Light Rail Tunnel Karlsruhe ชานชาลารถไฟฟ้าที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นตัวเอกในหนังรักโรแมนติก

แม้ว่าชานชาลารถไฟฟ้าใต้ดินจะเป็นฉากที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ ในหนังรักโรแมนติก แต่ความเป็นจริงแล้วที่นี่กลับเป็นสถานที่ที่มีบรรยากาศอึมครึม เต็มไปด้วยผู้คน เสียงดัง และความวุ่นวายจนมองหาความโรแมนติกไม่ค่อยจะเจอ ถ้าคุณกำลังมองภาพสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นแบบนี้ เราอยากชวนไปสัมผัสความโรแมนติกของชานชาลารอรถไฟฟ้าใต้ดินรางเบาทั้ง 7 แห่งบริเวณใจกลางเมืองคาร์ลสรูเออ ประเทศเยอรมนี อย่าง ‘Light Rail Tunnel Karlsruhe’ พร้อมๆ กัน ผ่านการออกแบบและติดตั้งไฟที่จะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเหมือนกำลังเป็นตัวเอกในหนังรักโรแมนติกสักเรื่อง Light Rail Tunnel Karlsruhe เป็นผลงานการออกแบบของสตูดิโอออกแบบ ‘allmannwappner’ ร่วมกับ ‘Ingo Maurer’ นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวเยอรมันที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบโคมไฟและการติดตั้งไฟ ทำให้ชานชาลาทั้ง 7 แห่งสามารถถ่ายทอดความเรียบง่ายออกมาได้ จนทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสงบ ไม่ต้องเร่งรีบตลอดเวลาเหมือนตอนใช้งานรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งอื่นๆ พื้นที่สีขาวที่เรียบง่ายและสม่ำเสมอตลอดเส้นทาง เกิดจากการใช้วัสดุชนิดเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบนเพดาน ผนัง หรือพื้น เพื่อลดสัญญาณรบกวนทางสายตาและให้ความสำคัญกับองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ อย่างรถไฟ สัญลักษณ์ และตัวอักษรสีแดงภายในชานชาลาได้มากขึ้น นอกจากนี้ Ingo Maurer ยังใช้หลอดไฟ LED สีขาวให้แสงสว่างกับสถานี ส่งผลให้ชานชาลาแห่งนี้มีความมินิมอลเรียบง่าย ให้ความรู้สึกสบายตามากยิ่งขึ้น และพิเศษไปกว่าเดิมด้วยการเล่นแสงจากสปอตไลต์ RGB สีแดง น้ำเงิน […]

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

หยุดยืนหรือแบ่งช่องเดิน? ใช้บันไดเลื่อนยังไงให้ว่องไวและปลอดภัยที่สุด

ช่วงเวลาไพร์มไทม์บนสถานีรถไฟฟ้าของมนุษย์เงินเดือน ต้องเข้าแถวเรียงเดี่ยวชิดขวา ปล่อยบันไดเลื่อนฝั่งซ้ายโล่งโจ้งเพื่อเป็นช่องทางเร่งด่วนให้คนรีบทำเวลา แต่การแบ่งฝั่งให้คนยืนและเดินช่วยเคลื่อนย้ายคนได้เยอะจริงหรือเปล่า ความน่าสนใจของข้อสันนิษฐานนี้ คือข้อมูลจากเอกสารวิชาการ ‘Estimation of Capacity of Escalators in London Underground’ โดย Paul Davis และ Goutam Dutta ที่ลงพื้นที่สำรวจสถานีรถไฟใต้ดิน ‘Holborn Station’ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้งานมากถึงปีละ 56 ล้านคน พบว่ามีการแบ่งฝั่งบันไดเลื่อนสำหรับการเดินและยืน คำนวณจากความยาวบันไดเลื่อน 24 เมตร ฝั่งเดินใช้เวลา 46 วินาที และฝั่งยืนใช้เวลา 138 วินาที เพื่อไปถึงที่หมาย  Paul Davis และ Goutam Dutta สองนักวิจัยไหว้วานให้นายสถานีขอความร่วมมือผู้โดยสารให้ยืนทั้งสองฝั่งบันไดเลื่อน ถึงแม้จะมีบางส่วนที่ยังเผลอยืนแบ่งฝั่งด้วยความเคยชินก็ตาม แต่ผลสรุปของพวกเขาพบว่า การยืนทั้งสองฝั่งใช้เวลา 59 วินาทีเพื่อไปถึงที่หมาย นั่นหมายความว่าฝั่งคนเดินจะเสียเวลาเพิ่ม 13 วินาที แต่คนยืนจะลดเวลาได้มากถึง 79 […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.