ย้อนความทรงจำย่านเมืองเก่า ผ่านลายเส้นของ Siradasue นักวาดเว็บตูน

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เติบโตขึ้น วิถีชีวิตของคนในย่านเมืองเก่าก็ค่อยๆ เลือนหายไป บ้างเหลือไว้แค่เพียงความทรงจำ แต่ภาพในอดีตก็ถูกสะท้อนออกมาในลายเส้นการ์ตูนที่เป็นเอกลักษณ์ของ ‘Siradasue’ หรือ ‘โบว์-ศิรดา สื่อไพศาล’ เจ้าของผลงานใน LINE WEBTOON เรื่อง Blooming Days และ Moonlight Serenade “ตอนที่เขียนการ์ตูนเรื่องหนึ่งออกมา โบว์เขียนเพราะอยากนำเสนอภาพจำของย่านเมืองเก่าที่สวยงาม เพื่อที่คนอ่าน อ่านแล้วต้องรู้สึกอยากมาลองสัมผัสบรรยากาศแบบที่เห็นในการ์ตูนสักครั้ง” ผลงานของโบว์เป็นการหยิบเอาแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรม อาคารสถานที่จริง จากความทรงจำและภาพปัจจุบันที่เธออาศัยอยู่ ทำให้การ์ตูนของเธอเป็นอีกสื่อที่ใช้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ของผู้คน เพื่อให้คนอ่านได้ย้อนเวลากลับไปสัมผัสบรรยากาศในอดีตและมองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และมีความตั้งใจว่าการ์ตูนจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนอ่านรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของย่านเมืองเก่าเอาไว้

จิบกาแฟ อ่านหนังสือเที่ยงวันยันเที่ยงคืน ‘dot.b’ ร้านหนังสือใหม่บนถนนนครใน จังหวัดสงขลา เปิดวันแรก 25 ม.ค. 66

หลังจากที่ ‘ร้านหนังสือเล็กๆ’ บนถนนยะหริ่ง ได้บอกลาจังหวัดสงขลาไปสู่เมืองสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เมืองสงขลาขาดร้านหนังสืออิสระไปช่วงเวลาหนึ่ง แต่ในวันที่ 25 มกราคม 2566 สงขลาจะกลับมามีร้านหนังสืออิสระอีกครั้ง กับ ‘dot.b’ ร้านหนังสือแห่งใหม่บนถนนนครใน ย่านเมืองเก่าสงขลา เพราะชอบอ่านหนังสือและยังอยากเห็นเมืองที่ตนอยู่อาศัยมีร้านหนังสืออิสระ ‘ธีระพล วานิชชัง’ เจ้าของ ‘dot’ ร้านกาแฟเล็กๆ ที่มีหนังสือไม่น้อยให้ลูกค้าอ่านฆ่าเวลาในตึกเก่าที่หันหน้าเข้าสู่ถนนนครนอก จึงตัดสินใจต่อเติมอาคารให้กลายเป็นร้านหนังสืออิสระแห่งใหม่ที่หันหน้าเข้าหาถนนนครใน เชื่อมสองฝั่งถนนในเมืองเก่าสงขลาไว้ด้วยสองพื้นที่ในอาคารเดียวกัน นอกจากนี้ ธีระพลยังมีความตั้งใจที่จะนำหนังสือหลากหลายประเภทกลับมาสู่เมืองสงขลา รวมถึงอยากสร้างพื้นที่ให้ชาวเมืองได้มีสถานที่หลบภัยสำหรับนั่งอ่านหนังสือหรือทำงานท่ามกลางความสงบในบริเวณชั้นสองของร้าน ขณะที่อีกด้านมีบริการกาแฟและเครื่องดื่มจากร้านเดิมร่วมด้วย  ร้าน dot.b ตั้งอยู่ที่ 115 ถนนนครใน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา goo.gl/maps/t46TK5zHD9KpRAaV6 เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 25 มกราคม 2566 ที่จะถึงนี้ และเปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.00 – 24.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุด เวลา 10.00 – 24.00 น.

เดินเล่น-ชิม-ชม ที่ ‘ยมจินดา’ ย่านเมืองเก่าใจกลางจังหวัดระยอง 

เมื่อพูดถึง ‘ระยอง’ หลายคนอาจนึกถึงอีเวนต์สนุกๆ อย่างฟูลมูนปาร์ตี้ที่เกาะเสม็ด ราชินีผลไม้อย่างมังคุด น้ำปลาแท้รสเด็ดที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ไปเยือน หรือแม้กระทั่งอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดนี้ แต่นอกจากจุดเด่นต่างๆ ที่เรายกตัวอย่างมา ระยองยังมีอีกหนึ่งมนตร์เสน่ห์อย่าง ‘ยมจินดา’ ย่านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังวางตัวขนานไปกับแม่น้ำระยอง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนมากว่า 100 ปี  หากพูดง่ายๆ ‘ยมจินดา’ เปรียบได้กับย่าน ‘เจริญกรุง’ ของกรุงเทพฯ เนื่องจากยมจินดาเป็นถนนสายแรกของระยอง ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แหล่งที่ดินทำกินของชาวจีนโพ้นทะเล รวมไปถึงที่ตั้งของบ้านขุนนางและคหบดีในอดีต ทำให้ตลอดระยะทางกว่า 600 เมตรของถนนสายนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรม อาหาร และศิลปะพื้นถิ่นที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ แต่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างกลมกลืน วันนี้ คอลัมน์ Neighboroot จึงขอพาทุกคนออกนอกกรุงเทพฯ ไปอีกนิด เลยชลบุรีไปอีกหน่อย มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองระยองเพื่อร่วมกันสำรวจย่านยมจินดา ผ่านกิจกรรม ‘Co-Create YOMJINDA’ ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ซึ่งเป็นกิจกรรมทดลองพัฒนาพื้นที่ ต่อยอดให้ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ก้าวเข้าสู่การเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะทำให้การเดินทางมาระยองของใครหลายๆ คน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าแค่การมาทะเล ศาลเจ้าแม่ทับทิมระยอง | พื้นที่แห่งศรัทธาของคนไทยเชื้อสายจีน […]

ตามรอยบ้านเก่า ‘ถนนตะนาว’ บันทึกเรื่องย่านผ่านสถาปัตยกรรมโคโลเนียล

‘ถนนตะนาว’ เป็นเส้นทางสายเล็กๆ ไม่ยาวนัก แต่หากใครที่คิดลองเดิน (เหมือนเรา) ขอบอกว่าแอบมีเหงื่อซึม ตลอดทางส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์สีเหลืองเรียงรายยาวเป็นแถว ภาพจำของใครหลายคนเกี่ยวกับถนนสายนี้ คงเป็นเจ้าพ่อเสือ ศาลเจ้าเก่าแก่เคียงคู่ย่านนี้มานมนาน หรือเป็นทางผ่านด้านหน้าถนนข้าวสารแหล่งแฮงค์เอาต์ยามค่ำ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.