Meltdistrict แบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลจากเชียงใหม่ ให้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้ แถมยังเก๋ไก๋ชวนใจละลาย

We have to MELT because the world is MELTING. หากจะถามว่า Meltdistrict คือใครและทำอะไร ประโยคนี้บนหน้าเว็บไซต์พวกเขาเล่าความตั้งใจของพวกเขาได้ดี Meltdistrict เป็นแบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นสินค้าใหม่ โดยสร้างสรรค์จากพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรีไซเคิลต่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งโดย ‘โบ-สลิลา ชาติตระกูลชัย’ และ ‘ฟ้า-ขวัญชีวา พงศ์สิมภากรณ์’ สองสาวที่พบกันด้วยความสนใจเรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน พวกเธอจึงขอใช้ขยะพลาสติกส่วนหนึ่งจากโรงงานรับขยะของครอบครัวขวัญชีวา ลองผิดลองถูกกับการรีไซเคิลอยู่พักใหญ่ ก่อนจะผลิตเป็นบอร์ดพลาสติกที่แปรรูปเป็นสินค้าได้อเนกประสงค์ ดีไซน์สนุก ใช้งานได้จริง กิ๊บติดผม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้องตกแต่งคาเฟ่ นี่คือตัวอย่างของสินค้าที่บางคนอาจจะไม่เคยคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลก็ทำได้ คอลัมน์ Sgreen ตอนนี้ ขอพาคุณบุกเชียงใหม่ ไปสืบความลับของการหลอมพลาสติกให้กลายเป็นสินค้าหน้าตาน่าใช้ ฟังสองสาวเจ้าของแบรนด์เล่าความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เก๋และยั่งยืนไปพร้อมกัน โรงงานขยะ ครอบครัวของขวัญชีวาทำธุรกิจแปรรูปพลาสติกมาเนิ่นนาน ภาพที่เธอคุ้นชินตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นภาพโรงงานรับซื้อขยะของพ่อแม่ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับกระบวนการป่นพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วส่งให้โรงหลอมเพื่อรีไซเคิลต่อ เมื่อโตขึ้น ขวัญชีวารับช่วงต่อแล้วขยายธุรกิจรับซื้อสิ่งของเหลือใช้มาที่อำเภอสันป่าตอง Meltdistrict ก็เกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน “เราซึมซับการรีไซเคิลมาตั้งแต่เด็ก และทำเรื่องรณรงค์ไฟป่าหรือเรื่องลดหลอดมาตั้งแต่สมัยเรียน […]

‘reBAG’ ขอพลาสติกยืดคืนกลับมารีไซเคิลกับแคมเปญจากไปรษณีย์ไทย X TPBI หย่อนฟรี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 50 สาขา

สำหรับใครที่เป็นนักช้อปออนไลน์ คงคุ้นเคยกับการรีไซเคิลกล่องพัสดุ แต่สำหรับซองพลาสติกไปรษณีย์ บับเบิล ถุง และฟิล์มพลาสติกอื่นๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าพวกมันก็รีไซเคิลได้เช่นกัน เพื่อสานต่อโครงการ Green Hub ที่ก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จมาแล้วกับแคมเปญ reBOX ที่ช่วยรีไซเคิลกล่อง ซอง และกระดาษไม่ใช้แล้วให้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้มากกว่า 137,000 กิโลกรัมในปี 2566 ‘บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด’ จึงร่วมมือกับ ‘บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน)’ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ทำแคมเปญ ‘reBAG’ ขึ้น จุดประสงค์คือการชวนทุกคนเก็บรวบรวมซองพลาสติกไปรษณีย์ บับเบิล ถุง และฟิล์มพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วส่งคืนกลับมารีไซเคิล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณขยะฝังกลบ ลดโอกาสเกิดปัญหาขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และสามารถวนถุงใบใหม่กลับมาใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม แค่รวบรวมแล้วนำไปหย่อนหรือดรอปที่ ‘กล่องรับของโครงการ reBAG’ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 50 สาขาทั่วประเทศฟรี ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง) ดูประเภทถุงและฟิล์มพลาสติกที่รับรีไซเคิลและสาขาที่ตั้งของกล่องรับของโครงการ reBAG เพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Won

ของเล่นเป่าลม อีกหนึ่งภัยร้ายของท้องทะเล แคมเปญ ‘Deflatables’ จากสหราชอาณาจักร รณรงค์ลดการทิ้งของเล่นเป่าลมในช่วงวันหยุด

ภาพของวาฬเพชฌฆาต โลมา และเต่าที่บุบบี้ คล้ายของเล่นเป่าลมที่ถูกปล่อยลมออกครึ่งหนึ่งบนชายหาด คือภาพจากแคมเปญโฆษณา ‘Deflatables’ ที่ปรากฏอยู่บนสื่อโซเชียลมีเดียและบิลบอร์ดสนามบินในสหราชอาณาจักรช่วงวันหยุด ทำเอาใครๆ ต้องหยุดมอง Deflatables เป็นแคมเปญโฆษณาชุดใหม่จากความร่วมมือของ ‘Thomas Cook’ เว็บไซต์บริการการท่องเที่ยวออนไลน์ และ ‘Marine Conservation Society’ องค์กรการกุศลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเน้นย้ำถึงภัยคุกคามต่อสัตว์ทะเลและระบบนิเวศ จากพฤติกรรมการปล่อยของเล่นเป่าลมทิ้งไว้ของครอบครัวที่ไปเที่ยวพักผ่อนในช่วงวันหยุด จากข้อมูลพบว่า ในจำนวนนักท่องเที่ยวที่ซื้อของเล่นเป่าลมสำหรับทริปวันหยุด มีเพียง 47 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่กล่าวว่าพวกเขานำของเล่นเป่าลมเหล่านี้กลับมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล ส่วนอีก 53 เปอร์เซ็นต์มีแพลนที่จะทิ้งในปีนี้ อีกทั้งในทุกๆ ปี จะมีของเล่นเป่าลมถูกทิ้งกลายเป็นขยะอยู่บนชายหาดและในท้องทะเลกว่าล้านชิ้น ซึ่งถือเป็นการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเพิ่มขยะพลาสติกจำนวนมากให้กับโลก ภาพของสัตว์ทะเลที่ถูกปล่อยลมออกครึ่งหนึ่งในหน้าโฆษณา คือภาพที่แสดงให้เห็นว่าขยะพลาสติกจากของเล่นปล่อยลมและสัตว์ในทะเลของเรามีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยผู้จัดทำแคมเปญหวังว่า นี่จะเป็นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากของเล่นที่ถูกทิ้ง และช่วยลดจำนวนขยะได้ในชีวิตจริง อีกทั้งยังเป็นเครื่องย้ำเตือนให้เราคิดทบทวนให้ดีก่อนจะซื้อของเล่นเป่าลมตัวใหม่ทุกครั้งที่ไปทริปวันหยุด ลองตัดสินใจไม่ซื้อใหม่ หรือนำของเล่นที่มีกลับมาใช้ใหม่ กระทั่งรีไซเคิลของเล่นเป่าลมอันเก่า เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกให้เหลือน้อยที่สุดกันดีกว่า Sources :Independent | t.ly/HEoby Little Black Book | t.ly/hmYzg Marine Conservation Society | www.mcsuk.org

PepsiCo ถูกรัฐนิวยอร์กยื่นฟ้องฐานสร้างมลพิษพลาสติกรายใหญ่ จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

ถือเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังพบว่ามีขยะพลาสติกและซองขนมที่ถูกพบในแม่น้ำบัฟฟาโลกว่า 1,916 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้ชื่อ ‘PepsiCo’ แบรนด์ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน คิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ รัฐนิวยอร์กได้ยื่นฟ้องต่อบริษัทผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ PepsiCo ฐานสร้างมลพิษจากการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าบริษัทจำเป็นต้องรับผิดชอบในการทำให้น้ำในเมืองเกิดการปนเปื้อน จนอาจเป็นอันตรายต่อชาวเมืองและสัตว์น้ำ เพราะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งถือเป็นแหล่งกำเนิดไมโครพลาสติกขนาดเล็ก ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ กระตุ้นอัตราการเกิดมะเร็งให้สูงขึ้น ทั้งยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำดื่มของชาวนิวยอร์กหรือสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง ทำให้ในเวลาต่อมา โฆษกของ PepsiCo ออกมาแถลงการณ์เน้นย้ำว่า ทาง PepsiCo มุ่งมั่นที่จะลดขยะพลาสติกในอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญต่อการรีไซเคิลเพื่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต Sources : BBC NEWS | t.ly/nKKUwSky News | t.ly/cmqwT

LEGO ยกเลิกการใช้ขวดพลาสติกในการสร้างวัสดุตัวต่อเลโก้รักษ์โลก หลังพบการปล่อยคาร์บอนที่มากขึ้น

เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา ทาง ‘LEGO’ ได้เปิดตัววัสดุตัวต่อเลโก้ต้นแบบตัวแรกที่ใช้ PET รีไซเคิล (rPET) ในการผลิต เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนให้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดทำจากวัสดุที่ยั่งยืนภายในสิ้นทศวรรษนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ปี 1963 เป็นต้นมา ตัวต่อเลโก้จำนวนหลายพันล้านชิ้นที่ผลิตในแต่ละปีล้วนทำมาจากพลาสติก ‘อะคริโลไนไตรล์ บิวทาไดอีน สไตรีน’ (ABS) หรือพลาสติกบริสุทธิ์ที่ทำจากน้ำมันดิบที่ปล่อยคาร์บอนมากถึง 1.2 ล้านตัน ทว่าเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา ทาง LEGO ก็ออกมาประกาศล้มเลิกการใช้ขวดพลาสติกในการสร้างวัสดุตัวต่อเลโก้รักษ์โลกแล้ว หลังจากพบว่าการปรับโรงงานให้หันมาใช้พลาสติก rPET แทน ABS นั้นกลับก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นจนอาจได้ไม่คุ้มเสีย เพราะการขึ้นรูปเป็นตัวต่อจาก rPET จำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการแปรรูปและทำให้แห้ง เพื่อที่ตัวต่อจากวัสดุใหม่จะได้คุณสมบัติความทนทานเทียบเท่าของเดิม ซึ่งในกระบวนการนี้เองที่ทำให้แม้เราจะเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่รักษ์โลกขึ้น แต่กลับปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ออกมาในปริมาณเท่าเดิมหรืออาจมากกว่าด้วยซ้ำ ปัจจุบันทาง LEGO จึงมองหาทางออกใหม่ในการมุ่งสู่การผลิตตัวต่อเลโก้จากวัสดุที่ยั่งยืน ด้วยการทดสอบและพัฒนาตัวต่อที่ทำจากวัสดุทางเลือกที่ยั่งยืนอื่นๆ กว่า 100 รายการ รวมถึงพลาสติกที่มาจากการรีไซเคิลและจากแหล่งทางเลือกอื่นอย่าง E-methanol ที่ผลิตจากก๊าซผสมระหว่าง Green Hydrogen และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการดักจับคาร์บอนในอากาศหรือโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อเข้าสู่ข้อบรรลุของบริษัทที่ต้องการให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 […]

‘SOAPBOTTLE’ ขวดสบู่จากสบู่ที่ใช้ได้ทั้งข้างนอกและข้างใน ช่วยลดขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์

โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละปี โลกของเรามีปริมาณขยะพลาสติกจากขวดสบู่และแชมพูมากถึง 75 กิโลตัน และขยะเหล่านี้ต่างใช้เวลาในการย่อยสลายตัวเองเฉลี่ยมากถึง 500 ปี ด้วยเหตุนี้ ‘Jonna Breitenhuber’ นักออกแบบชาวเบอร์ลินจึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีอันชาญฉลาด ด้วยการนำสบู่เหลวใส่ไปในสบู่ก้อน และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้ระดมทุนเมื่อปี 2021 โดยใช้ชื่อว่า ‘SOAPBOTTLE’ ความพิเศษของ SOAPBOTTLE คือไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์หรือสบู่ภายในต่างใช้งานได้จริง เพราะทำมาจากทรัพยากรธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นวีแกน ไม่ก่อให้เกิดขยะพลาสติกเมื่อใช้สบู่เหลวหมดขวด และทุกกระบวนการผลิตยังไม่ทดลองใช้กับสัตว์ด้วย หลักการทำงานของ SOAPBOTTLE คือเมื่อเราเปิดใช้สบู่เหลวภายในหมดแล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากสบู่ข้างนอกจะค่อยๆ ละลายกลายเป็นสบู่สำหรับล้างมือ หรือนำไปแปรรูปเป็นสบู่สำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ ปัจจุบัน SOAPBOTTLE ได้ปิดรับการระดมทุนและอยู่ในขั้นตอนการวิจัย ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และมองหาพันธมิตรที่เหมาะสม เพื่อขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมไปถึงของเหลวประเภทอื่นๆ อย่างแชมพูหรือครีมนวดผม และเตรียมพร้อมในการปล่อยผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดในอนาคต Sources : SOAPBOTTLE | soapbottle.com/aboutYanko Design | t.ly/5CA4GDesignboom | t.ly/mheMz

โครงการติดตั้งตู้กดน้ำสาธารณะ 10 จุด และแผนที่จุดเติมน้ำกว่า 100 แห่งทั่ว กทม.

ในบรรดาคนเมืองที่เดินทางไปเรียน ทำงาน หรือกระทั่งท่องเที่ยว น่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่พกพากระบอกน้ำติดตัวไปด้วย เพราะนอกจากจะสะดวก ไม่สร้างขยะเพิ่มเติม เราก็ยังดื่มน้ำเย็นชื่นใจหรือชากาแฟที่ชงจากบ้านได้ตลอด แต่อุปสรรคสำคัญของการพกพากระบอกน้ำทุกๆ วันในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องจุดเติมน้ำที่มีค่อนข้างจำกัด หรือต่อให้เจอ บางทีเครื่องก็เสียหรือดูสกปรกจนเราไม่กล้าใช้เติมน้ำ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Environmental Justice Foundation Thailand (EJF) ได้เปิดตัวโครงการ ‘Bottle Free Seas’ ร่วมกับเครือข่าย Refill Bangkok เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพลาสติกมาร่วมผนึกกำลังกันอย่างคับคั่ง สร้างเทรนด์พกกระบอกน้ำเพื่อลดพลาสติกก่อนล้นโลก การร่วมมือนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การที่ EFJ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ติดตั้งตู้กดน้ำสาธารณะที่ใช้ระบบเซนเซอร์ในการเติมน้ำลงขวดเท่านั้น รวมถึงมีระบบแจ้งเตือนไส้กรองและตัวเลขที่แจ้งว่าเติมน้ำไปจำนวนกี่ขวดแล้วในพื้นที่ 10 จุดทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งนำร่องติดตั้ง 2 จุดแรกไว้ที่สวนเบญจกิติ ส่วนอีก 8 จุดจะมีการติดตั้งและแจ้งข่าวเพิ่มเติมต่อไป ส่วนที่สองคือเว็บเพจ refillbkk.greendot.click ที่ทำหน้าที่เป็น One Stop Service สำหรับจุดเติมน้ำดื่มใกล้ตัว ประกอบด้วยแผนที่จุดเติมน้ำดื่มในเครือข่ายทั่วกรุงเทพฯ กว่า 100 จุด […]

ประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลกับโครงการ Upcycling Design Project ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 60,000 บาท

‘คาเฟ่ อเมซอน’ ชวนนิสิต นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสนใจงานดีไซน์ ร่วมประกวดการออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล กับโครงการ ‘Upcycling Design Project’ เพื่อใช้ต่อยอดเป็นสินค้าสำหรับจำหน่ายในร้านคาเฟ่ อเมซอน และชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 60,000 บาท โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้เป็น Co-Partner ร่วมกับร้านคาเฟ่ อเมซอน เพื่อส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการ ‘Upcycling Upstyling by GC’ ต่อไป พร้อมโอกาสพัฒนาผลงานร่วมกับดีไซเนอร์แฟชั่นแถวหน้าของประเทศไทย รายละเอียดเงินรางวัลมีดังนี้ – รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท จำนวน 1 รางวัล– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท จำนวน 1 รางวัล– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ผู้สนใจ ส่งใบสมัครโครงการ […]

Samsung เปิดตัว ‘Less Microfiber™ Filter’ ตัวกรองไมโครพลาสติกสำหรับเครื่องซักผ้า ที่ดักจับพลาสติกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผลการวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติรายงานว่า ปัจจุบันในทะเลทั่วโลกมีไมโครพลาสติกสะสมถึง 171 ล้านล้านชิ้น โดยมีไมโครพลาสติกกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ที่มีแหล่งที่มาจากสิ่งทอสังเคราะห์ที่หลุดออกมาในช่วงซักล้าง เพื่อเป็นด่านแรกในการดักจับไมโครพลาสติกระหว่างการปล่อยน้ำเสียหลังการซักเสื้อผ้าในแต่ละวัน ‘Samsung’ ได้เปิดตัว ‘Less Microfiber™ Filter’ ตัวกรองไมโครพลาสติกสำหรับติดตั้งบนเครื่องซักผ้า ที่ช่วยดักจับไมโครพลาสติกที่ปะปนในน้ำได้มากถึง 98 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่ากับขวดพลาสติกขนาด 500 มิลลิลิตร 8 ขวดต่อปี ด้วยตาข่ายดักจับไมโครพลาสติกขนาด 65 – 70 ไมโครเมตรที่อยู่ภายใน Less Microfiber™ Filter เป็นผลงานการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ ‘Patagonia’ และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรอนุรักษ์มหาสมุทรระดับโลกอย่าง ‘Ocean Wise’ ผ่านเป้าหมายการลดปริมาณไมโครพลาสติกในท้องทะเล และช่วยให้การซักผ้าเป็นไปอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เครื่องซักผ้าของแบรนด์ Samsung เท่านั้น แต่ Less Microfiber™ Filter ยังนำไปติดตั้งอยู่บนเครื่องซักผ้าแบรนด์อื่นๆ ได้ด้วย ผ่านการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน ‘SmartThings’ แพลตฟอร์มการเชื่อมต่ออัจฉริยะของ Samsung ที่จะแสดงผลการใช้งานของตัวกรอง และแจ้งเตือนผู้ใช้งานเมื่อจำเป็นต้องทำความสะอาด ปัจจุบัน Less Microfiber™ […]

‘อุตสาหกรรม K-POP กับปัญหาขยะพลาสติก’ เมื่อความรักไอดอลเกาหลีไม่ได้มาพร้อมกับการรักษ์โลก

ในขณะที่วัฒนธรรมการฟังเพลงเปลี่ยนผ่านจากการฟังแบบแอนะล็อกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่แค่ปลายนิ้วคลิกก็สามารถเข้าถึงเสียงเพลงบนโลกออนไลน์ได้เป็นล้านล้านเพลง แต่เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา สมาคมอุตสาหกรรมแผ่นเสียงแห่งอเมริกา (RIAA) กลับรายงานว่า ชาวอเมริกันซื้อซีดีเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2020 เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นครั้งแรกที่ยอดขายเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงต่อเนื่องมานานถึง 17 ปี การเพิ่มขึ้นของตลาดซีดีในอเมริกาหลังจากซบเซามานานนั้นมีเหตุผลหลายประการ แต่จากข้อมูลใน Billboard พบว่า การออกอัลบั้มของวง BTS ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยอดขายแผ่นซีดีกระโดดขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากการจำหน่ายอัลบั้มของ Adele และ Taylor Swift ส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะวัฒนธรรมกลุ่มแฟนคลับของศิลปินเกาหลีมีความแตกต่างจากชาติอื่นๆ โดยมี ‘Physical Album หรือ อัลบั้มแบบจับต้องได้’ เป็นจุดร่วม ผ่านการสร้างเงื่อนไขของอุตสาหกรรมเคป็อปที่ส่งผลให้มีการซื้อ-ขายอัลบั้มในปริมาณมากๆ  จากปกติที่เวลาชอบศิลปินคนไหน เราก็มักสนับสนุนด้วยการซื้ออัลบั้มของเขาสัก 1 – 2 อัลบั้มเพื่อเก็บสะสม ทว่าเมื่อเป็นศิลปินเคป็อปเมื่อไหร่ การที่แฟนคลับคนเดียวซื้ออัลบั้มถึงหลักร้อยก็ดูจะกลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย เนื่องจากมีคัลเจอร์แฟนด้อมที่เหนียวแน่นมากๆ กับสิทธิพิเศษที่จะตามมาเป็นเหตุผลรองรับ แต่ใช่ว่าทุกคนที่จะยอมรับเรื่องนี้ได้ เพราะไม่กี่ปีมานี้ได้เกิดกลุ่มคนที่ออกมารณรงค์ถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการซื้อ-ขายอัลบั้มที่มากเกินความจำเป็นของอุตสาหกรรมเคป็อปอย่างหนัก จนตัวค่ายและศิลปินเองต้องออกมาปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ อุตสาหกรรมที่เป็นตัวการหลักในการผลิตขยะพลาสติก ในปัจจุบัน ปริมาณขยะพลาสติกถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับรัฐบาลในประเทศเกาหลีใต้อยู่ไม่น้อย เพราะในขณะที่หลายประเทศกำลังรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง และดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี แต่ระหว่างปี […]

Plastic SAKE Brewery โปรเจกต์สุดล้ำ หมักเหล้าสาเกจากขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะมาอยู่ในจุดที่สามารถหมัก ‘สาเก’ จากเศษขยะพลาสติกพอลิเมอร์กันได้แล้ว ความคิดสุดครีเอทีฟนี้เกิดขึ้นจากโปรเจกต์ ‘Plastic SAKE Brewery’ ของ Fumiaki Goto นักออกแบบชาวญี่ปุ่น ที่นำเสนอประเพณีการบูชาธรรมชาติและวัฒนธรรมการบริโภคของญี่ปุ่นผ่าน ‘ไวน์ข้าวสาเก’ ที่มีส่วนผสมหลักคือ ‘ขยะพลาสติกพอลิเมอร์’ ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยปกติแล้ว สาเกต้นตำรับแท้จากประเทศญี่ปุ่น จะผลิตโดยใช้พันธุ์ข้าวอย่างดีหมักกับเชื้อราชนิดพิเศษจนทำให้เกิดเป็นแอลกอฮอล์รสชาติดี ทำให้สาเกกลายเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสาเกซบเซาลงทุกปี เนื่องจากความนิยมที่ลดลง รวมไปถึงทางเลือกในตลาดเครื่องดื่มที่มีมากขึ้น ดังนั้น Goto จึงตั้งใจทำโปรเจกต์ ‘Plastic SAKE Brewery’ นี้ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูอุตสาหกรรมการผลิตสาเก โดยหวังว่าสุราประจำชาติของญี่ปุ่นจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง แถมยังได้ช่วยโลกของเราขจัดขยะพลาสติกไปพร้อมกันด้วย กระบวนการผลิตสาเกจากพลาสติกพอลิเมอร์แทบจะไม่ต่างจากการผลิตสาเกแบบดั้งเดิม ที่มีส่วนผสมหลักเป็นข้าวญี่ปุ่นและเชื้อราที่ใช้ในการหมัก แต่สิ่งที่ Goto เพิ่มเข้าไป ก็คือบรรดาพลาสติกพอลิเมอร์ชนิดใหม่ที่สามารถสลายตัวได้ด้วยจุลินทรีย์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำเหล้าสาเกทั่วไป ดังนั้น การทำสาเกหนึ่งครั้ง นอกจากที่เราจะได้แอลกอฮอล์รสชาติดีมาดื่มกันแล้ว เรายังสามารถย่อยสลายเศษขยะพลาสติกพอลิเมอร์ไปพร้อมๆ กันได้ด้วย ถือเป็นมิติใหม่สำหรับการแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง ด้าน Goto หวังว่าโปรเจกต์นี้จะเป็นหนึ่งในตัวช่วยในการลดขยะพลาสติกและกลายเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในอนาคตได้ เพราะการกลั่นสาเกจากขยะไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ และสามารถทำในโรงสาเกขนาดเล็กรอบๆ ตัวเราได้ทันที Source :Designboom | […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.