MONOLOGO Coffee ร้านกาแฟที่ต่อขยายจากโรงงานเก่า ในเขตพื้นที่คุ้มครองอุตสาหกรรมโรงงานของเมืองปักกิ่ง

หากใครมีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวที่เมืองปักกิ่งสักครั้ง ‘751D·PARK’ ถือเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง เพราะนอกจาก 751D·PARK จะเป็นสถานที่ที่ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นแหล่งรวมความบันเทิงตั้งแต่ร้านอาหาร คาเฟ่ โรงละคร นิทรรศการการออกแบบ บาร์ดนตรี ไปจนถึงร้านหนังสือ 751D·PARK เองก็ยังคงอนุรักษ์ความดั้งเดิมของเขตอุตสาหกรรมที่เป็นที่ตั้งของอดีตโรงงานทั้งหมด 751 แห่งไว้ด้วยกัน หนึ่งในสถานที่ที่ต้องปักหมุดสุดๆ คือ ‘MONOLOGO Coffee’ ร้านกาแฟที่เบลนด์ตัวเองเข้ากับโรงงานเก่าได้อย่างลงตัวในพื้นที่ขนาด 375 ตารางเมตร จากการสร้างร้านกาแฟใหม่ครอบส่วนหนึ่งของโรงงานเก่า คล้ายเป็นการต่อขยายจากตัวโรงงานเดิมโดยไม่รบกวนหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เดิมไปมากนัก คาเฟ่แห่งนี้อยู่ภายใต้การออกแบบของสตูดิโอออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ‘SpaceStation’ ที่ต้องการสร้าง MONOLOGO Coffee ให้ออกมาสมบูรณ์แบบ แต่ไม่ทำลายรูปแบบของโรงงานเดิม และยังทำให้ผู้ใช้งานสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างของเก่าและของใหม่ได้ด้วย เพราะเมื่อเดินเข้าไปภายใน เราจะพบกับเก้าอี้และโต๊ะสำหรับนั่งจิบกาแฟชิลๆ อยู่ร่วมกับเตาเผาเก่าขนาดใหญ่ที่กระจายตัวอยู่ภายใน ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังก้าวเข้าสู่พื้นที่อนุสรณ์ของย่านโรงงานในอดีตที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิตของผู้คนในเวลานั้น นอกจากนี้ SpaceStation ยังออกแบบให้ส่วนหน้าอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้เปิดโล่ง เพราะต้องการให้ MONOLOGO Coffee เป็นเหมือนพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เปิดให้ชาวเมืองและนักท่องเที่ยวได้แวะพักเอนหลังสักครู่ ก่อนจะเดินทางไปดื่มด่ำศิลปวัฒนธรรมกันต่อใน 751D·PARK ตลอดทั้งพื้นที่ Sources : ArchDaily | t.ly/qMhrBeijing Tourism | t.ly/POSoxSpaceStation | t.ly/ev92

FYI

Smart Factory ต้นแบบโรงงานอาหารสัตว์ของ Betagro ที่เชื่อมั่นในการสร้างความยั่งยืน

การดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมในยุคนี้ไม่เพียงแต่ต้องคำนึงถึงธุรกิจอย่างเดียวเท่านั้น แต่องค์กรต้องตระหนักถึงองค์รวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวกิจการเอง ชุมชนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโรงงาน เช่น ก่อสารมลพิษทางอากาศ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตในโรงงานที่ก่อให้เกิดเชื้อเพลิงเผาไหม้ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งสุขภาพและชั้นบรรยากาศ หรือ การก่อสารมลพิษทางน้ำ ที่ทำให้มีสารพิษปนเปื้อนในน้ำจนทำให้แหล่งน้ำเป็นอันตราย ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ รวมถึงชาวบ้านที่ใช้แหล่งน้ำนั้นในชีวิตประจำวันด้วย และเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน กระแสของการดำเนินงานแบบ Sustainable ในการทำให้ชุมชนคงอยู่อย่างยั่งยืน จึงมีบทบาทเป็นอย่างมากในยุคนี้ Betagro เองก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้มองแค่การดำเนินกิจการในภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความยั่งยืน ผ่านแนวคิดแบบ Proactive จนทำให้เกิด Smart Factory ต้นแบบโรงงานอาหารสัตว์ Betagro ที่อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา  ภายในโรงงานแห่งนี้มีการใช้สมาร์ตเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานในการสร้างความยั่งยืน และพัฒนาการทำงานของโรงงานไปพร้อมๆ กับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เพื่อเป้าหมายการเป็นมิตรกับผู้คนในพื้นที่และสิ่งแวดล้อม  ว่าแต่ที่นี่ดำเนินงานและใช้นวัตกรรมแบบไหน ถึงสามารถเป็น Smart Factory ต้นแบบโรงงานอาหารสัตว์ได้ ลองไปสำรวจพร้อมๆ กันเลย Sustainable Smart Production ที่นี่เน้นการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสร้างความร่วมมือกับชุมชนตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้เกิดเป็น Smart Impact ที่ส่งเสริมพื้นที่หนองบุญมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการใช้นวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความยั่งยืน […]

หนึ่งวันกับ ‘PASAYA’ โรงงานสิ่งทอที่เชื่อว่าคุณภาพสินค้าจะดีขึ้นตามคุณภาพชีวิตพนักงาน

เมื่อก้าวขาลงรถ แดดร้อนจ้าต้นฤดูหนาวก็ดูจะเย็นขึ้นบ้างจากสภาพแวดล้อมรอบตัวที่มีต้นไม้ให้เห็นกว่าในเมือง เช่นเดียวกับสีเขียวที่เป็นส่วนผสมหลักในโรงงานแห่งนี้ PASAYA (พาซาญ่า) คือแบรนด์สิ่งทอชื่อดังของไทย ก่อตั้งโดย ‘ชเล วุทธานันท์’ ที่มีแนวคิดการส่งเสริมความยั่งยืนเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 1990 ย้อนกลับไปในปี 1986 ซึ่งเป็นยุคทองของการส่งออก สิ่งทอถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ชเลรับช่วงต่อโรงงานชื่อ ‘สิ่งทอซาติน’ ที่ตั้งอยู่แถวพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการจากพ่อ ที่นั่นเป็นพื้นที่เล็กๆ มีเครื่องจักรทอผ้าเก่าๆ 20 เครื่อง พนักงานไม่ถึง 50 คน โรงงานอยู่ในสภาพไม่ค่อยดีนัก ทว่าการได้ไปใช้ชีวิตในโรงงานแห่งนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดราชบุรีขึ้น เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้ และทำประโยชน์ต่อสังคมรวมถึงโลกใบนี้ด้วย หนึ่งวันในโรงงานพาซาญ่าเริ่มต้นแล้ว เราจะพาไปดูกันว่าเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา PASAYA ซึ่งเป็นธุรกิจหลักในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ใช้พลังงานในการผลิตจำนวนมาก และปล่อยมลภาวะที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีการปรับตัวธุรกิจอย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลต่อการมีอยู่ของโลกใบนี้  แพศยา ที่หมายถึงความสวย ฉลาด นอกกรอบ และสง่างาม ‘แพศยา’ เป็นคำไทย จำง่าย ทุกชาติออกเสียงตามได้ ชเลจึงเลือกตั้งเป็นชื่อโรงงาน เนื่องจากเขามองเห็นว่าคนที่ถูกด่าด้วยคำนี้ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติ สวย ฉลาด คิดนอกกรอบ และมีความสง่างาม ซึ่งตรงกับความตั้งใจในการสร้างแบรนด์ PASAYA  […]

กาดเกรียงไกรมาหามิตร การกลับมาของโรงงานกระเทียมดองเก่าแก่เพื่อเป็นกาดช่วยชุมชนแม่ริม

“ว่ากันว่าใครก็ตามที่มีโอกาสเคยได้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกินกว่าครึ่ง ถ้าได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่อื่นจะต้องอยากกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่อีกครั้ง” นี่คือประโยคของ ตุ้ย-เนรมิต สร้างเอี่ยม นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย อดีตผู้บริหารบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการคอนโดมิเนียมแบรนด์ยูดีไลท์ โครงการบ้านบ้าน วิภาวดี 20 ที่ได้รับรางวัลโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อคุณภาพชีวิตดีเด่น ประจำปี 2562 ที่ไม่กี่ปีมานี้เขาเลือกที่จะวางตำแหน่งของเขาลง และย้ายชีวิตของเขากลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ แถมยังเข้าซื้อกิจการโรงงานผักและผลไม้ดองเก่าแก่ของอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยอดขายกำลังซบเซา …เขาคิดอะไรของเขาอยู่ ไม่นานมานี้ตุ้ยได้ตอบข้อสงสัยนั้นด้วยการประกาศเปิดตัว ‘กาดเกรียงไกรมาหามิตร’ ตลาดของฝากที่รวมงานคราฟต์ สินค้ายะด้วยใจ๋ (ทำด้วยใจ) ของผู้คนในอำเภอแม่ริม ซึ่งตอนนี้กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก จนกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่ผู้คนต้องแวะเมื่อมีโอกาสมาเที่ยวที่อำเภอแม่ริม แถมการอุดหนุนสินค้าต่างๆ ของที่นี่ยังทำให้คุณได้มีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมชุมชนต่างๆ ในอำเภอแม่ริมให้แข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย  คุณเนรมิตสามารถเนรมิตโรงงานผักและผลไม้ดองที่กำลังซบเซาให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งอย่างไร วันนี้ตุ้ยจะพาคุณทำความรู้จักกับตลาดแห่งนี้ทุกซอกทุกมุม ตั้งแต่หน้าตลาดจนถึงท้ายตลาดที่เป็นเบื้องหลังการเกิดขึ้นของกาดเกรียงไกรมาหามิตร กรุงเทพฯ-เชียงใหม่นิยาย ความตาย ความรัก เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นจากความรู้สึกอยากกลับมาอยู่ที่เชียงใหม่… “เดิมผมเป็นคนกรุงเทพฯ สมัยเป็นนักเรียนผมจะต้องนั่งรถข้ามสะพานพุทธทุกวันเพื่อไปโรงเรียน เวลาข้ามสะพานผมจะเห็นตึกต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำ ก็เกิดความคิดกับตัวเองขึ้นมาว่าสักวันถ้าเรามีลูกแล้วได้บอกลูกว่าตึกนี้พ่อเป็นคนทำมันคงจะรู้สึกดีนะ หลังจากนั้นเลยทำให้ผมตัดสินใจที่จะเลือกเรียนด้านวิศวะ และต้องเป็นวิศวะโยธาเท่านั้น “ทีนี้ผมเคยอ่านนิยายเล่มหนึ่งเกี่ยวกับความรักนักศึกษาในรั้วมหา’ลัยที่ดังมากๆ เป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาเขียนบรรยาย มช. ไว้ได้โรแมนติกมากๆ เราไม่เคยเห็นหรอกตอนนั้น แต่จินตนาการภาพตามจากตัวหนังสือ เลยทำให้ตอนสอบเข้าผมตัดสินใจเลือกสมัครที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไว้ด้วย ซึ่งพอได้เข้าไปเรียน มช. ก็โรแมนติกจริงๆ […]

สรุปแนวทางล้อมคอกก่อนซ้ำรอยโรงงานระเบิดใกล้ชุมชน

เสียงระเบิดดังสนั่นตอนตี 3 ของเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม เป็นต้นเหตุของแฮชแท็ก #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ กลายเป็นประเด็นร้อนประจำสัปดาห์ที่ประชาชนทั่วทุกสารทิศต่างให้ความสนใจ ทั้งภาพความเสียหายจากแรงระเบิดของบ้านเรือน ภาพไฟกำลังลุกไหม้และควันดำพวยพุ่งขึ้นฟ้า หรือภาพมุมสูงทำให้เห็นความใกล้ของระยะโรงงานและชุมชน ส่งผลให้ประชาชนตั้งข้อสงสัยที่ตั้งโรงงานอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยได้หรือ ก่อนพาทุกคนไปหาคำตอบที่สงสัย ‘โรงงานกิ่งแก้ว’ หรือ ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกสัญชาติไต้หวัน ก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2532 บริเวณซอยกิ่งแก้ว 21 จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพจากดาวเทียม LANDSAT-5, Sentinel-2 และ Thaichote (ไทยโชต) เผยให้เห็นที่ตั้งโรงงานในอดีตอยู่กลางทุ่งนา ภายหลังเกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร สนามบินสุวรรณภูมิ หรือห้างสรรพสินค้า กลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่รอบโรงงาน โรงงานผิดที่ตั้งอยู่ในชุมชน? อย่างที่เรารู้กันว่า ‘กฎหมายผังเมือง’ มีแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือผังสี เพื่อบอกประเภทการใช้งาน ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย สถาบันการศึกษา ไปจนถึงเกษตรกรรม ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่า ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ จัดตั้งขึ้นก่อน ‘ผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2537’ (ฉบับแรก) […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.