หลังกล้องของ ‘วิฬารปรัมปรา’ เพจหนังสั้นสยองขวัญที่ตั้งต้นจากแมว ความฝัน และความกลัวร่วมกันของคนในสังคม

[คำเตือน : ภาพประกอบในบทความมีความน่ากลัวและอาจสร้างความตกใจให้ผู้อ่าน] หากคุณเป็นทั้งทาสแมวและคนรักหนังสยองขวัญเป็นชีวิตจิตใจ วิฬารปรัมปรา คือเพจที่เหมาะสมกับคุณด้วยประการทั้งปวง เพราะเพจนี้เน้นทำหนังสั้นที่ส่วนใหญ่มีเจ้าแมว ‘วิฬาร’ เป็นตัวดำเนินเรื่อง พาไปสำรวจเรื่องลี้ลับที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวันของคนในสังคม และถึงแม้จะเป็นคลิปสั้นๆ ไม่กี่นาทีแต่ดูแล้วหลอนได้ใจ หลายคลิปของวิฬารปรัมปรากลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน อาจเพราะสะท้อนความกลัวที่หลายคนมีร่วมกัน ซึ่งความกลัวที่ว่านั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผีหรือสิ่งมีชีวิตประหลาด แต่เป็นความกลัวที่ถูกตีความในมิติที่มากกว่านั้น ไม่ว่าจะกลัวความจนและกลัวการสูญเสียคนรัก ในบ่ายที่เงียบเชียบวันนี้ เราชวน อี่-วรันย์ ศิริประชัย และ บอล-ประพนธ์ ตติยวรกุลวงษ์ มาบอกเล่าเรื่องราวหลังกล้องของหนังสั้นสยองขวัญของพวกเขา คุยกันตั้งแต่ไอเดียตั้งไข่กว่าจะเป็นหนังสักเรื่อง ไปจนถึงกระบวนการคิดมุกหลอกผีที่กลายเป็นไวรัล ฝัน, ผู้กำกับ แม้จะทำงานในแวดวงโฆษณามาหลายปี แต่จริงๆ ความฝันของวรันย์คือการเป็นผู้กำกับ “ตอนเด็กๆ เราชอบดูหนังจากวิดีโอ ชอบเข้าร้านเช่าหนัง ชอบดูหนังมากจนเก็บเอาไปฝันว่าเป็นผู้กำกับ ขึ้นเวทีได้รับรางวัลใหญ่” หญิงสาวนึกย้อนถึงอดีต แววตาเป็นประกาย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ทำตามความฝัน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในครอบครัวฐานะไม่ค่อยดีอย่างวรันย์ เธอเปรียบวัยเด็กของตัวเองว่าไม่ต่างจากหนังสั้นเรื่อง ‘หนีหนี้’ ที่เธอทำ เล่าเรื่องครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่พ่อแม่โดนเจ้าหนี้ไล่ตามอย่างน่ากลัว สิ่งที่แตกต่างกันคือชีวิตเธอไม่จบด้วยโศกนาฏกรรมแบบในหนัง วรันย์ไม่ได้ตายแบบลูกสาวในเรื่อง แต่เธอเติบโตมาพร้อมกับเส้นทางชีวิตที่ต้องหนีหนี้นอกระบบ เห็นพ่อแม่ทำงานหนักเพื่อใช้หนี้ และทำให้เธอจำเป็นต้องหันไปเรียนคณะบริหารธุรกิจที่มองว่าหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ และเก็บความฝันของการเป็นผู้กำกับลงในซอกหลืบลึกสุดในใจ วรันย์บอกว่า ของเล่นชิ้นเดียวที่ติดตัวเสมอไม่ว่าจะย้ายที่อยู่ไปไหนคือกล้องถ่ายหนังพลาสติกที่แม่ซื้อให้เป็นของขวัญ ระหว่างเรียนจนถึงจบการศึกษา […]

คุยกับเจ้าของเพจหนังผีสั้น ‘วิฬารปรัมปรา’

หากไถฟีดวิดีโอแล้วพบเจอกับหนังสั้นละครคุณธรรมมากมายนับไม่ถ้วน เดี๋ยวคนนั้นเป็นเจ้าของธุรกิจที เดี๋ยวคนนี้เป็นเจ้าของบริษัทบ้าง หากความจำเจนี้ทำให้คุณเบื่อหน่ายกับมัน เราขอพาทุกคนเปลี่ยนรสชาติเรื่องราวเหล่านี้ให้กระตุกต่อมความรู้สึก ‘กลัว’ มากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณธรรมที่เหล่าคนทำผิดต้องได้รับบทลงโทษผ่านเพจ ‘วิฬารปรัมปรา’ วิฬารปรัมปรา คือเพจแมวน้อยลึกลับที่มาพร้อมกับเรื่องเล่าสุดลี้ลับ แปรเปลี่ยนเรื่องราวเหล่านี้ให้กลายเป็นหนังสั้นและการ์ตูนสยองขวัญที่มักจะสะท้อนสังคม นำพาไปสู่การเรียนรู้ที่จะทำให้เห็นคุณค่าของชีวิตในแต่ละวันมากขึ้น ‘ความจริงแล้ว ฉันน่ะคือ…เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา!’ Urban Creature คุยกับ ‘อี่-วรันย์ ศิริประชัย’ เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา ครั้งแรกของการเปิดหน้าคนทำหนังสั้นบนโลกออนไลน์ ถึงแรงบันดาลใจจากละครคุณธรรมที่ยอดชมถล่มทลายไปถึงหนึ่งล้านวิว และมีการพูดถึงมากมายบนโลกออนไลน์ ติดตามเพจวิฬารปรัมปราได้ที่ : www.facebook.com/cattellsthetales

ชวนดู 5 ภาพยนตร์สั้นเทศกาล Five Films for Freedom สร้างมุมมองใหม่เข้าใจในความหลากหลายทางเพศ

แม้ว่าในประเทศไทยจะมีการตระหนักถึงเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้สิทธิต่อคู่ชีวิตเพศวิถีอื่นๆ และรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวอย่างเท่าเทียมในทุกเพศสภาวะ แต่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจเรื่องเพศเป็นอย่างดี การบอกเล่าเรื่องราวความหลากหลายทางเพศผ่านสื่อบันเทิงอย่างภาพยนตร์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักรู้ รวมถึงง่ายต่อการเข้าถึงของคนหลายๆ กลุ่ม คอลัมน์ Urban’s Pick ขอแนะนำ 5 ภาพยนตร์จากเทศกาลภาพยนตร์สั้นเพื่อความหลากหลายทางเพศ ‘Five Films for Freedom’ ที่จัดขึ้นโดย British Council ร่วมกับ BFI Flare เทศกาลภาพยนตร์ LGBTQIA+ จากสหราชอาณาจักร ที่ใช้ภาพยนตร์สั้นเรียกร้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเปิดให้ชมฟรีทางออนไลน์ทุกปี รับชม Five Films for Freedom เทศกาลภาพยนตร์สั้น LGBTQIA+ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 24 มีนาคม 2567 ผ่านทาง youtube.com/@britishartschannel/featured Little One (เจ้าตัวเล็ก)ความรักของครอบครัวที่ไม่ว่าใครเป็นเพศใดก็ตาม แอนิเมชันจากฟิลิปปินส์ ความยาว 9 นาที หนังสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่ไม่แน่ใจว่าเธอจะเลี้ยงลูกให้เติบโตอย่างไร หญิงสาวตัดสินใจไปสัมภาษณ์พ่อบุญธรรมของเธอที่เป็นเกย์ทั้งคู่ […]

ชมฟรี ‘Five Films for Freedom’ เทศกาลภาพยนตร์สั้น LGBTQIA+ ที่หอภาพยนตร์ 16 มี.ค. และทางออนไลน์

สื่อบันเทิงอย่างภาพยนตร์นั้นถือว่าเป็นตัวกลางที่ช่วยสร้างความรู้และความเข้าใจต่างๆ ให้กับสังคมได้ง่ายที่สุด เช่นเดียวกับเทศกาลภาพยนตร์สั้นเพื่อความหลากหลายทางเพศ ‘Five Films for Freedom’ ที่จัดขึ้นโดย British Council ร่วมกับ BFI Flare เทศกาลภาพยนตร์ LGBTQIA+ จากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ที่ใช้ภาพยนตร์สั้นเรียกร้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเปิดให้ชมฟรีทางออนไลน์ทุกๆ ปี ปีนี้ Five Films for Freedom กลับมาอีกครั้ง พร้อมเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 10 ด้วยการนำภาพยนตร์เข้ามาฉายที่หอภาพยนตร์ ให้ชาวไทยได้รับชมหนังสั้น 5 เรื่องจาก 5 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร อินเดีย สเปน ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา พร้อมกับอีก 1 ภาพยนตร์จากประเทศไทย รวมถึงวงเสวนาเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ในวันที่ 16 มีนาคม 2567 ที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) โดยภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่องนี้นำเสนอเรื่องราวของ LGBTQIA+ จากทั่วโลกที่ต้องพบเจอภายใต้สภาพสังคมและเรื่องราวอันโหดร้ายผ่านมุมมองของความแตกต่างทางเพศ […]

คุยเบื้องหลังหนังธีสิสเด็กฟิล์ม กับ ‘อาจารย์ญาณิน พงศ์สุวรรณ’

การจะทำหนังสักเรื่องให้ออกมามีคุณภาพ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับ นักแสดง คนเขียนบท ไปจนถึงทีมโปรดักชัน กระบวนการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจึงต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง แม้แต่หนังสั้นนักศึกษาของเอกภาพยนตร์ที่มีต้นทุนสูงขึ้นทุกปี Urban Creature ชวนมาสนทนาประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์ญาณิน พงศ์สุวรรณ’ อาจารย์เอกภาพยนตร์ คณะไอซีที ของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยพูดถึงเบื้องหลังการศึกษาหลักสูตรภาพยนตร์ ที่ไม่ใช่แค่สอนทำหนัง แต่ยังรวมถึงการบริหารจัดการกับทุนสร้างให้พอดีและสอดคล้องกับคุณภาพของหนังที่ฉาย โดยที่อาจารย์ไม่ต้องกำหนดขอบเขตความคิดของนักศึกษาเพื่อที่จะลดต้นทุนในการสร้างหนังสั้น ตามไปฟังเบื้องหลังการเรียนของเด็กฟิล์มในบทสัมภาษณ์นี้

สำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่าน 38 หนังสั้นในเทศกาล ‘หนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ วันที่ 15 – 18 ก.พ. 67 ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

กลับมาอีกครั้งสำหรับ ‘CCCL Film Festival 2024’ หรือ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ ที่ชวนทุกคนมาร่วมสำรวจเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบในพื้นที่ต่างๆ ทั่วเอเชีย ผ่านหนังสั้น 38 เรื่องที่คัดเลือกมาแล้วเน้นๆ จากทั้งหมด 383 เรื่อง จากจำนวนหนังที่ฉายแบ่งเป็นหนังสารคดี 19 เรื่อง และหนังประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่สารคดี 19 เรื่อง ซึ่งเป็นหนังสั้นสัญชาติไทยจำนวน 16 เรื่อง และหนังสั้นสัญชาติอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียอีก 22 เรื่อง เป้าหมายของการฉายหนังในเทศกาลฯ นี้เป็นไปเพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผู้คนและชุมชน รวมถึงนำเสนอแนวทางการแก้ไข ไปจนถึงการปรับตัวและรับมือต่อวิกฤตการณ์โลกรวน นอกจากภาพยนตร์ที่จัดฉายให้ดูกันแล้ว ทางเทศกาลฯ ยังมีการจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมชิงทุนสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์สั้น กิจกรรมพัฒนางานศิลปะของยุวทูต CCCL และกิจกรรมเสวนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาพยนตร์ ที่มุ่งสร้างความตระหนักรู้และแรงบันดาลใจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการรับมือต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ปี 2567 จะจัดฉายที่แรกในกรุงเทพฯ ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ วันที่ 15 – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ก่อนจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปยังจังหวัดเชียงราย น่าน […]

FYI

‘จิตวิญญาณที่ไม่หยุดนิ่ง’ หนังสั้นโฆษณาเรื่องใหม่ของ ‘บางจาก’ ที่เชื่อว่าเมื่อมีความมุ่งมั่น เราก็มีพลังสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ราว 5 ปีก่อน หลายคนอาจเคยดู ‘ความสุขที่ยั่งยืน คือกำไรที่มั่นคง’ หนังสั้นโฆษณาที่ผลิตขึ้นในวาระครบรอบ 35 ปีของบางจาก เล่าเรื่องนักธุรกิจใหญ่คนหนึ่งที่กำลังไปซื้อตึกแถวซึ่งเป็นร้านขายข้าวแกงชื่อ ‘สุขโภชนา’ แต่พอจะไปเจรจา แม่ค้าเจ้าของร้านก็บอกให้เขานั่งกินข้าวแกงราคา 35 บาทเสียก่อน ในมื้ออาหารนั้นเอง นักธุรกิจได้เรียนรู้ว่าข้าวแกงที่ราคาแสนถูกนั้นช่วยให้ลูกค้าประจำประหยัดได้แค่ไหน แถมป้าเจ้าของร้านยังมีสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับลูกค้าแต่ละคน สุดท้ายนักธุรกิจก็ล้มเลิกความคิดที่จะซื้อตึกนั้นไป หนังโฆษณาชุดข้าวแกงได้รับคำชมล้นหลาม หลายคนบอกว่าสร้างแรงบันดาลใจในการส่งต่อสิ่งดีๆ แถมยังมียอดผู้ชมมากกว่า 50 ล้านวิวในหลายประเทศอีกต่างหาก จึงไม่แปลกเลยที่หลายคนจะตั้งตารอหนังสั้นโฆษณาชุดใหม่จากบางจาก ซึ่งหลังจากรอมา 5 ปี บางจากก็คลอดหนังสั้นโฆษณาชุดใหม่ชื่อ ‘จิตวิญญาณที่ไม่หยุดนิ่ง’ (Regenerative Soul) ออกมาให้ได้รับชม เนื่องในโอกาสที่บางจากก้าวเข้าสู่ปีที่ 40 เป็นโอกาสดีของชาว Urban Creature เพราะวันนี้เราได้ตามติดมาดูหนังสั้นโฆษณาชุดนี้ในอีเวนต์เปิดตัวด้วย และหลังจากที่ได้รับชม พูดได้เลยว่าหนังสั้นชุดนี้น่าประทับใจไม่แพ้ชุดข้าวแกงเลยทีเดียว จิตวิญญาณที่ไม่หยุดนิ่ง (Regenerative Soul) คือหนังสั้นโฆษณาความยาวประมาณ 5 นาทีที่เล่าเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งผู้มีความฝันอยากสัมผัสแสงอาทิตย์ เพราะเขาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านกลางหุบเขาที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง แถมน้องสาวที่อยู่ด้วยกันยังป่วยกระเสาะกระแสะอีกต่างหาก เด็กชายจึงพยายามทำทุกวิถีทางให้ตนกับน้องสาวมีโอกาสได้อาบแสงอาทิตย์สักครั้ง โดยได้แรงช่วยเหลือจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหุบเขาเดียวกันนั้นเอง ไม่ขอสปอยล์ว่าสุดท้ายเด็กชายและชาวบ้านจะทำสำเร็จหรือไม่ แต่สิ่งที่เราประทับใจมากจากการรับชมหนังสั้นโฆษณาชุดจิตวิญญาณที่ไม่หยุดนิ่ง (Regenerative Soul) นอกจากโปรดักชันอลังการราวกับหนังฮอลลีวูด […]

กิจกรรม My Story, Our Story ฉายหนังจากกองทุน Netflix เพื่อความหลากหลายบนหน้าจอ

ในเดือนแห่งความหลากหลายนี้ นอกจากเรื่องเพศที่สังคมควรให้ความสำคัญและผลักดันอย่างเต็มที่แล้ว ภายใต้ร่มของความหลากหลายก็ยังมีมิติอื่นๆ ที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ สีผิว หรือความเชื่อ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา Netflix ได้จัดงานฉายภาพยนตร์ ‘My Story, Our Story’ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนผู้สร้างผลงานจากประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ไม่ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานของตัวเอง ให้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและร่วมเฉลิมฉลองการเล่าเรื่องที่แตกต่างหลากหลาย ภายในกิจกรรมมีการจัดฉายภาพยนตร์สั้นที่ได้รับการสนับสนุนและสร้างขึ้นจากกองทุน ‘Netflix Fund for Creative Equity’ ที่ทาง Netflix ลงทุนมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ตลอดระยะเวลา 5 ปี เพื่อปูเส้นทางให้แก่ผู้สร้างผลงานที่ไม่ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานของตัวเองทั่วโลก ภาพยนตร์ที่ฉายในงานมีทั้งหมด 3 เรื่อง ประกอบด้วย ‘Dear You’ (ประเทศไทย) โดย ‘เหมือนดาว กมลธรรม’ ที่เล่าเรื่องของแม่เลี้ยงเดี่ยวผู้ต่อสู้ดิ้นรนในช่วงโรคระบาด ‘Soul-Kadhi’ (ประเทศอินเดีย) โดย ‘Sameeha Sabnis’ ที่หยิบเอาความแฟนตาซีมาผสมกับดราม่า เพื่อสำรวจถึงเสรีภาพผ่านสายสัมพันธ์ของลูกสะใภ้และแม่สามี และ ‘Pao’s Forest’ (ประเทศเวียดนาม) โดย […]

ชมหนังสั้นประเด็นโลกร้อนจากทั่วโลกที่ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’18 – 19 ก.พ. 66 ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

ใครที่อยากเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น ชวนไปชมภาพยนตร์ประเด็นวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลากหลายรูปแบบที่ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 3’ หรือ ‘CCCL FILM FESTIVAL 2023’ ภายในงานมีโปรแกรมจัดฉายหนังทั้งหมด 40 เรื่องจาก 16 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วยหนังสั้นจากประเทศไทย 21 เรื่อง หนังสั้นจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 16 เรื่อง และหนังจากต่างประเทศ 3 เรื่อง ประกอบด้วยฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และแคนาดา ตัวอย่างโปรแกรมฉายที่น่าสนใจ ได้แก่ สารคดีสั้นที่ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 95 เรื่อง ‘Haulout’ โดย Maxim Chakilev และ Evgenia Arbugaeva, หนังสั้นสไตล์จัดจ้านจากเทศกาลโลการ์โน เรื่อง ‘Watch the Fire or Burn Inside it’ โดย Jonathan Vinel และ Caroline Poggi, […]

โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เทศกาลหนังสั้นวิกฤตโลกร้อนทั่วเอเชีย รับชมฟรีทางออนไลน์ 2 – 10 เม.ย. 65

เมษายนนี้ เราขอชวนทุกคนที่สนใจและใส่ใจประเด็นสิ่งแวดล้อมรับชม 25 หนังสั้นสะท้อนวิกฤตโลกร้อนหลากมิติจากทั่วทวีปเอเชียที่ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 2’ หรือ ‘CCCL Film Festival 2022’ หนังสั้นทั้ง 25 เรื่องที่จะฉายในเทศกาลหนังสั้นรูปแบบออนไลน์ปีนี้คือผลงานที่เคยฉายในเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยนที่สมาคมฝรั่งเศสในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็นหนังสั้นจากประเทศไทย 18 เรื่อง และหนังสั้นจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย 7 เรื่อง  หนังสั้นเหล่านี้เล่าเรื่องราวครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่วิกฤตมลพิษพลาสติก ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงการรักษาดินตามความเชื่อและประเพณีท้องถิ่น มากไปกว่านั้น ปัญหาวิกฤตโลกร้อนยังถูกถ่ายทอดในหลายรูปแบบ เช่น แอนิเมชัน สารคดี และฟิกชัน ผู้ชมจะได้ซึมซับและเข้าใจปัญหาทางธรรมชาติผ่านมุมมองที่หลากหลาย ตัวอย่างหนังสั้นที่น่าสนใจ ได้แก่ เด-ปอ-ทู่ (Deportu)ประเทศ : ไทยผู้กำกับ : ณัฐธัญ กรุงศรีเรื่องย่อ : เซเก่ทู ชายหนุ่มชนเผ่าปกาเกอะญอ ลาออกจากงานในเมืองหลวงเพื่อกลับมาปกป้องป่าเดปอผืนสุดท้าย เมื่อรู้ข่าวว่าจะมีนายทุนมากว้านซื้อที่เพื่อทำรีสอร์ตและแหล่งท่องเที่ยว เขาจึงต้องหาหนทางเพื่อรักษาผืนป่าแห่งนี้ไว้ ผีตาแฮก สารพันวัฒนธรรมข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ (Journey of Wisdom)ประเทศ : […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.