ห้องเรียนโรงเรียนบ้านป่าก้าง เชียงใหม่ ที่สร้างด้วยถุงพลาสติกกว่า 850,000 ใบ

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้กับอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านป่าก้าง จังหวัดเชียงใหม่ จนโครงสร้างอาคารเสี่ยงต่อการพังถล่ม แต่ตอนนี้ Green Road ได้เนรมิตถุงวิบวับจำนวนมหาศาลให้กลายเป็นห้องเรียนอเนกประสงค์เพื่อคืนพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กๆ #ถุงวิบวับคืออะไร ถุงวิบวับ หรือถุงพลาสติกหลายชั้น (Multilayer) คือถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ใช้บรรจุสินค้าต่างๆ อย่างกาแฟ อาหาร และเครื่องสำอาง ด้วยคุณสมบัติที่ป้องกันความชื้นและแสงแดดได้ดี ทำให้ถุงเหล่านี้ได้รับความนิยมมาก แต่ด้วยโครงสร้างหลายชั้นนี้เองกลับเป็นอุปสรรคในการรีไซเคิล เนื่องจากต้องแยกแต่ละชั้นออกจากกันซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง #เปลี่ยนถุงวิบวับให้เป็นห้องเรียน หลังจากที่ Green Road ได้รับบริจาคถุงเหล่านี้จากทั่วประเทศ ก็ได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ บล็อกปูพื้น และวัสดุก่อสร้าง และล่าสุดด้วยความร่วมมือช่วยกันบริจาคของประชาชน ทีม Green Road ได้รวบรวมถุงวิบวับมากถึง 850,000 ถุง หรือประมาณ 2,500 กิโลกรัม และนำมาสร้างห้องเรียนอเนกประสงค์ให้กับโรงเรียนบ้านป่าก้างที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวได้สำเร็จ ทีม Green Road เล่าให้เราฟังว่า ขั้นตอนในการเปลี่ยนถุงวิบวับเป็นห้องเรียนมีกระบวนการที่คล้ายกับการทำโต๊ะเก้าอี้ทั่วๆ ไป เพียงแต่จะอัดในรูปแบบขนาดเล็กให้กลายเป็นฝาบ้าน #โครงการเปลี่ยนขยะถุงพลาสติกให้ใช้ประโยชน์ได้ […]

Repair Café สเปซที่ส่งเสริมให้คนใช้ซ้ำด้วยการ ‘ซ่อม’ ลดขยะ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มอายุขัยสิ่งของ เปิดทำการทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน ณ บ้านสวนสุดาวรรณ

สิ่งของแต่ละชิ้นบนโลกล้วนมีอายุของตัวเอง แม้จะถนอมไว้ดีแค่ไหนก็ต้องมีความเสียหายบ้างตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของที่มีมูลค่าทางจิตใจ ซึ่งหากเราต้องจำใจเก็บทิ้งทุกทีที่ของเหล่านั้นใช้ไม่ได้แล้วคงจะรู้สึกเสียดายกันน่าดู การซ่อมจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่สำหรับคนที่ไม่ถนัดซ่อมแซมด้วยตัวเองคงต้องหาร้านซ่อม แต่ปัญหาคือเราไม่รู้พิกัดว่าร้านไหนที่จะช่วยคืนชีพของใช้ของเรากลับคืนมาได้ เราเลยอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จัก ‘Repair Café’ พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้การซ่อมแซมสิ่งของที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า 2,800 แห่งทั่วโลก โดยเริ่มมาจากแนวคิดของ Martine Postma ที่ต้องการสร้างสเปซสำหรับพบปะกันระหว่างช่างซ่อมสิ่งของกับเจ้าของสิ่งของที่ต้องการซ่อม โดยมีมุมมองว่าการซ่อมเป็นการยืดอายุการใช้งานของของให้ยาวออกไปได้ และยังสามารถลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว โดยกิจกรรมนี้มี ‘Reviv’ สตาร์ทอัพเพื่อสิ่งแวดล้อมผู้ให้บริการเย็บซ่อมและปักเสื้อผ้าออนไลน์เป็นผู้จัดกิจกรรม ซึ่งทางองค์กรเองก็มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมพฤติกรรมการซ่อมและการใช้ซ้ำให้กลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักเช่นเดียวกัน จึงเกิดเป็นชุมชนส่งเสริมวัฒนธรรมการซ่อม (Repair Community Thailand) ที่ดูแลและสร้างสรรค์กิจกรรมใน Repair Café นั่นเอง ในช่วงที่ผ่านมา Repair Café เป็นการจัดกิจกรรมแบบสัญจรหมุนเวียนสเปซตามพื้นที่ย่านต่างๆ ที่สามารถเดินทางง่ายและใกล้รถไฟฟ้า แต่ในตอนนี้ Repair Café มีที่ตั้งประจำอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะเปิดทำการในทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน ที่ ‘บ้านสวนสุดาวรรณ’ แนะนำให้ติดตาม Reviv ไว้เลย เพราะแต่ละเดือนจะมีช่างซ่อมอาสามาให้ความรู้วิธีการซ่อมสิ่งของในหมวดหมู่ที่แตกต่างกันออกไป และติดตามว่าในเดือนนั้นเปิดรับซ่อมสิ่งของประเภทใดบ้าง ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เตรียมแค่ของที่อยากซ่อมมาเท่านั้นเอง (แต่จำกัดการซ่อม […]

‘Clams’ ประติมากรรมหอยตัวจิ๋ว เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ขยับและส่งเสียงเมื่อน้ำไม่สะอาด

เมื่อไหร่ก็ตามที่ระบบนิเวศแหล่งน้ำเริ่มพัง เหตุเพราะมลพิษต่างๆ ทำให้คุณภาพแหล่งน้ำไม่ดี สิ่งมีชีวิตชนิดแรกๆ ที่สามารถรับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงคือ ‘หอย’ ‘Clams’ คือประติมากรรมรูปร่างหอยสองฝาตัวจิ๋ว ผลงานของ ‘Marco Barotti’ Media Artist ที่หยิบเอาชีววิทยาและการทำงานตามธรรมชาติที่รับรู้ถึงความผิดปกติของคุณภาพน้ำได้ก่อนใครของหอย มาใช้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม เกิดเป็นผลงานจากการรวมตัวระหว่างเซนเซอร์ที่สามารถวัดคุณภาพน้ำได้จริง และพลาสติกใสรีไซเคิลที่ถูกออกแบบมาในลักษณะหอยสองฝาตัวเล็กจำนวนมาก ที่ภายในมาพร้อมลำโพง หลักการทำงานของประติมากรรมชิ้นนี้คือ เมื่อเซนเซอร์ตรวจพบว่าคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำนั้นๆ เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด จะส่งสัญญาณมายังเปลือกหอยเล็กๆ ที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ ทำให้เปลือกหอยเหล่านี้ขยับตัวและส่งเสียงออกมา คล้ายกำลังกรีดร้องให้กับมลพิษที่กำลังเผชิญ Marco Barotti มองว่า การสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะนี้ขึ้นคือการทำให้ชิ้นงานทำหน้าที่อุปมาอุปไมยถึงผลกระทบของมนุษย์ที่มีต่อโลก และมุ่งหวังให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ตัวเราเป็นผู้นำเสนอถึงผลกระทบ Sources :Designboom | t.ly/fLRCA Marco Barotti | www.marcobarotti.com/ClamsYanko Design | t.ly/s7haR 

หลังโต๊ะทำงานของ KongGreenGreen อินฟลูฯ ผู้เชื่อว่าไลฟ์สไตล์สายกรีนสร้างได้ด้วยความเข้าใจ

บ้านของ ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ‘ก้องกรีนกรีน’ เป็นทั้งบ้านและออฟฟิศที่กรีนสมชื่อ หลังจากเปิดประตูบ้านต้อนรับ ก้องพาเราเข้าห้องทำงานของเขาที่เต็มไปด้วยไอเทมที่เราคุ้นเคยแต่กลับแปลกตา “โคมไฟนี่ทำมาจากพลาสติกที่เคยเป็นกล่องข้าว บ้านแมวอันนั้นทำมาจากฝาขวด” ก้องแนะนำ “เมื่อก่อนออฟฟิศอยู่แถวเลียบด่วน แต่บ้านเราอยู่แถวแจ้งวัฒนะ เราขับรถไปก็เปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ ทั้งพลังงานคนและพลังงานโลก เราเลยย้ายมาอยู่ที่นี่” บทสนทนาประมาณนี้เป็นสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้ฟังจากปากก้องอยู่แล้ว เพราะอย่างที่หลายคนรู้กันดี ก้องเคยเป็นพิธีกรรายการเปิดโลกอย่างกบนอกกะลา ก่อนจะผันตัวมาเปิดแชนเนล ‘KongGreenGreen’ เพื่อรณรงค์ให้คนแยกขยะกันมากขึ้นเมื่อไม่กี่ปีก่อน วันนี้ก้องกรีนกรีนเติบโตจนมีผู้ติดตามบนเฟซบุ๊กเกือบ 3 แสนคน มีหลายคลิปใน TikTok กลายเป็นไวรัลที่มียอดวิวเป็นล้าน พูดได้เต็มปากว่าเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ครีเอเตอร์สายกรีนแนวหน้า แนวทางของคอนเทนต์ในเพจยังขยับขยายไปเล่ามากกว่าเรื่องขยะ แต่ครอบคลุมไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ก้องย้ำหลายรอบว่าใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ในวาระที่ก้องเพิ่งได้รับเลือกเป็น 1 ใน 50 ครีเอเตอร์ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงจากโครงการ TikTok Change Makers เราถือโอกาสนี้มานั่งคุยกับก้องถึงความเชื่อเบื้องหลังการทำช่อง ล้วงเคล็ดลับการทำคอนเทนต์สิ่งแวดล้อมที่ขึ้นชื่อว่าเข้าใจยากให้สนุก เข้าถึงง่าย และไม่ทำให้ใครหลายคนเบือนหน้าหนี คิดว่าเป็นเพราะอะไรที่คุณถูกเลือกเป็น 1 ใน 50 ครีเอเตอร์ของโครงการ TikTok Change Makers  อาจเป็นเพราะคอนเทนต์ของเราน่าจะตรงกับแคมเปญที่เขาตั้ง นั่นคือ Change Makers […]

วิธีแยกขยะง่ายๆ ไม่มีถังแยกสีก็ทิ้งได้แบบไม่ต้องเทรวม

หลังจากที่กรุงเทพมหานครเปิดตัวโครงการ ‘ไม่เทรวม’ เพื่อรณรงค์การแยกขยะเมื่อปีที่แล้ว นโยบายถัดไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อช่วยจัดการขยะคือ การขึ้นค่าธรรมเนียมเก็บขยะจากบ้านที่ไม่คัดแยกขยะ โดยบ้านที่เข้าร่วมการคัดแยกขยะจะเสียค่าใช้จ่าย 20 บาทต่อเดือน ส่วนบ้านที่ไม่คัดแยกขยะนั้นจะเสียค่าใช้จ่าย 60 บาทต่อเดือน หวังเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ครัวเรือนหันมาใส่ใจกับการแยกขยะมากขึ้น การแยกขยะนั้นไม่เพียงช่วยลดภาระการกำจัดขยะของเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่เรายังเรียนรู้กันมาตลอดว่าการแยกขยะเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยลดโลกร้อนได้ และด้วยความเคยชินที่ทิ้งขยะลงถังเดียวมาตลอดอย่างยาวนาน อาจทำให้การแยกขยะดูยุ่งยากไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าจะลองทำ แน่นอนว่าภาพของการแยกขยะนั้นมักมาพร้อมกับถังขยะชนิดต่างๆ ที่แบ่งแยกด้วยสีสัน ช่วยให้จำง่าย แต่หลายๆ บ้านคงไม่ได้มีถังขยะสำหรับแยกขยะแต่ละประเภทโดยเฉพาะ ทำให้เกิดความสับสนว่า หากมีถังขยะแค่ใบเดียวแล้วจะแยกขยะได้อย่างไร Urban Creature เลยจะมาบอกวิธีการแยกขยะที่ทำได้ง่ายๆ โดยแบ่งเป็นสองระดับคือ 1) การแยกขยะระดับเริ่มต้น เป็นการแยกขยะที่ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน เพียงแค่แยกขยะออกเป็นสองประเภทก่อนทิ้งลงถัง วิธีนี้จะสะดวกกับผู้เริ่มต้นแยกขยะ คนที่มีเวลาน้อย หรือพื้นที่บ้านน้อย แบ่งออกเป็น 🍪 ขยะอินทรีย์ ขยะประเภทเศษอาหารจากการทำอาหารหรือกินเหลือ โดยเทน้ำทิ้งให้เหลือแต่เศษอาหาร และแยกถุงเอาไว้ อาจใช้เป็นถุงสีใสให้มองเห็นได้ง่ายว่าเป็นขยะประเภทไหน ขยะประเภทนี้ควรทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมความสกปรกและกลิ่นเหม็นภายในบ้าน 🧃ขยะทั่วไป  ขยะแห้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ ซองขนม รวมถึงขยะพลาสติก ซึ่งพลาสติกบางประเภท เช่น ถุงพลาสติกหรือกล่องที่ใส่อาหาร ควรล้างให้สะอาดและตากให้แห้งก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อเลี่ยงไม่ให้เศษอาหารปนเปื้อนกับขยะอื่นๆ จนขยะแห้งเหล่านี้หมักหมมความสกปรกเอาไว้ […]

#กินหมดจาน Guidebook และ Restaurant Makeover โครงการที่จะชวนกินข้าวให้หมดจาน และช่วยปรับร้านอาหารให้จัดการขยะอย่างถูกวิธี

“ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า” ประโยคคุ้นหูที่ท่องจำกันมาตั้งแต่อนุบาล แต่เหมือนยิ่งโตนั้นจะได้แค่จำแต่ทำไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเวลาที่น้อยลง รสชาติอาหารไม่ถูกปาก เครียดกินข้าวไม่ลง หรือแม้กระทั่งลืมว่ายังกินไม่หมด เช้าวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม ทีมกินหมดจานชวนเราไปชิม 2 ใน 50 ร้านจาก ‘กินหมดจาน Guidebook’ โดยมีร้าน Karo Coffee Roasters คาเฟ่สุดเท่ย่านปรีดี พนมยงค์ ที่แนะนำโดย ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และร้าน No Name Noodle BKK แนะนำโดย ‘ปิ๊ปโป้-เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านราเม็งตัวจริงเสียงจริง พร้อมไปดูวิธีกำจัดขยะเศษอาหารที่เขตวัฒนา กินหมดจาน Guidebook เป็นเสมือนหนังสือรวม 50 ร้านอาหารที่เหล่า KOLs ขอการันตีว่าร้านนี้อร่อยและจัดการขยะได้ดี โดยอยู่ภายใต้โครงการ ‘Restaurant Makeover’ ที่ แพร-พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ หรือ ‘PEAR […]

10 พาวิลเลียน ใน Expo 2025 Osaka มหกรรมที่มุ่งนำเสนอแนวคิด การสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและดีกว่าเดิม

ปีหน้าเมืองโอซากาจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน Expo 2025 มหกรรมระดับโลกที่รวบรวมผู้คนจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันเฉลิมฉลองวัฒนธรรม นวัตกรรม และความก้าวหน้าของประเทศต่างๆ รวมถึงเปิดพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนแนวคิดใหม่ๆ หวังช่วยกันแก้ปัญหาระดับโลกที่สังคมของเรากำลังเผชิญอยู่ ไฮไลต์คือการจัดแสดงพาวิลเลียนของนานาประเทศ ซึ่งปีนี้มาในธีม ‘Designing Future Society for Our Lives’ หรือ ‘การออกแบบสังคมแห่งอนาคตสำหรับชีวิตของเรา’ โดยงานจะจัดขึ้นบนเกาะเทียม ‘ยูเมะชิมะ’ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวโอซากา ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ไปจนถึง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2568 ก่อนอีเวนต์ใหญ่ด้านนวัตกรรมและการออกแบบระดับโลกจะเริ่มต้นขึ้น Urban Creature ได้รวบรวม 10 พาวิลเลียน จาก 10 ประเทศ ที่โดดเด่นและน่าสนใจมาฝากกัน ตั้งแต่การจัดแสดงที่พาเราไปสำรวจเรื่องใกล้ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติ ไปจนถึงพาวิลเลียนที่นำเสนอนวัตกรรมและทางออกเพื่อโลกที่ยั่งยืนในอนาคต สวิตเซอร์แลนด์ธรรมชาติและโลกที่มนุษย์สร้างขึ้นสามารถอยู่ร่วมกันได้ ‘Swiss Pavilion’ คือพาวิลเลียนของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งออกแบบโดย Manuel Herz Architekten, NUSSLI และ Bellprat Partner โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับธีมของงานที่พูดถึงชีวิตและโลกแห่งอนาคต […]

ช่วยไม่ให้เกิดเหตุการณ์ “แล้วลูกเต่าทะเลล่ะ” ด้วย ‘COCOLAMP’ อุปกรณ์ครอบหลอดไฟ เบนแสงที่รบกวนการวางไข่ของเต่าทะเล 

แสงไฟใกล้ชายฝั่ง ไม่ว่าจะเป็นแสงไฟจากโรงแรม รีสอร์ต หรือร้านอาหาร ล้วนแล้วแต่รบกวนการวางไข่ของเต่าทะเล และมีผลทำให้ลูกเต่าที่ฟักออกมาเกิดความสับสน เดินไปยังพื้นที่ที่มีแสงสว่างแทนที่จะเดินลงทะเล จนเต่าทะเลในประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ ‘COCOLAMP’ คือไอเดียนวัตกรรมอุปกรณ์ครอบหลอดไฟ จากนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ช่วยแก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง ด้วยการเบนแสงไฟบริเวณชายหาดที่รบกวนการวางไข่ของเต่าทะเลตามหลัก Turtle Friendly ให้ลูกเต่าคลานลงทะเลได้อย่างปลอดภัย พวกเขาศึกษาข้อมูลตัวอย่างจากเกาะแอนนามาเรีย รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่แสดงให้เห็นว่า การจัดแสงไฟให้เป็นมิตรต่อเต่าทะเลสามารถลดจำนวนลูกเต่าที่หลงทางได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการใช้วัสดุจากเส้นใยมะพร้าวที่ได้จากชุมชนในการผลิต มียางพาราเป็นตัวเชื่อมประสานและเคลือบด้วยซิลิกาจากแกลบข้าว ทำให้ COCOLAMP มีความคงทน ติดตั้งง่าย ใช้งานได้ในทุกสภาพแวดล้อม ราคาไม่แพง และย่อยสลายได้ในธรรมชาติ นอกจากตัวอุปกรณ์ครอบหลอดไฟแล้ว COCOLAMP ยังมีการใช้ Line Chatbot เข้ามาช่วยรวบรวมข้อมูลและประเมินผลการใช้งานของอุปกรณ์ ภายหลังการติดตั้งและใช้งานจริงด้วย ปัจจุบัน COCOLAMP กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพในห้องทดลอง ก่อนที่จะนำไปติดตั้งในพื้นที่จริงเพื่อประเมินผลการใช้งานอีกครั้ง

‘Qualy’ แบรนด์ไทยที่เพิ่มมูลค่าให้ขยะพลาสติก ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์สื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่แบรนด์แบรนด์หนึ่งจะสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมผ่านชิ้นงานได้แบบที่คนเห็นแล้วร้อง ‘อ๋อ!’ แต่สำหรับแบรนด์ ‘Qualy’ ไม่ว่าจะจิ้มผลงานชิ้นไหนขึ้นมาก็ต้องคุ้นหูหรือคุ้นตาทั้งนั้น ตั้งแต่ พระสติ, บอร์ดเกม Waste War, รูบิก Tactile Cube หรือปากกาวาดรูปจากไหมพรมในชื่อ เล่นเส้น เพราะไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ที่สวยงาม ฟังก์ชันการใช้งานสุดว้าว หรือวัสดุรีไซเคิลรักษ์โลก จะส่วนไหน Qualy ก็ไปสุดทุกทาง จนกวาดรางวัลจากเวทีดีไซน์กลับบ้านแบบไม่หวาดไม่ไหว คอลัมน์ Sgreen ชวนไปคุยกับ ‘ใจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ Design Director และ Founder ถึงแนวคิดและความตั้งใจของแบรนด์ที่ทำให้ Qualy ยืนหยัดครองตลาด พร้อมสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านผลงานได้ยาวนานกว่า 20 ปี เล่าเรื่องผ่านดีไซน์จนค่อยๆ เติบโตในตลาดไทย “ในช่วงแรกๆ ของการทำ Qualy เราเน้นไปที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างมูลค่าเพิ่ม ประกอบกับตอนนั้นมีปัญหาโลกร้อน เลยเล่าเรื่องพวกนี้ผ่านดีไซน์ของเรา ก่อนจะต่อยอดมาใช้วัสดุรีไซเคิล เพื่อให้สื่อสารเรื่องนี้ออกไปดียิ่งขึ้น” ธีรชัยเล่าถึงความตั้งใจช่วงแรกของแบรนด์ อีกปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการทำแบรนด์โปรดักต์ดีไซน์นี้คือ Qualy เป็นธุรกิจที่เขาต่อยอดออกมาจากธุรกิจครอบครัวที่ก่อนหน้านี้เปิดเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบ Original Equipment Manufacturer (OEM) […]

โรงแรมรักษ์โลกใกล้กรุงเทพฯ ‘neera retreat hotel’ ที่อยากให้คนปลีกวิเวกจากความวุ่นวายมาพักกายพักใจริมแม่น้ำท่าจีน

คนทำงานในเมืองมักมีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา บางทีความเหนื่อยล้าจากการทำงานก็ทำให้คนอยากหาเวลาอยู่กับตัวเอง และเริ่มมองหาที่พักผ่อนบรรยากาศดีๆ ที่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก โรงแรมรีทรีต ‘neera retreat hotel’ ดูจะตอบโจทย์คนทำงานที่กำลังหาเวลามาพักผ่อนเงียบๆ คนเดียว เพราะดีไซน์ของโรงแรมแห่งนี้ได้รับการออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน จากบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่สีเขียวสุดร่มรื่น มองเห็นกระแสน้ำของแม่น้ำท่าจีน มีสายลมเย็นๆ พัดผ่าน ชวนคนให้หยุดตัวเองจากความเร่งรีบและหันหน้าเข้าหาธรรมชาติมากขึ้น และนอกจากจะเป็นโรงแรมที่ชวนพักผ่อนแล้ว ที่นี่ยังเป็นโรงแรมรักษ์โลกที่สร้างประโยชน์ให้สิ่งแวดล้อมด้วย คอลัมน์ Urban Guide ขอพาไปทำความรู้จักกับ neera retreat hotel พร้อมพูดคุยกับเหล่าผู้ก่อตั้ง ‘ซอย-วริวรรณ์ วิทยฐานกรณ์’, ‘ซาน-วิชฌ์ วิทยฐานกรณ์’ และ ‘ซาว-ศิษฎ์ศิริ วิทยฐานกรณ์’ สามพี่น้องครอบครัว ‘วิทยฐานกรณ์’ ถึงแนวคิดการสร้างโรงแรมรีทรีตสีเขียว ที่จะทำให้ผู้มาเยือนรักษ์โลกและเข้าใจตัวเองมากขึ้น แนวคิดที่อยากริเริ่มโรงแรมรักษ์โลก ด้วยความที่โรงแรมตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐมที่อยู่ติดกับเมืองกรุงเทพฯ ใช้เวลาขับรถเพียงชั่วโมงนิดๆ ก็ถึงที่หมาย ทำให้ที่นี่เหมาะกับการเป็นพื้นที่พักใจในวันหยุดสุดสัปดาห์ของคนเมืองที่มีเวลาพักน้อยนิดและไม่อยากเดินทางไกล และเมื่อเดินเข้ามาเรื่อยๆ ในโรงแรม พบกับจุดนำสายตาที่มองเห็นวิวแม่น้ำท่าจีนและธรรมชาติที่อยู่รอบๆ โรงแรม ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายราวกับได้ถอดปลั๊กออกจากความวุ่นวาย ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้เพราะความตั้งใจของสามผู้ก่อตั้งที่อยากให้ผู้เข้าพักทุกคนได้รับสิ่งนี้เป็นสิ่งแรกจากที่นี่ เพราะพวกเขา ได้แก่ ซอย พี่สาวคนโตที่มีประสบการณ์ด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี และการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซาน พี่ชายคนกลาง […]

แพ็กกระเป๋าเข้าป่า สู่ปฐมบทแดนอีสานโรงเรียนนักเดินป่าของนักเรียนเดินป่ารุ่นที่ 1 อุทยานแห่งชาติน้ำพอง

ชีวิตในเมืองที่ทำให้เราเผชิญอยู่กับจังหวะที่เร่งรีบของชีวิตประจำวัน ความวุ่นวาย ตึกสูง และการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวที่น้อยลง อาจทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับธรรมชาติดูห่างไกลออกไป พร้อมๆ กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวเราและผู้คนรอบตัว หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเราเอง มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกหลีกหนีจากความวุ่นวายและชีวิตที่รีบเร่งนี้ ออกเดินทางหาความสงบสุขและรื่นรมย์จากธรรมชาติ ให้ตัวเองได้ผ่อนลมหายใจ และได้รับการปลอบประโลมจากทิวเขา ต้นไม้ หรือท้องทะเล ปัจจุบันเทรนด์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทย และประเทศไทยเองก็มีอัตราการท่องเที่ยวในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น อุทยานแห่งชาติต่างๆ ได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี แต่ด้วยจำนวนคนที่เพิ่มขึ้นนี้เอง ย่อมส่งผลให้ธรรมชาติถูกรบกวนมากขึ้น ขยะที่เพิ่มปริมาณขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์และความสวยงามของธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว ปฐมบทการเดินทาง จากปัญหาและความกังวลเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นโรงเรียนนักเดินป่าขึ้นมา โดยการนำของ ‘ใหญ่-ธำรงรัตน์ ธนภัคพลชัย’ ที่ปัจจุบันเป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำพอง และ ‘พี่งบ-ธัชรวี หาริกุล’ ผู้ก่อตั้ง Thailand Outdoor ที่นอกจากมาร่วมบุกเบิกเส้นทางการเดินป่าแห่งนี้แล้ว ยังช่วยออกข้อสอบให้เหล่านักเรียนได้ผ่านด่านทดสอบด่านแรกก่อนการสมัครจริงอีกด้วย ร่วมด้วยเหล่าพี่ๆ น้องๆ ที่เชื่อในอุดมการณ์ที่ว่า ‘การเดินป่าที่ถูกต้องสร้างได้’ และส่วนสำคัญที่สุดคือแรงกายแรงใจสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า เจ้าหน้าที่อุทยาน และศิษย์เก่า ที่พร้อมใจมาเป็นครูผู้ช่วยถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จริง และทำให้พื้นที่แห่งนี้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และส่งต่อทัศนคติที่ดีในการเคารพธรรมชาติให้เกิดขึ้นระหว่างนักเดินป่ามือใหม่และนักเดินป่ามากประสบการณ์ ผ่านแนวคิด ‘เราจะเดินป่าโดยสร้างผลกระทบให้ธรรมชาติให้น้อยที่สุดได้อย่างไร’ ในครั้งนี้เราได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในนักเรียนจำนวน 20 คนของโรงเรียนนักเดินป่า อุทยานแห่งชาติน้ำพอง […]

ผ่าแผนเดินเกมของปารีส​ โอลิมปิก 2024 เพื่อพิชิตเส้นชัยโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด

การจัดงานโอลิมปิกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฟังแล้วช่างเหนือจริง เพราะงานโอลิมปิกคือมหกรรมกีฬาระดับโลกที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นกว่าหลายร้อยรายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมหลักหมื่น มีผู้ชมมาเกาะติดขอบสนามกันหลักล้าน การจัดงานระดับยักษ์แบบนี้ หลีกหนีไม่พ้นต้องเผาผลาญทรัพยากรมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับมวลมหาประชาชนที่หลั่งไหลมา แต่เพราะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน การหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเลยเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป เมื่อปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 เมืองน้ำหอมจึงตั้งปณิธานว่า โอลิมปิกครั้งนี้จะเป็นโอลิมปิกที่เป็นมิตรกับโลกที่สุด มีการประเมินไว้ว่า งานโอลิมปิกในกรุงรีโอเดจาเนโร ปี 2016 และกรุงลอนดอน ปี 2012 ปล่อยคาร์บอนออกมากว่า 3.5 ล้านตัน สำหรับโอลิมปิกครั้งนี้ ปารีสตั้งเป้าสุดทะเยอทะยานไว้ว่าจะหั่นตัวเลขเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง คือ 1.75 ล้านตัน น้อยกว่างานโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียวซึ่งจัดในช่วงล็อกดาวน์ และปล่อยก๊าซออกมา 1.9 ล้านตันเสียด้วยซ้ำ งานนี้ปารีสพร้อมเดินเกมทุกวิถีทาง ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างการก่อสร้าง การเดินทาง ไปจนถึงเรื่องเล็กอย่างอาหารการกิน มาเรียนรู้ไปด้วยกันว่าปารีสวางแผนไว้อย่างไร เพื่อพิชิตเส้นชัยการเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด ไม่เน้นสร้างใหม่ เน้นใช้สถานที่เดิม 95 เปอร์เซ็นต์ของการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมดจะจัดขึ้นในสนามกีฬาที่มีอยู่เดิม หรือในแลนด์มาร์กของเมืองที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ เช่น กีฬาฟันดาบและเทควันโด ที่จะประชันกันในอาคาร Grand Palais ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1897 หรือกีฬาขี่ม้า ปัญจกีฬา […]

1 2 3 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.