ทางเท้า ญี่ปุ่น ออกแบบได้ปลอดภัยและฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์วิถีชีวิตนักเดินของชาวเมือง

‘ญี่ปุ่น’ คือประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองที่ทั้งสะอาด เป็นระเบียบ และสะดวกสบาย ซึ่งผลลัพธ์เช่นนี้มาจากความใส่ใจของรัฐบาลญี่ปุ่นและพฤติกรรมชาวเมืองที่มีวินัยในการใช้ชีวิตกันอย่างเป็นระบบระเบียบ และถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีพื้นที่ใช้สอยภายในประเทศอย่างจำกัด แต่หน่วยงานภาครัฐก็ให้ความสำคัญต่อระบบการเดินทางคมนาคมให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัยอย่างสูงสุด เช่นเดียวกับ ‘ทางคนเดินเท้า’ ที่ออกแบบมาตอบโจทย์วิถีชีวิตของประชากรในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้คนใช้วิธีการเดินในการเดินทางควบคู่ไปกับคมนาคมที่ดี 📌 การออกแบบที่ทุกคนใช้งานได้ โครงสร้างทางเท้าที่ญี่ปุ่นถูกออกแบบมาให้ทุกคนใช้งานได้อย่างปลอดภัย สะดวกสบาย และซัพพอร์ตผู้ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่างวีลแชร์และไม้เท้า ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดล้วนคำนึงถึงผู้ใช้งานและผ่านการคิดตามหลักวิศวกรรมมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความกว้างของทางเท้าที่ต้องมีขนาดเพียงพอต่อการรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย โดยมีการอ้างอิงจากขนาดความกว้างมาตรฐานในการใช้เดินทาง ได้แก่ คนปกติใช้ความกว้าง 0.75 เมตร ผู้ใช้วีลแชร์ใช้ความกว้าง 1 เมตร และผู้พิการทางสายตาที่ใช้สุนัขนำทางใช้ความกว้าง 1.5 เมตร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้นำมาใช้ในการออกแบบความกว้างของทางเท้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างเหมาะสม โดยทางเท้าญี่ปุ่นจะยึดหลักการออกแบบให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์สวนกันได้ ส่วนพื้นที่ทางเท้าที่อนุญาตให้จักรยานขึ้นมาขี่ได้จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และยังมีการแบ่งเป็น Bike Lane แยกออกมาด้วยในบางเขต ส่วนพื้นผิวบนทางเท้าจะปูพื้นเป็นบล็อกที่อัดแน่นและชิดกัน ทำให้การเดินปกติหรือใช้รถเข็นนั้นไม่มีสะดุดเลย รวมถึงเบรลล์บล็อก (Braille Block) ทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตาก็มีตลอดเส้นทาง และเชื่อมโยงกับทางม้าลายทุกพื้นที่ ไม่มีการตัดขาดเส้นทางอีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลถึงความปลอดภัยในการเดินบนทางเท้า 👥 ปรับทางเท้าให้ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มากมาย แถมระบบขนส่งก็ครอบคลุมทั่วทุกจังหวัดในประเทศ […]

ชาว Urban Creature และ 5 รูตเดินสุดมัน เติมความสนุก เติมความสดชื่น เติมใจให้เต็มอิ่มด้วยสองเท้า

ใจพร้อม กายพร้อม เตรียมตัวออกไปเดินเมืองสนุกๆ แล้ว แต่สิ่งเดียวที่ยังขาดคือเส้นทางสุดมันที่จะไม่เป็นการเดินเรื่อยๆ แสนธรรมดา วันนี้ชาว Urban Creature ขอเลือกรูตสนุกๆ ในดวงใจ เพื่อเป็นไอเดียให้ทุกคนได้ไปเดินตามกันง่ายๆ ตั้งแต่รูตชิลๆ สบายๆ ในการเดินสวนโดยไม่ต้องออกแรงมาก เส้นทางสีเขียวที่จะเติมความสดชื่นให้กับวัน หรือเส้นทางสุดประหยัดที่ทำให้รู้ว่าการเดินช่วยให้เราเก็บเงินได้อีกมาก ใครพร้อมเข้าก๊วนนักเดิน ลองเริ่มด้วยลิสต์เหล่านี้ก็ได้ ชื่อ : ชิตวัน เพชรรัตน์ตำแหน่ง : Graphic Designerรูตที่ชวนเดิน : เส้นทางของตัวละครหลักตำแหน่งที่ตั้ง : maps.app.goo.gl/LG8YxZFRCsvQQDn2APlaylist ฟังเพลินตลอดเส้นทางเดิน : open.spotify.com/playlist/0BbfmZFZ2CDocgmVFVFy9o?si=2221ac44fa3f4ddd โดยส่วนตัวแล้ว สวนหลวง ร.9 เป็นสถานที่ที่มักจะนึกถึงในวันที่อากาศดีเป็นพิเศษจนอยากทำกิจกรรมกลางแจ้ง คนส่วนมากมีเป้าหมายเป็นการวิ่งออกกำลังกายยามเย็น แต่ในมุมคนที่ไม่ค่อยชอบออกแรงเท่าไหร่ สวนนี้มีเส้นทางที่เหมาะจะนำมาประกอบเพลย์ลิสต์โปรดที่ทำให้เรากลายเป็นตัวเอกในโลกของตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยการเล่น MV หรือสร้างฉากหนังในหัว หรือหากมองอย่างจริงจังกว่านั้น การได้อยู่คนเดียวท่ามกลางธรรมชาติก็ทำให้เราได้ยินสิ่งที่ตัวเองคิดชัดขึ้น พักผ่อนจากการตอบสนองสิ่งต่างๆ และทบทวนตัวเองอย่างตั้งใจ ในสวนขนาดใหญ่นี้มีเส้นทางหลายเส้นที่เดินสนุก แต่วันนี้ขอเสนอเส้นทางเลียบทะเลสาบ ซึ่งโดยมากแล้วจะเป็นเส้นทางที่เย็นสบายอยู่ตลอดด้วยลมที่พัดผ่านน้ำ เริ่มจากลานออกกำลังกาย เราจะเดินผ่านครอบครัวที่กำลังปิกนิก คนปั่นเรือเป็ด และบางทีก็มีเวทีดนตรีสด เมื่อเดินไปเรื่อยๆ […]

AllTrails แพลตฟอร์มสำรวจพื้นที่ทั่วโลก รวบรวมและแนะนำเส้นทางการเดินเทรล เน้นให้ผู้คนได้ซึมซับกับธรรมชาติรอบตัว

ช่วงนี้การเดินกำลังเป็นกระแส โดยเฉพาะการเดินเทรล (Trail) กิจกรรมเดินทางในเส้นทางธรรมชาติที่ทำให้นักเดินทางได้สำรวจความงดงามของบรรยากาศรอบตัวตลอดเส้นทางการเดิน และพบเจอประสบการณ์ที่อาจจะหาไม่ได้จากการเดินปกติในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับมือใหม่ที่กำลังจะเข้ามาในวงการนี้อาจยังไม่รู้ว่าต้องเริ่มอย่างไร หรือเดินเทรลที่ไหนได้บ้าง เราเลยขอพาทุกคนมารู้จักกับ ‘AllTrails’ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เชื่อมโยงเราเข้ากับสถานที่ รูตการเดินทาง และเส้นทางธรรมชาติได้สนุกมากขึ้น เพราะแพลตฟอร์มนี้ให้ข้อมูลละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ที่เราสนใจได้อย่างครบถ้วน AllTrails ยังมีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์คนรักการทำกิจกรรมนอกบ้านอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีจุดมุ่งหมายปลายทางชัดเจน แพลตฟอร์มก็มีคำแนะนำและข้อมูลสถานที่ให้ หรือใครที่ยังไม่มีจุดหมายปลายทางที่แน่นอนแต่มีกิจกรรมอยากทำ ทางแพลตฟอร์มเองก็มีเส้นทางและสถานที่แนะนำ รวมถึงมีการแนะนำสถานที่ เส้นทาง และกิจกรรมที่มีอยู่ใกล้ๆ ผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ใช้งานยังสร้างแผนที่เส้นทางสำหรับทำกิจกรรมตามสไตล์ของตัวเองได้ด้วยการเลือกประเภทกิจกรรม เส้นทางเดิน จุดน่าสนใจในรูต และยังสามารถแชร์ให้ผู้ใช้งานอื่นมาร่วมจอยน์กับแมปของเรา และหากรู้สึกเหงา ต้องการเพื่อนไปทำกิจกรรมด้วย หรืออยากแบ่งปันโมเมนต์ดีๆ ในการเดินทาง แพลตฟอร์มเองก็มีส่วนที่เป็นคอมมูนิตี้ที่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถมาแชร์เรื่องราวการเดินทางต่างๆ ได้เหมือนกัน สำหรับเพื่อนรักนักเดินคนไหนที่สนใจแพลตฟอร์ม AllTrails เข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ alltrails.com หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ App Store และ Google Play เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานแบบออฟไลน์ หากสมัครเป็นสมาชิกจะมีระบบสะสม Tree ซึ่งแต้มทั้งหมดจะถูกบริจาคให้กับ One Tree Planted องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นการปลูกป่าทดแทนจากพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายอีกด้วย 

ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นประจำ แค่เดินระยะสั้นๆ แถวบ้านไม่กี่นาที ก็ช่วยให้สุขภาพจิตดีได้

หลายคนอาจหลงลืมไปว่า การเดินคือการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อย และทำได้เลย สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือกังวลว่าจะต้องหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ลองให้การเดินเป็นตัวเลือกแรกดูก่อน เพราะแค่เปลี่ยนจากการนั่งมอเตอร์ไซค์เป็นการเดินเข้าซอยในระยะทางสั้นๆ เดินไปใช้บริการขนส่งสาธารณะใกล้ๆ หรือการเดินเล่นรอบๆ บ้านในเส้นทางที่คุ้นเคย เท่านี้ก็ช่วยให้เราแข็งแรงได้แล้ว ทว่ามากไปกว่าความแข็งแรงทางกายภาพ การเดินยังช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย เดินวันละนิดจิตแจ่มใส แน่นอนว่าเราพอนึกออกว่าทำไมการเดินถึงช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรงได้ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการเดินช่วยเรื่องของสุขภาพจิตได้อย่างไร อย่างที่บอกไปว่าการเดินคือหนึ่งในการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ซึ่งในระหว่างที่ออกกำลังกายนั้น ร่างกายของเราจะหลั่งสาร Endorphins (เอ็นดอร์ฟิน) ที่ช่วยส่งเสริมความสุข ทำให้อารมณ์ดีออกมา รวมถึงยังช่วยคลายเครียดและบรรเทาอาการซึมเศร้า อีกทั้งการได้ขยับร่างกายยังช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดอีกด้วย Mental Health Foundation รายงานว่า การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติจะช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลของเราได้ ซึ่งธรรมชาติเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงป่า เขา หรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่เท่านั้น แต่การออกจากบ้านเพื่อเดินไปยังพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน เดินไปยังร้านค้าแถวบ้าน หรือเดินไปทำกิจกรรมในที่ต่างๆ ผ่านวิวทิวทัศน์ที่ประกอบด้วยต้นไม้ดอกไม้ริมทาง หรือสวนเล็กๆ ของเพื่อนบ้าน กระทั่งพบเจอสัตว์เลี้ยงอย่างหมาแมวก็ช่วยเสริมสุขภาวะที่ดีได้ มีการศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยในหนานจิง ประเทศจีน ระบุว่า การเดินในระยะเวลานานหรือระยะทางไกลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ถ้าเราเดินอย่างสม่ำเสมอและกลายเป็นกิจวัตรประจำวันต่างหากที่จะช่วยสร้างประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีได้มากกว่าคนที่ไม่เดิน เมืองที่สนับสนุนการเดิน = สนับสนุนสุขภาพจิตที่ดี แม้ไม่ได้เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตโดยตรง แต่ถ้าจะบอกว่าเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการเดินเป็นอีกหนึ่งทางในการสนับสนุนให้คนเมืองมีสุขภาพจิตที่ดีก็คงไม่ผิดเท่าไหร่นัก เพราะดูเหมือนว่าละแวกบ้านจะเป็นสถานที่ที่ดีและง่ายที่สุดสำหรับการเดิน นอกจากจะพาให้เราได้ลดความเครียดด้วยการออกมาเปิดหูเปิดตา สูดลมหายใจ สังเกตสิ่งรอบข้างกว้างๆ แล้ว […]

นั่งอยู่บ้านก็เดินฟังเสียงเมืองได้กับเว็บไซต์เสมือน CityWalks.live ที่พาเราเดินทิพย์ทั่วโลกแบบ Virtual

แดดร้อน ทางเท้าพัง และอุปสรรคอีกมากมายที่เป็นตัวขัดขวางให้เราไม่อยากก้าวเท้าออกจากห้องสักเท่าไหร่ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่อยากไปสำรวจเมืองต่างๆ ทั่วโลกในสเกลข้างทางนี่นา CityWalks.live คือเว็บไซต์ที่จะพาเราผจญไปในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกด้วยการเดินสำรวจพื้นที่ไปเรื่อยๆ แบบ Virtual ต่อให้ไม่ได้ไปเยือนสถานที่นั้นๆ ด้วยตัวเองก็สามารถรับประสบการณ์ประหนึ่งไปเดินด้วยตัวเอง เพราะนอกจากจะเลือกได้ว่าอยากไปที่ไหนแล้ว เรายังเลือกได้อีกว่าอยากเดินเล่นเวลากลางวันหรือกลางคืน เดินเล่นในเมืองหรือชายหาด และในระหว่างเดินจะเปิดฟังเสียงเมืองพร้อมกันไปด้วยก็ได้ แถมเวลาไปแต่ละที่ก็มี Quick Facts สั้นๆ เกี่ยวกับเมืองนั้นๆ ให้อ่านด้วย CityWalks.live ถือเป็นเว็บไซต์เสมือนจริงที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสำรวจเมืองและภูมิภาคต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปด้วยตัวเอง โดยผู้จัดทำหวังว่าประสบการณ์เสมือนจริงเหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนค้นพบความน่าสนใจในระหว่างทาง และวางแผนการผจญภัยบนโลกจริงในครั้งถัดๆ ไป

City Walk, City Work ก่อนจะเป็นเมืองน่าอยู่ ต้องเป็นเมืองที่คนเดินได้เดินปลอดภัยก่อน

ในชีวิตแต่ละวัน ‘การเดิน’ เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของผู้คนโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ออกจากประตูบ้านมาถึงที่เรียนหรือที่ทำงาน ต่อให้ขึ้นรถลงเรืออย่างไรก็ยังต้องอาศัยการเดินอยู่ดี ทั้งที่การเดินไม่จำเป็นต้องใช้อะไรนอกจากขาของเรา แต่เหมือนว่าวิธีเดินทางที่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุดนี้จะยังมีปัญหาซ่อนอยู่ ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากร่างกายของเราได้อย่างเต็มที่และมีความสุขนัก นั่นเป็นผลจากเมืองที่เราอาศัยอยู่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนและการเดินมาตั้งแต่แรก พอคนเดินได้ไม่ดีก็ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวจนเกิดโรคตามมา หรือกระทั่งความเหงาที่เกิดขึ้นเพราะไม่มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กลับกัน ในเมืองที่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จะออกแบบและจัดตั้งนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้คนอยากเดิน เช่น แนวคิดเมือง 15 นาที ที่กำหนดให้แต่ละพื้นที่ต้องมีบริการสาธารณะที่จำเป็นโดยคนสามารถเดินถึงภายใน 15 นาที หรือแนวคิดเมืองเดินได้ ที่ทำให้เมืองมีกายภาพน่าเดิน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ล้วนส่งผลดีในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติสุขภาพที่ประชาชนได้ออกกำลังกายไปในตัว มิติสิ่งแวดล้อมที่เมื่อลดการใช้รถยนต์ลงอากาศก็ดีขึ้น หรือมิติเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยระหว่างคนเดินกับร้านค้าริมทางเดิน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์ City Walk, City Work ขอชวนมาเดินสำรวจด้วยกันว่า จริงๆ แล้วเมืองที่เดินได้และปลอดภัยควรเป็นอย่างไร อะไรกันแน่ที่ทำให้คนไทยไม่อยากเดิน ไปจนถึงตอนนี้เมืองของเราทำอะไรไปบ้างแล้วเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองเดินได้เดินดีในอนาคต หลักการออกแบบทางเท้าที่ดี สำหรับนักเดินเมืองทั้งขาประจำและขาจรทั้งหลายคงรู้กฎการเดินเมืองเบื้องต้น 101 กันอยู่แล้วว่า การเดินที่ปลอดภัยที่สุดคือ ‘การเดินบนทางเท้า’ หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ‘ฟุตพาท’ ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ‘Foot = เท้า’ ‘Path = ทาง’ แต่น้อยฟุตพาทนักที่น่าเดินหรือเอื้อต่อการเดินเล่นและเดินจริงจังในปัจจุบัน […]

Wonderwhy : City Walker นิตยสารที่บอกเล่าคัลเจอร์ชาว SEA ประเดิมฉบับแรกด้วยธีม ‘การเดินในเมือง’

ไม่ใช่แค่เมืองไทยหรอกที่เดินทางด้วยเท้าในเมืองยาก เพราะหลายๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้วนประสบปัญหาคล้ายๆ กัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าจะเดินไม่ได้ซะหน่อย! ในยุคที่คนรุ่นใหม่หันมาสนใจสิ่งพิมพ์กันมากขึ้น คนทำงานสร้างสรรค์และสื่อนอกกระแสทั่วโลกก็หันมาจับตลาดสิ่งพิมพ์อย่างซีน (หนังสือทำมือ) หรือนิตยสารรายสะดวก จนมีเหล่านิตยสารน้องใหม่ที่ลงลึกในประเด็นใดประเด็นหนึ่งออกมาวางขายให้นักอ่านทั่วโลกเป็นเจ้าของกันอย่างคึกคัก หนึ่งในนั้นคือ Wonderwhy นิตยสารที่เปิดตัวและตีพิมพ์ฉบับแรกไปไม่กี่เดือนก่อนโดยสื่อออนไลน์ด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ชื่อเดียวกัน ซึ่งหลังจากเผยแพร่คอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มามากกว่าสามปี พวกเขาก็ลงมือทำสิ่งพิมพ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนอ่านอื่นๆ มากขึ้น โดยประเด็นแรกที่หยิบยกขึ้นมาคือเรื่อง การเดินในเมือง แน่นอนว่าเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่เป็นมิตรกับคนเดินเท้าเท่าไหร่นัก แต่ถึงอย่างนั้น ทิวทัศน์รายทางและความมีชีวิตชีวาของวิถีชีวิตผู้คนตามริมถนนก็ยังควรค่าให้เดินสำรวจ ซึ่งในขณะเดียวกัน ‘การเดิน’ ก็ถือเป็นวิธีการเดินทางที่ง่ายที่สุด สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และยังทำให้คนแข็งแรงอีกด้วย ภายในเล่มประกอบด้วยบทสัมภาษณ์ชาว SEA ที่เดินไปทำงาน ฮาวทูเตรียมตัวสำหรับคนที่อยากลองเดินเยอะๆ ในเมือง เบื้องหลังการวางผังเมืองของสิงคโปร์ซึ่งเป็นเมืองที่เดินได้เดินดีที่สุดแล้วในบรรดาประเทศแถบนี้ ไปจนถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสนุกๆ ที่แวดล้อมการเดิน เช่น ขนส่งสาธารณะ อุปกรณ์ตัวช่วยในการเดิน รูตการเดินที่แนะนำโดยอินฟลูเอนเซอร์ในหลากหลายประเทศ เป็นต้น รับรองว่าอ่านจบแล้วทำเอาอยากสวมรองเท้าดีๆ สักคู่ แล้วออกไปเดินสำรวจกรุงเทพฯ ให้รู้แล้วรู้รอดเลยล่ะ ใครที่สนใจ สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ t.ly/2ISHw หรือจะตามไปซื้อที่หน้าร้าน SPACEBAR ZINE โครงการ GalileOasis ราชเทวี และร้าน Rock Paper […]

ถอด 7 ประเด็นน่ารู้เรื่องการพัฒนาเมืองจากนโยบาย Car Free Day ที่ กทม. พยายามผลักดัน

แนวคิด Car Free หรือแนวคิดปลอดรถยนต์ คือการลดการขับขี่รถยนต์ เพื่อลดปัญหารถติด มลภาวะทางอากาศ มลพิษทางเสียง รวมถึงเป็นการคืนพื้นที่ถนนให้คนเมือง ด้วยการใช้การเดินทางในรูปแบบการเดินเท้า ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะ ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็นำมาใช้งานกับเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ จนได้ผลที่น่าพอใจไปแล้วไม่น้อย ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เองมีความพยายามผลักดันนโยบาย Car Free มาตลอด อาจจะเป็นรูปแบบของการเชิญชวนบ้าง การรณรงค์บ้าง หรือการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานบ้าง แต่ในปีนี้ แนวคิด Car Free ดูจะเป็นรูปเป็นร่าง มีการนำมาทำให้เห็นภาพมากขึ้นจากกิจกรรม Car Free Day ที่ กทม.ร่วมมือกับภาคีเปลี่ยนถนนบรรทัดทองในระยะทาง 350 เมตรให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ จัดกิจกรรมอื่นๆ ให้คนเมืองได้ออกมาพักผ่อนหย่อนใจ และมองเห็นความเป็นไปได้ของการลดพื้นที่ถนน แล้วนำมาสร้างความเป็นไปได้อื่นๆ ในการพัฒนาเมือง หลังจบกิจกรรม แน่นอนว่าย่อมมีเสียงสะท้อนที่หลากหลายจากคนเมือง ทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย Urban Creature จึงนัดคุยกับ ‘วันพัฒน์ มาตังคะ’ และ ‘ศิรดา ดาริการ์นนท์’ สถาปนิกผังเมืองอาวุโสของ Healthy Space […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.