City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ

ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]

กลุ่มเชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ ทำ Data เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่พื้นที่สาธารณะ ที่ดิน โรงพยาบาล และข้อมูลจำเป็นอื่นๆ

โปรเจกต์ ‘เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ’ เกิดจากการรวมพลังกายและใจของทีมดูแลเพจห้าคน ทำงานร่วมกับภาคีร่วมอื่นๆ ที่ช่วยกันดูแลพื้นที่เมืองเชียงใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน พื้นที่รวมพลังอันแสนอบอุ่นแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิจัย ‘การพัฒนากระบวนการเพื่อขับเคลื่อนประชาคมเมืองเชียงใหม่’ แผนงานคนไทย 4.0  นอกจากทีมจะมีกิจกรรมและข่าวสารดีๆ มากมายมาส่งต่อให้คนเมืองได้รับรู้และแสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่างไม่ขาดสาย ล่าสุดทางกลุ่มก็ได้ปล่อย City Data หรือ ข้อมูลเมือง ที่ทั้งเป็นประโยชน์และน่าสนใจมากๆ สำหรับชาวเมืองเผยแพร่ออกมาแบบสดๆ ร้อนๆ  ในพื้นที่เมืองหนึ่ง มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อย มีทั้งประโยชน์และปัญหาสะสมต้องแก้ไข Data เมืองที่สำรวจ รวบรวม และจัดทำออกมาเป็นแผนที่และตัวเลขเหล่านี้ จึงไม่ได้แค่ช่วยให้ข้อมูล แต่ช่วยในแง่การนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อได้ ข้อมูลที่ว่า ถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ https://chiangmaiwecare.com/citydata  ข้อมูลเมืองที่ปรากฏ มีทั้งหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องคน วัฒนธรรม และเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความหนาแน่นของแหล่งกำเนิดการจราจร ซึ่งชี้ให้เห็นความหนาแน่นมาก-น้อยตามระดับจากสูงไปสู่ระดับต่ำ  จำนวนการเช็กอินในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นเลยว่า จุดไหนเป็นจุดยอดฮิตที่มีคนใช้โซเชียลมีเดีย เช็กอิน หรือไปรวมตัวกันมากที่สุด  พื้นที่สาธารณะที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการระยะทาง 400 เมตรจากร้านกาแฟ ที่ดึงเอาจุดเด่นของเมืองกาแฟและคาเฟ่แบบเชียงใหม่ ออกมาจัดทำชุดข้อมูลเชื่อมโยงกับพื้นที่สาธารณะของเมืองได้อย่างน่าสนใจ ตำแหน่งอาคารเก่าทรงคุณค่าและอาคารสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ทรงคุณค่ากับรูปแบบการใช้ประโยชน์อาคารในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ซึ่งทำให้เรามองเห็นความสนใจของทีมผู้จัดทำที่มุ่งประเด็นโฟกัสไปที่การอนุรักษ์ และการปรับใช้สถาปัตยกรรมภายในเมือง เพื่อพัฒนาเมืองอย่างจริงจัง ข้อมูลและสถิติที่มากถึง […]

โซล เมืองคนเดินเท้าเป็นใหญ่ รัฐเพิ่มทางม้าลายซัปพอร์ตประชาชน

ถ้าเคยไปเยือนโซล ประเทศเกาหลีใต้ คุณน่าจะเคยได้สัมผัสทางเท้าที่มีคุณภาพ และการข้ามถนนที่แสนสะดวกสบาย แถมยิ่งนานวัน ระบบการสัญจรของเมืองก็ยิ่งพัฒนาขึ้น ล่าสุด ทางรัฐบาลกรุงโซล (The Seoul Metropolitan Government) รายงานว่า ได้ขยายการติดตั้งทางม้าลายใหม่ๆ ทั่วเมืองทั้งสิ้น 28 แห่งในปี 2021 โดยคำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมของทางเท้าที่ปลอดภัยต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแผนการที่จะติดตั้งทางม้าลายอีก 31 แห่งในปี 2022 ก่อนหน้านี้ รัฐบาลกรุงโซลดำเนินหลายๆ โปรเจกต์ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านนโยบายการจราจรบนยานพาหนะ จนกระทั่งนำมาสู่นโยบายการสัญจรทางเท้า โดยส่วนสำคัญของโครงการ คือการติดตั้งและขยายทางม้าลาย ซึ่งสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินถนนได้อย่างมาก และด้วยประสบการณ์ด้านบวก ที่ชาวเมืองได้รับจากการใช้งานได้ดีจริงๆ จึงทำให้โปรเจกต์นี้ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนในวงกว้าง ทั้งนี้ รัฐบาลกรุงโซลได้ติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยก 14 ทาง ในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง เพื่อบรรเทาความไม่สะดวกของคนเดินเท้า ที่เคยต้องเดินอ้อมเส้นทางไกลๆ ในช่วงก่อนหน้า ขณะเดียวกันก็สร้างสภาพแวดล้อมของทางข้ามที่ปลอดภัยสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และยังมีการอำนวยความสะดวกด้วยการติดตั้งทางม้าลายต่างๆ เพิ่มเติมในส่วนทางเดินเท้าที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับทางเดินอื่นๆ ด้วย สำหรับการขยายทางม้าลายอย่างต่อเนื่องในปี […]

Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

พบทางเท้าพัง เจอถนนเป็นหลุม ฯลฯ แจ้งผ่านไลน์ @traffyfondue พร้อมส่งปัญหาไปถึงผู้รับผิดชอบโดยตรง

ทางเท้าพัง ถนนเป็นหลุม ไฟข้ามถนนไม่ทำงาน ป้ายบังทางเดิน ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือสารพัดปัญหาเมืองที่คนไทยน่าจะประสบมาแล้วไม่มากก็น้อย และในขณะเดียวกัน Urban Creature เชื่อว่าคงมีหลายคนที่อยากแจ้งปัญหาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาปรับปรุงแก้ไข แต่อุปสรรคใหญ่คือเรามักไม่รู้ว่าต้องแจ้งใคร และจะรู้ได้ยังไงว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว เพราะอยากให้ประชาชนกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมมือทำงานพัฒนาเมืองไปด้วยกันอย่างสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จึงคิดค้น Traffy* Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์/ท่านพี่ฟ้องดู) แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองด้วยการใช้ระบบแจ้งและบริหารจัดการด้วย AI Chatbot หลักการใช้งานของ Traffy* Fondue คือการให้หน่วยงานต่างๆ เช่น อบต. เทศบาล อาคารสำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีระบบรับแจ้งปัญหาอยู่แล้ว นำแพลตฟอร์มนี้มาใช้เพิ่มช่องทางใหม่ในการรับแจ้งและจัดการปัญหาที่พบผ่าน LINE Chatbot แบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Citizen Engagement) และผู้เกี่ยวข้องได้ทุกพื้นที่และทุกเวลา นอกจากอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้หน่วยงาน ฟากประชาชนเองก็สามารถมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลเมืองได้ง่ายๆ แค่แจ้งปัญหาเมืองที่พบผ่าน LINE ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เราพบทั่วไปอย่างทางเท้าพัง ป้ายหาเสียงนักการเมืองบังทางเดิน ไฟถนนไม่ส่องสว่าง ไปจนถึงการแจ้งซ่อมในอาคารสำนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ สาธารณภัย เป็นต้น จากนั้นระบบ AI […]

Glamping in the City แพ็กกระเป๋า สตาร์ทรถ ออกไปแคมป์สุดหรูใจกลางเมือง

ลมหนาวพัดผ่านมาและผ่านไปอย่างรวดเร็วสายแคมป์ปิ้งบางคนก็อาจยังไม่ทันได้เตรียมตัวออก ต่างจังหวัดสัมผัสอากาศดีๆ กันเลย แถมโอกาสเที่ยวในวันหยุดยาวช่วงต้นเดือนหายวับ! เป็นที่ เรียบร้อย เพราะงานที่กรูเข้ามาพอดี แต่ไม่เป็นไร ใช่ว่าการไปแคมป์จะต้องออกต่างจังหวัดค้างหลายคืนเสมอไป ในกรุงเทพฯ ก็มีพื้นที่ให้ เราอินการแคมป์เพียงแค่ 1 วันได้เช่นเดียวกัน…อย่ามัวรอช้า แพ็กกระเป๋า สตาร์ทรถคู่ใจ Mitsubishi Outlander PHEV ขับสบายฟังเพลงชิลๆ มุ่งหน้าสู่ Kamaboko Coffee Camp กัน! ถ้าแต่งตัว แพ็กกระเป๋ากันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะพาชาว Urban Creature สตาร์ทวันไปกับรถคู่ใจ Mitsubishi Outlander PHEV ออกไปแคมป์สุดหรูใจกลางเมืองที่ Kamaboko Coffee Camp ซึ่งความพิเศษในทริปนี้ เราจะเดินทางแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ Mitsubishi Outlander PHEV เป็นรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด ที่สามารถผสานการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน จะใช้ไฟฟ้า เพียงอย่างเดียว100%ก็วิ่งได้ไกลถึง55กม.ขับในเมืองหรือออกต่างจังหวดัได้สบายมีอัตราการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่้าที่ 43 กรัม /กม. (รถยนต์ทั่วไปปล่อยอยู่ที่ประมาณ 100 กรัม/กม.ขึ้นไป) […]

‘โคเปนเฮเกน’ จากเมืองอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยมลพิษ สู่เมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลก

จะดีแค่ไหนถ้าได้อยู่ในเมืองที่น่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี แถมยังรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ท่ามกลางวิกฤต ‘การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ หลายเมืองทั่วโลกเดินหน้าผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในเมืองที่ยืนหนึ่งด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ ก็คือ ‘โคเปนเฮเกน’ เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก นิตยสาร Time Out ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 27,000 คนจากหลายร้อยเมืองทั่วโลก เพื่อหาคำตอบว่าเมืองใดคือเมืองที่ ‘ยั่งยืนที่สุดในโลก’ ประจำปี 2021 โดยผลการสำรวจชี้ว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจยกให้ ‘โคเปนเฮเกน’ เป็นเมืองที่ครบเครื่องเรื่องความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าโคเปนเฮเกนจะกลายเป็นเมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลกได้ อากาศในเมืองหลวงแห่งนี้เคยเต็มไปด้วยมลพิษ ส่วนแหล่งน้ำก็ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ขยะ และสิ่งปฏิกูล Urban Creature จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า โคเปนเฮเกนทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมที่เข้มแข็ง จนกลายเป็นเมืองที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนได้ 01 | Public and Private Sectors : เมืองที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชน ก่อนอื่นต้องอธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า รัฐบาลเดนมาร์กบริหารงานแบบ ‘กระจายอำนาจการปกครอง’ […]

เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ กลไกตี้ยะเจียงใหม่หื้อยั่งยืน

“เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ คืออะไร?” เป็นคำถามที่คนทั่วไปน่าจะสงสัยเมื่อได้เห็นเพจและเว็บไซต์นี้เป็นครั้งแรก เกือบปีแล้วที่เพจ ‘เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ’ กลับมามีชีวิตชีวาบนโลกออนไลน์ โดยการรวมพลังของทีมดูแลเพจจำนวน 5 คน ได้แก่ ภูวา-จิรันธนิน กิติกา, หมูใหญ่-คมสัน ไชยวงศ์, ดรีม-ธนกร เจริญเชื่อมสกุล, ตา-สุวารี วงศ์กองแก้ว และแป้ง-อาคิรา ศิริวัฒนานุกุล ที่แท็กทีมด้วยความตั้งใจทำประเด็นเกี่ยวกับพื้นที่ รวบรวมข้อมูลเมืองเจียงใหม่ นำเสนอกรณีศึกษาที่สำคัญ และสร้างกลไกให้เกิดการขับเคลื่อนภาคประชาชนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งบนเฟซบุ๊กเพจ และขาของเว็บไซต์ www.ChiangmaiWeCare.com โปรเจกต์ดูแลเมืองที่รวมหัวใจของคนเจียงใหม่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิจัย ‘การพัฒนากระบวนการเพื่อขับเคลื่อนประชาคมเมืองเชียงใหม่’ แผนงานคนไทย 4.0 โดยมีทัพทีมวิจัยที่เชี่ยวชาญอย่าง ตา สุวารี, ภูวา จิรันธนิน, รศ. ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ และ อ.อจิรภาส์ ประดิษฐ์ ทำงานสอดประสานกับภาคประชาสังคม ภาครัฐ และคนเมืองเจียงใหม่ เพื่อให้ความฝันที่อยากเห็นเมืองดีเกิดขึ้นได้จริง และเกิดการขับเคลื่อนเมืองอย่างมีส่วนร่วม นำไปสู่การออกแบบแผนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) และผังออกแบบเชิงแนวคิด (Conceptual Design […]

ปี 2025 โซลจะมีสวนวัฒนธรรมริมน้ำที่ตอบโจทย์ทุกคน

กรุงเทพฯ มี ‘โอ่งอ่าง’ คลองที่สวยที่สุดในเมืองกรุง แต่ในปี 2025 ‘โซล’ เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้กำลังจะมีสวนสาธารณะวัฒนธรรมริมน้ำ ที่มีสามดีเทลสำคัญเป็นหัวใจหลักของการดีไซน์พื้นที่ หนึ่ง. ศิลปะ  สอง. วัฒนธรรม สาม. สเปซที่เชื่อมต่อทั้งย่าน Seongdong เข้าด้วยกันให้เดินไปมาหาสู่กันได้แบบทะลุปรุโปร่ง  ทั้งสามรายละเอียด ถูกคิดค้น ออกแบบเพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตของคนเมืองให้ทุกคนเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และได้พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดทั้งร่างกายและจิตใจกันถ้วนหน้า ทั้งนี้ในปี 2025 เรากำลังจะได้ยลโฉมสเปซบริเวณลำธาร Jungnangcheon (중랑천) ซึ่งจะถูกแปลงโฉมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนเกาหลีได้มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมริมน้ำแห่งใหม่ ซึ่งผสมผสานระหว่างศิลปะและการพักผ่อนหย่อนใจเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว  คลองหรือลำธารจุงนังเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำฮัน มีต้นกำเนิดมาจากหุบเขา Dorak ใน Yangju จังหวัด Gyeonggi ซึ่ง Cheonggyecheon ก็เป็นลำน้ำสาขาของ Jungnangcheon ลุ่มน้ำทั้งหมดมีพื้นที่ 299.9 ตารางกิโลเมตร ลำธารส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอึยจองบูและกรุงโซล อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาลโซล (The Seoul Metropolitan Government) ครั้งนี้จะมีการสร้างถนนใต้ดินระหว่างสะพาน Changdonggyo และสะพาน Sanggyegyo ภายใต้ลำธาร […]

ชีวิตดีๆ ที่ลงตัวเริ่มที่เราหรือรัฐ? | Soundcheck

เมืองที่ดีเกิดขึ้นได้ที่ตัวเราก่อนจริงหรือ ภาครัฐล่ะ
คำถามข้างต้นคงเป็นคำถามสำคัญแห่งยุคที่กำลังถูกหยิบยกมาพูดคุยกันอย่างกว้างขว้าง เพราะเมื่อเรากำลังจะพูดถึงการร่วมกันสร้างเมืองที่ดี เมืองที่ดีของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ตามสิ่งที่คนคนนั้นให้ความสำคัญ
แต่ในเชิงของเมืองที่ดี อย่างที่ควรเป็นเกิดขึ้นได้เพียงความต้องการของคนเดียวจริงหรือ หรือรัฐจะมีส่วนอย่างไร Soundcheck ตอนนี้เราจึงออกไปรับฟังเสียงเพื่อสะท้อนความในใจคนเมืองว่า เขาคิดเห็นกันอย่างไรต่อประเด็นนี้ ใน Soundcheck เมืองที่ดีใครสร้าง


‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

1 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.