ชวนดูสารคดี I AM GRETA และพูดคุยประเด็นวิกฤตโลกร้อนใน 3 จังหวัดทั่วไทย ส.ค. – ก.ย. 65

ใครที่สนใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เราขอชวนทุกคนไปเปิดมุมมองใหม่และแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านกิจกรรม ‘CCCL Film Tours 2022’ ในเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน (CCCL Film Festival) โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุน Canada Fund for Local Initiatives (CFLI)  ภายในงานจะจัดฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘I AM GRETA’ ที่บอกเล่าเรื่องราวของ ‘เกรียตา ทุนแบร์ย’ นักเคลื่อนไหวทางด้านสภาพภูมิอากาศชื่อดังของโลก ผ่านฟุตเทจทั้งมุมที่แข็งแกร่งและอ่อนไหวของเธอ ซึ่งไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน เราเชื่อว่าการออกมาเรียกร้องและแสดงจุดยืนเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนของเกรียตาจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนทั่วโลกลุกขึ้นมาเรียกร้องให้สังคมและรัฐบาลทั่วโลกตระหนักต่อความสำคัญของวิกฤตโลกร้อน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสนทนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติต่างๆ ร่วมกับเยาวชน คนทำหนัง รวมไปถึงผู้ขับเคลื่อนสังคมด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิทธิมนุษยชน เพื่อสะท้อนเสียงของกลุ่มคนหลากหลายในสังคมต่อประเด็นนี้ CCCL Film Tours 2022 จัดขึ้นระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 ใน 3 จังหวัดทั่วไทย ได้แก่ 20 สิงหาคม 2565 ที่ Punspace Tha Phae Gate จังหวัดเชียงใหม่27 […]

เต่าตัวผู้หายไปไหน? โลกร้อนทำเต่าเกิดใหม่ในฟลอริดา กลายเป็นเพศเมียกว่า 99 เปอร์เซ็นต์

ภาวะโลกร้อนไม่ได้ทำให้มนุษย์ต้องเจอสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนเหงื่อซกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันยังส่งผลกระทบที่น่ากังวลต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตอย่าง ‘เต่าทะเล’ ด้วย  เพราะในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้ รายงานระบุว่า รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เจอสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษาตัวอ่อนและไข่ของเต่าทะเลค้นพบว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของเต่าทะเลที่เกิดใหม่นั้นเป็น ‘เพศเมีย’ แทบไม่มีเพศผู้เลย ข้อมูลจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (National Ocean Service) นั้นอธิบายว่า เพศของเต่าทะเลจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของไข่ที่อยู่ในขั้นตอนการเจริญพันธุ์ หากฟักตัวในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำกว่า 27.7 องศาเซลเซียส ลูกเต่าส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพศผู้ แต่ถ้าหากฟักตัวในบริเวณที่อุณหภูมิสูงกว่า 31 องศาเซลเซียส ลูกเต่าก็จะเกิดเป็นเพศเมีย ถือเป็นข้อมูลที่คลายข้อสงสัยให้กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะอากาศที่ร้อนขึ้นมากกว่าเดิมในช่วง 4 ปีนี้ ทำให้ทรายในฟลอริดาที่แม่เต่าไปฟักไข่ไว้อุณหภูมิสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น การเกิดใหม่ของลูกเต่าจึงกลายเป็นเพศเมียอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอัตราการเกิดของเต่าทะเลทั้งสองเพศที่ไม่สมดุลกันนี้ก็อาจส่งผลให้จำนวนประชากรเต่าในอนาคตลดลงตามไปด้วยเช่นกัน เห็นแบบนี้ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า น้องเต่าเกิดใหม่ในบ้านเราจะกลายเป็นตัวเมียกันหมดเหมือนกับที่ฟลอริดาไหมนะ Source : Reuters | t.ly/FvDr

ยุโรปเผชิญวิกฤตคลื่นความร้อนรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 200 ปี อังกฤษทุบสถิติร้อนทะลุ 40 องศาฯ 

หลายคนคงสังเกตได้ว่าช่วงนี้พื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก ทั้งพายุฝนฟ้าคะนองที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชน ไปจนถึงอากาศร้อนอบอ้าวสุดขีด จนหลายๆ คนไม่อยากขยับตัวหรือก้าวเท้าออกจากบ้าน แต่ไม่ใช่ประเทศไทยเท่านั้นที่เจอสภาพอากาศร้อนจนแทบทนไม่ไหว เพราะวิกฤต ‘คลื่นความร้อน (Heatwave)’ ลักษณะนี้กำลังแผ่ปกคลุมหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะภูมิภาค ‘ยุโรป’ ที่มหันตภัยคลื่นความร้อนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของชาวยุโรป และยังก่อให้เกิดไฟป่าอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า ความถี่และความรุนแรงของคลื่นความร้อนในยุโรปกำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก ด้านนักอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า คลื่นความร้อนยุโรปตะวันตกอาจปกคลุมพื้นที่ไปอีกหลายสัปดาห์ พร้อมเตือนว่าครั้งนี้อาจเป็นวิกฤตคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุดของยุโรปนับตั้งแต่ พ.ศ. 2300 หรือในรอบกว่า 260 ปี หนึ่งในประเทศที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือ ‘อังกฤษ’ อย่างเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 อังกฤษทุบสถิติอากาศร้อนครั้งใหม่ วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 40.3 องศาเซลเซียส เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศที่อุณหภูมิทะลุ 40 องศาเซลเซียส  สภาพอากาศที่ร้อนจัดติดต่อกันหลายวันทำให้รัฐบาลอังกฤษประกาศแนะนำให้ประชาชนทำงานจากที่บ้าน หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยรถไฟที่แล่นผ่านพื้นที่สีแดงซึ่งกำหนดโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาอังกฤษ เนื่องจากคลื่นความร้อนอาจทำให้โครงสร้างพื้นฐานของระบบคมนาคมอย่างรางรถไฟ สายเคเบิล และสัญญาณจราจร เสียหายได้ โดยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 หนึ่งในผู้ดำเนินงานระบบรางรถไฟของอังกฤษอย่าง Network Rail ได้แชร์ภาพรางรถไฟที่กลายเป็นสีดำหลังเกิดเหตุไฟไหม้ และยังมีรูปสัญญาณรถไฟที่ละลายเพราะโดนแดดเผา […]

Scientist Rebellion กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ประท้วงให้โลกหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก่อนที่มนุษย์จะเจอกับหายนะโลกร้อน

ใครเป็นคอหนังคงรู้จักหรือเคยดู Don’t Look Up ภาพยนตร์เกี่ยวกับนักดาราศาสตร์สองคนที่ออกมาเตือนมนุษยชาติเกี่ยวกับดาวหางที่ใกล้จะทำลายโลก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ นักการเมือง นักข่าว และผู้คนจำนวนมากกลับไม่สนใจ อีกทั้งยังทำให้คำเตือนถึงหายนะครั้งใหญ่นี้กลายเป็นเรื่องตลกอีกด้วย ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหนังไม่ได้ไกลตัวแต่อย่างใด เพราะตอนนี้เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันกำลังเกิดขึ้นจริงในโลกของเรา 6 เมษายน 2565 ปีเตอร์ คาลมุส (Peter Kalmus) นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศจากนาซา (NASA) ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่ง ได้รวมตัวประท้วงอยู่ที่หน้าสำนักงานของบริษัทเจพีมอร์แกนเชส (JPMorgan Chase) ในนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา พวกเขามัดข้อมือของตัวเองไว้กับประตูของบริษัท และยังมีผู้ประท้วงรายอื่นๆ ยืนปักหลักอยู่บริเวณหน้าสำนักงานด้วย นักวิทยาศาสตร์และผู้ประท้วงเลือกมารวมตัวที่หน้าสถาบันทางการเงินและการลงทุนยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เนื่องจากระหว่างปี 2559 – 2564 ในบรรดาธนาคารเพื่อการลงทุนทั้งหมดของโลก เจพีมอร์แกนเชสคือบริษัทที่ระดมทุนสนับสนุนโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลมากที่สุด หรือกว่า 382 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 12,900 ล้านบาท)  นักวิทยาศาสตร์เรียกร้องให้เจพีมอร์แกนเชส รวมถึงบริษัทอื่นๆ หยุดสนับสนุนเงินทุนให้แก่โครงการเชื้อเพลิงฟอสซิล เพราะผลผลิตสุดท้ายของการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกให้ค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก โครงการเหล่านี้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โลกเผชิญกับหายนะจากภาวะโลกร้อน  คาลมุสกล่าวพร้อมน้ำเสียงสั่นเครือว่า “ผมมาประท้วงที่หน้าบริษัทแห่งนี้ เพราะไม่มีใครฟังเสียงของนักวิทยาศาสตร์เลย ผมพร้อมเสี่ยงชีวิตและอาชีพเพื่อโลกที่สวยงามใบนี้ นักวิทยาศาสตร์พยายามเตือนพวกคุณมาหลายสิบปีแล้วว่าโลกกำลังมุ่งหน้าสู่หายนะที่เลวร้ายและใหญ่หลวง” แม้ว่าการประท้วงเป็นไปอย่างสงบ แต่ทางการได้ส่งเจ้าหน้าที่ในชุดปราบจลาจลกว่า […]

โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เทศกาลหนังสั้นวิกฤตโลกร้อนทั่วเอเชีย รับชมฟรีทางออนไลน์ 2 – 10 เม.ย. 65

เมษายนนี้ เราขอชวนทุกคนที่สนใจและใส่ใจประเด็นสิ่งแวดล้อมรับชม 25 หนังสั้นสะท้อนวิกฤตโลกร้อนหลากมิติจากทั่วทวีปเอเชียที่ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 2’ หรือ ‘CCCL Film Festival 2022’ หนังสั้นทั้ง 25 เรื่องที่จะฉายในเทศกาลหนังสั้นรูปแบบออนไลน์ปีนี้คือผลงานที่เคยฉายในเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยนที่สมาคมฝรั่งเศสในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็นหนังสั้นจากประเทศไทย 18 เรื่อง และหนังสั้นจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย 7 เรื่อง  หนังสั้นเหล่านี้เล่าเรื่องราวครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่วิกฤตมลพิษพลาสติก ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงการรักษาดินตามความเชื่อและประเพณีท้องถิ่น มากไปกว่านั้น ปัญหาวิกฤตโลกร้อนยังถูกถ่ายทอดในหลายรูปแบบ เช่น แอนิเมชัน สารคดี และฟิกชัน ผู้ชมจะได้ซึมซับและเข้าใจปัญหาทางธรรมชาติผ่านมุมมองที่หลากหลาย ตัวอย่างหนังสั้นที่น่าสนใจ ได้แก่ เด-ปอ-ทู่ (Deportu)ประเทศ : ไทยผู้กำกับ : ณัฐธัญ กรุงศรีเรื่องย่อ : เซเก่ทู ชายหนุ่มชนเผ่าปกาเกอะญอ ลาออกจากงานในเมืองหลวงเพื่อกลับมาปกป้องป่าเดปอผืนสุดท้าย เมื่อรู้ข่าวว่าจะมีนายทุนมากว้านซื้อที่เพื่อทำรีสอร์ตและแหล่งท่องเที่ยว เขาจึงต้องหาหนทางเพื่อรักษาผืนป่าแห่งนี้ไว้ ผีตาแฮก สารพันวัฒนธรรมข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ (Journey of Wisdom)ประเทศ : […]

รมต.ตูวาลู ปราศรัย COP26 ในทะเล ย้ำวิกฤตประเทศจมน้ำ

Simon Kofe รัฐมนตรีต่างประเทศของตูวาลู หวังว่าการกล่าวสุนทรพจน์ของเขาจะชี้ให้ทุกคนเห็นถึงข้อเท็จจริงว่า ประเทศตูวาลูเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมากลำดับแรกๆ ของโลก รัฐมนตรี Kofe ได้อัดวิดีโอบันทึกปราศรัยให้การประชุมสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติในเมืองกลาสโกว์ ด้วยการยืนอยู่ในน้ำทะเลระดับเข่า เพื่อเน้นว่าประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกที่อยู่ต่ำ กำลังอยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก วิดีโอกลางทะเลของ Simon Kofe ที่ตั้งโต๊ะแถลงในชุดสูท ผูกเนกไท และสวมกางเกงพับขา ได้รับการแชร์อย่างกว้างขวางในสื่อออนไลน์ และสามารถดึงความสนใจคนทั้งโลกไปที่ประเด็นการต่อสู้ของตูวาลูกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ Kofe ย้ำสถานการณ์จริงที่ตูวาลูเผชิญผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เพื่อเน้นย้ำถึงการดำเนินการที่ประเทศแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน วิดีโอนี้ถ่ายทำโดยสถานีโทรทัศน์ TVBC บริเวณปลายสุดของ Fongafale เกาะหลักของเมืองหลวง Funafuti โดยฉายคลิปในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศในวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ผู้นำระดับภูมิภาคผลักดันการดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อจำกัดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่จำนวนมากได้ให้คำมั่นว่าจะลดปริมาณคาร์บอนลงในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า โดยมีเป้าหมายหยุดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่ผู้นำในเกาะแปซิฟิกเรียกร้องให้มีการดำเนินการทั้งหมดทันที โดยชี้ให้เห็นว่าความอยู่รอดของประเทศที่พื้นที่แผ่นดินอยู่ระดับต่ำกำลังอยู่ในความเสี่ยงสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางช่วงโควิด-19  หนึ่งในสามของรัฐและดินแดนที่เป็นเกาะขนาดเล็กในแปซิฟิกจึงไม่สามารถส่งตัวแทนรัฐบาลของตนไปยังสุดยอดการประชุม COP26 ในกลาสโกว์ได้  ฉะนั้นการขาดตัวแทนระดับสูงของประเทศเสี่ยงจมน้ำสูงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความกังวลว่า พวกเขาจะไม่ได้รับการนำเสนอข้อมูลปัญหาและหาหนทางแก้ไขอย่างเหมาะสม ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รายงานของธนาคารโลกเผยว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้อาจทำให้หมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งเป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือที่อยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและออสเตรเลียเสียหายได้  หมู่เกาะแห่งนี้มีประชากร 59,000 คน และมีเนื้อที่เพียง 180 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 1,156 […]

ฝนตกบนยอดภูเขาน้ำแข็งกรีนแลนด์ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์!

สภาพภูมิอากาศของโลกเรากำลังเข้าขั้นวิกฤต! กรีนแลนด์ กำลังเผชิญหน้ากับน้ำแข็งละลายครั้งใหญ่ เพราะฝนตกบนยอดภูเขาน้ำแข็ง ละลาย Ice Sheet 337,000 ตารางไมล์

ปลูกป่าไม่ทันใจ Climeworks เลยใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 ในอากาศแทนต้นไม้ 4 แสนต้นซะเลย

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ (IPCC) ออกรายงานเตือนว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 ตัวเลขที่ฟังดูอาจจะเหมือนน้อย แต่จะทำให้ประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า รวมไปถึงวิกฤติการณ์ขาดแคลนอาหาร ดังนั้นทุกหน่วยงานทั่วโลกจึงต้องเร่งดำเนินการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้  เราจึงอยากพาไปรู้จักกับ ‘Climeworks’ บริษัทที่มีเป้าหมายเป็นการรักษาสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยสองผู้ก่อตั้งผู้หลงรักการเล่นสกีที่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนขณะกำลังไถลตัวอยู่บนพื้นหิมะ จนตัดสินใจร่วมกันสร้างทางออกให้ปัญหานี้ พัฒนาเทคโนโลยีจนกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศได้โดยตรงแบบที่ยังไม่มีใครทำได้ และทำให้ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมภารกิจกู้โลกนี้ได้ในราคาเริ่มต้นเพียง 1 ยูโรต่อเดือนผ่านระบบสมาชิก ไปจนถึงการเตรียมสร้างโรงงานดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใหญ่ที่สุดในโลก ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ถึง 4,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 400,000 ต้น  โลกซวยด้วยมือเรา หลักการวิทยาศาสตร์เบื้องต้นคือ คนและสัตว์หายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสงและเปลี่ยนออกมาเป็นออกซิเจน กระบวนการนี้คือวัฏจักรที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกอยู่ร่วมกันได้ราวหยินหยางที่สมดุลกัน นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของโลก เพื่อกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้อุณหภูมิของโลกเย็นเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ แต่ปัจจุบันความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และสูงที่สุดในรอบ 8 แสนปี จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้จากระบบขนส่งมวลชน จนถึงการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ทั้งหมดล้วนเป็นฝีมือมนุษย์อย่างไม่ต้องสงสัย  ทำให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้มากเกินไป โลกจึงร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว […]

หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว

เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต  สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง  “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]

ญี่ปุ่นปลุกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นพ่อให้กลับมาทำงานอีกครั้งหวังลด CO2 แต่ ปชช.กลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้หลายๆ ประเทศทั่วโลกประกาศที่จะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนฯ ซึ่งรวมถึง ‘ญี่ปุ่น’ เองก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ตัดสินใจจะปลุกเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อายุกว่า 44 ปีให้มันกลับขึ้นมาผลิตไฟฟ้าอีกครั้ง เพื่อที่จะใช้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050! เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาฮิมะหมายเลข 3 ในจังหวัดฟุกุอิได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากได้รับการอนุมัติเป็นการพิเศษจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) เพราะปกติแล้วกฎหมายได้กำหนดให้โรงงานนิวเคลียร์ปฏิบัติการได้ไม่เกิน 40 ปี โดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาฮิมะนี้อยู่ในความดูแลของโรงงานไฟฟ้าคันไซ ที่สัญญาว่าจะตรวจสอบและควบคุมการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่กลับมาทำงานใหม่นี้อย่างระมัดระวัง  โดยญี่ปุ่นกล่าวว่า การกลับมาใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าครั้งนี้ จะช่วยบรรเทาปัญหาด้านพลังงานสำรองลดลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนนี้ แต่เพราะเครื่องปฏิกรณ์นี้เป็นหน่วยแรกที่มีอายุมากกว่า 40 ปีที่ได้กลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ซึ่งทำให้พลเมืองชาวญี่ปุ่นบางกลุ่มกังวลและไม่พอใจเกี่ยวกับความปลอดภัย จนยื่นฟ้องเพื่อขอให้หยุดการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์ เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานที่ไม่เห็นด้วยกับการอนุมัติให้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอายุเกินมาตรฐานนี้กลับมาทำงานอีกครั้ง เพราะกลัวว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นเดียวกับเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่จังหวัดฟุกุชิมะเมื่อปี 2011 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 200,000 คน Sources :Insider | https://tinyurl.com/7n5epjhyVice World News | https://tinyurl.com/5sfs2et9

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.