สานฝันคนอยากมีห้องสมุดเป็นของตัวเอง เรียนบริหารห้องสมุดแบบออนไลน์ฟรี ในคอร์ส ‘Library Management’ 

ปัจจุบันถ้าห้องสมุดมีแค่หนังสือสำหรับให้บริการเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ผู้ใช้บริการอีกต่อไป ทำให้ห้องสมุดหลายแห่งจำเป็นต้องปรับตัว เปลี่ยนวิธีการบริหารงานในห้องสมุด เพื่อช่วยดึงดูดผู้ใช้บริการ ผ่านการนำความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบบริการเข้ามาช่วย ทีม ‘TCDC Resource Center’ จากสำนักพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ CEA ชวนทุกคนมาเปิดโลกแห่งการอ่านและความคิดสร้างสรรค์ในมุมมองใหม่ ผ่านการจัดการพื้นที่และบริการของห้องสมุด ให้เป็นมากกว่าพื้นที่แห่งการเรียนรู้ กับคอร์ส ‘Library Management การบริหารห้องสมุดและออกแบบบริการ กรณีศึกษาห้องสมุด TCDC’ ที่เปิดให้เรียนออนไลน์ฟรีผ่านเว็บไซต์ ‘CEA Online Academy’ ภายในคอร์สประกอบด้วย 5 ตอน ภายในเวลา 28 นาที ได้แก่ EP.01 : 01:00 ห้องสมุด พื้นที่ที่มากกว่าการนั่งอ่าน EP.02 : 04:00 Resource Development การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ EP.03 : 14:52 Space Design การออกแบบพื้นที่ห้องสมุด EP.04 : 21:05 Service Design for […]

เปิดแล้ว! ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ ห้องสมุดแห่งแรกในโครงการห้องสมุดประจำเมือง ที่ จ.สงขลา

ห้องสมุด คือวิธีการที่ดีที่สุดในการปลูกฝังให้คนรักการอ่าน เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องเสียเงินสักสตางค์ แถมยังมีหนังสือหลากหลายประเภทให้เลือกสรร ประเทศที่เจริญแล้วส่วนใหญ่ล้วนมีห้องสมุดกระจายตัวอยู่ทั่วมุมเมือง เพื่อที่คนทุกเพศทุกวัยจะได้มีที่พักผ่อนหย่อนใจ หาความรู้ หรือใช้ร่ำเรียน สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับห้องสมุดในประเทศไทยที่เราอยากนำเสนอคือ ที่จังหวัดสงขลา ได้มีเจ้าของบ้านโบราณอนุญาตให้ใช้งานและบูรณะโกดังข้าว ซึ่งเป็นอาคารหลังหนึ่งของเหล่าอาคารอนุรักษ์ในเมืองเก่าสงขลา เป็นห้องสมุดประจำเมือง ใช้ชื่อว่า ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ นับว่าเป็นห้องสมุดแห่งแรกภายใต้โครงการห้องสมุดประจำเมือง ที่ดำเนินงานโดย มูลนิธิวิชาหนังสือ สำนักพิมพ์ผีเสื้อ และได้รับการสนับสนุนโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และชาวสงขลา แม้รูปลักษณ์จะดูไม่เหมือนห้องสมุดอย่างที่เราคุ้นเคยนัก แต่ห้องสมุดแห่งนี้ก็มีพื้นที่ให้อ่านหนังสือหลากหลายมุม ทั้งยังมีบริการจัดหาหนังสือที่ผู้ใช้งานต้องการมาให้ รวมถึงจัดกิจกรรมตามความต้องการของประชาชน เพื่อเป็นไปตามเป้าหมายในการเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้าข้อมูล แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พบปะสังสรรค์ ตลอดจนรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น และองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในชุมชนให้เป็นหมวดหมู่และเป็นรูปธรรม หลังจากนี้จะมีห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่เกิดขึ้นที่ไหนอีก ชวนให้นักอ่านติดตามกันต่อไป เพราะในวันที่การซื้อหนังสือสักเล่มต้องเป็นเรื่องที่ใคร่ครวญซ้ำแล้วซ้ำเล่า การมีห้องสมุดเกิดใหม่ที่กระจายออกจากเมืองหลวงบ้าง ถือเป็นมูฟเมนต์เกี่ยวกับโครงสร้างการอ่านระดับชาติที่น่าสนับสนุน แวะไปเยี่ยมเยียนและอ่านหนังสือที่ ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ ได้ที่โกดังข้าว ย่านเมืองเก่า ถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา Source :Facebook […]

หนังสือราคาแพงขึ้น เราคิดไปเองหรือไม่

คุณคิดว่าเงิน 1,000 บาท ซื้อหนังสือได้กี่เล่ม มีความสุขตอนหยิบหนังสือลงตะกร้า มีน้ำตาตอนเห็นราคารวมที่ต้องจ่าย ชาวหนังสือใครเคยมีโมเมนต์นี้บ้าง ขอให้ยกมือขึ้น! เพราะทุกวันนี้หากกำเงินหนึ่งพันบาทเดินซื้อหนังสือที่ชื่นชอบสักสองสามเล่ม พอเห็นป้ายราคาอาจจะรู้สึกอยากปาดเหงื่อสักสี่ห้ารอบ ด้วยราคาหนังสือที่แพงมากขึ้นจากสมัยก่อนที่เคยมีราคาเฉลี่ยเล่มละ 100 – 200 บาท หนังสือการ์ตูนประมาณ 30 – 50 บาท แต่ปัจจุบันจากการสำรวจราคาหนังสือตามท้องตลาดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 200 – 400 บาท ยิ่งหนังสือการ์ตูนอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 80 – 100 บาท ส่วนหนังสือรูปแบบ E-Book ก็มีราคาไม่ได้ห่างจากหนังสือเล่มมากเท่าไหร่นัก ซึ่งสมัยนี้เงินหนึ่งพันบาทอาจจะได้หนังสือประมาณ 2 – 3 เล่ม หากถามว่าเราคิดไปเองหรือไม่ที่หนังสือแพงขึ้น ขอบอกว่าคุณไม่ได้คิดไปคนเดียวหรอก เพราะมันสูงกว่าเดิมจริงๆ ต้นทุนหนังสือสูงขึ้น รายได้คนอ่านก็สูงขึ้น (นิดหนึ่ง) สำหรับหนังสือนับว่าเป็นสินค้ารูปแบบหนึ่งที่มีการปรับราคาขึ้นลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งในยุคที่เกิดโรคระบาดและวิกฤตการเมืองในต่างประเทศ จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม หลายอุตสาหกรรมจึงต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นตามปัจจัยต่างๆ ซึ่งวงการสื่อสิ่งพิมพ์เองก็ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมกระดาษจนต้องขึ้นราคาไปตามๆ กัน ในมุมของผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างสำนักพิมพ์ ‘พ.ศ.พัฒนา’ ที่ให้สัมภาษณ์ในสื่อไทยรัฐ เผยว่า […]

ห้องสมุดเปิดใหม่ ‘ดาวอังคาร’ เปิดให้ซื้อ และยืม-คืนออนไลน์ ที่ร้านคาเฟ่ชาใจ จ.กำแพงเพชร

‘ห้องสมุด’ เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการปลูกฝังวัฒนธรรมรักการอ่านเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นใคร อายุเท่าไหร่ มีเงินมากหรือน้อย ก็มีสิทธิ์อ่านหนังสือเล่มเดียวกัน ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้นักอยากอ่านได้สำรวจลองอ่านหนังสือแนวใหม่ๆ ไปด้วย แน่นอนว่าหลายจังหวัดในประเทศไทยมีห้องสมุดของภาครัฐคอยให้บริการประชาชน ทว่าอาจจะด้วยภาพลักษณ์ห้องสมุดที่ดูเป็นพื้นที่ปิด หนังสือที่ไม่หลากหลาย หรือกระทั่งบริการการยืม-คืนที่ยุ่งยาก เลยทำให้หลายคนไม่กล้าใช้บริการหรือกระทั่งมองข้ามห้องสมุดไป เราจึงดีใจมากเมื่อเห็น ‘ห้องสมุดดาวอังคาร’ เกิดขึ้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ห้องสมุดแห่งนี้เป็นไอเดียของ ‘โอลีฟ’ ที่ต่อยอดจากโปรเจกต์เปิดให้คนทั่วไปยืมหนังสือของเธอในแอ็กเคานต์ทวิตเตอร์ @martianbooks ซึ่งเดิมทีตั้งใจจะเปิดเป็นร้านหนังสือออนไลน์ แต่ก็ทำเป็นห้องสมุดขึ้นมาก่อน โอลีฟเล่าว่าจากห้องสมุดออนไลน์ที่กลายเป็นห้องสมุดที่มีสถานที่เล็กๆ ให้ผู้คนมาเลือกสรรหนังสือบนชั้น และนั่งอ่านจริงๆ ได้นั้น เพราะเธอได้รับความร่วมมือจากเจ้าของร้านคาเฟ่ ‘ชาใจ’  “พอดีเราเพิ่งได้งานที่บริษัทสถาปนิกที่มีออฟฟิศอยู่ข้างบนร้านกาแฟ แล้วเห็นว่ามีห้องว่างๆ ที่เจ้าของเขาไม่ได้ใช้ เลยไปขอวางหนังสือ โชคดีที่ตัวเจ้าของร้านเองก็เคยทำโครงการรับบริจาคหนังสือเพื่อรับส่วนลดขนม-เครื่องดื่มอยู่แล้ว เลยเป็นไปอย่างราบรื่น” ด้วยความที่อยู่กำแพงเพชรมาตั้งแต่เด็ก ทำให้โอลีฟสังเกตเห็นว่าที่นี่มีห้องสมุดและร้านหนังสือค่อนข้างน้อย ในบรรดาร้านหนังสืออิสระที่มีก็เป็นร้านหนังสือเน้นจำหน่ายแบบเรียนซะส่วนใหญ่ เพราะเหตุนี้จึงทำให้หนังสือกว่าหลายร้อยเล่มในห้องสมุดดาวอังคารเน้นหนักไปทางวรรณกรรม โดยแบ่งออกเป็นหมวดย่อยๆ ได้แก่ หนังสือทำมือของนักเขียนอิสระ วรรณกรรมไทย วรรณกรรมแปล วรรณกรรมเยาวชน และกราฟิกโนเวล ส่วนสารคดีจะยังมีไม่มากนัก  ส่วนระบบการยืม-คืนของห้องสมุดแห่งนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ใดเป็นพิเศษ ไม่แม้แต่ต้องเสียค่ามัดจำหรือค่ายืมหนังสือด้วยซ้ำ แต่จะมีเป็นบัญชีสำหรับให้บริจาคบริการค่าส่งหนังสือตามความสมัครใจ  “พี่ร้านกาแฟบอกว่าพอเอาหนังสือมาลง และทำคอนเทนต์เกี่ยวกับส่วนห้องสมุดเยอะๆ ก็มีน้องๆ จากราชภัฏฯ เดินถือหนังสือมาอ่านในร้าน หรือแค่เราเห็นคนนั่งในโซนห้องสมุด […]

Baan Plan Cafe คาเฟ่ห้องสมุดย่านสาทร ที่อยากเป็นจุดหยุดพักให้คนเมือง

ทุกวันนี้ห้องสมุดในกรุงเทพฯ พอมีให้เห็นมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่ที่จะเข้าไปใช้บริการได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลถึงกฎระเบียบต่างๆ เดินทางง่าย และมีบรรยากาศเป็นกันเอง ร่มรื่น ชวนให้รู้สึกรื่นรมย์ กลับมีจำนวนแทบนับนิ้วได้ หนึ่งในนั้นคือ ห้องสมุดประชาชนแสงอรุณ ที่ตอนนี้กลายมาเป็น บ้านแปลนคาเฟ่ คาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ในสาทร ซอย 10 ที่นับว่าเป็นย่านสำคัญทางธุรกิจของกรุงเทพฯ ทุกครั้งที่นึกถึงสาทร เรามักเห็นภาพรถติด คนทำงานเดินขวักไขว่ ตึกระฟ้ามากมาย  ทว่าเมื่อได้เดินเข้ามาในสาทร ซอย 10 และพบกับ บ้านแปลนคาเฟ่ ที่มีความร่มรื่นจากแมกไม้ใหญ่ และพื้นที่ที่ออกแบบเน้นไปทางเรียบง่าย โปร่งโล่ง ทำให้รู้สึกเหมือนได้หยุดพักจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ไหนจะยังมีชั้นหนังสือเรียงรายให้ใช้บริการฟรี  สำหรับเราที่เป็นคนรักหนังสือและชอบบรรยากาศของคาเฟ่ บอกได้เลยว่าที่นี่คือสถานที่ชุบชูใจชั้นดี ห้องสมุดประชาชนที่กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แม้ตัวคาเฟ่ห้องสมุดแห่งนี้จะเพิ่งเปิดได้ประมาณ 2 ปี แต่ใครที่รู้สึกคุ้นชื่อ ‘บ้านแปลน’ เป็นพิเศษก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะที่นี่คือส่วนหนึ่งของ ‘แปลน’ กลุ่มคนจากประวัติศาสตร์ทางการเมืองเมื่อช่วงปี 2516 ที่รวมตัวกันก่อตั้งธุรกิจด้านการออกแบบหลากหลายแขนง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีคุณภาพ เอ-ศิริวรรณ เจือแก้ว สถาปนิกฝ่ายวิจัยและพัฒนา ของบริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด ผู้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการบ้านแปลนคาเฟ่ เล่าให้เราฟังถึงอดีตของร้านว่า […]

สมจริงเหมือนยกหอสมุดมาไว้ใน The Sims 4 โหลดฟรี ม็อดหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ฝีมือนักศึกษาฝึกงานราชภัฏวไลยอลงกรณ์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เป็นหนึ่งในบรรดาหอสมุดที่นับว่าสวยงามและมีทรัพยากรหลากหลายน่าใช้งานมาก ใครที่เป็นสาวกห้องสมุดน่าจะถูกใจหอสมุดแห่งนี้ไม่น้อย แต่สำหรับใครที่เดินทางมาหอสมุดฯ ไม่สะดวกหรือคิดถึงความหลังเมื่อครั้งเคยมาอ่านหนังสือและทำงานที่นี่ ก็ไปเยือนหอสมุดปรีดีฯ ในรูปแบบเกม The Sims 4 ก่อนได้ แค่โหลดของเสริมเกมหรือที่เรียกสั้นๆ ว่าม็อด (มาจากคำว่า Modification) ที่คนทั่วไปสร้างสรรค์เสื้อผ้าตัวละครหรือสถานที่ได้เอง ซึ่งขอบอกว่าม็อดหอสมุดปรีดีฯ นี้มีรายละเอียดครบสุดๆ เหลือแค่เร่งแอร์ให้หนาวเหมือนอยู่หอสมุดฯ อีกนิดเป็นอันใช้ได้ ม็อดหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ออกแบบโดย นางสาวรัชฎาภรณ์ ธัญญเจริญ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นักศึกษาฝึกงานที่หอสมุดปรีดีฯ ทำให้สถานที่มีความสมจริง ละเอียดทุกซอกทุกมุม ตั้งแต่ชั้นใต้ดินทั้ง 3 ชั้น มุมยืม-คืนหนังสือ ชั้นหนังสือไทยและต่างประเทศ ห้องนิทรรศการประจำหอสมุดอย่าง ห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์, มุมป๋วย เพื่ออุษาคเนย์และอาเซียน, ห้องหนังสือหายาก ฯลฯ ไปจนถึงโต๊ะ-เก้าอี้ที่มีรูปทรงหลากหลาย นอกจากนี้ ในม็อดหอสมุดฯ ยังมีกิมมิกสนุกๆ เป็น QR Code ให้ผู้เล่นออกตามหาและสแกนดูข้อมูลที่น่าสนใจ […]

Jim Thompson Art Center จากพิพิธภัณฑ์ผ้าไทย สู่สเปซใกล้สยามฯ ที่รวมห้องสมุด คาเฟ่ และแกลเลอรีไว้ด้วยกัน

ปทุมวันน่าจะเป็นย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่มีคนเลือกเป็นจุดหมายปลายทางในการนัดพบ แลกเปลี่ยนบทสนทนา และใช้เวลาผ่อนคลายมากที่สุด นั่นเป็นเพราะย่านนี้เป็นที่ตั้งของสยามและศูนย์การค้าที่อุดมไปด้วยร้านรวงมากมาย  แต่ขณะเดียวกันท่ามกลางบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยวิถีชีวิตแบบร่วมสมัยและความวุ่นวายใจกลางเมือง ยังมีพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน อาคารทรงเรือนไทยที่รายล้อมไปด้วยสวนเขียวขจีซ่อนตัวอยู่ในซอยเกษมสันต์ 2 ซึ่งนอกจากประวัติศาสตร์และของสะสมเก่าแก่ของจิม ทอมป์สัน ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมผ้าไหมไทยแล้ว ที่นี่ยังติดท็อป 2 ในบรรดาสถานที่ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวมากที่สุดรองจากวัดพระแก้วด้วย ถึงจะเป็นสถานที่ที่มีความน่าสนใจ แต่ด้วยองค์ประกอบทั้งหลายนี้ย่อมสร้างภาพจำให้คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยคิดว่าตัวเองไม่เหมาะกับที่นี่ ขนาดเราที่อาศัยอยู่ย่านนี้มานานหลายปีก็ไม่เคยคิดมาเยือน เพราะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว จนเมื่อช่วงปลายปี 2021 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวหอศิลป์ Jim Thompson Art Center (JTAC) ขึ้นในบริเวณใกล้เคียงพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน เป็นตึกสูง 4 ชั้นบนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยครบครันตั้งแต่ลานจอดรถ คาเฟ่ ห้องสมุด อาร์ตช็อป แกลเลอรี ไปจนถึงพื้นที่จัดกิจกรรม เพื่อตอบโจทย์ในการเป็นแหล่งความรู้และจุดพบปะของผู้คนที่สนใจศิลปะ ทำเอาเราต้องติดต่อขอพูดคุยถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับผู้อำนวยการหอศิลป์ ‘เจี๊ยบ-กฤติยา กาวีวงศ์’ ภายในหอศิลป์มีอะไรบ้าง ความตั้งใจและหมุดหมายของการขยับขยายเขตแดนทางศิลปะร่วมสมัยครั้งนี้คืออะไร เรามาทัวร์พื้นที่ทางศิลปะแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ไปพร้อมๆ กัน เพิ่มโอกาสด้วยการสร้างพื้นที่แห่งใหม่ ก่อนทัวร์หอศิลป์ Jim Thompson […]

Beijing’s Sub-Center Library ห้องสมุดใหม่ในปักกิ่งที่ร่มรื่น เหมือนได้อ่านหนังสือในป่าแปะก๊วย

ในขณะที่ประเทศไทยยังต้องเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาสนับสนุนวงการหนังสือ ร้านหนังสือ และห้องสมุดกัน ตัดภาพไปที่ประเทศอื่นๆ ที่นอกจากส่งเสริมนโยบายเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์อย่างเข้มแข็งแล้ว ยังสร้างห้องสมุดใหม่ๆ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนกันมากขึ้น แค่มีห้องสมุดเกิดขึ้นไม่พอ ถ้าติดตามข่าวสารแวดวงนี้บ่อยๆ จะพบว่าเหล่าห้องสมุดเกิดใหม่ในประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนได้รับการออกแบบอย่างดี ตอบโจทย์ทั้งความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานของผู้คน ในระดับที่เป็นแลนด์มาร์กของประเทศได้เลย ประเทศจีนเองก็เป็นประเทศหนึ่งในประเทศที่มีห้องสมุดขนาดใหญ่และเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของประเทศ  ล่าสุดที่กรุงปักกิ่งเพิ่งจะเปิดตัวแบบของห้องสมุดชุมชนขนาดใหญ่แห่งใหม่ในเขตชานเมือง ในชื่อ Beijing’s Sub-Center Library ซึ่งออกแบบโดย Snøhetta บริษัทสถาปนิกระดับโลกจากนอร์เวย์ ห้องสมุดแห่งนี้ออกแบบเป็นโครงสร้างปิดด้วยกระจกสูง 16 เมตร และยังเป็นอาคารกระจกหลังแรกในประเทศจีนที่รองรับน้ำหนักของตัวเองได้ ภายในอาคารมีเสาคล้ายต้นไม้รองรับหลังคาให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในป่าต้นแปะก๊วย (Ginkgo biloba) ซึ่งเป็นต้นไม้อายุกว่าสามร้อยล้านปีที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พบได้ทั่วไปทั้งริมถนนและสวนสาธารณะในประเทศจีน  สตูดิโอ Snøhetta เล่าว่าพื้นที่ภูมิทัศน์ที่ออกแบบมีลักษณะเป็นขั้นบันได เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเหมือนต้นไม้ที่เชิญชวนให้ผู้คนนั่งลงและหยุดพักระหว่างเดินผ่าน เป็นการสร้างพื้นที่เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบายๆ ในการอ่าน และใส่แนวคิดที่ทำให้รู้สึกเหมือนได้นั่งอ่านหนังสือเล่มโปรดใต้ต้นไม้เข้าไป เสาของอาคารแต่ละต้นยังติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ประสิทธิภาพด้านเสียง และการกำจัดน้ำฝนของห้องสมุด ส่วนแถวของคอลเลกชันหนังสือ พื้นที่อ่านหนังสือ และอัฒจันทร์ขนาดใหญ่จะสร้างขึ้นด้านในและรอบๆ ช่องทางเดิน ให้ออกมาเป็นพื้นที่คล้ายหุบเขาในห้องสมุด เหมือนได้เดินอยู่ในหุบเขาที่มีต้นแปะก๊วยปกคลุม อีกความเจ๋งของห้องสมุดนี้คือ หลังคาอาคารที่ได้รับการติดตั้งด้วยระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์แบบบูรณาการ ซึ่งจะให้พลังงานหมุนเวียนแก่ตัวห้องสมุดและช่วยประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารได้ ส่วนหลังคาใบแปะก๊วยที่ยื่นออกไปนอกตัวอาคารยังช่วยลดแสงที่ส่องเข้ามาในอาคารได้อีกด้วย  ห้องสมุดใหม่ในกรุงปักกิ่งแห่งนี้ได้เริ่มดำเนินการสร้างแล้วและคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2022 นี้ ชาวนักอ่านและนักเดินทางที่ชื่นชอบห้องสมุดต้องอย่าพลาดเชียว […]

สำรวจสถานการณ์บ้านเมือง ผ่านเสียงคนทำสิ่งพิมพ์ Bangkok Art Book Fair 2021

หลังจากที่กรุงเทพฯ ห่างหายจากการเป็นเมืองอีเวนต์มาเนิ่นนานจากโรคระบาดที่กินเวลาเป็นหลักปี จนมาถึงช่วงนี้ที่กลับมาเปิดเมืองอีกครั้ง งานต่างๆ ก็เริ่มทยอยกลับมาจัดกันอย่างคึกคัก หนึ่งในนั้นคือเทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Art Book Fair (BKKABF 2021) ที่เราแสนคิดถึง เมื่อวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา BKKABF 2021 ได้กลับมาจัดแบบออนไซต์แล้วหลังจากย้ายไปจัดบนแพลตฟอร์มออนไลน์เมื่อปีก่อน ครั้งนี้ถือเป็นปีที่ 4 แล้วที่เทศกาลหนังสือศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในไทยจัดงานต่อเนื่องกันมา  นอกจากจะแปลกตากับการขยายพื้นที่จัดงานไปสู่ด้านนอกอาคารของสถานที่จัดงานอย่าง Bangkok CityCity Gallery แล้ว ในงานยังอบอวลไปด้วยสถานการณ์การเมืองภายใต้ธีม ‘DON’T KEEP YOUR DREAM AT HOME’ ที่ทางแกลเลอรีมอบพื้นที่ให้ Exhibitor ตั้งคำถามและท้าทายประเด็นร่วมสมัยต่างๆ ทั้งเชิงสังคมและการเมือง ส่วนใครที่พลาดโอกาสไป ไม่ต้องเสียดาย เราไปทัวร์และคัด 5 เรื่องที่น่าสนใจมาให้ทุกคนเที่ยวทิพย์แล้ว ปีหน้าอย่าลืมปักหมุดมาเจอกันนะ! 1. ซัปพอร์ตสิ่งพิมพ์เพื่อประชาธิปไตย What is happening in Thailand Illustration […]

รีโนเวต หอสมุดวังท่าพระ 57 ปี ให้เชื่อมบริบทท่าช้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะกับโบราณคดี

ห้องสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากรในความทรงจำคุณเป็นแบบไหน? หากคุณเป็นชาวศิลปากร อาจจดจำภาพห้องสมุดเล็กๆ ที่นักศึกษาล้อมวงแน่นรอบโต๊ะ เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยจอแจ ซึ่งบ่อยครั้งต้องแย่งชิงที่นั่ง และต่อคิวยืมหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ถ้าคุณเป็นผู้แวะเวียนมาใช้บริการเป็นครั้งคราว อาจพบว่าที่นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือศิลปะ งานดีไซน์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเต็มไปด้วยมนตร์ขลังของบรรยากาศเก่าแก่ ไม่ว่าภาพจำจะเป็นแบบไหน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ห้องสุดเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก่อนเป็น ‘หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ห้องสมุดแห่งนี้เคยเปิดทำการครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2507 โดยตั้งอยู่ภายในอาคารบริเวณหลังลานอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อนย้ายมาสร้างด้านหน้าสำนักงานอธิการบดีเมื่อปี 2518 จนถึงปัจจุบัน เดิมทีออกแบบโดย ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยา รัตนพฤกษ์’ เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เริ่มต้นไว้อย่างดี แต่ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ตามกาลเวลา โดยไม่ได้มีแผนการพัฒนาชัดเจน จึงทำให้ภาพรวมการขยับขยายพื้นที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ  ในปี 2558 นับตั้งแต่เริ่มโครงการปรับปรุงวิทยาเขตวังท่าพระของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทั้ง 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหอสมุดเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพล จั่นเงิน’ หรือ ‘อาจารย์โอ๊ต’ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ออกแบบหอสมุดวังท่าพระเวอร์ชันล่าสุด จึงตั้งใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้อาคารหอสมุดมีภาพลักษณ์และภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น […]

งานขายหนังสือมือสองประจำปีของห้องสมุด Neilson Hays 30 ต.ค. – 7 พ.ย. 64

ใครเป็นแฟนหนังสือมือสองเตรียมเงินเอาไว้ให้ดี เพราะตอนนี้งานขายหนังสือมือสองประจำปีของห้องสมุด Neilson Hays กลับมาแล้ว  หลังจากคลายล็อกดาวน์แล้ว ตอนนี้ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ก็พร้อมกลับมาเปิดให้บริการตามปกติ และกลับมาจัดงานขายหนังสือมือสองประจำปีอีกครั้ง โดยจะเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม ถึง วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9:30 – 16:00 น. (ปิดวันจันทร์ที่ 1 พ.ย.) งานนี้มีทั้งหนังสือนิยาย หนังสือสารคดีอ้างอิงจากเรื่องจริง นิยายวิทยาศาสตร์ หนังระทึกสยองขวัญใหม่ล่าสุด ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และหนังสือเด็ก ซึ่งมีทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ตลอดจนหนังสือที่คัดสรรเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นหนังสือที่ผู้มีอุปการคุณบริจาคให้กับห้องสมุด และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากหนังสือของทางห้องสมุดเองที่หมดวาระการใช้งานแล้ว ซึ่งบางเล่มเป็นหนังสือหายากและล้วนผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี ราคาหนังสือก็น่ารักมากๆ เริ่มต้นแค่เพียง 20 บาทเท่านั้น ใครเป็นสายคุ้ย สายรื้อ และคิดถึงการซื้อหนังสือในกองต้องลองมารื้อที่เนียลสัน เฮส์กันสักครั้ง ที่พิเศษสุดในปีนี้คือ ทางห้องสมุดได้รับบริจาคซีดีและดีวีดีเพลงคลาสสิกเป็นคอลเลกชันจากนักวิจารณ์ดนตรีคลาสสิกที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มาเป็นเวลานาน จึงมีการนำซีดีชุดนี้ออกมาจำหน่ายในงานขายหนังสือในปีนี้ด้วย สามารถขอดูรายชื่อซีดี 3,000 กว่าแผ่นได้ที่ [email protected] […]

10 ห้องสมุดทั่วกรุงเทพฯ ที่น่าไปอ่านหนังสือช่วงวันหยุด

วันหยุดแล้วไปหาที่นั่งอ่านหนังสือด้วยกันไหม? หากใครอยากออกจากบ้านหรือหาที่พักผ่อน แต่ยังต้องการความสงบและไม่อยากไปสถานที่คนพลุกพล่าน คอลัมน์ Urban Guide จะพาไปปักหมุดและสำรวจห้องสมุดกรุงเทพฯ เพื่อหาที่เงียบๆ อ่านหนังสือกัน เดี๋ยวนี้ห้องสมุดหลายที่ไม่ได้มีแค่โซนอ่านหนังสือเท่านั้น แต่ยังมีโซนคาเฟ่ โซนพักผ่อน จะนั่งดูหนัง หรือฟังเพลงเงียบๆ คนเดียวก็ได้ หรือจะหาที่นั่งทำงานเปลี่ยนบรรยากาศ Work From Home ก็มีตัวเลือกหลากหลายเช่นกัน บางที่ก็เพิ่งรีโนเวตใหม่สดๆ ร้อนๆ มีทั้งห้องสมุดดีไซน์ ห้องสมุดศิลปะ ห้องสมุดหนังสือต่างประเทศ หรือห้องสมุดเด็กสำหรับคนที่อยากพาลูกหลานออกไปเปลี่ยนบรรยากาศนอกบ้าน ใครอยู่ย่านไหนก็ลองหาห้องสมุดใกล้บ้านได้ในย่านนี้ เราบอกพิกัดทั้ง 10 ที่ไว้ให้หมดแล้ว 01 | ดรุณบรรณาลัย ห้องสมุดเด็กปฐมวัย บ้านโบราณสีเขียวอ่อน 2 ชั้นที่มีบันไดสายรุ้งในย่านเจริญกรุงหลังนี้ คือห้องสมุดที่เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ที่นี่คือห้องสมุดสำหรับเด็กปฐมวัยแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการเด็กปฐมวัยและกลุ่มพิเศษของสถาบันราชานุกูล  ภายในห้องสมุดมีพื้นที่กว้างขวาง หนังสือภาพและนิทานสำหรับเด็กถูกจัดวางไว้ตามชั้นต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ ส่วนภายนอกก็มีสนามหญ้าขนาดกลางที่ร่มรื่นและดูอบอุ่น สำหรับจัดกิจกรรมให้เด็กๆ อย่างเช่น การอ่านหนังสือนิทาน […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.