของครอบครัวเชื้อเชิญเข้าบ้าน ตามด้วยคำทักทายของ คุณแม่สว่าง โองาวา และลูกชายคนเล็ก เต้-ยุทธจิต โองาวา  ครอบครัวลูกครึ่งญี่ปุ่นยิ้มแย้มอย่างเป็นกันเอง ก่อนรวมตัวนั่งล้อมวงบนชั้น 2 เพื่อพูดคุยถึงโลกศิลปะของคุณพ่อพีระ ท่ามกลางงานศิลปะเรขาคณิตนับสิบชิ้นที่รายล้อมอยู่ในห้องรับแขก และอีกหลายร้อยชิ้นที่ซุกซ่อนอยู่ในบ้านหลังอบอุ่น ศิลปะไร้อุปกรณ์ ชีวิตศิลปะของศิลปินอายุ 75 ปีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยไม่ถึงสิบขวบ เขามักหยิบดินสอมาวาดภาพ Freehand หรือการวาดภาพโดยไม่ใช้เครื่องมือเป็นเหล่าสัตว์นานาชนิดตามที่ใจคิด เพราะมองว่าสัตว์ทุกตัวมีความสวยงามเฉพาะแบบ บ้างวาดสัตว์ตัวนั้นตามแบบที่เป็น บ้างเอาสัตว์หลายตัวมาผสมกันจนมีรูปร่างหน้าตาแปลกไปจากเดิม อย่างรูปไก่ที่มีขนเป็นงู รูปต้นไม้ที่กิ่งก้านของมันกลายเป็นงูเลื้อย […]

‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการที่ชวนตั้งคำถามถึงการพัฒนาสามย่านที่สวนทางกับชุมชน

ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางผังเมืองที่ชัดเจน ทำให้เกิดชุมชนที่พัฒนาไม่ทันเมือง อย่างเช่น ‘ชุมชนสามย่าน’ บริเวณถนนพระราม 4 การพัฒนาทำให้พื้นที่บริเวณสามย่านมีค่าเช่าสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบางส่วนแบกรับไม่ได้ ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มากว่า 20 ปี จึงเปลี่ยนประสบการณ์และความทรงจำที่มีกับชุมชนในสามย่านซึ่งพยายามปรับตัวให้ทันระบบทุนนิยมและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตั้งคำถามที่ว่า ‘ทำไมเราถึงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’ ในงานนิทรรศการแสร้งเสมือนจริง ‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการนี้ไม่ใช่แค่นำเสนอเรื่องราวให้ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด แต่นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้จินตนาการผ่านกระบวนการดิจิทัล คล้ายๆ การเล่นเกมที่มีองค์ประกอบของภาพและเสียงจริงๆ สอดแทรกอยู่  นับเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยความร่วมมือระหว่างศิลปินกับศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) เจ้าของพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ในสามย่าน  นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมในเว็บไซต์ faamai.wpcomstaging.com/home/ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม – 30 เมษายน นี้

1 2 3 4 5 6 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.