ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นประจำ แค่เดินระยะสั้นๆ แถวบ้านไม่กี่นาที ก็ช่วยให้สุขภาพจิตดีได้

หลายคนอาจหลงลืมไปว่า การเดินคือการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อย และทำได้เลย สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือกังวลว่าจะต้องหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ลองให้การเดินเป็นตัวเลือกแรกดูก่อน เพราะแค่เปลี่ยนจากการนั่งมอเตอร์ไซค์เป็นการเดินเข้าซอยในระยะทางสั้นๆ เดินไปใช้บริการขนส่งสาธารณะใกล้ๆ หรือการเดินเล่นรอบๆ บ้านในเส้นทางที่คุ้นเคย เท่านี้ก็ช่วยให้เราแข็งแรงได้แล้ว ทว่ามากไปกว่าความแข็งแรงทางกายภาพ การเดินยังช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย เดินวันละนิดจิตแจ่มใส แน่นอนว่าเราพอนึกออกว่าทำไมการเดินถึงช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรงได้ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการเดินช่วยเรื่องของสุขภาพจิตได้อย่างไร อย่างที่บอกไปว่าการเดินคือหนึ่งในการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ซึ่งในระหว่างที่ออกกำลังกายนั้น ร่างกายของเราจะหลั่งสาร Endorphins (เอ็นดอร์ฟิน) ที่ช่วยส่งเสริมความสุข ทำให้อารมณ์ดีออกมา รวมถึงยังช่วยคลายเครียดและบรรเทาอาการซึมเศร้า อีกทั้งการได้ขยับร่างกายยังช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดอีกด้วย Mental Health Foundation รายงานว่า การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติจะช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลของเราได้ ซึ่งธรรมชาติเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงป่า เขา หรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่เท่านั้น แต่การออกจากบ้านเพื่อเดินไปยังพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน เดินไปยังร้านค้าแถวบ้าน หรือเดินไปทำกิจกรรมในที่ต่างๆ ผ่านวิวทิวทัศน์ที่ประกอบด้วยต้นไม้ดอกไม้ริมทาง หรือสวนเล็กๆ ของเพื่อนบ้าน กระทั่งพบเจอสัตว์เลี้ยงอย่างหมาแมวก็ช่วยเสริมสุขภาวะที่ดีได้ มีการศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยในหนานจิง ประเทศจีน ระบุว่า การเดินในระยะเวลานานหรือระยะทางไกลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ถ้าเราเดินอย่างสม่ำเสมอและกลายเป็นกิจวัตรประจำวันต่างหากที่จะช่วยสร้างประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีได้มากกว่าคนที่ไม่เดิน เมืองที่สนับสนุนการเดิน = สนับสนุนสุขภาพจิตที่ดี แม้ไม่ได้เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตโดยตรง แต่ถ้าจะบอกว่าเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการเดินเป็นอีกหนึ่งทางในการสนับสนุนให้คนเมืองมีสุขภาพจิตที่ดีก็คงไม่ผิดเท่าไหร่นัก เพราะดูเหมือนว่าละแวกบ้านจะเป็นสถานที่ที่ดีและง่ายที่สุดสำหรับการเดิน นอกจากจะพาให้เราได้ลดความเครียดด้วยการออกมาเปิดหูเปิดตา สูดลมหายใจ สังเกตสิ่งรอบข้างกว้างๆ แล้ว […]

City Walk, City Work ก่อนจะเป็นเมืองน่าอยู่ ต้องเป็นเมืองที่คนเดินได้เดินปลอดภัยก่อน

ในชีวิตแต่ละวัน ‘การเดิน’ เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของผู้คนโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ออกจากประตูบ้านมาถึงที่เรียนหรือที่ทำงาน ต่อให้ขึ้นรถลงเรืออย่างไรก็ยังต้องอาศัยการเดินอยู่ดี ทั้งที่การเดินไม่จำเป็นต้องใช้อะไรนอกจากขาของเรา แต่เหมือนว่าวิธีเดินทางที่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุดนี้จะยังมีปัญหาซ่อนอยู่ ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากร่างกายของเราได้อย่างเต็มที่และมีความสุขนัก นั่นเป็นผลจากเมืองที่เราอาศัยอยู่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนและการเดินมาตั้งแต่แรก พอคนเดินได้ไม่ดีก็ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวจนเกิดโรคตามมา หรือกระทั่งความเหงาที่เกิดขึ้นเพราะไม่มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กลับกัน ในเมืองที่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จะออกแบบและจัดตั้งนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้คนอยากเดิน เช่น แนวคิดเมือง 15 นาที ที่กำหนดให้แต่ละพื้นที่ต้องมีบริการสาธารณะที่จำเป็นโดยคนสามารถเดินถึงภายใน 15 นาที หรือแนวคิดเมืองเดินได้ ที่ทำให้เมืองมีกายภาพน่าเดิน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ล้วนส่งผลดีในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติสุขภาพที่ประชาชนได้ออกกำลังกายไปในตัว มิติสิ่งแวดล้อมที่เมื่อลดการใช้รถยนต์ลงอากาศก็ดีขึ้น หรือมิติเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยระหว่างคนเดินกับร้านค้าริมทางเดิน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์ City Walk, City Work ขอชวนมาเดินสำรวจด้วยกันว่า จริงๆ แล้วเมืองที่เดินได้และปลอดภัยควรเป็นอย่างไร อะไรกันแน่ที่ทำให้คนไทยไม่อยากเดิน ไปจนถึงตอนนี้เมืองของเราทำอะไรไปบ้างแล้วเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองเดินได้เดินดีในอนาคต หลักการออกแบบทางเท้าที่ดี สำหรับนักเดินเมืองทั้งขาประจำและขาจรทั้งหลายคงรู้กฎการเดินเมืองเบื้องต้น 101 กันอยู่แล้วว่า การเดินที่ปลอดภัยที่สุดคือ ‘การเดินบนทางเท้า’ หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ‘ฟุตพาท’ ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ‘Foot = เท้า’ ‘Path = ทาง’ แต่น้อยฟุตพาทนักที่น่าเดินหรือเอื้อต่อการเดินเล่นและเดินจริงจังในปัจจุบัน […]

ปั่นรถถีบในเชียงใหม่ เพจบ่นเรื่องถนนหนทางของคนขี่จักรยานที่อยากให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่ Bicycle-friendly มากขึ้น

บอส-สิทธิชาติ สุขผลธรรม ไม่ใช่คนเชียงใหม่ แต่เขาคือเจ้าของเพจ ‘Chiang Mai Urban Cyclist: ปั่นรถถีบในเชียงใหม่’ ที่อยากผลักดันให้การขับขี่จักรยานในเชียงใหม่นั้นปลอดภัย มีถนนหนทางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อนักปั่นกว่าที่เคย จะพูดว่าบอสชอบปั่นจักรยานจนต้องลุกขึ้นมาก่อตั้งเพจก็อาจพูดได้ไม่เต็มปาก แต่หากจะกล่าวว่าชายหนุ่มชินกับการใช้จักรยาน บวกกับความอินเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ติดตัวมาตั้งแต่วัยรุ่น นั่นอาจนับเป็นแรงจูงใจในการทำเพจได้ เพราะมากกว่าการเรียกร้องเรื่องถนนหนทางและความปลอดภัย เพจของบอสยังอยากผลักดันไปถึงการตั้งนโยบายและพัฒนาเมืองในสเกลใหญ่ ที่ผู้ได้ประโยชน์จะไม่ใช่แค่นักปั่น แต่คือคนเชียงใหม่ทุกคน เวลา 3 ปีที่มาอยู่เชียงใหม่ทำให้คนที่ขับขี่จักรยานในชีวิตประจำวันเช่นเขามองเห็นอะไรบ้าง และแรงผลักดันหน้าตาแบบไหนที่ทำให้เขาเชื่อว่าเชียงใหม่จะเป็นเมือง Bicycle-friendly ได้ในที่สุด เรานัดเจอบอสเพื่อสนทนาเรื่องนี้กัน แน่นอนว่าในวันที่นัดเจอ เขาปรากฏตัวพร้อมกับจักรยานคู่ใจที่ขี่ไปไหนมาไหนรอบเมือง “เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด” “เราสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เรียนจบ ม.6 พอขึ้นมหาวิทยาลัยก็ไปอยู่ชมรมอนุรักษ์ งานหลักๆ ของชมรมคือจัดค่ายและแคมเปญ แต่จริงๆ มันเป็นเรื่องการปลูกจิตสำนึกให้คนเข้าใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่า  “พอเรียนปริญญาตรีจบ เราไปเรียนต่อโทด้านวิศวกรรมทางทะเลที่ฮาวาย ที่นั่นทำให้เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด เราใช้รถเมล์บ้าง แต่บางทีรถเมล์ก็ไม่ได้พาเราไปสุดทางที่อยากไป และบางทีมันก็ช้ากว่าขี่จักรยานเสียอีก “ฮาวายเป็นเกาะที่เป็นมิตรกับคนขี่จักรยาน ด้วยเพราะต้นไม้เยอะ ถนนมีร่มเงา คนที่นั่นจึงใช้จักรยานกันค่อนข้างเยอะ ถนนจะมีเลนจักรยานโดยเฉพาะในบางพื้นที่ ส่วนโซนที่ไม่มีเขาก็จะมีป้ายเขียนว่า Share the Road เพื่อให้คนขับรถให้ทางกับคนขี่จักรยานด้วย แม้แต่บนรถเมล์ก็จะมีพื้นที่ให้วางจักรยานบนนั้น   “เราอยู่ฮาวายได้สามปี […]

คอร์สออนไลน์ฟรีจาก ม.อัมสเตอร์ดัม สอนสร้างเมืองให้เป็นมิตรต่อคนเดินเท้าและจักรยาน

เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน เนเธอร์แลนด์เคยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการใช้รถยนต์เป็นสำคัญ ในปี 1971 แค่ปีเดียว เกิดอุบัติเหตุทางถนนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,300 คน และเป็นเด็กและเยาวชนกว่า 400 คน การสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อผลักดันให้เกิดเมืองเป็นมิตรต่อคนเดินเท้ารวมทั้งการใช้รถจักรยาน จนวันนี้เนเธอร์แลนด์มีทางจักรยานมากถึง 35,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ และใน ‘เมืองหลวงของจักรยาน’ อย่างอัมสเตอร์ดัมนั้นมีสัดส่วนผู้ใช้จักรยานเป็นพาหนะมากถึง 38 เปอร์เซ็นต์ นี่จึงเป็นที่มาของ ‘Unraveling Cycling City’ (เสาะสำรวจเมืองจักรยาน) คอร์สออนไลน์จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม (University of Amsterdam) ที่เปิดให้เรียนฟรีในเว็บไซต์ Coursera  คอร์สเรียนที่เป็นผลจากการวิจัย เก็บข้อมูลและการตกตะกอนจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม จะพาเราสำรวจทั้งแง่มุมทางประวัติศาสตร์ การออกแบบเมือง แง่มุมทางสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนโยบายสาธารณะที่จะชวนหาคำตอบว่าการออกแบบเมืองที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คนเดินเท้า และพาหนะที่ไม่ทิ้งภาระต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจักรยานนั้นเป็นอย่างไร ต้องผ่านอะไรมาบ้าง  คอร์สเรียนเป็นภาษาอังกฤษที่มีซับไตเติลรองรับ 5 ภาษา (แต่ยังไม่มีภาษาไทยนะ) รวมทั้งมีสื่อประกอบการเรียนตลอดทั้งคอร์สตั้งแต่คลิปวิดีโอ บทความ หนังสือที่แนะนำให้อ่าน รวมทั้งแบบฝึกหัดที่ชวนคิด ชวนหาคำตอบตลอดคอร์สเรียน  คอร์สเปิดให้เรียนฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หากใครสนใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย : https://bit.ly/3MLuano […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.