จับตา สว. โหวต ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ ในวาระ 2 และ 3 หลังสภาให้ไฟเขียวในวาระ 1 พรุ่งนี้ 18 มิ.ย. 67 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป

หนึ่งประเด็นทางการเมืองที่น่าจับตามองคงหนีไม่พ้น ‘ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ที่ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา หลังผ่านร่างกฎหมายในสภาไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ด้วยคะแนน 147 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ถือเป็นก้าวสำคัญของความเท่าเทียม หลังจากมีการถกเถียงและเรียกร้องกันมาอย่างยาวนาน โดยจุดสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การแก้ไขให้บุคคลสองคนทุกเพศ รวมถึงคนที่มีเพศเดียวกัน สามารถสมรส จัดการทรัพย์สิน และรับบุตรบุญธรรมได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งในกรณีของการรับบุตรบุญธรรม การกำหนดอายุและบริบทของสังคมยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่ในสภา จึงเป็นเรื่องที่เหล่านักออกกฎหมายต้องแก้ไขกฎหมายให้ครอบคลุมมากกว่าเดิมแบบไม่มีช่องว่าง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าหลังจากที่มีการโหวตผ่านโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ไปก่อนหน้า แต่ขั้นตอนการพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียมยังไม่จบอยู่เพียงเท่านี้ เพราะในวันที่ 18 มิถุนายน ร่างกฎหมายฉบับนี้จะถูกพิจารณาอีกครั้งในที่ประชุมโดยสมาชิกวุฒิสภา (สว.) และจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก สว.ชุดรักษาการ โดยมีเสียงเห็นชอบทั้งฉบับลงมติชี้ขาดในที่ประชุม ถึงจะส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ แต่หากไม่เห็นชอบ ร่างกฎหมายจะถูกยับยั้งและส่งกลับไปยังสภาผู้แทนฯ ก่อนร่างกฎหมายจะถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้หลังพ้นไปแล้ว 180 วัน หากกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่าน นี่จะเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของทุกคนต้อนรับเดือน Pride Month อย่างแน่นอน เพราะถือเป็นอีกหนึ่งขั้นในระยะทางยาวนานกว่า 12 […]

‘รัฐสภา’ ย้อนดูความเป็นมาของสถานที่เริ่มต้นในการพัฒนาประเทศและต่อสู้ทางอุดมการณ์

หลังจากสถานีการเลือกตั้งอันแสนดุเดือดจบลง สถานีต่อไปที่ประชาชนจับตามองคือ กระบวนการที่รัฐบาลชุดใหม่เข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา แน่นอนว่าเมื่อพูดถึง ‘รัฐสภา’ สถานที่แห่งนี้ย่อมเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปอยู่แล้ว เพราะเป็นสถานที่ที่มีไว้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายเข้าไปประชุมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมถึงถ้าหากฝ่ายรัฐบาลทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ฝ่ายค้านก็จะอภิปรายไม่ไว้วางใจ เหมือนอย่างที่เห็นกันตามสื่อต่างๆ ในยุครัฐบาลที่ผ่านมา แม้จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ประกอบด้วยอิฐ หิน ดิน ทราย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘รัฐสภา’ คือฉากหลังสำคัญในการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของเหล่านักการเมืองทุกยุคทุกสมัย ในช่วงเวลาที่สายลมแห่งการเปลี่ยนผ่านพัดพาสู่การเมืองไทย คอลัมน์ Urban Tales จะมาเล่าถึงประวัติศาสตร์รัฐสภาของประเทศไทยว่ามีความเป็นมายังไง แต่ละแห่งมีคอนเซปต์และความสำคัญอย่างไรบ้าง รัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า สถานที่แห่งแรกที่ใช้เป็นรัฐสภาคือ ‘พระที่นั่งอนันตสมาคม’ ซึ่งเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิตนั่นเอง ส่วนเหตุผลที่สภาผู้แทนราษฎรเข้าไปประชุมในนั้น นั่นก็เพราะในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัชกาลที่ 7 อนุญาตให้ใช้พระที่นั่งฯ เป็นสถานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยใช้ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุม ต่อมาในปี 2489 รัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดให้รัฐสภาไทยเป็นแบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนฯ และพฤฒสภา (สภาสูงหรือสภาอาวุโส) จึงกำหนดให้ใช้พระที่นั่งอภิเศกดุสิตเป็นที่ประชุมของพฤฒสภาอีกแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นหนึ่งปี หรือปี 2490 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ส่งผลให้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุมเพียงแห่งเดียว […]

รัฐสภาแบบไหนที่ใช่ ส่องการออกแบบที่ฟังเสียงประชาชน

รัฐสภาในแต่ละประเทศที่ถูกสร้างขึ้นมาสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดการปกครองของพื้นที่นั้นด้วย เมื่อสิทธิ์และเสียงของประชาชนต้องการถูกยอมรับ การออกแบบรัฐสภาก็ควรคำนึงถึงประชาชนมาเป็นอันดับแรก

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.