ค้นหาพื้นที่สุขภาพใกล้ฉัน ติดตามข้อมูลสุขภาพและกิจกรรมทางกายบน ‘City Health Check TH’ แพลตฟอร์มส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้คนไทย

สุขภาพของคนไทยเป็นอย่างไร พื้นที่ใกล้ๆ ที่เราจะไปออกกำลังกายได้อยู่ตรงไหนบ้าง จังหวัดเรามีพื้นที่สีเขียวมากเพียงพอหรือยัง ที่ผ่านมาหัวข้อทั้งหมดนี้อาจเป็นเรื่องที่ติดตามได้ยาก แต่ในตอนนี้เราสามารถค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพเหล่านี้ได้ง่ายๆ บนช่องทางออนไลน์ผ่าน ‘City Health Check TH’ แพลตฟอร์มกิจกรรมทางกายจากความร่วมมือกันของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ Bedrock Analytics City Health Check TH คือแพลตฟอร์มส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่รวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ในรูปแบบ Open Data จากหลากหลายแหล่งและหลากหลายมิติ เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานเห็นภาพรวมของกิจกรรมทั้งหมด และนำไปวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูลได้ โดยข้อมูลขนาดใหญ่เหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาและแก้ปัญหาเมืองในหลายๆ ทาง เพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนไทยให้ดีขึ้นได้ โดยกิจกรรมทางกายที่ว่านั้นคือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานที่ช่วยให้ร่างกายมีการเผาผลาญ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ กิจกรรมทางกายในการทำงานต่างๆ และการเรียน กิจกรรมทางกายในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และกิจกรรมทางกายเพื่อการนันทนาการหรือกิจกรรมยามว่าง ส่วนจุดประสงค์ของแพลตฟอร์มนี้ก็เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนาแผนงานในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เหมาะกับการใช้งานทั้งในระดับใหญ่และปัจเจก เช่น – นักวิชาการหรือนักวิจัย ที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ในเชิงลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ๆ– หน่วยงาน ที่เก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อที่จะได้รู้ว่ามีจุดไหนที่ต้องการแก้ปัญหาบ้าง– องค์กรหรือบริษัท ที่ต้องการข้อมูลไปใช้เพื่อการตลาด– บุคคลทั่วไป ที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกในเรื่องที่สนใจ นอกจากเรื่องสุขภาพของประชากรแล้ว บนแพลตฟอร์มนี้ยังมีฟังก์ชันติดตามข้อมูลพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ ศูนย์กีฬา […]

ไม่ต้องไปถึงที่ก็อุดหนุนสินค้าหัตถกรรมไทยได้ ‘ThailandPostMart’ จาก SACIT และไปรษณีย์ไทย แพลตฟอร์มผลักดันงานท้องถิ่นไทยไปสู่สากล

งานหัตถกรรมเป็นสินค้าขึ้นชื่อของไทย ไม่ว่านักท่องเที่ยวชาติไหน หากได้ไปเที่ยวต่างจังหวัดก็มักจะซื้อสินค้าท้องถิ่นติดไม้ติดมือกลับไปทุกครั้ง แต่ถ้าพวกเขาหรือกระทั่งตัวเราเองไม่ได้มีเวลาแวะเวียนไปล่ะ จะมีทางไหนที่เราสามารถเลือกซื้อสินค้าหัตถกรรมไทยโดยไม่ต้องไปถึงแหล่งบ้าง สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT ได้มองหาวิธีการนำเสนอเรื่องเล่าของงานฝีมือผ่านสินค้าชนิดต่างๆ จากผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ส่งต่อไปให้กับคนนอกชุมชน เพื่อสร้างฐานลูกค้าในวงกว้าง และเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตให้สามารถจำหน่ายสินค้าถึงมือผู้บริโภคอย่างมีคุณภาพ จากแนวคิดนี้นำมาสู่การร่วมมือกันระหว่าง SACIT และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ขยายการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมไทยบนช่องทางออนไลน์ในรูปแบบ ‘เลือก สั่ง จ่าย ส่ง’ หวังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้างานหัตถกรรมไทยได้ง่ายขึ้น พร้อมจัดส่งถึงมือลูกค้าผ่านแพลตฟอร์ม www.thailandpostmart.com ความพิเศษคือ ไม่ใช่แค่ลูกค้าในประเทศไทยเท่านั้นที่สั่งสินค้าได้ แต่ลูกค้านอกประเทศเองก็สั่งสินค้าได้ด้วยเหมือนกัน ถือว่าเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงงานศิลปหัตถกรรมไทยในกลุ่มลูกค้าสากล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสำเร็จและการเติบโตอย่างยั่งยืนของสินค้าประเภทนี้ในไทย นอกจากสินค้าหัตถกรรมแล้ว บนแพลตฟอร์มนี้ยังมีสินค้าท้องถิ่นอื่นๆ ทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภคหลากหลายชนิดให้เลือกซื้ออีกด้วย ใครที่อยากสนับสนุนผู้ประกอบการไทย แค่เลือกดู กดสั่ง และจ่ายเงิน หลังจากนั้นก็รอรับสินค้าที่ไปรษณีย์ไทยมาส่งให้ถึงหน้าบ้านได้เลย

Thaipography Archive แพลตฟอร์มคลังป้ายฟอนต์ไทย จากกลุ่มคนรักในตัวอักษรที่จะมาป้ายยาให้คนสนใจป้ายมากขึ้น

นี่คือเว็บไซต์รวบรวมการออกแบบฟอนต์ไทย โดย ‘บูม-พร้อมพรรณ ศุขสุเมฆ’ ที่อยากชวนทุกคนหยุดดูป้ายร้านค้า ตึก อาคารบ้านเรือนให้นานขึ้น พร้อมถ่ายภาพเก็บไว้ลงคลัง เพราะเมื่อผ่านไปแล้วเราอาจไม่มีโอกาสได้กลับมาเห็นป้ายเหล่านี้อีก Thaipography Archive เป็นส่วนหนึ่งของ Thaipography Project ที่มาจากความตั้งใจออกแบบฟอนต์ตัวอักษรไทยแล้วนำมาดัดแปลงเป็นตัวอักษรแบบละติน หรือกลุ่มตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ยังคงความเป็นไทยอยู่ ซึ่งเป็นกระบวนการออกแบบตัวอักษรแบบย้อนกลับ เพราะปกติการออกแบบฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันทั่วไปนั้นจะออกแบบด้วยตัวละตินก่อนแล้วค่อยแปลงเป็นภาษาไทย นับเป็น ‘การทดลอง’ เล็กๆ ของผู้มีความสนใจในตัวอักษรว่า หากเราสลับวิธีออกแบบแล้ว คนไทยจะดูออกไหมว่าฟอนต์นี้เริ่มต้นจากแบบอักษรไทย และชาวต่างชาติจะอ่านตัวอักษรละตินเหล่านี้ออกไหมหากสวมความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งก่อนจะนำมาสู่กระบวนการทดลองทั้งหมดก็ต้องมีคลังรูปแบบตัวอักษรไทยที่มากพอจะเห็นเอกลักษณ์และแนวทางได้ แพลตฟอร์มคลังป้ายตัวอักษรไทยจึงถือกำเนิดขึ้นมา ด้วยเวลากว่า 6 ปีที่บูมสนใจในเรื่องตัวอักษรและลายเส้นของไทย เธอเริ่มจากการศึกษาข้อมูลที่รวบรวมตัวอักษรและการออกแบบของไทย จนปี 2022 บูมเจอหนังสือ ‘แกะรอยตัวพิมพ์ไทย’ ของ ‘ประชา สุวีรานนท์’ และได้รู้ว่าอาจารย์ใช้เวลาเป็น 10 ปีในการรวบรวมรูปแบบการออกแบบ และทำให้รู้ว่ามีคนสนใจเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ยังขาดแหล่งที่รวบรวมการออกแบบ ฟอนต์ และแบบตัวอักษรที่อาจสูญหายไว้ เธอจึงสร้าง Thaipography Archive ไว้เป็นพื้นที่แบ่งปันและเก็บรักษางานออกแบบดีๆ พร้อมชวนผู้ที่สนใจในภาพป้ายไทยอย่าง @thaiposign และ @thaipography_photo มาช่วยรวบรวมตัวอักษรและเรียนรู้ข้อมูลงานออกแบบเหล่านี้ให้ละเอียดขึ้น โดยคาดหวังให้แพลตฟอร์มนี้เป็นแหล่งความรู้สำหรับนักเรียน […]

เช็กตารางเดินรถในอ่างทองบนแพลตฟอร์ม ‘at-transit’ ช่วยลดระยะเวลารอรถโดยสาร

ปัญหาหลักๆ ของผู้โดยสารที่ใช้รถขนส่งสาธารณะในต่างจังหวัดคือ การรอรถอย่างไร้จุดหมาย โดยเฉพาะบางเส้นทางที่ไม่ได้มีเวลาแจ้งเอาไว้ชัดเจน ทำให้หลายคนต้องเสียเวลาในการรอไปโดยใช่เหตุ เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดอ่างทองด้วยเหมือนกัน ทำให้เจ้าของเพจ ‘เมื่อไรรถจะมา‘ ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่ประสบปัญหาได้สร้างเว็บไซต์ ‘at-transit’ ที่เป็นช่องทางในการแจ้งจุดรอรถ ตารางเวลา และเส้นทางรถในสถานีขนส่งต่างๆ ภายในจังหวัดขึ้นมา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เล่าให้ Urban Creature ฟังถึงจุดเริ่มต้นในการทำเว็บไซต์นี้ว่า มาจากปัญหาที่ได้เจอในฐานะของผู้โดยสารขาจรที่นานๆ ครั้งจะใช้รถโดยสารสักที แต่กลับพบว่าสายรถที่เคยใช้บริการไปก่อนหน้านี้มีการปรับเปลี่ยนเวลาบ้าง เปลี่ยนเส้นทางบ้าง หรือบางสายก็ยกเลิกเส้นทางการวิ่ง เช่น รถสองแถวหรือรถตู้ระหว่างจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน เลยคิดว่าคงมีอีกหลายคนที่ประสบปัญหาเดียวกัน จึงได้ริเริ่มทดลองทำเว็บไซต์ at-transit ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารกันระหว่างผู้โดยสารกับรถโดยสาร จริงอยู่ที่รถบางสายจะมีการส่งต่อข้อมูลให้กับผู้โดยสารประจำบนโซเชียลมีเดียผ่านกลุ่มเฟซบุ๊ก กลุ่มไลน์ หรือโอเพนแชต หรือรถบางประเภทอาจจะต้องคอยสอบถามผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งช่องทางเหล่านี้อาจไม่สะดวกต่อบางคน at-transit จึงสำรวจและเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเหล่านี้มารวบรวม พร้อมเผยแพร่ให้ผู้โดยสารโดยเฉพาะขาจรติดตามได้ง่ายขึ้น ด้วยการให้คนขับรถ เจ้าของคิวรถ หรือคนปล่อยรถ มากรอกเวลาการเดินทาง เพื่อส่งต่อข้อมูลที่อัปเดตขึ้นแสดงบนหน้าแพลตฟอร์ม และสามารถเซฟเป็นไฟล์รูปเพื่อนำไปส่งต่อบนแพลตฟอร์มอื่นๆ แม้ว่าข้อมูลรถที่มีจะยังไม่สมบูรณ์เท่าไรนัก ด้วยความที่ช่วงนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลอยู่ แต่ at-transit ก็ได้รับคำชมจากกลุ่มผู้ขับรถโดยสารค่อนข้างมาก เพราะก่อนหน้านี้เคยมีการทำตารางเดินรถด้วยเหมือนกัน แต่ต้องหยุดไปในช่วงโควิด ดังนั้น at-transit ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยกระจายข่าวสารให้กับกลุ่มรถโดยสารเหล่านี้ด้วย นอกจากนี้ […]

เปิดตัวแพลตฟอร์ม ‘ปิ่นโต อีบุ๊ก’ ใช้งานง่าย อ่านได้ทุกที่ ส่งเสริม Ecosystem การอ่านดิจิทัลที่ครบวงจร

หนอนหนังสือหลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาในการพกพาหนังสือออกไปด้วยกันทุกที่ ไหนจะความไม่สะดวกบ้าง กลัวเปียกฝนบ้าง กลัวยับบ้าง การเลือกอ่านหนังสือรูปแบบอีบุ๊กจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจในยุคดิจิทัลนี้ ปัจจุบันตลาดอีบุ๊กเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้เครือ ‘Ookbee’ ที่มีแพลตฟอร์มอีบุ๊ก Ookbee ได้มองหาช่องทางเพื่อเพิ่มประโยชน์ให้กับนักอ่าน ด้วยเทคโนโลยีของแพลตฟอร์มเดิมนั้นเริ่มล้าสมัยและยากต่อการพัฒนา จึงเปิดตัวแพลตฟอร์มน้องใหม่อย่าง ‘ปิ่นโต อีบุ๊ก’ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมไปถึงฟังก์ชันที่ครบวงจรทั้งสำหรับนักอ่านและนักเขียน ความตั้งใจของ Ookbee คือการสร้าง Ecosystem การอ่านดิจิทัลที่ครบวงจร จากการเชื่อมโยงแพลตฟอร์มการอ่านทั้งหมดในเครือ ไม่ว่าจะเป็น ‘Fictionlog’ บริการนิยายรายตอน และ ‘ธัญวลัย’ ตลาดนิยายออนไลน์ นั่นคือ เมื่อนิยายได้รับความนิยมอย่างมากในแพลตฟอร์มนั้นๆ แล้ว เหล่านักเขียนสามารถพัฒนาจากนิยายรายตอนให้เป็นอีบุ๊ก และลงขายในปิ่นโต อีบุ๊กได้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงผู้อ่านและสร้างรายได้ให้กับนักเขียน ทางแพลตฟอร์มยังมีการดูแลพาร์ตเนอร์ทั้งในส่วนของนักเขียนและสำนักพิมพ์อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการลงงาน การจัดทำไฟล์ หรือแม้แต่การวางแผนการตลาด ส่วนนักอ่านเองก็จะได้รับประสบการณ์การอ่านเหมือนกับเลือกหนังสืออยู่ในร้านโปรด จากการคัดสรรคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมบทความแนะนำหนังสือหลากหลายแนวตรงใจผู้อ่านทุกกลุ่ม รวมถึงใช้อัลกอริทึมควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ ทางแพลตฟอร์มยังมีทั้งระบบโค้ดคูปอง, Coin Back และระบบสมาชิกที่จะช่วยเพิ่มความคุ้มค่า ทั้งในเรื่องของราคาหนังสือและสิทธิพิเศษต่างๆ ที่จะจูงใจและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของคนไทยให้มากขึ้น เข้าไปเลือกหาหนังสืออ่านจากปิ่นโตได้บนเว็บไซต์ www.pintobook.com หรือแอปพลิเคชัน ‘Pinto’ […]

caf’n co แพลตฟอร์มสำหรับคอกาแฟ ที่รวมเมล็ดกาแฟทั่วไทยมาไว้ในที่เดียว

ปัจจุบันการชงกาแฟดื่มเองที่บ้านสักแก้ว ไม่ใช่แค่การฉีกซองเติมน้ำร้อนเหมือนในอดีตแล้ว เพราะมีองค์ประกอบหลายอย่างให้เลือกสรร ตั้งแต่วิธีการชงที่หลากหลาย ไปจนถึงการเลือกเมล็ดกาแฟที่ให้กลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกันไป ขณะเดียวกัน ทางเลือกที่หลากหลายนี้ก็กลายเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะการเลือกชนิดของเมล็ดกาแฟที่ส่งผลต่อประสาทรับรสและกลิ่นของผู้ดื่มโดยตรง อีกทั้งคอกาแฟก็อยากลองหาเมล็ดกาแฟเทสโน้ต (Taste Note) ที่ตรงใจมากขึ้น หรือมือใหม่ที่ไม่มั่นใจว่ากาแฟแบบไหนจะถูกใจตัวเองที่สุด ‘กัน-กัญณพัชร อยู่สะบาย’ และ ‘ไป๊-ปรณัฐ ชลวร’ สองพาร์ตเนอร์คอกาแฟจึงจับมือกันสร้าง ‘caf’n co’ แพลตฟอร์มอีมาร์เก็ตเพลสที่รวบรวมเมล็ดกาแฟจากโรงคั่วทั่วประเทศ พร้อมคำอธิบายรายละเอียดกลิ่นและรสชาติไว้สำหรับคนรักกาแฟโดยเฉพาะ จุดเริ่มต้นของ caf’n co เริ่มมาจากช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กันที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟเป็นชีวิตจิตใจ ไม่สามารถออกไปซื้อกาแฟดื่มได้ตามปกติ เขาเริ่มหันเข้าวงการชงกาแฟดื่มเองที่บ้าน (Home Brewer) และได้รู้ว่าวิธีการชงและสายพันธุ์กาแฟที่แตกต่างจะให้รสชาติและกลิ่นที่ต่างกันไปด้วย “ปกติถ้าสั่งกาแฟที่ร้าน เราจะสั่งแค่ ‘อเมริกาโน’ ไม่ได้สนใจว่าเมล็ดกาแฟที่ใช้ชงชื่ออะไรหรือปลูกที่ไหน แต่พอเราซื้อเมล็ดกาแฟมาชงดื่มเอง ก็ทำให้ต้องศึกษาเรื่องเมล็ดกาแฟมากขึ้น เพื่อให้ได้กลิ่นและรสชาติที่ตรงกับความชอบของเรามากที่สุด” กันเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการสนใจศึกษาเมล็ดกาแฟ เพราะรายละเอียดเรื่องสายพันธุ์ การคั่ว พื้นที่ และระดับความสูงของดินที่ปลูก ล้วนส่งผลให้เกิดรสชาติและสัมผัสของกาแฟที่ต่างกัน แต่การหาข้อมูลเกี่ยวกับกาแฟแต่ละชนิดกลับเป็นเรื่องยาก เพราะยังไม่มีใครหรือแพลตฟอร์มไหนรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ไว้ในที่เดียว คิดได้ดังนั้น กันและไป๊ก็ตัดสินใจเริ่มทำเว็บไซต์ที่จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางในการรวบรวมข้อมูลของกาแฟแต่ละชนิด และเปิดให้มีการซื้อขายเมล็ดกาแฟจากโรงคั่วทั่วประเทศขึ้น โดยดึงเอาทักษะจากกันผู้เป็นกราฟิกดีไซเนอร์ และไป๊ในฐานะโปรแกรมเมอร์มาใช้ หากเข้าไปในเว็บไซต์ของ caf’n […]

เบื้องหลัง USE LOOP REPEAT อีเวนต์โดย Loopers ที่อยากชวนทุกคนมาจอยน์ไลฟ์สไตล์ยั่งยืนอย่างสนุก

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Urban Creature มีโอกาสนั่งคุยกับ Loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้าที่อยากให้การซื้อขายเสื้อผ้ามือสองนั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่น่ากลัว จำได้ว่าวันที่เราเจอกันครั้งแรก Loopers ยังมีเสื้อผ้าอยู่ในแพลตฟอร์มไม่ถึง 200 ตัว แต่ในขวบปีที่ 3 ‘เกด-พิชามาศ ชัยงาม’ ผู้ก่อตั้งเล่าอย่างตื่นเต้นว่า ตอนนี้ในแพลตฟอร์มมีเสื้อผ้าทั้งหมดในสต๊อกกว่า 20,000 ตัว มี ‘นักลูป’ ที่กลับมาซื้อขายซ้ำกันมากมาย และมีแผนจะขยับขยายให้ด้อมนักลูปนั้นแข็งแรงกว่าเดิม แต่ความสำเร็จเหล่านั้นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่พาให้เรามานั่งคุยกับ Loopers ในวันนี้ อันที่จริงมันคืออีเวนต์ชื่อ USE LOOP REPEAT ที่นับว่าเป็นแผนการขยับขยายที่เกดพูดถึง และสำหรับเธอ อีเวนต์นี้ถือว่าเป็นอีเวนต์แรกของ Loopers ที่มีสเกลใหญ่เกินตัวไปมาก แม้ไม่เคยผ่านงานด้านออร์แกไนเซอร์มาก่อน แต่เธอก็อยากลงมือทำมันให้สำเร็จ อธิบายคร่าวๆ USE LOOP REPEAT คืออีเวนต์ที่รวมทั้งตลาด ทอล์ก และเวิร์กช็อปเกี่ยวกับความยั่งยืนมาไว้ในงานเดียว โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 24 – 28 เมษายน 2567 ที่จะถึงนี้ บน Open House ชั้น […]

ตัวช่วยจัดการอดีตที่ผิดพลาด แจ้งลบภาพหรือคลิปโป๊เปลือยผ่านเว็บไซต์ ‘Take It Down’

การแอบปล่อยภาพหลุดหรือคลิปโป๊เปลือยตามโลกออนไลน์โดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม เป็นปัญหาที่สร้างแผลในใจให้เยาวชน และทำให้เกิดความอับอายอย่างที่ใครคนใดคนหนึ่งไม่สมควรต้องเจอ อีกทั้งการกำจัดภาพหรือคลิปเหล่านั้นออกจากโลกออนไลน์ก็ยังดูเป็นเรื่องยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ แต่ความหวังที่จะลบอดีตที่ผิดพลาดยังคงมี เมื่อ ‘Take It Down’ เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีสำหรับช่วยเหลือเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่กังวลเรื่องรูปภาพหรือคลิปเปลือยของตัวเองในโลกออนไลน์ เปิดให้แจ้งลบรูปภาพหรือคลิปเหล่านั้นออกจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยชื่อ ตัวตน หรือข้อมูลส่วนตัว การทำงานของ Take It Down จะกำหนดลายนิ้วมือดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกันซึ่งเรียกว่า ‘ค่าแฮช หรือ Hash Value’ ให้กับรูปภาพหรือวิดีโอภาพเปลือยที่เราต้องการลบ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกแจ้งไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นพันธมิตรเช่น Facebook, Instagram, OnlyFans และ Pornhub ผู้แจ้งสามารถใช้ค่าแฮชที่ได้มาเพื่อตรวจหารูปภาพหรือวิดีโอเหล่านั้นในแพลตฟอร์มต่างๆ และลบเนื้อหาเหล่านั้นได้ โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครได้เห็นภาพเหล่านั้นของคุณ การมีภาพเปลือยทางออนไลน์นั้นน่ากลัว แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังมีความหวังที่จะลบมันได้ หากเด็กหรือเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีที่มีความกังวลว่ารูปภาพโป๊เปลือยส่วนตัวของตัวเองจะถูกเผยแพร่บนโลกออนไลน์ เข้าไปแจ้งลบได้ที่ takeitdown.ncmec.org/th

‘Pecgo’ ตลาดสัตว์เลี้ยงออนไลน์ ตัวกลางตรวจสอบทุกการซื้อขาย ครอบคลุมสัตว์เลี้ยงกว่า 18 ชนิด

หากจะหาซื้อสัตว์เลี้ยงสักตัว ทางเลือกที่ง่ายที่สุดคงเป็นตลาดนัดหรือช่องทางออนไลน์อย่างเพจเฟซบุ๊ก แต่ข้อเสียของการซื้อสัตว์เลี้ยงผ่านช่องทางเหล่านี้คือ ความเสี่ยงที่เราอาจถูกผู้ขายหลอกขายสัตว์เลี้ยงที่ไม่ตรงปก หรือสัตว์เลี้ยงที่ป่วยและไม่แข็งแรง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและยังเป็นการทำร้ายสัตว์เลี้ยงทางอ้อมอีกด้วย ชวนมารู้จักกับแอปพลิเคชัน ‘Pecgo’ แพลตฟอร์มซื้อ-ขายสัตว์เลี้ยงออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ อีกทั้งยังมีสัตว์เลี้ยงให้เลือกมากกว่า 18 ชนิด แอปฯ นี้เกิดขึ้นโดย ‘ต้า-ปธานิน เจนณรงค์ศักดิ์’ ‘บุ๋น-ชนก พลายทรัพย์’ และ ‘กานต์-พุฒิสรรค์ ตันสุวรรณนนท์’ ที่มีความฝันและต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลาดสัตว์เลี้ยงที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพื่อไม่ให้มีคนต้องถูกโกงเพิ่ม และช่วยให้คุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงดีขึ้น Pecgo มีระบบการจัดการหลังบ้านที่ช่วยคัดกรองร้านค้าที่มีโปรไฟล์ดีและน่าเชื่อถือ พร้อมลงทะเบียนยืนยันตัวตนของผู้ขายผ่านบัตรประชาชน หน้าสมุดบัญชี และสถานที่เพาะสัตว์เลี้ยง เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อสัตว์เลี้ยงได้อย่างสบายใจ นอกจากนี้ แอปฯ ยังมีมาตรการจัดการกับร้านค้าที่โกงโดยการฟ้องเอาผิด พร้อมประกาศรายชื่อร้านค้าที่โกงในทุกช่องทางของ Pecgo และทำการแบนไม่ให้สามารถเข้ามาขายในระบบได้อีก สำหรับฟาร์มสัตว์เลี้ยงที่สนใจ ลงทะเบียนเข้าร่วมเป็นร้านค้าได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งทาง Pecgo จะคอยเป็นที่ปรึกษาเรื่องการขายและช่วยขยายฐานลูกค้า พร้อมทั้งยังป้องกันความเสี่ยงจากการทิ้งมัดจำของผู้ซื้ออีกด้วย สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นพาร์ตเนอร์เพิ่มเติมได้ที่ Pecgo.Official ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Pecgo ได้แล้ว ทั้งในระบบ Android ทาง Google Play และ iOS ทาง […]

Drinks On Me แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์สู่บาร์จริง ที่ชวนคนแปลกหน้ามาฮีลใจ ด้วยบทสนทนาจากค็อกเทล

ในแต่ละวันเราคงมีปัญหาอัดอั้นที่ต้องการระบาย แต่พอจะคุยกับคนรอบตัวก็กลัวเขาลำบากใจ ครั้นจะให้ออกไปพบปะสังสรรค์กับคนแปลกหน้าในสถานที่ต่างๆ ก็อาจไม่สะดวกใจขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้ใครหลายคนเริ่มมองหาการพูดคุยแลกเปลี่ยนบทสนทนากับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์มากขึ้น แอปพลิเคชันประเภทหาเพื่อนคุยจึงได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก และแอปฯ เหล่านี้ก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คนในเมืองขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Drinks On Me’ แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์ออนไลน์ ที่เปลี่ยนบรรยากาศการพูดคุยแบบเดิมๆ ในห้องแชตเปล่าๆ ให้ได้ความรู้สึกใหม่เหมือนกับไปอยู่ในบาร์จริงๆ โดยมีคาแรกเตอร์การ์ตูนน่ารักๆ มาสร้างความเป็นมิตรให้ตัวเว็บไซต์ พร้อมกิมมิกเจ๋งๆ อย่างการเลือกค็อกเทลที่บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้งาน เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนา จนกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ใครหลายๆ คนกล้าแชร์ความคิดและความรู้สึกออกไป หลังจากเคยนำเสนอแพลตฟอร์มนี้ในช่วงแรกๆ ที่เปิดตัวไปแล้ว คอลัมน์ Re-desire ถือโอกาสชวน ‘นะโม-ชลิพา ดุลยากร’ และ ‘ปั่น-วศิน วัฒนศรีส่ง’ ผู้ก่อตั้ง Drinks On Me ที่เพิ่งครบ 1 ปีไปเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน มาพูดคุยถึงตัวแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาแนวคิดมาเรื่อยๆ ถึงขนาดมีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์ใหญ่ และขยายขอบเขตกิจกรรมพาผู้คนบนโลกออนไลน์มาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่บาร์จริง รวมถึงเป้าหมายในอนาคตหลังจากนี้ของพวกเขา เริ่มต้นจากความสนุกที่อยากชวนคนมาชนแก้วบนโลกออนไลน์ ถ้าหลายคนจะคุ้นหน้าหญิงสาวในภาพก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะนะโมคือ TikToker ช่อง ‘รุงรังDiary’ ที่มีผู้ติดตามถึง 1.3 ล้านแอ็กเคานต์ และอีกบทบาทเธอก็เป็นเจ้าของ […]

Co-Cave ถ้ำของคนทำงานสร้างสรรค์ ที่เป็นคอมมูนิตี้และ One-stop Service เพื่อซัพพอร์ตสายงานสร้างสรรค์ในไทย

ช่วงนี้สายผลิตหรือกลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์กำลังบูมสุดๆ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่ไม่ว่าใครก็ค้นพบคนทำงานสร้างสรรค์เจ๋งๆ ได้ผ่านแฮชแท็กหรือการแนะนำของคนอื่นๆ อีกทั้งในโลกออฟไลน์ก็เริ่มมีพื้นที่จัดแสดงงานหรืออีเวนต์ที่เปิดโอกาสให้สายผลิตปล่อยของกันมากขึ้น แต่ในความบูมนั้น Pain Point หนึ่งที่ตามมาของคนทำงานสร้างสรรค์หน้าใหม่ที่ต้องการยืนระยะอยู่ในเส้นทางนี้ได้ยาวๆ คือ การมีเครือข่ายชุมชนที่สนับสนุนกันและกัน รวมไปถึงการเสาะหาคนทำงานสายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานให้ออกมาสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่คนสร้างสรรค์คอนเทนต์ นักออกแบบ นักพิสูจน์อักษร โรงงานผลิต เป็นต้น ด้วยความที่มีประสบการณ์อยู่ในวงการนักสร้างสรรค์มาก่อน ‘อ้น-อาภัสพร สุภาภา’ มองเห็นปัญหาเหล่านี้มาตลอด เธอจึงได้ไอเดียสร้างแพลตฟอร์ม Co-Cave ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นคอมมูนิตี้ที่คอยซัพพอร์ตสายสร้างสรรค์ ทั้งฝั่งของคนทำงานเองและคนที่ต้องการใช้งานสร้างสรรค์ “อาจเรียกได้ว่าเว็บไซต์นี้เป็นกึ่งๆ Matchmaker ระหว่างผู้ว่าจ้างและคนทำงาน ในช่วงแรกเริ่มเรายึดการสร้างกลุ่มจากการทำหนังสือเป็นหลักเพราะเป็นสิ่งที่ถนัด ทำให้มีฟรีแลนซ์ในกลุ่มของการทำหนังสืออยู่มาก ทั้งบรรณาธิการ นักพิสูจน์อักษร นักวาด ฯลฯ แต่ต่อไปเมื่อ Co-Cave ขยายขึ้นเรื่อยๆ นักเขียนเองจะกลายเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่สายงานต่างๆ สามารถเข้ามาเฟ้นเลือกคนที่ตรงใจไปร่วมงานกันได้ “ส่วนจุดเด่นของ Co-Cave ที่ทำให้หลายคนสนใจน่าจะเพราะเป็น One-stop Service ของคนทำงานสร้างสรรค์ ซึ่งเราออกแบบเว็บไซต์ให้มีความเรียบง่าย ใช้งานง่าย เน้นสีขาวดำเพื่อให้หน้าโปรไฟล์ของชาว Co-Cave โดดเด่นกว่า และเรามีพื้นที่สำหรับทุกกลุ่มการใช้งาน ประกอบกับโซเชียลมีเดียยอดนิยมก็ลดเอนเกจเมนต์ บ้างก็มีการเปลี่ยนแปลงรายวัน หลายๆ […]

PARK :D แพลตฟอร์มจัดการที่จอดรถในอารีย์ เพิ่มการรองรับรถโดยไม่ต้องสร้างที่จอดเพิ่ม

ใครที่เคยไปเดินเล่นหรือทำธุระในย่านอารีย์ก็คงทราบกันดีว่า ปัญหา ‘ที่จอดรถไม่เพียงพอ’ นั้นสร้างความลำบากให้ผู้ใช้งานในพื้นที่มาอย่างยาวนานและสม่ำเสมอ จนหลายครั้งผู้ขับขี่ที่จำเป็นต้องเข้าใช้งานในพื้นที่ต้องยอมจ่ายค่าจอดรถที่มีราคาสูงถึง 50 – 100 บาทต่อชั่วโมง หรือหากเป็นพนักงานออฟฟิศจะมีรายจ่ายค่าที่จอดรถราว 4,500 บาทต่อเดือนอย่างไม่สามารถเลี่ยงได้ ด้วยเหตุนี้ ‘จ๋า-ชัญญา เตชวิริยะ’ และ ‘เต้-กันต์กวี บุญเพ็ง’ ที่ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสพบกันในบริษัทแห่งหนึ่งหลังจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรม จึงปิ๊งไอเดียสร้างแพลตฟอร์มช่วยบริหารจัดการที่จอดรถในย่านอารีย์ขึ้นมาชื่อ ‘PARK :D’ แพลตฟอร์มนี้เป็นไอเดียสำหรับเข้าร่วมกิจกรรมประกวดออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาย่านอารีย์ให้น่าอยู่ (ARID Hackathon 2023 : Innovation for Well-being) จนได้รับรางวัลชนะเลิศและเงินรางวัลเพื่อนำไอเดียจากการประกวดไปพัฒนาต่อ “ปัจจุบันอารีย์มีปัญหาเรื่องที่จอดรถจริงๆ เราเลยมองหาว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะมาแก้ปัญหานี้ ทำให้รถที่เข้ามาในย่านอารีย์มีปริมาณที่จอดเพียงพอโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มที่จอดรถ แต่เป็นการเพิ่ม Capacity ของที่จอดรถที่มีอยู่เดิม” เต้เล่าถึงโจทย์แรกที่เขาและจ๋าต้องการแก้ไขในเบื้องต้น โดยการทำงานแพลตฟอร์ม PARK 😀 คือ การเป็นตัวกลางให้ผู้ที่มีที่จอดรถเป็นของตัวเองจับกับผู้ต้องการที่จอดรถในราคาถูกได้มากขึ้นผ่านรูปแบบ ‘Parking Lot-Sharing’ เพราะที่จอดรถ 1 ที่ มีเวลาการใช้ที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ที่จอดรถของสำนักงานที่มักว่างในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ ที่จอดรถของคอนโดฯ ที่มักว่างช่วงเวลากลางวัน หรือบ้านบางหลังที่มีที่จอดรถเหลือ การปล่อยเช่าที่จอดรถเหล่านี้จะช่วยเพิ่มปริมาณที่จอดรถในย่านอารีย์ได้ง่ายๆ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.