‘หยุดเลือกปฏิบัติทางเพศ’ ความหวัง LGBTQ+ เกาหลีที่ถูกกดทับหลายสิบปี

I 01 ชีวิต LGBTQ+ ในเกาหลีไม่ง่าย สิทธิการรับบริการขั้นพื้นฐานที่สะดวกสบายของประชาชนเกาหลีใต้ อาจเป็นเรื่องยากมากเพียงเพราะคุณเป็น LGBTQ+ Park Edhi หญิงข้ามเพศชาวเกาหลี ที่อาศัยในโซล เป็นผู้ประสานงานประจำ DDing Dong ศูนย์ช่วยเหลือเยาวชน LGBTQ แห่งเดียวในเกาหลี ยังต้องเจอกับปัญหามากมาย เพียงเพราะเอกสารราชการระบุว่าเธอเป็นผู้หญิงข้ามเพศ ตัวตนของเธอจึงถูกตั้งคำถามตลอดเวลา ดังนั้นเรื่องง่ายๆ อย่างการสมัครบัตรเครดิต ก็ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องมีการเช็กเวชระเบียนเพื่อรับรองว่าเธอเทคฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ ดังนั้นเลยพูดอย่างเต็มปากได้ว่าชุมชน LGBTQ ในเกาหลีใต้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกัน อัตราการยอมรับความหลากหลายทางเพศของเกาหลี ถือว่าอยู่ในอันดับต่ำมาก ซ้ำยังไม่มีการคุ้มครองด้านกฎหมายสำหรับ LGBTQ+ ด้วย ต้นปี 2564 นี้มีเคสคนข้ามเพศเลือกจบชีวิตในบ้านบนหน้าสื่อถึงสองคน คนแรกคือ Kim Ki-hong นักเคลื่อนไหวและนักการเมืองข้ามเพศ และคนถัดมาคือ Byun Hee-soo ที่ต้องออกจากกองทัพ เพื่อเข้ารับการผ่าตัดยืนยันเพศสภาพ I 02 โควิด-19 กำลังทำร้าย LGBTQ+ เกาหลี ไม่น่าเชื่อว่า COVID-19 จะสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน […]

Know Your Rights and Claim Them หนังสือที่จะทำให้เยาวรุ่นรู้จักสิทธิของตัวเองมากยิ่งขึ้น

เพราะเป็นเด็กจึงไม่ต้องรู้ ‘สิทธิ’ ของตัวเอง และปล่อยให้เป็นหน้าที่ผู้ใหญ่คอยดูแลอย่างนั้นเหรอ? เสียงของเด็กถูก Muted เอาไว้ และโดนเพิกเฉย เพราะทัศนคติว่า ‘เป็นเด็กจะไปรู้อะไร’ แถมรัฐบาลในหลายประเทศก็ไม่คิดว่าเด็กจะมีอำนาจและวุฒิภาวะมากพอที่จะเรียกร้องบางสิ่งได้ และกีดกันพวกเขาออกจากการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิของตนเอง ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องรอให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ถึงจะพูดได้ แต่เด็กทุกคนจำเป็นต้องรู้และเรียกร้องได้เหมือนผู้ใหญ่ เพื่อปกป้องสิทธิของตนเองและคนอื่น ‘แองเจลินา โจลี’ และ ‘แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล’ แท็กทีมตีพิมพ์หนังสือ ‘Know Your Rights and Claim Them’ เขียนโดยความร่วมมือกับ ‘ศาสตราจารย์เจเรอดีน ฟาน บูเรน’ หนึ่งในผู้ร่วมจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งหนังสือเล่มนี้เล่าถึงแนวคิดสิทธิเด็ก ก่อนจะพัฒนามาเป็นอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พร้อมทั้งให้ข้อมูลเป็นแนวทางปฏิบัติ รวมถึงเรื่องเล่าของนักกิจกรรมเยาวชนที่เป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์เรื่อง Climate Change เรียกร้องการเข้าถึงการศึกษา หรือประณามการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแสดงพลังการยืนหยัดในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ เด็กทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก มีสุขภาพดี อาศัยอยู่ในที่ปลอดภัย ได้รับการศึกษา มีความเป็นส่วนตัว มีสิทธิเลือกและตัดสินใจในร่างกายของตัวเอง และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน ซึ่งถ้าหากเยาวชนไม่รู้จักสิทธิของตัวเอง และไม่สามารถเรียกร้องสิทธิได้ พวกเขาเสี่ยงต่อการโดนเลือกปฏิบัติ ถูกแสวงหาผลประโยชน์ ฯลฯ […]

พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ : “กลัวว่าวันที่มีประชาธิปไตยจริงๆ จะไม่มีเพนกวินอยู่ด้วย”

ไม่ว่า เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ จะเป็นแกนนำอันเป็นที่รักของมวลชนแค่ไหน จะเป็นเด็กก้าวร้าวรุนแรงในสายตาใคร จะเป็นพลเมืองจองหองของรัฐผู้แสนดี หรือจะเป็นผีร้ายหลอกหลอนชนชั้นปกครอง แต่สำหรับน้องสาวอย่าง พ้อย-พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ เพนกวินคือพี่ชายเพียงคนเดียว ที่เธอมี ถึงจะขี้แกล้ง ชอบยียวนกวนตีน แต่เขาโคตรจะห่วงน้องยิ่งกว่าใคร โลกภายนอกเพนกวินคือผู้กล้าที่ออกมาเคลื่อนไหวสั่นคลอนขั้วอำนาจทางการเมืองตั้งแต่เขาเรียนมัธยมฯ ถูกยุดยื้อออกจากห้องประชุมที่มีผู้นำทหารบ้าน้ำลายบนเวที  แต่เมื่อก่อนเรื่องการเมืองก็ยังดูจะเป็นเรื่องไกลสายตาพ้อยอยู่ดี  และแม้เพนกวินจะเป็นแค่นักศึกษา แต่เมื่อลงสนามรับบทแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้ประเทศเน่าเฟะนี้ได้มีประชาธิปไตยจริงๆ สักที เขาก็ต้องแลกอุดมการณ์กับการถูกคุกคาม ไม่ใช่แค่คุกคามเพนกวิน แต่อันตรายยังทอดเงาสีดำไปยังครอบครัวชิวารักษ์ ถูกตีตราเป็นครัวเรือนคนชังชาติ และเป็นไอ้พวกตัวน่ารำคาญของผู้กดขี่  จากไกล การเมืองกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวพ้อยขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีอีกแล้วครอบครัวชนชั้นกลางที่เคยใช้ชีวิตสามัญ เพราะวันนี้พวกเขาสะกดคำว่าสงบ ร่วมกับพวกเผด็จการคลั่งอำนาจไม่ได้อีกต่อไป นี่จึงเป็นแรงขับสำคัญให้เด็กสาวที่ไม่เคยออกมาเคลื่อนไหว และไม่ไยดีการเมือง ตัดสินใจออกตามหาความยุติธรรม ด้วยการลุกมาต่อสู้ และทวงคืนความสุขที่แท้จริงให้สังคม เรารู้ว่าพ้อยไม่ได้คาดหวังให้คุณเห็นด้วยกับตัวเธอหรอก แต่ถ้ามองเพนกวินเป็นคนในครอบครัวตัวเอง คุณจะเลือกแสยะยิ้มอย่างสะใจ หรือเสียใจที่วัยรุ่นคนหนึ่งกำลังถูกทำร้าย เพียงเพราะเขาแค่อยากเห็นอนาคตที่ดีของทุกคน ไม่ว่าใครจะคิดยังไงก็ช่าง แต่พ้อยตัดสินใจหนักแน่นแล้วว่าจะออกมายืนเคียงข้างพี่ชาย ผู้ฝันจะได้เห็นประชาธิปไตยเต็มใบ แม้ต้องแลกกับความมอดไหม้ของตัวเองก็ตาม ลำปาง พีทกับพ้อยเป็นสองพี่น้องสายประชาธิปไตย “ตั้งแต่เกิดกวินชื่อพีท แต่นางบอกว่าอุ๊ย นกเพนกวินน่ารักจังเลย ขอเปลี่ยนชื่อเป็นเพนกวินดีกว่า (หัวเราะ) แล้วตอนเด็กๆ เราจะชอบเอาสีมาเขียนกำแพง […]

LGBTQ ไม่ใช่คนป่วย! รัฐยูทาห์ในอเมริกา ‘แบน’ การบำบัดกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ

ยูทาห์ เป็นรัฐที่ 19 ในสหรัฐอเมริกาซึ่งออกมา ‘แบน’ การบำบัดกลุ่ม LGBTQ หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในเยาวชนเพื่อเปลี่ยนรสนิยมทางเพศ โดยการบำบัดนี้แพร่กระจายไปทั่วอเมริกา ซึ่งพ่อแม่หลายคนก็มักนำลูกหลานที่เป็น LGBTQ ไปเข้ารับการบำบัด การบำบัดคนหลากหลายทางเพศให้กลับใจ ใช่ว่าจะได้การยอมรับจากสมาคมการแพทย์ และสมาคมจิตวิทยาหลายแห่งทั่วโลก เพราะถูกมองว่าเป็นการสร้างความเข้าใจผิดๆ และทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดรู้สึกเกิดภาวะซึมเศร้า กว่าที่กฎหมายนี้จะถูกบังคับใช้ ต้องเจอกับอุปสรรคมากมาย อย่างลัทธิมอร์มอนในรัฐยูทาห์ที่สนับสนุนการบำบัดนี้ และเชื่อว่าการเป็น LGBTQ นั้นถือเป็นบาปกรรม แต่ในปีที่แล้วได้มีนักบำบัดออกมายอมรับว่าตัวเองก็เป็นเกย์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาเคยมีอคติกับกลุ่มคน LGBTQ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลายอย่างทำให้เขาเปลี่ยนความคิด และกล้าออกมาเปิดเผยตัวตน การที่รัฐยูทาห์ออกมาแบนการบำบัดกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ถือเป็นการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของรัฐ โดยหลังจากที่ประกาศใช้นโยบายนี้ ถ้านักบำบัดในเมืองยูทาห์คนใดฝ่าฝืน ก็อาจโดนยึดใบประกอบวิชาชีพทันที SOURCEbit.ly/2RRYbGf bit.ly/2O4inUlbit.ly/38HFiwA

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.