‘Masuku Daily’ หน้ากากอนามัยใช้แล้วทิ้ง ทำจากวัสดุชีวภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ ย่อยสลายได้ภายใน 4 สัปดาห์

ในวันที่ทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับโรคระบาด ‘หน้ากากอนามัย’ กลายเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ป้องกันที่ขาดไม่ได้ยามต้องออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่รู้หรือไม่ว่า ในขณะเดียวกัน ทุกๆ 1 นาที หน้ากากอนามัยนี้ก็กลายเป็นขยะกว่า 3 ล้านชิ้น ที่แต่ละชิ้นใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 450 ปี ด้วยเหตุนี้ ‘Masuku’ แบรนด์ผู้ผลิตหน้ากากอนามัยที่มองเห็นถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้น จึงลงมือวิจัยถึงความเป็นไปได้ในการลดปริมาณขยะมาตลอด 3 ปี จนออกมาเป็น ‘Masuku Daily’ หน้ากากอนามัยใช้แล้วทิ้งที่สามารถย่อยสลายได้จริง เมื่อหน้ากากอนามัยในท้องตลาดเสื่อมสภาพลง หลายๆ ชิ้นล้วนแล้วแต่ทิ้งไมโครพลาสติกเอาไว้เบื้องหลัง แตกต่างจาก Masuku Daily ที่เลือกใช้วัสดุชีวภาพอย่างเซลลูโลสที่ย่อยสลายและคืนสู่ดินได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในการผลิต โดยหน้ากากจากเส้นใยนาโนชีวภาพที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของ Masuku และสายคล้องหูสีส้มจากยางธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ถูกห่อหุ้มไว้ด้วยเส้นด้ายที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จะสามารถย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมักในระยะเวลาเพียง 4 สัปดาห์ ไม่ว่าจะอยู่ในน้ำ ดิน หรือรวมอยู่ในถังหมักเศษอาหารในครัวเรือนก็ตาม นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังมั่นใจได้ว่า Masuku Daily จะสวมใส่สบาย และป้องกันเชื้อโรคได้ไม่ต่างจากแบรนด์หน้ากากพลาสติกมาตรฐานแบบใช้ครั้งเดียวอื่นๆ ในท้องตลาด ใครสนใจอยากลองใส่หน้ากากอนามัย Masuku Daily […]

เซนเซอร์ติดหน้ากากอนามัย FaceBit วัดชีพจร ช่วยเช็กรอยรั่วที่หน้ากาก และรายงานผลสุขภาพผ่านแอปพลิเคชัน

ตั้งแต่โลกนี้มีโควิด-19 นวัตกรรมเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยก็พัฒนาให้ล้ำได้อย่างไม่รู้จบ เพราะทุกวันนี้หน้ากากอนามัยแทบจะกลายเป็นอวัยวะใหม่ของร่างกายไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ต้องใส่หน้ากากนานถึง 12 ชั่วโมง/วัน นอกจากจะใส่ในชีวิตประจำวัน ยังต้องใส่ทำงานและป้องกันการรับไวรัสโดยตรงอีกด้วย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหน้ากากที่เราใช้อยู่ป้องกันไวรัสได้ดีแค่ไหน? เทคโนโลยีล่าสุดของการตรวจวัดข้อมูลสุขภาพไม่ได้อยู่แค่รูปแบบนาฬิกา (Fitness Tracker) อีกต่อไป แต่นักวิจัยจาก Illinois’ Northwestern University ได้คิดค้นอุปกรณ์ต้นแบบตัวใหม่ในชื่อ ‘FaceBit’ มีฟังก์ชันคล้ายกับ Fitbit แต่เป็นเซนเซอร์ขนาดเล็กใช้สำหรับติดบนหน้ากากอนามัยทุกประเภท เซนเซอร์อัจฉริยะ FaceBit ตัวนี้มีขนาดเท่าเหรียญ 25 เซ็นต์เท่านั้น สามารถติดไว้ข้างในหน้ากากประเภทไหนก็ได้ด้วยแม่เหล็กขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็น หน้ากาก N95, หน้ากากผ้า, หรือหน้ากากทางการแพทย์  เซนเซอร์ FaceBit ตัวนี้ สามารถจับลมหายใจได้ มีฟังก์ชันในการวัดสัญญาณชีพจร สามารถคำนวณอัตราการหายใจ วัดอัตราการเต้นของหัวใจจากการขยับศีรษะที่สอดคล้องกับจังหวะหัวใจ และตรวจสอบได้ว่ามีรอยรั่วบนหน้ากากหรือไม่ เพื่อช่วยในการป้องกันไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เซนเซอร์นี้ยังใช้แบตเตอรี่เสริมด้วยระบบ Onboard ที่รวบรวมพลังงานมาจากการเคลื่อนไหว แสง ความร้อน และแรงจากลมหายใจในขณะที่เราสวมใส่ ทำให้แบตเตอรี่อึดมากๆ อยู่ได้ราว 11 วัน ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง […]

อังกฤษเปิดตัวแคมเปญ ‘Retask the Mask’ เปลี่ยนหน้ากากอนามัยใช้แล้วเป็นที่คีบขยะ

ตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 ‘หน้ากากอนามัย’ ก็กลายมาเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของมนุษย์ไปโดยปริยาย เมื่อความต้องการเพิ่มมากขึ้น แน่นอนว่าผลที่ตามมาคือขยะจากหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งกว่า 129 พันล้านชิ้นต่อเดือน แถมเมื่อปีที่แล้วยังพบเป็นขยะลอยอยู่ในทะเลกว่า 1.5 พันล้านชิ้นอีกด้วย Waterhaul องค์กรเพื่อสังคมในอังกฤษ จึงคิดแคมเปญรักษ์โลกที่ชื่อว่า ‘Retask the Mask’ ขึ้นมา พวกเขาจะนำหน้ากากอนามัยใช้แล้วเข้าเตาหลอม เพื่อฆ่าเชื้อและทำให้หน้ากากอนามัย 6,000 ชิ้นกลายเป็นก้อนเดียวกันในแผนกปลอดเชื้อ โรงพยาบาล Royal Cornwall ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส จากนั้นก็จะผลิตเป็นเม็ดพลาสติก แล้วนำเข้าแม่พิมพ์ ขึ้นรูปเป็นที่คีบขยะ  เพียง 5 ชั่วโมงหลังการเปิดตัว แคมเปญนี้ก็ได้รับเสียงชื่นชมว่าเป็นแนวคิดการรีไซเคิลที่ฉลาด เพราะจากขยะหลายพันล้านชิ้น กลายมาเป็นอุปกรณ์ช่วยกำจัดขยะ ที่สร้างประโยชน์ให้โลกต่อไป  ผู้ที่สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3xoJPRI  Sources :Kickstarter | https://bit.ly/3xoJPRI Waste-Ed | https://bit.ly/32USZaD 

หน้ากากอนามัย ถูกทอดทิ้ง

หน้ากากอนามัย ที่ใช้แล้วทิ้ง ชวนให้นึกถึงประโยค “เสร็จแล้วก็ทิ้งกันอย่างไม่ไยดี” พวกมัน ‘ถูกถอดทิ้ง’ และ ‘ถูกทอดทิ้ง’ ไว้แทบทุกที่ที่สามารถย่ำเท้าเข้าไปถึง บางชิ้นหล่นร่วงข้างทาง บ้างติดอยู่ที่พุ่มไม้สวยบนเกาะกลางถนน กลายเป็นขยะที่ยิ่งกว่าขยะ เพราะมีเชื้อโรคมากมายฝังตัวอยู่  หลายคนอาจไม่ได้ตั้งใจทิ้งหน้ากากอนามัย มีเผลอทำหล่นหรือลมพัดปลิวหายบ้าง และแน่นอนว่ายังมีคนที่ตั้งใจทิ้งขว้างอย่างไม่ใส่ใจอยู่เช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่ถูกถอดทิ้งก็ควรได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ภาพถ่ายชุดนี้จึงเต็มไปด้วยความตั้งใจที่อยากลบความรู้สึกคุ้นชินเมื่อเห็นหน้ากากอนามัยถูกถอดทิ้งนอกถังขยะ และอยากสะกิดใจผู้ใช้งานให้นึกถึงผู้เก็บขยะที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคบ้างสักนิดก็ยังดี สวัสดีจำเราได้มั้ย เราที่เคยต้องการมากๆ ไง ตอนนั้นเรากล่องละ 800 บาทเลยนะ ตอนนี้ถูกทอดทิ้งเหมือนไม่มีค่าเลย ทิ้งไว้คนเดียวแบบนี้มันหนาวนะ จะทิ้งทั้งทีก็ทำให้มันดีๆ หน่อย หรือบางทีเธออาจลืมไป ลืมว่าเราใช้ซ้ำได้ ลืมไว้กับโพยหวย ลืมไว้กลางเศษแก้ว ตอนนี้ยัง Move on ไม่ได้เลย ถูกทิ้งแล้วยังถูกเหยียบซ้ำอีก นอยด์แล้ว เลิกใจร้ายได้แล้ว เราอยาก Move on

นักศึกษา USA ทำมาสก์ให้คนหูหนวกและหูตึงสามารถอ่านปากได้

คนหูหนวกและหูตึงต้องอาศัยการอ่านรูปปากเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น หมายความว่าในท้องตลาดไม่มีหน้ากากอนามัยที่ตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นักศึกษาจาก USA ผุดไอเดียเพื่อช่วยเหลือสังคม

Mask Map Thailand ชี้พิกัดหน้ากากอนามัย

หลายคนเป็นกังวลที่จะต้องออกไปไหนมาไหน เพราะต้องเจอทั้งฝุ่นทั้งโรคระบาด แถมหน้ากากอนามัยยังหาซื้อยาก จนแทบจะเรียกว่าพลิกแผ่นดินหา เราจึงมีเครื่องมือใหม่มาแนะนำเพื่อเพิ่มความอุ่นใจในช่วงนี้ นั่นคือ ‘Mask Map Thai’ เว็บไซต์โดยคนไทยที่ช่วยให้คุณ หาซื้อหน้ากากอนามัยได้ง่ายขึ้น

ส่องมาตรการ ‘ไต้หวัน’ สู้ COVID – 19 ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงหน้ากากอนามัยอย่างเท่าเทียม

ตอนนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัยอย่างหนัก ถึงแม้ภาครัฐจะพยายามแก้ไขปัญหาแต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นผลเท่าไหร่นัก ไม่รู้เป็นเพราะผลิตไม่ทันหรือมีใครแอบกักตุนไว้เพื่อเอาไปขายเก็งกำไรก็ไม่แน่ใจ ปัญหานี้ไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศในแทบเอเชียก็ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส COVID – 19 ไปตามๆ กัน แต่สิ่งหนึ่งที่หลายประเทศแตกต่างจากเราคือ เขามีมาตรการควบคุม เพื่อทำให้ประชาชนในประเทศได้รับหน้ากากอนามัยอย่างทั่วถึงและซื้อได้ในราคาที่เป็นธรรม | ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก WHO แต่มีระบบประกันสุขภาพที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก อย่าง ‘ไต้หวัน’  เพื่อนบ้านไม่ใกล้ไม่ไกล ก็มีสิ่งน่าสนใจ คือเขามีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติที่เข้มแข็งมากๆ เห็นได้จากที่นิตยสารและสำนักข่าวระดับโลก อย่าง The Economist และ Bloomberg ต่างเคยจัดอันดับดัชนีการเข้าถึงและประสิทธิภาพทางสาธารณสุขของไต้หวันเป็นอันดับต้นๆ ทั้งๆ ที่ไต้หวันไม่ได้เป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ด้วยซ้ำ โดย ‘ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ’ หรือ National Health Insurance (NHI) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ 1995 ภายใต้การบริหารงานของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ NHI เป็นระบบประกันสุขภาพกองทุนเดียว และผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ต้องสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสุขภาพร่วมกับรัฐบาล อัตราเงินสมทบอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.69 ของรายได้ ปัจจุบันการเข้าถึงการรักษาพยาบาลครอบคลุมจำนวนประชากรได้ถึง 99%  “ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของไต้หวันได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในระบบประกันสุขภาพที่ดีที่สุดในโลก เมื่อเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส COVID […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.