Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

The Female Gaze นิทรรศการโปสเตอร์หนังที่ออกแบบผ่านสายตาผู้หญิง

ในโลกนี้มีอุตสาหกรรมและสายงานที่ถูกครอบงำโดยผู้ชายอยู่จำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ เห็นได้ตั้งแต่ผู้กำกับ ตากล้อง และทีมโปรดักชัน มากไปกว่านั้นบนเวทีรางวัลน้อยใหญ่คณะกรรมการก็มักเป็นผู้ชาย และถ้าสังเกตสักหน่อยคุณคงเห็นผู้ได้รับรางวัลที่มักเป็นผู้ชายด้วยเช่นเดียวกัน วงการคนทำงานออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์เองก็ไม่ต่างกัน ถ้าไปไล่ดูรายชื่อนักออกแบบบรรดาโปสเตอร์ภาพยนตร์ทั้งฟอร์มใหญ่ฟอร์มเล็กที่ผ่านๆ มา จะพบว่านักออกแบบมักเป็นผู้ชายเสียส่วนมาก บวกกับด้วยความที่นักออกแบบชายยึดสนามงานนี้มาอย่างเนิ่นนาน ทำให้นักออกแบบหญิงมักถูกละเลยมองข้ามไป Eileen Steinbach หรือที่รู้จักในชื่อ SG Posters นักออกแบบและนักวาดภาพประกอบจากเยอรมนีที่มีลูกค้าตั้งแต่ผู้สร้างภาพยนตร์อินดี้ไปถึงสตูดิโอใหญ่ๆ อย่าง Disney และ Pixar ทั้งยังคลุกคลีกับคอมมูนิตี้ศิลปินคนอื่นๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นประจำ จึงคิดไอเดียทำโปรเจกต์โปสเตอร์ภาพยนตร์ชื่อ THE FEMALE GAZE ขึ้น เธอเล่าว่าเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนที่ได้เข้ามาในคอมมูนิตี้คนทำโปสเตอร์ภาพยนตร์ เธอเจอนักออกแบบผู้หญิงน้อยมาก อีกนัยหนึ่งคือสายงานนี้เป็นสนามที่ผู้ชายครอบงำ จนเมื่อไม่นานมานี้ เธอได้เห็นผู้หญิงเริ่มเข้ามาทำงานในสายงานนี้มากขึ้น “มันเป็นความรู้สึกดีจริงๆ ที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง จนในที่สุดก็จุดประกายฉันให้เกิดไอเดียโปรเจกต์โปสเตอร์นี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเฉลิมฉลองให้ศิลปินเจ๋งๆ เหล่านี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเหล่าผู้หญิงผู้แข็งแกร่งในโลกภาพยนตร์ ทั้งต่อหน้าและลับหลังกล้อง” THE FEMALE GAZE คือโปรเจกต์ออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้นักออกแบบผู้หญิงส่งผลงานออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ (ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่ตัวเอกเป็นผู้หญิง) มาจัดแสดงในเว็บไซต์ poster-project.com พร้อมกับคำอธิบายถึงตัวเองและช่องทางในการติดต่อ แม้จำนวนโปสเตอร์ภาพยนตร์จะยังไม่เยอะมากนัก […]

Bangkok Suit ชุดล้ำๆ ที่จะทำให้ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ อย่างไม่หวั่นแม้วันหนักมาก

จะดีแค่ไหนถ้าเราจะเริ่มที่ตัวเองด้วยการทำชุดที่สวมแล้วเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ในกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ เราได้ชม Dune ภาพยนตร์ Sci-Fi ฟอร์มยักษ์ ที่กำกับโดยเดนิส วิลล์เนิฟ นอกจากเนื้อเรื่องอันเข้มข้นที่ว่าด้วยการแก่งแย่งชิงดีของเหล่าผู้มีอำนาจ ผสมผสานกับเกมการเมืองที่ทำเอานึกถึงสถานการณ์บ้านเราแล้ว สิ่งที่ทำให้เราจดจำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มากขึ้นคือ องค์ประกอบต่างๆ อย่างดาวแห่งทะเลทราย หนอน การต่อสู้สุดเจ๋ง ไปจนถึงชุดสูทสุดเท่ Stillsuit ชุดสูทนี้มีที่มาจากสภาพแวดล้อมบนดวงดาวที่ไม่มีแหล่งน้ำบนผืนดินเลย จึงกลั่นน้ำเสียจากร่างกายมนุษย์ให้เป็นน้ำดื่มได้ ทั้งยังมีเกราะหุ้มรักษาน้ำไม่ให้ระเหยออกจากร่างกายง่ายๆ พอเห็นแบบนั้น เราก็หวนนึกถึงสภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯ ที่ชวนให้ต้องปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการที่ฝนตกไม่นานน้ำก็ท่วมถึงเข่า อากาศที่ร้อนจนเกินทน ฝุ่นควันมลพิษจากรถติด ทางเท้าที่ไม่เอื้อให้คนเดิน ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์อะไรนิดหน่อยก็โดนตั้งข้อหา คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอลองออกแบบ ‘Bangkok Suit’ บอดี้สูทสำหรับเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ยุคนี้ดูซะหน่อย 1) กันน้ำได้ แห้งไว – จากปัญหาฝนตกน้ำท่วมขังที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานนม เราเลยออกแบบให้ชุดมีคุณสมบัติกันน้ำได้ แถมแห้งไวซะเลย คราวนี้ต่อให้ฝนจะตกเบา-หนักแค่ไหนประชาชนตัวเล็กๆ อย่างเราก็รับมือได้ ต่อให้ต้องตากฝนไปเรียนหรือทำงานก็บ่ยั่น 2) นวัตกรรมที่ทำให้ใส่แล้วเย็นสบาย – จะมีอะไรตอบโจทย์เมืองไทยไปกว่าเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเย็นเหมือนติดแอร์ บอดี้สูทของเราจึงพร้อมรับมือกับอากาศร้อนทุกเลเวลกับนวัตกรรมพลังงานแอร์ปรับความเย็นได้ที่ติดตั้งในชุด ยังไม่พอในเมื่อแดดเมืองไทยแรงสุดๆ เราเลยออกแบบให้แขนเสื้อยืด-หดได้ด้วย รับรองว่าเย็นฉ่ำแม้จะต้องเดินในเมืองที่ต้นไม้น้อยกว่าตึกแบบกรุงเทพฯ […]

Anstalten ดีไซน์เรือนจำให้เป็นมิตร เพื่อเยียวยาผู้ต้องขังกลับสู่สังคม

Schmidt Hammer Lassen (SHL) ออกแบบ ‘Anstalten’ เรือนจำที่มีความปลอดภัยสูงสุดในเกาะกรีนแลนด์ให้เหมือนหมู่บ้านขนาดย่อมที่รองรับนักโทษได้ 76 คน

Trombia Free รถเก็บขยะไฟฟ้าไร้คนขับคันแรกของโลก ลด CO2 ประหยัดพลังงาน และทำงานได้ในทุกสภาพอากาศ

ขยับเข้าใกล้โลกอนาคตที่เราฝันถึงกันอีกนิด ด้วย ‘Trombia Free’ รถเก็บขยะไฟฟ้าไร้คนขับแบบเต็มรูปแบบคันแรกของโลก นวัตกรรมใหม่ล่าสุดจาก ‘Trombia Technologies’ บริษัทผลิตเครื่องมือทำความสะอาดถนนสัญชาติฟินแลนด์ที่นอกจากทำความสะอาดถนนแล้ว รถคันนี้ยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ถึงปีละ 3 ล้านเมตริกตันอีกด้วย! Trombia Free ทำงานได้ในทุกสภาพอากาศ และมีชั่วโมงทำงานรวมกันทั้งปีมากถึง 500 ชั่วโมงติดกัน ทั้งยังประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องกวาดถนนทั่วไปถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเทคโนโลยีทำความสะอาดใหม่ล่าสุดที่ไม่ได้ใช้น้ำ แต่ใช้ระบบกรองฝุ่นแบบ ‘Cyclone’ การทำงานแบบ ‘Aerodynamic’ รวมกับวิธีการเพิ่มความชื้นในการกรองฝุ่น ซึ่งเมื่อเทียบชั่วโมงทำงานและการใช้พลังงานของเครื่องกวาดถนนทั่วไปถือว่า Trombia Free ใช้พลังงานได้คุ้มค่ากว่าถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังเสียงเบากว่า เหมาะแก่การใช้งานตอนกลางคืนหรือในบ้านอีกด้วย  นอกจากนี้ ‘Trombia Free’ ยังติดตั้งระบบเผื่อระยะปลอดภัยรอบคันรถ ที่จะทำให้รถหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับสิ่งที่เข้าใกล้ ถึงในปี 2021นี้ ‘Trombia Free’ ยังจะอยู่ในช่วงทดสอบ แต่ภายในต้นปี 2022 เราจะได้ใช้รถเก็บขยะไฟฟ้าไร้คนขับนี้กันอย่างทั่วถึงแน่นอน Source : Yanko Design | https://tinyurl.com/w6fe5j54

หอพักพยาบาลจุฬาฯ ลบภาพอาคารซ้ำๆ ปั๊มๆ ด้วยฟังก์ชันที่พยาบาลเลือกเอง

มองไกลๆ ‘หอพักพยาบาล’ หลังใหม่ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วยอาคารสูงฉาบปูนสีขาวสบายตา 26 ชั้น เรียงรายไปด้วยห้องพัก 523 ห้อง ดีไซน์ระเบียงสลับเป็นแพตเทิร์นฟันปลายึกยัก (นึกถึงศิลปะกระดาษแบบ Pop-up Craft เหมือนกัน) กลางตึกคว้านเป็นรูปทรงบวก หรือสัญลักษณ์อุณาโลมแดง โลโก้สภากาชาดไทยในอดีต  มากกว่าดีไซน์ด้านนอกที่ไม่ค้านสายตาว่าสวย เก๋ ปัง เขยิบไปมองใกล้ๆ อีกนิด จะพบฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานจริงมากมาย ทั้งอาคารหอพักถูกแยกออกเป็นสองซีก เว้นตรงกลางและด้านข้างไว้รับลมธรรมชาติ พร้อมเปลี่ยนลานจอดรถเก่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวหรือ Public Space ที่พยาบาลสามารถออกมานั่งหย่อนใจ คลายเครียดระหว่างพัก เช่นเดียวกับบริเวณตราอุณาโลมแดงที่ตั้งใจไว้เป็นส่วนกลาง ให้นำต้นไม้มาปลูกได้ แค่นั้นยังไม่พอ มุมอินไซด์ใกล้ชิดคนอยู่อาศัยสุดๆ ที่ Plan Architect บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม เจ้าของผลงานลงไปนั่งล้อมคุยกับพยาบาลว่า “หอพักแบบไหนโดนใจทุกคน” ก็ว้าวตั้งแต่ดีไซน์ระเบียงห้องให้มีองศาเฉียงหลบตาตึกตรงข้ามเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว แยกฝั่งห้องนอนและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสองฝั่ง เพราะไม่ใช่ทุกคนจะสนิทกับรูมเมต (โคตรเรียล) และคำนึงถึงการลดค่าแอร์สูงลิ่วจากสภาพอากาศบ้านเราด้วยเทคนิคระบายความร้อนรอบอาคารยันห้องนอน 01 หอพักพยาบาลที่เป็นมากกว่าห้องติดๆ กัน วรา จิตรประทักษ์ และ เมฆ-นภสร เกียรติวิญญู […]

เปลี่ยนพื้นที่ว่างบนดาดฟ้าให้โดดเด่นด้วย ‘Rooftop Catalogue’ คู่มือรวมไอเดียใช้ดาดฟ้าจากเมืองรอตเตอร์ดัม

เมืองรอตเตอร์ดัม เปลี่ยนดาดฟ้าเปล่าภายในเมืองให้เป็นพื้นที่ใช้สอย พร้อมออก ‘Rooftop Catalogue’ รวมไอเดียดาดฟ้าและวิธีการใช้กว่า 130 วิธี

ชวนดูการออกแบบ 7 หอพักนักศึกษาทั่วโลก ที่คิดเพื่อคนอยู่ ดีต่อใจ ไม่ใช่ห้องรูหนู

หอพักนักศึกษาประเทศอื่นหน้าตาเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างจากของบ้างเรากันนะ ชวนดู 7 การออกแบบหอพักนักศึกษาทั่วโลก

‘ศาลพระภูมิ’ ยุคใหม่ บทพิสูจน์ที่ยืนหยัดบนความเชื่อ

บริษัทศาลพระภูมิ ‘Holyplus’ ศาลพระภูมิยุคใหม่ ที่เปลี่ยนมุมมองของศาลพระภูมิให้เข้ากับยุคเข้าสมัย และเป็นส่วนหนึ่งของอาคารบ้านเรือน ซึ่งกลมกลืนเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้อย่างลงตัวที่แม้กาลเวลาก็ไม่ใช่เงื่อนไขอีกต่อไป

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.