เยอรมนีทำอย่างไรถึงเป็นประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก

คนส่วนใหญ่คงรู้อยู่แล้วว่า ‘การแยกขยะ’ หรือ ‘การรีไซเคิลขยะ’ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศทั่วโลกผลักดันนโยบายเรื่องนี้มานานแล้ว และจำนวนไม่น้อยสามารถเปลี่ยนการแยกขยะให้เป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนทุกคนได้สำเร็จ ‘เยอรมนี’ ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการและการรีไซเคิลขยะ เพราะข้อมูลปี 2021 ระบุว่า เยอรมนีคือประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก นั่นคือมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนขยะทั้งหมดที่ประเทศผลิตออกมา Urban Creature อยากพาทุกคนไปหาคำตอบว่า เยอรมนีทำอย่างไรถึงกลายเป็นดินแดนที่ยืนหนึ่งเรื่องการนำของเสียและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผ่านการสำรวจนโยบายและโครงการที่เข้มแข็งของภาครัฐ ไปจนถึงการให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน 01 | นโยบายจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐบาลเยอรมนีมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการขยะ รวมไปถึงการรีไซเคิลขยะภายในประเทศ เหตุผลหนึ่งมาจากการออกกฎหมายและนโยบายที่เข้มแข็ง ทำให้ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนมีส่วนร่วมในการแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามนโยบายหลักที่เยอรมนีใช้ควบคุมและจัดการขยะภายในประเทศ ได้แก่ 1) ‘Packaging Ordinance (1991)’ หรือ ‘กฤษฎีกาว่าด้วยบรรจุภัณฑ์’ คือกฎหมายฉบับแรกของเยอรมนีที่กำหนดให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าต้องจัดการขยะของแพ็กเกจจิ้งต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มตัวสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าเสียหาย, ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่งมาอีกทีเพื่อป้องกันความเสียหายและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า สุดท้ายคือ ‘บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging)’ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาและขนส่งตัวสินค้านั่นเอง รัฐบาลเยอรมนีมองว่า แพ็กเกจจิ้งหลายรูปแบบนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม […]

พระสติ พระเครื่องจากพลาสติกที่เตือนให้ทุกคนบริโภคอย่างมีสติและรักสิ่งแวดล้อม

เมื่อช่วงงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ผ่านมา หลายคนน่าจะได้ไปร่วมกิจกรรมหรือได้ยินข่าวเกี่ยวกับ ผ้าป่า Design Week โปรเจกต์เชิงทดลองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทอดผ้าป่า ในการนำวัฒนธรรมการแบ่งปันสู่คนรุ่นใหม่ ด้วยวิธีการทำบุญแบบใหม่ ในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล สิ่งที่ทำให้งานผ้าป่างานนี้ต่างจากงานผ้าป่าทั่วไปคือ การเชื่อมโยงระหว่างผู้บริจาคและผู้รับบริจาคให้เกิดความสะดวก โปร่งใส มีทางเลือกในการบริจาคหลากหลายตามความสนใจของผู้บริจาค ทั้งวัด การแพทย์ และการศึกษา ทั้งยังเพิ่มทางเลือกในการบริจาคขยะพลาสติกและขวดแก้วสะอาดแทนเงิน เพื่อนำไป Upcycle เป็นโปรดักต์ต่อไปด้วย ทว่า นอกจากไอเดียสร้างสรรค์ที่ปรับประยุกต์ความเชื่อประเพณีของคนไทยที่ดูเชยให้กลับมาร่วมสมัย จนคนไปร่วมงานแน่นขนัดชนิดที่เรียกว่างานผ้าป่าแตกแล้ว ‘พระสติ’ ที่สร้างขึ้นจากขยะพลาสติก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกกับผู้ที่บริจาค ผู้รับบริจาค และผู้สนับสนุนโครงการ ก็ถือเป็นไฮไลต์ดึงดูดผู้คนให้มาร่วมงานไม่ต่างกัน จากวัสดุที่คนทิ้งขว้าง ไม่สนใจ กลับกลายเป็นของหายากที่ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังไม่นับสตอรี่ที่มาพร้อมกับการออกแบบ และการนำเสนอความเชื่ออิงหลักพุทธร่วมสมัยที่เตือนให้บริโภคอย่างมีสติ สนับสนุนความเท่าเทียม และรักษ์โลกอีกนะ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ผ่านการศึกษาและคิดมาอย่างถี่ถ้วน เพราะต่อให้คนอยากได้พระเครื่องเพราะความแรร์หรือรูปลักษณ์เท่ๆ ก็ตาม ทว่า อย่างน้อยๆ คนคนนั้นจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหลักศาสนา สิ่งแวดล้อม หรือการรีไซเคิลไปด้วย เบื้องหลังของไอเดียพระสตินี้คืออะไร กว่าขยะพลาสติกจะกลายมาเป็นพระเครื่องยอดฮิตที่ใครๆ ต่างอยากได้มาบูชา ต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบอย่างไรบ้าง เรามาคุยกับ ‘ไจ๋–ธีรชัย […]

ไปรษณีย์ไทยเปิดไดรฟ์ทรู 18 จุดทั่วประเทศ รับบริจาคกล่องและซองพัสดุไม่ใช้แล้ว ผลิตชุดโต๊ะ-เก้าอี้ให้โรงเรียน ตชด.

สายช้อปปิงออนไลน์คงคุ้นเคยกับปัญหาบ้านรกและเต็มไปด้วยกล่อง ลัง และซองพัสดุหลายขนาด จะทิ้งก็เสียดายเพราะสภาพยังดีอยู่ แต่จะใช้ประโยชน์ก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคน ส่งต่อกล่องและซองไม่ใช้แล้วร่วมแคมเปญ ‘ไปรษณีย์ reBOX #3’ เพื่อรีไซเคิลเป็นโต๊ะและเก้าอี้สำหรับนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ไปรษณีย์ reBOX #3 คือโครงการที่เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของไปรษณีย์ไทย และ SCGP ภายใต้แนวคิด ‘reBOX to School’ เพื่อรับบริจาคกล่องและซองพัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของอะไรก็ได้ ไม่จำกัดยี่ห้อ หลังจากนั้นจะนำไปผลิตเป็นชุดโต๊ะและเก้าอี้กระดาษ และส่งมอบให้นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศในช่วงปลายปีนี้ ความพิเศษของปีนี้ ไปรษณีย์ไทยเผยมิติใหม่ของการบริจาค เปิดตัวจุด Drive & Drop ที่ทำการไปรษณีย์ 18 แห่งทั่วไทย เพื่อเอื้อให้การบริจาคง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู สามเสนใน  2) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู หลักสี่  3) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู ลาดพร้าว  4) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู ลำลูกกา  5) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู มีนบุรี  6) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู บางพลี                         […]

‘เก็บกลับ-รีไซเคิล’ ไทยเบฟ ส่งต่อไออุ่นผ่านผ้าห่มจากขวดพลาสติกรีไซเคิลแก่ผู้ประสบภัยหนาว

ในช่วงต้นปีแบบนี้พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงต้องเผชิญกับภัยหนาวอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ เพราะหน้าหนาวของพวกเขาคือหนาวจริงๆ เกินกว่าที่ร่างกายจะต้านทาน.บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยพันธมิตรอีกหลายภาคส่วน ดำเนินโครงการ ‘ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว’ เพื่อส่งมอบผ้าห่มแก่พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล มาเป็นเวลากว่า 21 ปี พร้อมขยายเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสังคมแห่งการ “ให้” ที่ยั่งยืน.ไทยเบฟในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ให้ความสำคัญในเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคเพื่อนำไปรีไซเคิลจึงได้นำแนวคิดนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับบรรจุภัณฑ์ และสร้างประโยชน์ส่งต่อให้ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับที่องค์กรมุ่งเน้นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การออกแบบและเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด.โดย “โครงการ เก็บกลับ-รีไซเคิล” ภายใต้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด จากแนวคิดว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน และเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ได้มีการจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ พร้อมตั้งจุดรับขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม พร้อมทั้งออกบูธกิจกรรมตามโรงเรียน ชุมชน หรืองานต่างๆเพื่อรณรงค์กระตุ้นการเรียนรู้การคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค ตั้งแต่ต้นทางที่มีคุณภาพ กลับคืนสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณของเสียในสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์แก่สังคม.ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ที่ว่าก็คือ การเก็บกลับขวดพลาสติก PET ที่บริโภคแล้ว เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบและผลิตเป็นเส้นใย rPET และถักทอเป็น “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” เพื่อมอบให้แก่ผู้ประสบภัยหนาว.โดยเส้นใยจากขวด rPET จะช่วยลดพลังงานการผลิตลงได้ 60% ลดปริมาณการปล่อย co2 ได้ 32% […]

Peterson Stoop แบรนด์ที่คืนชีพสนีกเกอร์เก่าให้เป็นรองเท้าคู่ใหม่

รองเท้าเก่าคือขยะแฟชั่นอีกหนึ่งชนิดที่ถูกทิ้งทุกวันจนแทบจะล้นโลก เพราะคนหนึ่งคนมีรองเท้ามากกว่าหนึ่งคู่ และไม่ใช่รองเท้าทุกคู่จะถูกใช้จนสิ้นอายุขัย บางคู่ถูกทิ้งก่อนเวลาอันควรเพราะชำรุด ค้างสต็อก หรือถูกส่งต่อด้วยการบริจาค การจะจัดการกับ ‘ขยะ’ รองเท้าเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  ‘Peterson Stoop’ แบรนด์รองเท้าในอัมสเตอร์ดัมเห็นปัญหานี้และอยากหาทางแก้ไข จึงนำรองเท้าเก่าไปชุบชีวิตใหม่ให้ออกมาเป็นรองเท้าดีไซน์เก๋ไม่ซ้ำใคร แม้ว่าจะทำรองเท้าเพราะต้องการช่วยลดขยะ แต่ยังคงรักษาคุณสมบัติที่สำคัญคือความแข็งแรง ทนทาน และใส่เดินได้ไม่ต่างจากรองเท้ามือหนึ่ง  Peterson Stoop ก่อตั้งในปี 2016 โดย Jelske Peterson และ Jarah Stoop 2 คู่หูที่ได้สะสมความรู้ในการทำรองเท้าและการเลือกวัสดุจากการทำงานที่ร้านซ่อมรองเท้าและโรงฟอกหนังมาแล้ว และได้รับการสนับสนุนจากช่างฝีมือและเด็กฝึกงานร่วมกันสร้างสรรค์รองเท้าขึ้นมา  พวกเขาตั้งใจที่จะหาทางออกและนำพาอุตสาหกรรมแฟชั่นไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น จึงร่วมมือกับบริษัทในฝรั่งเศสที่เชี่ยวชาญในการรวบรวม คัดแยก รีไซเคิลสิ่งทอและรองเท้าทุกประเภท เพราะในศูนย์คัดแยกขยะสิ่งทอที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส จะมีการคัดแยกสิ่งทอและเสื้อผ้ากว่า 50 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นรองเท้าเหลือทิ้งไปแล้ว 5 ตัน จึงเป็นขุมทรัพย์ชั้นดีที่ Peterson Stoop สามารถเข้าไปเลือกรองเท้าสภาพดีเพื่อนำไปแปลงโฉมใหม่ได้เลย โดยพวกเขาจะเข้าไปช้อปรองเท้าจากโรงคัดแยก นำรองเท้าไปแยกโครงสร้างออกจากกัน แล้วสร้างรองเท้าขึ้นใหม่ด้วยวัสดุธรรมชาติ โดยใช้ไม้ก๊อกและหนังเป็นส่วนประกอบ และประกอบร่างขึ้นมาเป็นรองเท้าคู่ใหม่ในพื้นผิวที่แปลกตา โปรเจกต์ล่าสุดที่พวกเขาเปิด Pre-order อยู่ในขณะนี้คือรองเท้า PS SYNERGY […]

เดนมาร์กแปลงสภาพใบพัดกังหันลมเก่าเป็นโรงจอดจักรยานในท่าเรืออัลบอร์ก

เดนมาร์กใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนอย่าง ‘พลังงานลม’ จนเห็นกังหันลมเป็นส่วนหนึ่งของทิวทัศน์ในท้องถิ่นไปแล้ว ซึ่งเดนมาร์กมีแพลนผลักดันให้ได้พลังงานจากพลังงานลมถึง 70% ภายในปี 2030 จากเดิมอยู่ที่ 40% เท่านั้น เมื่อแหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่องของความยั่งยืน แต่คงไม่สมเหตุสมผลถ้าจะทิ้งใบกังหันลมแบบเสียเปล่า แน่นอนว่ามันมีอายุการใช้งานเพียง 20 ปีและไม่สามารถย่อยสลายเองได้ ปกติกังหันลมเก่าส่วนใหญ่ใช้การกำจัด 2 วิธี คือการฝังกลบและการเผา ซึ่งไม่ยั่งยืนเท่าไหร่นัก จึงเป็นโจทย์ให้รัฐบาลเดนมาร์กมองหาลู่ทางกำจัดใบพัดชิ้นใหญ่อย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และ ‘การรีไซเคิล’ คือคำตอบในช่วงเวลานี้ ทำให้พวกเขามอบหมายหน้าที่ให้บริษัทรีไซเคิลหลายแห่ง เพื่อเฟ้นหาแนวทางการนำโครงสร้างโลหะอันมหึมานี้กลับมาใช้ใหม่  โดย Re-wind เป็นหนึ่งโครงการที่ได้รับการคัดเลือก หลังจากพวกเขาได้ตรวจสอบโครงสร้างพบว่าใบกังหันลมเอามาใช้ในทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ทำให้พวกเขาต้องการเปลี่ยนกังหันลมให้เป็น ‘โรงจอดจักรยาน’  Brian D. Rasmussen ผู้ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างท่าเรือและดูแลสิ่งแวดล้อมท่าเรืออัลบอร์ก เล่าถึงการนำใบกังหันลมมาทำให้ฟังว่าช่วงแรกเป็นเรื่องยาก เพราะใบพัดถูกออกแบบมาเพื่อเก็บเกี่ยวพลังงานให้ได้มากที่สุด มันจึงมีน้ำหนักมากกว่า 20 ตัน พวกเขาจึงตัดส่วนที่ไม่จำเป็นของใบพัดออกไป เช่น ส่วนล่างสุด และปลายใบพัด เพื่อลดน้ำหนักลงและดัดรูปทรงได้ง่ายขึ้น ก่อนจะให้ช่างฝีมือท้องถิ่นมาตีเหล็กตามแบบติดตั้งช่องจอดจักรยานก็พร้อมใช้งานเรียบร้อย โรงจอดจักรยานจากใบกังหันลมเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ารัฐบาลสามารถหาทางทำให้ของเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ Cork Institute of Technology (CIT) จากประเทศไอร์แลนด์กำลังทดลองรีไซเคิลกังหันลมให้เป็นลานสเก็ต […]

ไต้หวันสร้าง Hub อัจฉริยะให้นำถ่านใช้แล้วมารีไซเคิลได้แต้มซื้อของและใช้ขนส่งฟรีๆ

ทุกวันนี้คนไต้หวันใช้แบตเตอรี่เซลล์แห้ง จำพวกถ่านที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากถึง 11,000 ตัน หรือ 11,000,000 กิโลกรัมต่อปี สวนทางกับกำลังการรีไซเคิลของไต้หวันที่ทำได้แค่เพียง 4,000 ตันต่อปีเท่านั้น ด้วยสาเหตุนี้นี่เองทำให้เกิดสถานีรีไซเคิลแบตเตอรี่อัจฉริยะถึง 3 แห่ง ที่เปิดแบบไม่มีวันหลับใหลตลอด 24 ชั่วโมงในเมืองซินจู๋ (Hsinchu) ทั้งในพื้นที่สาธารณะ ร้านชานมไข่มุก และมินิมาร์ต ซึ่งแต่ละ Hub รับแบตเตอรี่เซลล์แห้งไปรีไซเคิลได้ถึง 7 ขนาดด้วยกัน เช่น ถ่านหรือแบตฯ D, C, AA, AAA และ AAAA รวมถึงแบตเตอรี่ 9 โวลต์  หลิน ฉือเจียน (Lin Chih-chien) ผู้ว่าเมืองซินจู๋ตัดสินใจจับมือกับบริษัทสตาร์ทอัปรีไซเคิลชื่อ Ecoco โดยตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันยังช่วยลดการสัมผัสระหว่างกันในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วย  แต่จะให้ทำโปรเจกต์เบาๆ ก็คงไม่สมชื่อซินจู๋ เมืองแห่งเทคโนโลยี ดังนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนเลยสร้างแรงจูงใจดีๆ เพื่อให้ผู้คนนำถ่านและแบตเตอรี่มารีไซเคิลกันมากขึ้น ด้วยการให้แบตฯ แต่ละก้อนสามารถแลกแต้มได้ 2 รูปแบบ ทั้งแต้มจาก […]

‘pong’ ไม้ปิงปองลาย Terrazzo จากพลาสติก HDPE รีไซเคิล

ทุกวันนี้มีสตูดิโอเจ๋งๆ หันมาออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้กันเยอะมาก งานหนึ่งที่เรารู้สึกว่าสนุก สะดุดตา และยังไม่ค่อยเห็นใครทำคืออุปกรณ์กีฬาจากวัสดุรีไซเคิล  Préssec คือสตูดิโอออกแบบในซิดนีย์ ออสเตรเลีย ผู้ออกแบบและพัฒนา ‘pong’ ไม้ตีปิงปองที่ทำจาก พลาสติก HDPE รีไซเคิลออกมาเป็นลวดลายเทอร์ราซโซ (Terrazzo) หรืองานหินขัดที่เก๋ น่าใช้ และกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้ แม้จะไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้กีฬาปิงปอง แต่เห็นดีไซน์แล้วก็กระตุ้นต่อมความอยากเป็นเจ้าของได้เช่นกัน โปรเจกต์นี้ Préssec เล่าว่าพวกเขาคิดขึ้นได้ในระหว่างช่วงที่ซิดนีย์ล็อกดาวน์ ด้วยความเบื่อหน่ายชีวิตในบ้านจึงฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปองในครัวกันบ่อยๆ พวกเขาพบว่าปิงปองเป็นกีฬาที่เล่นง่าย อุปกรณ์ไม่เยอะ แค่มีโต๊ะยาวและไม้ปิงปองก็เล่นตรงไหนก็ได้ และนึกสงสัยขึ้นมาว่าทำไมไม่เคยเห็นใครทำไม้ปิงปองให้มันดูสนุกขึ้นบ้าง จะเป็นอย่างไรถ้าเขาลองเอาวัสดุรีไซเคิลมาทำดู จากที่ฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปอง พวกเขาเลยเปลี่ยนมาฆ่าเวลาด้วยการทำไม้ปิงปองกันแทน  Préssec ทดลองสเก็ตช์แบบไม้ปิงปองเพื่อหาความเป็นไปได้กันทุกสัปดาห์ และพบว่าการเอาเศษพลาสติก HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถนำมาหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้ มีลักษณะขุ่น มีคุณสมบัติยืดหยุ่น ผิวไม่มันเงา แข็ง เหนียว ไม่เปราะแตกง่าย และทนสารเคมี มาลองหลอมและขึ้นรูปใหม่แทนการใช้วัสดุที่เป็นไม้  ไม้ปิงปองเป็นวัสดุที่มีมานาน ถ้าดัดแปลงมาก็อาจจะใช้งานไม่ได้จริง Préssec จึงใช้วิธีคิดแบบใหม่กับการออกแบบวัสดุเดิม เพราะการจะเป็นไม้ปิงปองได้ไม่ใช่แค่รูปทรงถูกต้องเท่านั้น น้ำหนัก สัมผัส และการใช้งานต้องเหมาะสมด้วย […]

ค้นหาทางออกเพื่อให้เรารอดจากขยะพลาสติก ผ่านการนำขยะมาทำเป็นธุรกิจ | City Survive EP.1

“สำหรับปัญหาขยะพลาสติก หากเราไม่ได้จัดการหรือร่วมมือกันแก้ไขทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบ ทุกฝ่ายยังทำแบบที่ทำกันอยู่ ใน ค.ศ. 2050 คาดการณ์ว่าจะมีขยะพลาสติกมากกว่าปลาในทะเล” นี้คือหนึ่งในบทสัมภาษณ์จากสารคดี City Survive ทางรอดขยะพลาสติก ผ่านธุรกิจขยะ City Survive รายการสารคดีที่ว่าด้วยเรื่องการแก้ปัญหาเมืองอย่างสร้างสรรค์ ในตอนแรกนี้เราจึงหยิบยกปัญหาขยะพลาสติกขึ้นมาบอกเล่าและตีแผ่ถึงปัญหา และร่วมหาทางรอดไปพร้อมกัน กับหนึ่งทางออกอย่างสร้างสรรค์คือการนำขยะเหล่านี้มาทำเป็นธุรกิจ ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน มนุษย์ได้ ภาคธุรกิจได้ โลกได้ สิ่งแวดล้อมได้ และความยั่งยืนได้ รวมไปถึงคำถามที่ว่าพลาสติกนั้นผิดจริงๆ หรือหากไม่มีผิดถูกเราจะอยู่ร่วมกับพลาสติกอย่างไรให้ทั้งเราและโลกไปต่อได้ หลายคำตอบรวมอยู่ในสารคดีทางรอดขยะพลาสติก ผ่านธุรกิจขยะนี้

‘CHVA’ แบรนด์ที่พลิกวัชพืชอันตรายเป็นวัสดุกันกระแทกแก้ปัญหาขยะพลาสติกจากช้อปปิง Online

ชวนคุณไปจัดการกองผักตบชวาที่ลอยค้างในลำคลอง มาแปรรูปเป็นโปรดักต์เพื่อสิ่งแวดล้อม ช่วยทดแทนการใช้พลาสติกกันกระแทกให้น้อยลงแล้ว แถมยังสร้างความหมายให้กับชุมชนอีกด้วย

เสิร์ฟความมันส์แบบรักษ์โลก ! กับ ‘สเก็ตบอร์ด’ ที่รีไซเคิลจากส้อมไม้ 800 คัน

ดีไซเนอร์ชื่อ ‘Jason Knight’ จึงปิ้งไอเดียทำแผ่นกระดานสเก็ตบอร์ดจากขยะพลาสติกรีไซเคิลแบบ 100% ที่มีชื่อว่า ‘Skateboard Decks’ ที่ไม่ได้เน้นแค่ความสวยงาม แต่เพิ่มความแข็งแรงทนทานเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะหล่นหรือโดนกระแทกแรงแค่ไหนก็หายห่วง

Pretty Plastic กระเบื้องปูผนังรีไซเคิล 100%

เทรนด์เปลี่ยนขยะให้มีมูลค่า นับว่าเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ ‘ขยะพลาสติก’ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา ทำเอา Overtreders W ทีมนักออกแบบพื้นที่ และ Bureau SLA สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม จากเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ จับมือกันปิ๊งโปรเจกต์ Pretty Plastic ที่นำขยะ PVC มารีไซเคิลเป็นโปรดักต์กระเบื้องปูผนังสีเทาสุดเท่ “นี่คือกระเบื้องปูผนังอาคารรีไซเคิล 100% ครั้งแรกในโลก” คำเคลมของนักออกแบบ โดยแรกเริ่มโปรเจกต์ Pretty Plastic ได้ลองนำกระเบื้องไปใช้กับอาคารชั่วคราวในงาน Dutch Design Week เมื่อปี ค.ศ. 2017 โดยหลังจากงานนั้นก็มีคนมาถามไถ่และขอซื้อกันเพียบ ทำให้พวกเขาต้องพัฒนาโปรดักต์นี้ให้เป็นธุรกิจอย่างจริงจัง พวกเขานำขยะพลาสติก PVC จำพวกท่อน้ำ กรอบหน้าต่างเก่า รางน้ำฝน มาทำความสะอาด หลอม และแปรรูปจนออกมาเป็นกระเบื้องเฉดสีเทาเท่ๆ และมีลวดลายชวนสัมผัส ซึ่งไม่ต้องห่วงเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย เพราะโปรดักต์นี้ได้ผ่านการรับรองอัคคีภัยคลาส B ประเภทวัสดุเผายากมากมาแล้ว สามารถนำไปใช้กับตึกรามบ้านช่องได้อย่างไร้กังวล นี่ไม่ใช่โปรเจกต์แรกที่นักออกทั้ง 2 ทีมจับมือกัน พวกเขาเคยสร้างโปรเจกต์เพื่อสิ่งแวดล้อมกันมาแล้ว […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.