ลดแสงจ้า แก้ทางมืด สร้างเมืองน่าเที่ยว ทำความเข้าใจ Lighting Master Plan กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’

ชีวิตคนเมืองกำลังถูกรบกวนด้วยมลภาวะทางแสงโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นแสงจากป้ายโฆษณา แสงจากอาคาร หรือแม้แต่ไฟจากถนน แน่นอนว่าข้อดีของแสงไฟเหล่านี้คือตัวช่วยให้เรามองเห็นในยามที่ท้องฟ้ามืดมิด แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งความสว่างเหล่านี้กำลังรบกวนการใช้ชีวิตของเราและสรรพสัตว์ในเมืองโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน แล้วจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถกำหนดแนวทางการออกแบบแสงสว่างในเมืองได้ โดยการเลือกใช้สีของแสงให้เข้ากับบรรยากาศในพื้นที่ต่างๆ ของเมือง กำหนดความสว่างให้ไม่รบกวนสายตาทั้งในเขตที่อยู่อาศัยและย่านการค้า ซึ่งนอกจากความสวยงามที่ส่งเสริมอัตลักษณ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวของเมืองแล้ว ยังช่วยด้านมิติสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย คอลัมน์ Think Thought Thought วันนี้พาไปพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องแสงในเมืองกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในนักออกแบบแสงสว่าง (Lighting Designer) ว่า Lighting Master Plan คืออะไร และทำไม ‘แสงสว่าง’ ที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราในทุกมิติ ถึงควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถอดบทเรียนแสงสว่างจากฝรั่งเศส พลิกโฉมอยุธยา กระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองเก่า ย้อนไป 20 ปีก่อน จรรยาพรเริ่มสนใจเรื่อง Lighting Master Plan การกำหนดแผนแม่บทหรือแนวทางการออกแบบแสงสว่างชุมชนเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่ถูกเห็นความสำคัญในประเทศไทย จากการได้ทุนศึกษาปัญหาใน ‘เมืองเก่าอยุธยา’ ที่แม้จะเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย และรายล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมโบราณ ซึ่งเป็นพื้นที่มรดกโลกที่รับรองโดย UNESCO แต่กลับมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเวลากลางคืนไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น […]

‘ความมืดนั้นสำคัญไฉน’ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดกับผลกระทบต่อเมือง ธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต

‘ฟ้ามืดทีไรมันเหงาทุกคืน’ ท่อนหนึ่งในเพลงฟ้ามืดทีไร ของวง Dept ว่าไว้อย่างนั้น อย่างที่คุ้นชินกันว่า ความมืดมักถูกยึดโยงกับสิ่งไม่ดี ชั่วร้าย ความเศร้าซึม หรือความเหงา แต่แท้จริงแล้วความมืดมิดยามค่ำคืนกลับมอบสุนทรียศาสตร์ที่ไม่มีสิ่งไหนสามารถแทนที่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า อุปสรรคใหญ่ที่คอยขัดขวางความมืดคือมลภาวะทางแสงยามค่ำคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม โดยที่ไม่รู้ถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ ทั้งต่อสัตว์ป่าและระบบนิเวศในตอนกลางคืน แน่นอนว่ารวมถึงการศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่จำเป็นต้องพึ่งพาความมืดมิดในการสังเกตธรรมชาติและดวงดาว จนนำไปสู่การจัดตั้ง ‘เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ ด้วย ในประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกเริ่มมีการพูดถึงและเพิ่มจำนวนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดมากขึ้นทุกปี คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลดแสงไฟ มุ่งหน้าสำรวจความมืดมิดถึงที่มาของเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ความสำคัญของความมืดต่อเมือง และตัวอย่างนโยบายการจัดการแสงสว่างจากทั่วโลก เมื่อเมืองสว่างเกินไปจนลดความมืดของธรรมชาติ แสงรถ แสงไฟจากตึกรามบ้านช่อง และการใช้งานแสงสว่างด้านอื่นๆ ของมนุษย์ ล้วนเติบโตขยายตามขนาดของเมืองและเทคโนโลยีในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 จนเกิดการใช้แสงสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดมลพิษทางแสงที่ลดความมืดของท้องฟ้าในยามค่ำคืนตามมา ทั้งเรื่องเล่าจากดวงดาว ทางช้างเผือกที่พาดผ่านในยามค่ำคืน และจินตนาการในอวกาศอันไกลโพ้นล้วนค่อยๆ ถูกลบหายไปพร้อมกับแสงสว่างจ้าที่บดบังความสวยงามในธรรมชาติ มิหนำซ้ำแสงเหล่านี้ยังรบกวนพฤติกรรมของสัตว์ป่าและการนอนหลับของมนุษย์อีกด้วย แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจมลภาวะทางแสงเสียก่อน ‘มลภาวะทางแสง’ คือแสงสว่างที่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน ซึ่งเกิดจากการติดตั้งแหล่งกำเนิดแสงอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ได้ควบคุมปริมาณและทิศทางให้เหมาะสมกับบริเวณที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้แสงเหล่านี้ส่องสว่างไปบนท้องฟ้า ส่งผลให้ท้องฟ้าที่เคยมืดมิดกลับไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น เราสามารถแบ่งมลพิษทางแสงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แสงเรืองบนท้องฟ้า แสงจ้าบาดตา และแสงรุกล้ำ […]

ปักหลัก

ตอนที่ผมยังเด็ก ผมมักจะไปเล่นซนตามสถานที่ต่างๆ ในละแวกบ้าน แต่คนในครอบครัวนั้นเป็นห่วงผมว่าจะเกิดอันตราย จึงกุเรื่องว่าสถานที่นั้นๆ มีผี และทำให้ผมกลัว ไม่กล้าไปเล่นแถวนั้นอีก ความกลัวในตอนนั้นยังคงติดอยู่กับผมจนถึงปัจจุบัน ผมจึงอยากหาวิธีลบล้างสิ่งนี้ และปักหลักเผชิญหน้ากับมัน โดยนำ ‘ไฟหลัก’ ของงานวัดที่เป็นภาพจำของความสนุกสนาน รื่นเริง เข้าไปติดตั้งในสถานที่เหล่านั้นตอนมืดๆ หรือใกล้ค่ำ สำหรับผม ไฟที่ปักลงท่ามกลางความมืดนั้นเปรียบได้กับความกล้าของตัวเองที่สร้างขึ้นท่ามกลางความกลัวในจิตใจ ติดตามผลงานของ พงศธร บุญโต ต่อได้ที่ Instagram : earthz.quake และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

สีสันบรรทัดทอง – ไฟและฟอนต์บนป้ายร้านรวงสีสัน

ถนนบรรทัดทองเต็มไปด้วยร้านอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านดังเก่าแก่หรือร้านใหม่ๆ นอกจากรสชาติอาหารเด็ดโดนลิ้น แต่ละร้านล้วนแข่งขันกันเรียกลูกค้าด้วยป้ายไฟสีสันสดใส ดีไซน์เก๋ๆ เพื่อดึงดูดสายตาทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ‘ป้ายไฟหน้าร้าน’ ถือเป็นสิ่งที่ลงทุนแล้วคุ้มค่า ยิ่งป้ายไฟสว่างแค่ไหน ยิ่งทำให้หน้าร้านมีความสวยงาม โดดเด่นมาแต่ไกล ลูกค้าสังเกตเห็นร้านค้าง่ายขึ้น กระตุ้นให้อยากลิ้มลองรสชาติอาหารของร้าน ขณะเดียวกัน บรรทัดทองยังเป็นย่านใกล้ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า และมหาวิทยาลัย ทำให้คนที่สัญจรไปมาแถวนั้นมีจำนวนมาก การแข่งขันจึงสูงตามไปด้วย จึงไม่แปลกใจถ้าเราจะเห็นร้านอาหารหน้าใหม่ที่เปิดตัวพร้อมป้ายร้านขนาดใหญ่ ตกแต่งแบบจัดเต็ม แฝงไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใครแวะไปแถวนั้น กินข้าวเสร็จแล้วลองไปเดินเล่นย่อยอาหาร สังเกตหน้าร้านรวงกันได้ เพลินดีทีเดียว หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.