ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive ตุลาคม 2567

‘เหมือนได้จับโปเกมอน’ คือความรู้สึกของผมเวลาได้สแนปรูปสิ่งของไทยๆ ดีไอวายสไตล์ #ดีไซน์เค้าเจอ อาจจะอ่านแล้วดูตลกๆ แต่ผมรู้สึกแบบนั้นจริงๆ นะ เวลาเจอสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่น่าสนใจทุกครั้ง ยิ่งถ้าเจอชิ้นที่รู้สึกว้าวมากๆ ก็ยิ่งเหมือนเราได้จับโปเกมอนตัวหายาก แม้ว่าผมจะเคยแชร์เคล็ดลับในการออกตามหาสิ่งของเหล่านี้หลายครั้งแล้วในคอลัมน์นี้ แต่ต้องยอมรับว่า เมื่อได้ลงเดินหาในสถานที่จริงๆ มันก็อาจไม่ง่ายดังกล่าว หาเจอบ้างไม่เจอบ้างเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นว่าสำหรับผมเอง นอกจากจะต้องมีสายตาที่ดีแล้ว การจะพบเจอสิ่งของออกแบบไทยๆ พวกนี้ได้ อาจต้องใช้โชคชะตาประมาณหนึ่งด้วย แล้วมันคล้ายจับโปเกมอนยังไง คือ 1) เราต้องมีความพยายามและออกตามจับ (ด้วยสายตา) คล้ายต้องลงไปในพงหญ้าแบบในเกม 2) ในแต่ละพื้นที่เองก็อาจมีสิ่งของคล้ายๆ กันที่สามารถเจอได้ในบริเวณเดียวกัน คล้ายเป็นโปเกมอนท้องถิ่น ซึ่งในบางครั้งเราก็อาจจะโชคดีได้เจอตัวที่มีความเฉพาะมากๆ ที่หาที่อื่นไม่ได้ เหมือนเจอโปเกมอนหายากนั่นเอง ผมไม่ได้จะบอกว่าการมีอยู่ของสิ่งของออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันแบบนี้ คือโปเกมอนแบบตรงไปตรงมา 100 เปอร์เซ็นต์นะ เพราะโลกความเป็นจริงนี้ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยการกดปุ่มเหมือนเกม แต่ที่ผมต้องการจะสื่อคือ ลักษณะการปรากฏตัวของสิ่งของเหล่านี้มีอารมณ์ที่คล้ายๆ กัน มันเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมและปัญหาหลายๆ อย่างตรงนั้นเป็นตัวกำหนด และถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจากฝีมือผู้คนตรงนั้นอย่างเฉพาะตัว แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ เราสามารถเข้าใจและเรียนรู้ที่มาที่ไปของสิ่งของเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหนนั่นเอง กลับมาที่เนื้อหาหลักของคอลัมน์นี้ ผมได้คัดสรรภาพสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ผมตามจับจากสถานที่ต่างๆ มาแบ่งปันให้ทุกท่านได้รับชมกันอีกครั้งเช่นเคย ซึ่งหากใครจับภาพสิ่งของแนวๆ นี้ได้เหมือนกับผม ก็ติด […]

‘Carpentopod’ โต๊ะไม้ 12 ขาที่เดินมาเสิร์ฟของกินถึงมือ ด้วยมอเตอร์ที่สั่งงานจากรีโมตคอนโทรล

เคยไหม เวลาดูหนังหรือซีรีส์เพลินๆ แล้วไม่อยากละสายตาหรือลุกจากโซฟาไปแม้แต่นิดเดียว การจะไปหยิบเครื่องดื่มหรือขนมในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก็อาจทำให้ขาดอรรถรสไปได้ ‘Giliam de Carpentier’ วิศวกรเทคนิคผู้สนใจเรื่องการออกแบบและสร้างกลไกการเดิน หลังจากเริ่มมีทักษะทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และงานไม้ เขาได้สร้างนวัตกรรมใหม่ที่อำนวยความสะดวกสบายให้กับมนุษย์อีกขั้น นั่นคือ ‘Carpentopod’ โต๊ะไม้ที่มีจำนวนขามากถึง 12 ขา และเคลื่อนที่ได้ด้วยมอเตอร์ที่ซ่อนไว้ด้านในผ่านการสั่งงานจากรีโมตคอนโทรล ตัวโต๊ะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยแต่ละส่วนประกอบไปด้วยขา 6 ขา ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ของตัวเอง ซึ่งมอเตอร์สองตัวที่เชื่อมกับขาทั้งสองส่วนและแบตเตอรี่นั้นถูกจัดเก็บเอาไว้ในส่วนท้องหรือตรงกลางของโต๊ะ ที่ออกแบบมาเป็นช่องกลวงเพื่อใส่อุปกรณ์เหล่านี้เข้าไป และใช้บานพับประกอบไว้ด้านนอกเพื่อปิดไม่ให้มองเห็นส่วนที่ซ่อนเอาไว้ แต่ผู้ใช้งานก็ยังเปิด-ปิดบานพับนี้ได้อย่างง่ายดาย ส่วนการก้าวเดินของ Carpentopod ถูกสร้างขึ้นโดยซอฟต์แวร์ที่จะทำให้ขาทั้งหมดของโต๊ะตัวนี้ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและแข็งแรง โดยขาโต๊ะทั้ง 12 ขานั้นทำขึ้นจากแผ่นไม้ลามิเนตที่มีความแข็งแรง ทนทาน และมั่นคง ไม่ต้องกังวลว่าของที่อยู่บนโต๊ะจะร่วงหล่นลงมาระหว่างทางหรือไม่ แม้ตอนเคลื่อนที่จะดูน่ากลัวๆ ไปบ้าง แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ โต๊ะเดินได้ตัวนี้อาจจะกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นสำคัญของหลายๆ บ้าน ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายเล็กๆ น้อยๆ ให้คนในบ้านก็เป็นได้ ชมทักษะการเดินของ Carpentopod ที่ www.youtube.com/watch?v=xKDY4yWxfJM Sources :Designboom | tinyurl.com/3sxbkfnjGiliam de Carpentier | www.decarpentier.nl/carpentopod

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กันยายน 2567

ต้องยอมรับว่า ผมไม่ใช่คนเดียวที่ชอบถ่ายรูปสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตามท้องถนน เพราะหลังจากที่ออกหนังสือ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ผมก็ได้พบปะผู้คนมากมายที่ชอบถ่ายรูปคล้ายๆ กัน แถมมีภาพที่น่าตื่นเต้นมากกว่าผมเสียอีก จนมีคนแซวว่า ใครๆ ก็เป็นคอลัมนิสต์ของคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอได้ ถ้าเป็นคนที่ชอบเดินเล่นและมีนิสัยช่างสังเกตพอ ซึ่งผมก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะไม่ได้ห่วงตำแหน่งอะไร (ฮา) อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าถึงแม้จะถ่ายรูปคล้ายกัน แต่วิธีมองหรือคำอธิบายของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางคนมองเป็นไอเดีย บางคนมองเป็นงานครีเอทีฟ บางคนมองเป็นมีมตลกร้าย หรือบางคนมองเป็นปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่เรามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเดียวกัน และผมมองว่าการบาลานซ์มุมมองต่างๆ เวลาพบเจอสิ่งของเรี่ยราดพวกนี้แหละคือหัวใจสำคัญ เพราะสิ่งของเหล่านี้ส่วนใหญ่มักสะท้อนปัญหาบางอย่างในสังคม ผมเลยอยากย้ำเพื่อนๆ ผู้อ่านตอนนี้อีกครั้งว่า คอลัมน์นี้มีความตั้งใจแบ่งปันมุมมองเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองว่า เหตุใดพวกเขาถึงต้องดีไซน์ของกันเองจนกลายเป็นคัลเจอร์ มากกว่าแค่รูปภาพสนุกๆ เฉยๆ และในฐานะคอลัมนิสต์ ผมจึงมีความรับผิดชอบที่ต้องคัดสรรภาพสิ่งของเหล่านี้จำนวนหนึ่งมาฝากให้ทุกท่านได้รับชมอีกครั้งในรอบนี้ เพราะไม่งั้นตำแหน่งนี้อาจโดนแย่งไปจริงๆ (ฮา) อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมเกริ่นไปตอนต้น หากใครมีภาพสิ่งของแนวๆ เดียวกันนี้ จะติด #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อแบ่งปันกันก็ได้ อยากรู้จริงๆ ว่าทุกคนมีมุมมองแบบไหนกันบ้าง หรือจะท้าชิงตำแหน่งกับผมก็ไม่ว่ากัน ศาล Pave หากใครพอมีความรู้เรื่องการตั้งศาลพระภูมิมาบ้าง เราจะพบว่าความหมายของศาลพระภูมิก็คือเจ้าที่ ‘ดิน’ ทำให้การตั้งศาลทั่วไปนั้นมักต้องอยู่บนแท่งเสา เพื่อจำลองลักษณะเหมือนอยู่บนต้นไม้ที่งอกจากดิน และพันผ้าสามสีเอาไว้ให้เป็นแบบเดียวกับต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เราเห็นกันบ่อยๆ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive สิงหาคม 2567

‘น้อยแต่มาก เล็กแต่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด’ วลีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เหล่าคนทำงานออกแบบหรือทำงานสร้างสรรค์มักได้ยินกันจนชินหู ซึ่งการวัดกึ๋นในผลงานออกแบบใดๆ ในปัจจุบัน เรามักไปตามดูกันตรงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏอยู่ในผลงานนี่แหละ อย่างไรก็ตาม ตัวผมเองไม่ค่อยอยากจำกัดคำเท่ๆ พวกนี้อยู่แค่ในวงการนักออกแบบหรือคนทำงานสร้างสรรค์เท่านั้น เพราะหลายครั้งผมก็เห็นผลงานออกแบบตามริมทางท้องถนนจากคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนออกแบบ ที่มีลักษณะน้อยแต่มากหรือมีรายละเอียดเล็กๆ ที่เห็นแล้วน่าทึ่งไม่แพ้นักออกแบบตัวจริงอยู่บ่อยๆ ไม่รู้ว่าใครเห็นด้วยกับผมไหมว่า เวลาจะลงรายละเอียดในงานออกแบบใดๆ เราในฐานะนักออกแบบมักพยายามทำให้มันดูแนบเนียนไปกับภาพใหญ่ แต่ในงานออกแบบเล็กๆ ตามริมทางท้องถนนนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะมีความไม่แนบเนียนและโดดออกมาจากชิ้นงานให้เห็น แต่ถึงแม้มันจะสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย แต่หลายคนก็เลือกที่จะมองข้ามไปอยู่บ่อยครั้ง อาจเพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อมองรวมๆ ภาพใหญ่กับทัศนียภาพของเมืองไทยต่างกลมกลืนกันไปอยู่ดีนั่นเอง แต่ไม่ต้องรู้สึกพลาดอะไรไป หากใครไม่ค่อยได้สังเกตเห็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ตามริมทาง ผมได้คัดสรรภาพของเหล่านี้มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมอยู่แล้วเป็นประจำทุกเดือนในคอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้เราฝึกมองของรอบตัวให้ดีมากขึ้น เผื่อเวลาที่เราออกจากบ้านแล้วผ่านตามตรอกซอกซอย อาจจะได้ลองกวาดสายตามองไปตามแนวผนังตามจุดต่างๆ และพระเจ้า (แบบไทยๆ) ที่อยู่ในรายละเอียดอาจจะปรากฏตัวให้เห็นก็เป็นได้ Doll Stopper อะไรที่ดูผิดที่ผิดทาง หลายครั้งมันถูกคิดมาแล้วเป็นอย่างดี อย่างประตูรั้วเหล็กหน้าบ้านในรูปนี้ที่มีตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งถูกมัดติดเอาไว้ เมื่อลองพิจารณาดูรวมๆ ก็พบว่า น้องตุ๊กตาหมีตัวนี้คือดีเทลซับแรงกระแทกของประตูรั้วเหล็กที่อาจเปิดไปชนกับกำแพงด้านข้าง กลายเป็น Doll ที่เป็น Door Stopper นั่นเอง FruitWork […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กรกฎาคม 2567

“เอ๊ะ” เป็นเคล็ดลับสำคัญในการมองหางานดีไซน์ที่น่าสนใจตามริมทางท้องถนน เพราะของเหล่านี้มักแฝงตัวอย่างแนบเนียนอยู่กับชีวิตประจำวันของพวกเรา หลายคนคุ้นชินจนแทบมองไม่เห็นการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ แต่เมื่อไหร่ที่เราเดินผ่านสิ่งของใดๆ แล้วรู้สึก ‘เอ๊ะ’ รู้สึก ‘แปลกๆ’ ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ลองเดินย้อนกลับไปดูและลองพิจารณาสำรวจมันอีกครั้ง ผมนึกถึงนิทรรศการ ‘Invisible Things (2019)’ ที่เคยจัดแสดงที่ TCDC โดยมีคุณ Philip Cornwel-Smith ผู้แต่งหนังสือ Very Thai (2004) เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการนี้ว่าด้วย 25 วัตถุเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยที่เราคุ้นชินมากๆ จนมองข้ามไป เช่น กระป๋องแป้งตรางู กระติ๊บข้าวเหนียว ซองมาม่า ซึ่งของแต่ละอย่างนี้อาจดูไม่น่าสนใจอะไร แต่ลึกๆ แล้วกลับมีเรื่องราวซ่อนอยู่ ยกตัวอย่าง มาม่า ที่เป็นดัชนีในการพยากรณ์เศรษฐกิจ เพราะยามเศรษฐกิจดี ยอดขายมาม่าจะลดลง แต่ยามเศรษฐกิจถดถอย ยอดขายมาม่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้นิทรรศการตั้งใจจะสื่อว่า ของบางอย่างที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากๆ อาจกำลังสะท้อนสังคมได้มากกว่าเพียงรูปลักษณ์ที่เป็นอยู่ ผมเชื่อว่า หากเข้าใจวิธีมองสิ่งของแบบเดียวกับนิทรรศการ Invisible Things เราจะมีความสามารถในการรู้สึก ‘เอ๊ะ’ ที่มากขึ้น และมองหาความหมายของสิ่งของเรี่ยราดตามริมทางได้ดีขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความตั้งใจหรือเหตุผลใดๆ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มิถุนายน 2567

นอกเหนือจากการเข้ามาของ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์ในวงการดีไซน์อยู่ตอนนี้ เรื่องของการ Recycling และ Upcycling ก็ถือว่าเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่ยังคงได้รับความสนใจและถูกพูดถึงในปัจจุบัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพวก Product Design ที่มักมีการนำเสนอไอเดียการออกแบบที่หนีไม่พ้นเรื่องรักษ์โลก ซึ่งยังไปสอดคล้องกับ Circular Economy ที่เป็นพันธกิจของหลายๆ องค์กรในปัจจุบัน กลับมาที่คอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ ที่ตัวผมมักให้ความสนใจของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาชีวิตประจำวันโดยชาวบ้านคนธรรมดาริมทาง ผมมองว่าของพวกนี้อาจนับว่าเป็นงาน Product Design ที่ดูบังเอิญจะจัดอยู่ในเทรนด์รักษ์โลกที่เกริ่นมาช่วงต้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมักมีการ Upcycling วัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้พลาสติกเก่า ท่อนท่อพีวีซี เส้นสายไฟเก่า ฯลฯ นำมาประดิษฐ์ตัดแต่งกลายเป็นสิ่งของเครื่องใช้นั่นนี่เต็มไปหมด ทั้งที่ความเป็นจริงเมื่อเรามองดูก็รู้ทันทีเลยว่า การกระทำสิ่งของเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการสนใจเรื่องรักษ์โลกอะไรเลย แต่เกิดจากเหตุผลว่าอยากประหยัดเฉยๆ และไม่ได้ต้องแคร์หน้าตารูปทรงด้วย ขอแค่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดดั่งใจต้องการ ทำให้วัสดุเหลือใช้อะไรก็สามารถนำกลับมาใช้ได้หมด ไม่ได้มีเกณฑ์มาตรวัดมาตีกรอบ และเมื่อเราตั้งใจมองให้ลึกขึ้น หลายครั้งการ Upcycling ของข้างทางเหล่านี้มักไม่ได้จบแค่เรื่องวัสดุเหลือใช้ แต่ยังมีการเข้าไปหยิบยืมสิ่งของ องค์ประกอบ หรือโครงสร้างใดๆ ของเมืองที่เริ่มไม่ก่อประโยชน์ในการใช้สอยทางกายภาพ นำมา Upcycling ร่วมกับวัสดุเหลือใช้ได้อีกด้วย เช่น นำรูของเสาไฟมาเสียบด้วยแท่งไม้ม็อปให้กลายเป็นราวตากผ้า หรือใช้ซี่รั้วเหล็กเป็นฐานให้เก้าอี้ออฟฟิศเก่าที่ขาพังแล้วเข้าไปมัดติดไว้ให้พอนั่งได้ สิ่งเหล่านี้มันเริ่มไปไกลกว่าคำว่า Upcycling […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤษภาคม 2567

ของพวกนี้ดีไซน์แล้วหรือยังเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองในช่วงไม่นานมานี้ หลังจากเริ่มเผยแพร่ภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์อันแสนน่าอัศจรรย์ใจที่พบเจอตามริมทางท้องถนนเมืองไทยมาสักพักใหญ่ ทั้งผ่านช่องทางส่วนตัวหรือกับทาง Urban Creature เอง ตอนผมเรียนในโรงเรียนออกแบบ โดยทั่วไปอาจารย์มักสอนกันว่า เวลาสร้างผลงานใดๆ เราจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามสิ่งที่เราดีไซน์กันอยู่ให้ได้ 3 เรื่อง ได้แก่1) ฟังก์ชันการใช้งาน2) ตอบโจทย์แก้ปัญหา3) ความสวยงาม แต่เมื่อเรามีประสบการณ์ทำงานดีไซน์ไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะพบกันว่า ไอ้ข้อที่ 3 ที่ว่าเรื่องความสวยงาม เริ่มกลายเป็นเรื่องรองมากขึ้น เพราะในสังคมปัจจุบัน ความสวยงามเป็นเรื่องของปัจเจกสูง มีความแล้วแต่บุคคลจะมอง เทสใครเทสมัน ทำให้ยุคหลังๆ นักออกแบบหลายคนในหลายวงการโฟกัสผลงานดีไซน์ไปที่เรื่องฟังก์ชันและการแก้ปัญหาเป็นหลักเสียมากกว่า เพราะงานออกแบบที่สวยงามมากๆ แต่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก็อาจไม่เรียกว่างานดีไซน์ที่ดีได้เช่นกัน กลับมาที่สิ่งประดิษฐ์จากคนธรรมดาผู้ไม่ได้เรียนออกแบบที่เราพบเจอได้ตามท้องถนน แล้วของพวกนี้มันดีไซน์แล้วหรือยัง มันอาจจะดีไซน์แล้วมั้ง-เพราะมีฟังก์ชันและสามารถแก้ปัญหาได้ดีมากๆ แต่หน้าตาก็ดูแปลกๆ หรือมันยังไม่ได้ดีไซน์-เพราะหน้าตาแย่เกินไปกว่าที่เราควรจะไปชื่นชมมัน หรือต้องเป็นของที่ผ่านมือนักออกแบบเท่านั้นถึงจะเรียกว่าดีไซน์ บอกเลยว่าตัวผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ เพราะเมื่อได้พบเจอกับของพวกนี้ชิ้นใหม่ๆ ทุกครั้ง ผมจะรู้สึกว้าวอยู่ตลอด มันชวนตั้งคำถามและท้าทายอาชีพนักออกแบบอยู่เสมอๆ ว่าพวกเราสามารถคิดวิธีออกแบบได้ดีเท่านี้ไหม แล้วเพื่อนๆ ทุกท่านคิดว่าของเหล่านี้ถูกดีไซน์แล้วหรือยัง หากยังไม่แน่ใจในคำตอบแบบเดียวกับผม ก็ขอชวนมาดูภาพของเหล่านี้กันเพลินๆ อีกครั้ง ที่ผมคัดสรรมาให้โดยเฉพาะกับคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอ ประจำเดือนนี้ได้เลย Table + Height Adjustment ระดับความสูงของโต๊ะอ่างล้างจานมาตรฐานบ้านเรามักจะอยู่ที่ […]

นักเรียนญี่ปุ่นผุดไอเดียประดิษฐ์ ‘เครื่องตัดเค้ก’ ที่แบ่งเค้กแต่ละชิ้นให้มีขนาดเท่ากันเป๊ะ

‘เค้ก’ ถือเป็นไฮไลต์ที่หลายคนตั้งตารอในงานวันเกิดและงานเฉลิมฉลองต่างๆ แต่ปัญหาน่ากวนใจที่มากับขนมชนิดนี้ก็คือ ‘การแบ่งเค้กไม่เท่ากัน’ บางคนได้ชิ้นใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป บางคนอดกินเพราะเค้กถูกแบ่งจนหมดต่อหน้าต่อตา เพราะเหตุนี้ นักเรียนมัธยมปลายจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายคุนิซากิ จังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น จึงปิ๊งไอเดียคิดค้น ‘เครื่องตัดเค้ก’ ที่ทำให้เค้กทุกชิ้นมีขนาดและสัดส่วนเท่ากันเป๊ะๆ หมดปัญหาเรื่องตัดเค้กไม่เท่ากันและไม่เหลือเค้กชิ้นสุดท้ายให้เกรงใจอีกต่อไป อุปกรณ์แสนชาญฉลาดชิ้นนี้มีชื่อแปลเป็นไทยว่า ‘เข้ากันได้ดีกับทุกคน’ ซึ่งมาในรูปแบบกล่องเสียงที่มีช่องว่างสำหรับใส่อาหารทรงกลมเช่นเค้กและพิซซ่า เมื่อวางอาหารไว้ในกล่อง ผู้ใช้ต้องปรับแถบเลื่อนรูปลูกศรตามจำนวนชิ้นที่ต้องการ หลังจากนั้นเครื่องจะฉายเลเซอร์เพื่อระบุมุมและองศาที่แน่นอนในการตัดเค้ก ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการตัดเค้ก 5 ชิ้น เครื่องจะระบุการตัดที่มุมละ 72 องศา ผู้ใช้สามารถใช้มีดตัดเค้กตามลำแสงเลเซอร์ได้เลย เป็นเครื่องที่ล้ำสมัย แม่นยำ และใช้งานง่ายด้วย โดยปกติแล้ว คนทั่วไปหรือร้านเบเกอรีจะใช้มีดยาวหรือแท่นสำหรับตัดเค้ก ส่วนโรงงานใหญ่ๆ ก็จะมีเครื่องจักรตัดเค้กอัตโนมัติโดยเฉพาะ ซึ่งหากเครื่องตัดเค้กของนักเรียนญี่ปุ่นชิ้นนี้มีวางจำหน่ายจริงๆ นี่จะเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ไม่เพียงแต่ช่วยให้การทำอาหารในครัวเรือนง่ายขึ้น แต่ยังช่วยให้ผู้ประกอบการหรือร้านเค้กรายย่อยเข้าถึงอุปกรณ์ที่เพิ่มความสะดวกสบายได้เช่นกัน ข้อดีอีกอย่างก็คือ อุปกรณ์ชิ้นนี้ยังถูกสุขอนามัยมากเสียด้วย เพราะไม่ต้องใช้มือจับหรือสัมผัสชิ้นส่วนของอาหารระหว่างกระบวนการตัด เหมาะกับยุคปัจจุบันที่การกินอาหารร่วมกันต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลัก ทีมนักเรียนที่คิดค้นอุปกรณ์สุดไฮเทคชิ้นนี้มีทั้งหมด 3 คน ได้แก่ วาตารุ โอโนดะ, รินโตะ คิมูระ และมิตซูมิ ไซเซ็น จุดเริ่มต้นมาจากโอโนดะ หัวหน้าทีม เคยเห็นแม่ของตัวเองพยายามตัดเค้กวันเกิดให้สมาชิกในครอบครัว […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.