Reserve a chair in Thailand style อากาศร้อน ขอจองที่ไว้ก่อนนะ

ผมเป็นคนชอบถ่ายภาพแนว Street Photography เพราะเสน่ห์ของการถ่ายภาพแนวนี้คือ เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ในวันที่ออกไปถ่ายภาพเราจะได้ภาพอะไรบ้างหรืออาจไม่ได้อะไรเลย ส่วนใหญ่ภาพแนวสตรีทที่ผมถ่ายนั้นจะเป็น Single Photo หรือการเล่าเรื่องในภาพเดียว ซึ่งภาพเดี่ยวของภาพสตรีทนั้นมีแนวที่หลากหลาย ถ้าตามสากลที่ยึดแกนหลักกันคร่าวๆ จะมี Layer, Juxtaposition, Unposed เป็นต้น แต่บังเอิญว่าในวันที่ผมออกไปถ่ายภาพ ท่ามกลางแดดร้อนและเวลาที่จำกัด ผมที่เดินหาภาพก็ครุ่นคิดอยู่นานว่าจะถ่ายภาพอะไรดี จนกระทั่งเห็นลานที่มีเก้าอี้เรียงเป็นทิวแถว ซึ่งบนเก้าอี้แต่ละตัวเต็มไปด้วยสิ่งของที่วางไว้เพื่อทำหน้าที่จับจองพื้นที่ ทำให้การถ่ายภาพในวันนั้นเปลี่ยนจาก Single Photo มาเป็น Mini Series Reserve a chair in Thailand style หรือการจองเก้าอี้ในแบบไทย เป็นชุดภาพที่ต้องการเล่าแบบเรียบง่าย แต่ก็แอบแฝงความไทยแทร่ของคนไทยในการครีเอตวิธีการจองที่ได้เป็นอย่างดี เพราะต่อให้ไม่มีการยืนยันตัวตนเหมือนซื้อบัตรเข้าชมงาน แต่ผู้คนที่จะหาที่นั่งต่างก็รู้ดีว่า เก้าอี้เหล่านี้มีเจ้าของเรียบร้อยแล้ว งานภาพชุดนี้ไม่ต้องตีความให้ซับซ้อน เหมือนเราดู Review Before and After แค่ต้องอาศัยช่วงเวลาของแสงเพื่อทำให้เกิด Mood & Tone ของสิ่งที่ถ่ายให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ […]

Rumba Bor แบรนด์ที่อยากกระชากสิ่งของเชยๆ ให้กลับมามีชีวิต ด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิล 

“สิ่งที่เราทำคือการกระชากเก้าอี้จีนเชยๆ ที่คนอาจมองข้ามไป ให้หันมามองสิ่งของใน Everyday Life ในมุมมองใหม่ๆ ที่ Sustainable มากขึ้น” ‘รัมภา ปวีณพงษ์พัฒน์’ เจ้าของแบรนด์ Rumba Bor บอกถึงความตั้งใจของเธอในการเริ่มต้นทำแบรนด์สิ่งของเครื่องใช้รักษ์โลก ที่มีจุดเด่นคือการดึงเอาของใช้ในชีวิตประจำวันมาผสมผสานความครีเอทีฟ โดยใช้วัสดุที่รีไซเคิลเป็นหัวใจหลัก หญิงสาวเล่าว่า จุดเริ่มต้นของ Rumba Bor เกิดขึ้นเมื่อเธอเรียนจบด้าน Fine Arts มาได้สักพัก และเริ่มรู้สึกอยากเริ่มทำแบรนด์เป็นของตัวเองด้วยการนำสิ่งที่เรียนมาใช้ทำงานให้สนุก นอกจากแพสชันส่วนตัว ในช่วงที่เรียนอยู่ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย รัมภามักเห็นคนทิ้งสิ่งของเครื่องใช้อย่างเฟอร์นิเจอร์อยู่บ่อยๆ โดยเธอมักจะเดินไปดูว่ามีอะไรน่าสนใจและหยิบจับไปใช้ในงานออกแบบของตัวเองได้บ้าง ตรงนี้เองที่ส่งผลให้รัมภาซึมซับเรื่องสิ่งของมือสอง ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม และเข้าใจการใช้ชีวิตในแบบที่ไม่ต้องซื้อของใหม่บ่อยๆ หลังจากลองผิดลองถูกอยู่นาน ผลงานชิ้นแรกภายใต้แบรนด์ Rumba Bor ของรัมภา ก็ออกมาเป็น ‘เฌย (Choei)’ เก้าอี้จีนรูปลักษณ์คุ้นเคยที่ลูกหลานคนจีนคุ้นตาดี ซึ่งหญิงสาวนำมาตีความใหม่ และใช้พลาสติกโพลีโพรไพลีนรีไซเคิล (PP Recycle) ในการทำ “มันเกิดจากการที่เรามีโอกาสไปเดินดูโรงงาน แล้วเจอเก้าอี้ที่ลวดลายเชยๆ สีม่วงแดง ทำมาจากพลาสติก PVC ย่อยสลายไม่ได้ ขายไม่ออก […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

เบาะนั่งจากกระบองเพชรและอวนจับปลา ทางเลือกของสายการบินแบบยั่งยืน เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050

ธุรกิจสายการบินเป็นสาเหตุหลักๆ ในการสร้างมลภาวะทางอากาศ ทำให้หลายบริษัทต่างหาวิธีการดำเนินงานบนความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแข่งขันกันเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ซึ่งหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาของธุรกิจเหล่านี้เริ่มจากการเปลี่ยนที่นั่งบนสายการบินให้เป็นวัสดุรีไซเคิล ภายในงาน Singapore Airshow ที่เป็นงานแสดงการบินและอวกาศระหว่างประเทศ ได้มีการเปิดตัว ‘RECARO Aircraft Seating GmbH’ ที่นั่งชั้นประหยัดจากบริษัทเยอรมนี ที่ทำขึ้นจากโฟมรีไซเคิลในที่นอนเก่า ที่วางแขนประกอบด้วยไม้และสารประกอบไม้ก๊อก ด้านหลังมีกระเป๋าตาข่ายทำจากตาข่ายดักปลา ส่วนผิวกระบองเพชรกลายเป็นทางเลือกแทนการใช้พลาสติกหรือหนังสัตว์ในการห่อหุ้มตัวเบาะ วัสดุกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเบาะนั่งนั้นทำมาจากวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ รวมไปถึงตัวเบาะเองก็สามารถรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ ด้วยน้ำหนักที่ค่อนข้างเบากว่าเบาะปกติยังเป็นการช่วยประหยัดเชื้อเพลิงบนเครื่องบินอีกด้วย ที่นั่งดังกล่าวจะพร้อมจำหน่ายในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการส่งมอบครั้งแรกในปี 2025 เพราะส่วนประกอบบางอย่างยังต้องได้รับการรับรอง ไม่แน่ว่าในอนาคต ผู้โดยสารจากสายการบินต่างๆ อาจจะได้นั่งเบาะที่ทำจากหนังกระบองเพชรและอวนจับปลาที่ถูกทิ้งร้าง เนื่องจากอุตสาหกรรมการบินพยายามทำทุกวิธีเพื่อเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นรูปแบบการขนส่งที่ยั่งยืนให้ได้มากที่สุด Sources :Daily Maverick | bit.ly/3uZfqNGTimes of india | bit.ly/3TwT8wh

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.