สำรวจ ‘ฉงชิ่ง’ เมืองแห่งภูเขากับความซับซ้อนทางภูมิทัศน์และดาวรุ่งเศรษฐกิจจากการพัฒนาสถาปัตยกรรมล้ำยุค

นาทีนี้คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธความฮอตทั้งความเผ็ดชาและความนิยมของหมาล่าได้ แต่นอกจากความจัดจ้านจากพริกหมาล่าแล้ว เมืองผู้เป็นต้นกำเนิดหม้อไฟแสนอร่อยจากมณฑลเสฉวนอย่าง ‘ฉงชิ่ง’ เองก็กำลังร้อนแรงไม่แพ้กัน ฉงชิ่ง เป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน จากการปลุกปั้นโดยรัฐบาลในช่วงปลายยุค 90 ให้กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ แต่ด้วยภูมิทัศน์ประเทศที่เป็นภูเขาและเนินสูงต่ำมากมายจนเรียกได้ว่าเป็น ‘เมืองแห่งภูเขา’ จึงเป็นเหมือนข้อจำกัดหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงเมือง อย่างไรก็ตาม อุปสรรคเหล่านี้กลับกลายเป็นข้อดีในการสร้างเอกลักษณ์ด้านการวางผังเมือง ที่สามารถเชื่อมต่อระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น ทำไมรัฐบาลจึงเลือกเปลี่ยนเมืองชนบทกลางภูเขาให้กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในจีน รวมถึงแนวคิดการสร้าง ‘เมืองซ้อนเมือง’ เพื่อทลายข้อจำกัดด้านพื้นที่ และจุดยืนในการเป็นเมืองไฮเทคด้วยสถาปัตยกรรมล้ำสมัย ตามคอลัมน์ City in Focus ไปดูกัน เมืองซ้อนเมืองซ้อนภูเขาซ้อนถนน หากจะนิยามเมืองที่ ‘ซับซ้อน’ ฉงชิ่งคือตัวอย่างของเมืองที่มีผังเมือง ‘ซ้อน’ กันอย่างแท้จริง ด้วยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาล้อมรอบและเนินเขาลาดชัน อีกทั้งยังมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำสองสายสำคัญทั้งแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเจียหลิง จุดโดดเด่นแรกคงหนีไม่พ้นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงาม แต่เมื่อรัฐเลือกให้เป็นพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจ การพัฒนาผังเมืองจำเป็นต้องยืดหยุ่นไปตามพื้นที่อย่างเลี่ยงไม่ได้ แนวคิดเมืองซ้อนเมืองจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับปัญหานี้ ตึกระฟ้า อาคารสูง และถนน ถูกสร้างขึ้นแตกต่างหลายระดับเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน อีกทั้งสะพานยกระดับข้ามแม่น้ำหรือบันไดวนสูงรอบภูเขาก็สามารถพบได้ทั่วไป จนทำให้มองเผินๆ ดูคล้ายกับว่ามีเมืองอีกเมืองหนึ่งซ้อนทับอยู่ด้านบน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์​เกินปกติของผังเมือง การสัญจรภายในเมืองจึงซับซ้อนคดเคี้ยวราวกับเดินเขาอยู่ตลอดเวลา แต่ฉงชิ่งก็แก้เกมการเดินทางด้วยเทคโนโลยีด้านคมนาคมที่ราวกับหลุดออกมาจากหนังไซไฟอย่าง ‘รถไฟลอยฟ้าทะลุตึก’ เมื่อเศรษฐกิจเติบโต เทคโนโลยีจึงเติบใหญ่ เมื่อได้รับเลือกให้เป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ ฉงชิ่งกลายเป็นที่ตั้งของบริษัทขนาดใหญ่กว่า 500 […]

Warhammer 40K สำรวจ Hive City มหานครแห่งสหัสวรรษที่ 41 ในจักรวาลที่มีแต่สงครามและความมืดมิด

‘จงลืมเรื่องความก้าวหน้าและความเข้าใจใดๆ สงครามคือสิ่งเดียวในอนาคตอันมืดมิด จะไม่มีสันติสุขใดในมวลหมู่ดาว มีเพียงความบ้าคลั่งของสงครามนิรันดร์ และเสียงหัวเราะของทวยเทพผู้หิวกระหาย’ ตอนนี้จักรวาลของ Warhammer 40K ได้เฉิดฉายขึ้นมาเป็นกระแสหลัก หลังจากการปล่อยเกม Warhammer 40K : Space Marine 2 และการประกาศฉายแอนิเมชัน Secret Level บนสตรีมมิง Amazon Prime Warhammer 40K เล่าถึงช่วงสหัสวรรษที่ 41 หลังจากที่มวลมนุษยชาติได้เดินทางสู่ห้วงอวกาศอันไร้ที่สิ้นสุด เหล่ามนุษย์ก่อตั้งอาณานิคมบนหมู่ดาวนับล้านดวง แต่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้มวลมนุษย์ในจักรวาลถูกตัดขาดจากกัน ชายผู้หนึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิแห่งมวลมนุษย์ (The Emperor of Mankind) โดยมีพันธกิจอันยิ่งใหญ่ ตั้งใจรวบรวมมนุษย์ที่กระจัดกระจายอยู่ในจักรวาลให้กลับมาอยู่ภายใต้ธงผืนเดียวกัน ร่วมกับกองทัพชายหญิงผู้กล้าหาญในจักรวาลที่มีแต่ภยันตรายรอบด้าน คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้ เราจะมารับบทนักวิชาการแห่งหน่วยงาน Adeptus Administratum เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคมเมืองในสหัสวรรษที่ 41 ในมหานครซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยหลักของมนุษย์ เรียกกันว่า ‘Hive City’ เมืองหอคอย Hive City เป็นมหานครแนวตั้งขนาดใหญ่ […]

ย้อนรอยความทรงจำย่านหัวลำโพงกับงาน ‘รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง’ วันที่ 4 ส.ค. ที่ชุมชนตรอกสลักหิน

หัวลำโพงคือย่านที่อัดแน่นไปด้วยเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ถึงหัวลำโพงจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมานับครั้งไม่ถ้วน แต่เรื่องราวเหล่านี้ยังถูกจดจำไว้อย่างดีโดยชาวบ้านที่รอคอยโอกาสเล่าขานตำนานให้ผู้คนรับฟัง ชวนย้อนรอยความทรงจำย่านหัวลำโพงไปด้วยกัน ในงาน ‘Re-Tell The Details : รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง’ กิจกรรมจากชุมชนตรอกสลักหิน ย่านหัวลำโพง กลุ่มริทัศน์บางกอก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม งานนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลายที่อัดแน่นตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลงานการออกแบบสื่อเพื่อชุมชนจากนักศึกษา กิจกรรมเวิร์กช็อปโดยชุมชนตรอกสลักหิน ภาคีเครือข่าย และเวทีดนตรีโดยเยาวชนในชุมชน การพาทัวร์ชุมชนตรอกสลักหินโดยไกด์วัยจิ๋วของชุมชน และการเสวนาของกลุ่มคนหลายภาคส่วนที่ร่วมสร้างสรรค์ย่านหัวลำโพง ถ้าหากใครสนใจไปรื้อฟื้นความหลังของหัวลำโพง ไปเข้าร่วมกันได้เลยที่พื้นที่สร้างสรรค์ ใต้ทางด่วนชุมชนตรอกสลักหิน ในวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.00 – 18.00 น.

คุยเรื่องเมืองและอุตสาหกรรมดนตรีกับเจ้าของค่ายเพลง ‘บอล – What The Duck’

หลายคนคงรู้จัก ‘บอล Scrubb’ หนึ่งในนักดนตรีไทยที่มีผลงานเพลงติดหูมามากมายกว่า 20 ปี แต่ในฐานะเจ้าของค่ายเพลง ‘What The Duck, MILK! BKK Music Label และ MILK! Artist Service Platform’ อาจมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่ามีเขาเป็นเบื้องหลังกำลังหลักคอยขับเคลื่อนอยู่ “เมืองหมายถึงความเจริญ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ขนส่ง น้ำ ไฟ ประปา ถ้าสิ่งที่จับต้องได้จริงๆ มันไม่ดีพอ เดินทางมาไม่ถึงหรือเข้าถึงยาก คนก็จะรู้สึกเข้าไม่ถึง เพราะความสุขหรือศิลปะมันไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน เพราะฉะนั้นปัจจัยหลักมันต้องดีก่อน คนถึงจะมีเวลาไปมองหาอะไรที่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความสุขส่วนตัว” Urban Creature คุยกับ ‘บอล-ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของค่าย What The Duck กับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดนตรีไทย และเมืองในฝันที่จะน่ารักกับดนตรีได้อย่างแท้จริง

สำรวจความวายป่วงของสัตว์ป่า ที่เข้ามาทำซ่าในเมืองมนุษย์

ในปี 1659 ตัวแทนจาก 5 เมืองตอนเหนือของอิตาลีรวมตัวกันพิจารณาคดีโดยมีจำเลยเป็น ‘หนอนผีเสื้อ’ ที่ถูกชาวบ้านร้องทุกข์ว่า หนอนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่และลักทรัพย์จากสวนผลไม้ โดยมีการออกหมายให้หนอนผีเสื้อมารายงานตัวกับศาล แน่นอนว่าไม่มีหนอนตัวไหนมาตามนัด แต่คดีก็ยังดำเนินการต่อไป และศาลตัดสินยอมรับสิทธิ์ให้หนอนผีเสื้อใช้ชีวิตอย่างอิสรเสรีและมีความสุข โดยจะต้อง ‘ไม่เบียดเบียนความสุขของมนุษย์’ นี่คือหนึ่งตัวอย่างของคดีจากคำนำหนังสือ ‘ป่วนปุย เมื่อธรรมชาติทำผิดกฎมนุษย์’ ผลงานจาก ‘แมรี โรช’ นักเขียนขายดีของ The New York Times ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวความซับซ้อนในปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ จากกระบวนการยุติธรรมที่แปลกประหลาด กับการใช้กฎหมายของมนุษย์ตัดสินการกระทำของเหล่าสัตว์ที่ไม่มีทางเข้าใจเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือศีลธรรมอันดี ไปจนถึงคดีลักทรัพย์ ก่อกวน หรือการฆาตกรรม ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกจากสิ่งมีชีวิตผู้ไร้เดียงสา หากจะลดความอุกฉกรรจ์ลงมาหน่อย ก็คงเป็นปัญหาที่พบเจอได้ทั่วไปอย่างปัญหาสัตว์ที่ไม่ยอมข้ามถนนบนทางม้าลาย นกนางนวลที่ทำลายทรัพย์สินสาธารณะอย่างไม่มีเหตุผล สัตว์ฟันแทะที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าลิงที่ฉลาดในการกลั่นแกล้งมนุษย์ เมื่อเหตุร้ายเกิดจากสัตว์ป่าแสนน่ากลัว มนุษย์บางคนก็ลุกขึ้นจับอาวุธทำร้ายสัตว์เหล่านั้น โดยไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันใช่ผู้ร้ายตัวจริงหรือไม่ แมรีจึงพาเราเข้าสู่กระบวนการสืบสวนด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการตามหาสัตว์ร้ายผู้กระทำความผิด และทวงคืนความยุติธรรมให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ แกะรอยสืบสาวหาสัตว์ร้ายและทวงคืนความยุติธรรม พบศพชายคนหนึ่งนอนตายอยู่ริมถนน สภาพศพเละเทะ เสื้อผ้าฉีกขาด คาดว่าเกิดจากการถูกสัตว์ป่าโจมตี คดีทำนองนี้มักเกิดขึ้นในตอนเหนือของประเทศแคนาดาและอเมริกาที่คุณพบสัตว์ป่าได้เป็นเรื่องปกติ แต่สัตว์ร้ายตัวไหนกันที่ก่อเหตุอุกฉกรรจ์ขึ้นกลางเมืองแบบนี้ ก่อนจะมาเขียนหนังสือเล่มนี้ แมรีเข้าอบรมหลักสูตร ‘WHART หรือ […]

‘อุตสาหกรรมดนตรีจะดีขึ้นกว่านี้ได้ ขนส่งมวลชนต้องดีก่อน’ คุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและคนดนตรีกับ ‘บอล Scrubb’ 

เราไม่ได้มองศิลปินและนักดนตรีต่างออกไปจากคนเมืองธรรมดาๆ อย่างตัวเองนัก เราคือคนทำงาน พวกเขาก็คือคนทำงาน ความเป็นไปของเมืองที่เราอยู่อาศัยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา กับศิลปินและนักดนตรีที่อยู่ในเมืองเดียวกันนี้ก็คงไม่ต่างกัน จากประสบการณ์ส่วนตัว เราจะสนใจอ่าน ฟัง หรือถกเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมือง ผ่านบทสนทนากับคนในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเมืองเสียมากกว่า และหลังจากได้ยินความตั้งใจของคนหลายๆ กลุ่มก้อนที่อยากผลักดันให้เมืองกรุงเทพฯ เป็น Music City หรือสนับสนุนให้ T-POP เป็นซอฟต์พาวเวอร์ เป็นหน้าเป็นตาของเมืองหรือประเทศ คำถามที่ปรากฏขึ้นในหัวเราในเวลาต่อมาคือ แล้วเมืองได้สนับสนุนอะไรกลับไปที่ศิลปินที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่หรือเปล่า กุมความสงสัยไว้กับตัวเองได้ไม่นาน เพราะวันนี้มีโอกาสได้เจอกับ ‘บอล Scrubb’ หรือ ‘ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ ศิลปินและผู้บริหารค่ายเพลงอย่าง ‘What The Duck’ และ ‘MILK! Artist Service Platform’ ที่ดูแลและสนับสนุนว่าที่ศิลปินหน้าใหม่ ซึ่งวันนี้ได้ขยับตัวเองมาเป็นค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง ‘MILK! BKK Music Label’ แล้วเรียบร้อย ชวนเจ้าตัวคุยแบบลึกๆ ไปเลยว่า ในเลนส์ของคนฟังเพลงและคนที่ทำงานกับอุตสาหกรรมดนตรีมายาวนาน (แถมทำมาแล้วหลายบทบาท) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับเมืองจะมีเรื่องที่อยากชมหรือเรื่องที่ขอบ่นแตกต่างไปจากเราอย่างไร ในฐานะศิลปินและคนทำค่ายเพลง นิยามคำว่า ‘เมือง’ ของคุณเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นเรื่องของความสะดวกสบายในการเข้าถึงศิลปะและดนตรี […]

NUSANTARA เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย ที่ทั้งไฮเทคและเน้นความยั่งยืน

‘กรุงจาการ์ตา’ คือเมืองหลวงของอินโดนีเซียที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาความแออัด เพราะมีประชากรอยู่ราว 10.5 ล้านคน ในพื้นที่เพียง 661.5 ตารางกิโลเมตร ทำให้เกิดปัญหาเมืองแสนซับซ้อนตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การจราจรติดขัด ปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว และมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ในปี 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียจึงประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังผืนป่าในจังหวัดกาลีมันตัน บนฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงใหม่มีชื่อว่า ‘นูซันตารา’ (Nusantara) ซึ่งแปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ในภาษาอินโดนีเซีย อินโดนีเซียต้องการสร้างนูซันตาราให้เป็นเมืองที่ยึดเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญ โดยหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ตัวเมืองมีชีวิตชีวา และเป็นอีกหนึ่งเมืองต้นแบบเรื่องความรักษ์โลก เมืองอัจฉริยะที่ปกป้องผืนป่า นูซันตารามีพื้นที่ครอบคลุม 2,560 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมเกือบ 4 เท่า โดยจะจัดสรรพื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ให้เป็น ‘พื้นที่เมือง’ ส่วนอีกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์จะรักษาไว้เป็น ‘พื้นที่สีเขียว’ สัดส่วนราว 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สีเขียวจะปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อนที่ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอน สอดคล้องกับเป้าหมายออกแบบเมืองให้เป็น ‘เมืองป่าไม้ที่ยั่งยืน’ (Sustainable […]

ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก

‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]

กทม. ชวนเช็กสภาพรถ เปลี่ยนน้ำมันเครื่องกับโครงการ ‘คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5’ ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน วันนี้ – 29 ก.พ. 67

ปลายปีแบบนี้ มองไปทางไหนก็พบเจอแต่ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้น จนผู้คนรอบตัวเริ่มทยอยป่วยเพราะปัญหาสภาพอากาศย่ำแย่ แถมเจ้าฝุ่นที่ว่านี้ยังมีต้นเหตุหลักมาจากควันรถยนต์ที่จราจรบนท้องถนน กทม. ที่พยายามแก้ปัญหานี้ ได้ร่วมมือกับกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และตัวแทนค่ายรถยนต์ผู้ค้าน้ำมันในประเทศไทย จัดทำโครงการ ‘คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5’ เพื่อจัดโปรโมชันลดค่าบริการตรวจสอบสภาพรถ ทั้งการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ ไส้กรองน้ำมัน และตรวจเช็กรถยนต์กว่า 35 รายการฟรี ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น​ของคนกรุงเทพฯ​ และทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5 โปรโมชันนี้ออกมาสำหรับรถยนต์ที่อายุการใช้งานตั้งแต่ 2 – 15 ปี เรียกได้ว่ายิ่งอายุรถยนต์มาก บริษัทที่เข้าร่วมก็จะให้ส่วนลดมากขึ้นตามไปด้วย โดยส่วนลดสูงสุดอยู่ที่ 55 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจูงใจให้ประชาชนที่มีรถยนต์เก่าเข้ามารับบริการบำรุงรักษา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของรถยนต์นั่นเอง รถของบ้านไหนที่เข้าเกณฑ์ เจ้าของรถสามารถเข้าร่วมตรวจเช็กสภาพรถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมัน รวมถึงเข้ารับการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน และหากใครมีแพลนเดินทางในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูง ติดตามการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นล่วงหน้า รวมถึงรายละเอียดส่วนลดและระยะเวลาเข้าร่วมโครงการของแต่ละบริษัทได้ที่เพจ กรุงเทพมหานคร

FYI

I Love Urban Life แคมเปญส่งต่อพลังบวกจาก Ananda ที่อยากทำให้ชีวิตคนเมืองมีความสุขและดีขึ้นทุกวัน

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกเลือกที่จะออกแบบเมืองและกำหนดนโยบายที่เน้นการส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีพลัง มีความคิดสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เมืองอยู่เสมอ โดยอาจไม่จำเป็นต้องลงมือทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาทำได้ และช่วยให้การใช้ชีวิตของคนอื่นๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบๆ ดีขึ้นตามไปด้วย ปรากฏการณ์นี้สอดคล้องกับแนวคิดของ ‘อนันดา’ (Ananda) หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) แบรนด์อสังหาริมทรัพย์เจ้าใหญ่ของประเทศไทย ที่เชื่อว่า ถ้าทุกคนอยู่ให้ถูกที่ ใช้ชีวิตได้แบบไม่มีข้อจำกัด และใส่ทุกพลังเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เราก็จะช่วยกันทำให้เมืองนี้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวแคมเปญ ‘I Love Urban Life’ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองให้เกิดความสะดวกสบาย และเอื้อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีเวลาออกไปใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง​ แคมเปญนี้ไม่เพียงส่งต่อพลังบวกให้คนเมืองทุกวันและทุกเวลาเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนมุมมองของผู้อยู่อาศัยให้มีความสุขและสนุกไปกับการใช้ชีวิตในเมืองที่แสนวุ่นวายแห่งนี้ I Love Urban Life ชีวิตเมือง ชีวิตเรา แน่นอนว่าการที่เราจะดูแลอะไรสักอย่างให้ดี เราต้องผูกพันและเห็นความสำคัญของมันก่อน อนันดาเชื่อว่าการเปลี่ยนวิธีคิดและลองใช้ชีวิตให้มีสีสันมากขึ้น จะทำให้คนเมืองทุกคนมีความสุขได้ทุกๆ วันและทุกๆ ช่วงเวลา จึงเป็นที่มาของแคมเปญ I Love Urban Life ที่ต้องการเปลี่ยนมายด์เซตและส่งเสริมไลฟ์สไตล์ของคนเมืองผ่าน 3 แนวทาง ได้แก่ 1) I […]

‘ออสโล’ กับแผนการสร้างเมืองให้ผู้คนสูงวัยได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข

โลกของเรามีประชากรสูงอายุเยอะขึ้นทุกปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้คนมีอายุขัยยาวนานกว่าเดิม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 โลกจะมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 2 พันล้านคน หรือราว 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด เพราะเหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มทยอยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ รวมถึงพัฒนาแผนการรับมือที่จะทำให้เมืองของตัวเองรองรับประชากรวัยชราได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเมืองที่ตื่นตัวรับมือกับความท้าทายนี้ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลกคือ ‘ออสโล’ ประเทศนอร์เวย์ เมืองหลวงแห่งนี้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ทุกคนเติบโตอย่างมีความสุขได้อย่างไร คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปหาคำตอบกัน การเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับประชากรสูงวัย “เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยคือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมครอบคลุมและเข้าถึงได้ ซึ่งส่งเสริมให้ประชากรมีอายุมากขึ้นได้อย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี” นี่คือคำนิยามของ ‘เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย’ หรือ ‘Age-friendly City’ ที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน ‘Action Plan for an Age-friendly City’ และ ‘Plan for Safe and Diversified Care of Older People’ […]

1 2 3 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.