จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อย Carbon Footprint 400,000 ตัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต่างตื่นตัว เพราะสภาพแวดล้อมทุกวันนี้อยู่ในช่วงวิกฤต โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนัก (Climate Change) ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของทุกสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมทุกพื้นที่แปรเปลี่ยนไปตามๆ กัน คำว่า ‘ทั่วโลกตื่นตัว’ ในที่นี้ ไม่ใช่แค่เรื่องใหญ่ระดับชาติที่เหล่าผู้นำประเทศกังวลเท่านั้น แต่มันยังลงลึกไปถึงหน่วยย่อยในทุกอุตสาหกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน เพราะทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการผลิต การบริการ หรือสิ่งบันเทิงอย่าง ‘คอนเสิร์ต’ ก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดโลกร้อนไม่แพ้กัน ยิ่งหลังผ่านพ้นช่วงกักตัว คอนเสิร์ตก็กลับมาจัดขึ้นบ่อยครั้ง และมีคนให้ความสนใจจำนวนมาก เพราะทุกคนต่างโหยหากิจกรรมและความบันเทิงนอกบ้านที่ห่างหายไปนานหลายปี ในทางกลับกัน ปัญหาโลกร้อนยังคงมีอยู่และเกิดสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหนักจากฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 400,000 ตัน ปัจจุบันหลายองค์กรในอุตสาหกรรมพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงตามเป้าหมายที่กำหนด จึงต้องมีค่ากลางในการประเมิน และเกิดการจัดทำ ‘Carbon Footprint’ หนึ่งวิธีการวัดและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยขององค์กร โดยคิดตั้งแต่การผลิต การใช้งาน และการกำจัดของเสีย คำนวณออกมาเป็นตัวเลขหน่วยกรัม กิโลกรัม หรือตัน เพื่อนำผลลัพธ์ไปจัดการและบริหารการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในองค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รายงาน Tyndall […]

The Female Gaze นิทรรศการโปสเตอร์หนังที่ออกแบบผ่านสายตาผู้หญิง

ในโลกนี้มีอุตสาหกรรมและสายงานที่ถูกครอบงำโดยผู้ชายอยู่จำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ เห็นได้ตั้งแต่ผู้กำกับ ตากล้อง และทีมโปรดักชัน มากไปกว่านั้นบนเวทีรางวัลน้อยใหญ่คณะกรรมการก็มักเป็นผู้ชาย และถ้าสังเกตสักหน่อยคุณคงเห็นผู้ได้รับรางวัลที่มักเป็นผู้ชายด้วยเช่นเดียวกัน วงการคนทำงานออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์เองก็ไม่ต่างกัน ถ้าไปไล่ดูรายชื่อนักออกแบบบรรดาโปสเตอร์ภาพยนตร์ทั้งฟอร์มใหญ่ฟอร์มเล็กที่ผ่านๆ มา จะพบว่านักออกแบบมักเป็นผู้ชายเสียส่วนมาก บวกกับด้วยความที่นักออกแบบชายยึดสนามงานนี้มาอย่างเนิ่นนาน ทำให้นักออกแบบหญิงมักถูกละเลยมองข้ามไป Eileen Steinbach หรือที่รู้จักในชื่อ SG Posters นักออกแบบและนักวาดภาพประกอบจากเยอรมนีที่มีลูกค้าตั้งแต่ผู้สร้างภาพยนตร์อินดี้ไปถึงสตูดิโอใหญ่ๆ อย่าง Disney และ Pixar ทั้งยังคลุกคลีกับคอมมูนิตี้ศิลปินคนอื่นๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นประจำ จึงคิดไอเดียทำโปรเจกต์โปสเตอร์ภาพยนตร์ชื่อ THE FEMALE GAZE ขึ้น เธอเล่าว่าเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนที่ได้เข้ามาในคอมมูนิตี้คนทำโปสเตอร์ภาพยนตร์ เธอเจอนักออกแบบผู้หญิงน้อยมาก อีกนัยหนึ่งคือสายงานนี้เป็นสนามที่ผู้ชายครอบงำ จนเมื่อไม่นานมานี้ เธอได้เห็นผู้หญิงเริ่มเข้ามาทำงานในสายงานนี้มากขึ้น “มันเป็นความรู้สึกดีจริงๆ ที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง จนในที่สุดก็จุดประกายฉันให้เกิดไอเดียโปรเจกต์โปสเตอร์นี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเฉลิมฉลองให้ศิลปินเจ๋งๆ เหล่านี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเหล่าผู้หญิงผู้แข็งแกร่งในโลกภาพยนตร์ ทั้งต่อหน้าและลับหลังกล้อง” THE FEMALE GAZE คือโปรเจกต์ออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้นักออกแบบผู้หญิงส่งผลงานออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ (ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่ตัวเอกเป็นผู้หญิง) มาจัดแสดงในเว็บไซต์ poster-project.com พร้อมกับคำอธิบายถึงตัวเองและช่องทางในการติดต่อ แม้จำนวนโปสเตอร์ภาพยนตร์จะยังไม่เยอะมากนัก […]

ลดมลภาวะ แต่ไม่ละความเก๋ Reviv แพลตฟอร์มซ่อมเสื้อผ้าออนไลน์ที่จะช่วยทำให้ชุดเดิมสนุกกว่าเดิม

หลายปีมานี้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ หรือแม้แต่รายการใน Netflix ก็พูดถึง Fast Fashion อยู่บ่อยครั้ง โดยมักจะหยิบยกแง่มุมที่เลวร้าย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่ผลิตโดยเน้นความเร็วและสู้กับเทรนด์ตลอดเวลา  แรงกระเพื่อมนี้ก็ส่งต่อไปยังแบรนด์ยักษ์ใหญ่ พวกเขาเริ่มออกไลน์เสื้อผ้าที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล คอตตอน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมประกาศความตั้งมั่นในการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ซึ่งถือเป็นการขยับตัวที่น่าชื่นชม  ถึงจะอย่างนั้นก็ตามที Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์จากย่านอารีย์ ก็ยังมองว่าไม่ซื้อเลยต่างหากถึงจะดีที่สุด เพราะไม่ว่าคุณจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขนาดไหน แต่ในทุกครั้งที่เสื้อผ้าถูกผลิต ก็มีการใช้ทรัพยากรและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ดี แต่อย่าพึ่งเข้าใจผิดไปนะครับ เพราะไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเย็บต้องซ่อมเสื้อผ้าเท่านั้น ห้ามซื้อใหม่เด็ดขาด ไม่ใช่แบบนั้นเลย แต่เรื่องที่ว่าจะซื้อแบบไหนนั้นขออนุญาตเบรกไว้สักครู่ แล้วมาทำความรู้จักกับ Reviv ก่อนดีกว่า  Reviv The Fashion ภายใต้ร่มเงาไม้ ร้านรวง และที่พักของโครงการ The Yard Hostel มีออฟฟิศขนาดเล็กที่โครงสร้างหลักเป็นตู้คอนเทนเนอร์เก่า และมีเนื้อที่ไม่ถึงห้องสตูดิโอในคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง มุมห้องด้านหนึ่งมีลังกระดาษเอาไว้ใส่ตัวอย่างเสื้อผ้าที่ทดลองปักและซ่อมแซมวางไว้ ถัดมาเพียงก้าวเดินจะเป็นเก้าอี้พลาสติกที่ตั้งคู่กับโต๊ะสีขาว มีหน้าต่างบานเล็กคอยส่องแสงที่ค่อนข้างอิ่มตัวในฤดูกาลที่ฝนตกกันเป็นว่าเล่น  ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา และ ฝ้าย-ฐนิตา เขตกิตติคุณ 2 ตัวแทนจาก Co-founder ทั้งหมด 5 คน […]

‘ผักบ้างก็ได้’ ร้านขายผักน่ารักที่สร้างคาแรกเตอร์ผักผลไม้ให้น่าซื้อ

ถ้าลองไถดูเมนูร้าน ‘ผักบ้างก็ได้’ บน GrabMart ตั้งแต่บนจรดล่าง ต้องมีคำว่า ‘น่ารัก’ ผุดขึ้นมาในความคิดกันบ้างแหละ ทั้งทรงผมชี้ๆ ของต้นหอม หัวกลมๆ ของเลมอน หรือตัวไร้รูปทรงของข่า พอมีลูกตากับปากไปแปะไว้ ยิ่งเพิ่มมูลค่าให้น่าซื้ออีกเท่าตัว ซึ่ง ‘ปุ๊ก-ชมพูนุช พรรณพนาวัลย์’ เป็นเจ้าของไอเดียสร้างคาแรกเตอร์ให้ผักผลไม้ ที่มาของการเปิดร้าน ‘ผักบ้างก็ได้’ ตั้งต้นจากธุรกิจของทางบ้านซึ่งเป็นซัปพลายเออร์ส่งผักสดให้โรงแรมและร้านอาหารต้องเจอพิษโควิด-19 ทั้งโดนลดจำนวนออเดอร์บ้าง หรือโดนแคนเซิลแบบจวนตัวเลยก็มี ทำให้สินค้าเหลือค้างเป็นจำนวนมาก จึงต้องคิดหาวิธีการจัดการ จนมาจับพลัดจับผลูได้โพสต์ขายทางออนไลน์ดูสักตั้ง ช่วงแรกก็ชักชวนเพื่อนฝูงมาซื้อ แต่ปริมาณผักผลไม้ที่รับมาแบบสเกลหลักร้อยกิโลฯ ให้เพื่อนช่วยกันซื้ออย่างไรก็คงไม่หมด จึงต้องคิดกลยุทธ์ว่าจะดึงดูดให้คนมาซื้ออย่างไรดี ยิ่งเป็นสินค้าประเภทผักผลไม้ที่มีขายทั่วไป หน้าตาสินค้าก็เหมือนกับในตลาดไปเสียหมด ก่อนจะมาจบที่ไอเดียการแต่งหน้าตาให้ผักผลไม้ใหม่ให้ดูน่ารักขึ้น ส่วนชื่อร้านก็หยิบมาจากประโยคติดปากบนโต๊ะอาหารของครอบครัวว่า “กินผักบ้างก็ได้นะ” (เป็นห่วง) ส่วนหมวดของผักกาดขาว เป็นชาเลนจ์หนึ่งของร้าน เพราะเป็นสินค้าจำนวนหัว มีขนาดและน้ำหนักที่ต่างกัน บวกกับลูกค้าซื้อผ่านออนไลน์จะทำอย่างไรให้เลือกง่ายที่สุด แต่จะหยิบลูกตาพลาสติกคงดูซ้ำๆ เกินไปหน่อย ปุ๊กจึงหยิบผักกาดขาว 1 หัวต่างไซซ์ มาตกแต่งด้วยแคร์รอต กระเทียมปอกเปลือก และพริกแดงจินดา ออกมาเป็นคาแรกเตอร์ต่างๆ อย่าง ‘เจ้ผักกาดขาวจัมโบ้’ ‘เฮียลุ้ยจัมโบ้’ หรือ […]

flowerhub.space ช้อปดอกไม้ออนไลน์จากปากคลองตลาด

แคมเปญชวนมาซื้อดอกไม้จากปากคลองตลาดแบบออนไลน์จากเว็บไซต์ flowerhub.space โปรเจกต์จาก ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หรืออาจารย์หน่องซึ่งคลุกคลีใกล้ชิดทำโปรเจกต์กับชาวปากคลองตลาดมานาน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.