ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ Blue Again กับสถานะ ‘ไม่เป็นคนของที่ไหนเลย’ ในชีวิตและวงการหนัง

ฐาปณี หลูสุวรรณ เป็นลูกครึ่งอีสาน-จีน เกิดที่กรุงเทพฯ แต่ไปโตที่สกลนคร ก่อนจะเข้ามาเรียนหนังและทำงานในกรุงเทพฯ อีกครั้ง เธอพูดอีสานไม่คล่องปร๋อ แต่พอพูดไทยกลางก็ติดเหน่ออีสานจนโดนล้อ เหนือความซับซ้อนและย้อนแย้งทั้งปวงในตัวเธอ สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดและไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ฐาปณีไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหนเลย เหมือนกับ ‘เอ’ ตัวละครเอกใน Blue Again หนังเรื่องแรกในชีวิตของเธอ ผู้เป็นลูกครึ่งที่มีพ่อเป็นคนขาว แม่เป็นคนสกลนคร แต่ตัวเองกลับรู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบตัวไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากจะมีใครหรือสิ่งใดที่เอเรียกว่าเพื่อนได้เต็มปาก หนึ่งคือ ‘เมธ’ เพื่อนชายที่รู้จักกันตั้งแต่มัธยมฯ แต่ต้องแยกย้ายกันไปหลังเรียนจบ อีกสิ่งคือ ‘คราม’ วัตถุดิบย้อมผ้าที่เธอเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ในทางหนึ่ง Blue Again คือเครื่องบันทึกความรู้สึกโดดเดี่ยวและเป็นอื่นที่ผู้กำกับอย่างฐาปณีรู้สึกมาตลอด แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่คือผลพิสูจน์ความรักที่มีต่อการทำหนังของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นคนกลางๆ ไม่โดดเด่น และแม้จะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหน แต่แวดวงที่มั่นใจว่าอยากผลักตัวเองเข้าไปคือวงการผู้กำกับ นับแต่วันแรกเริ่ม Blue Again ใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะได้ออกมาสู่สายตาผู้ชม และหนังเรื่องนี้ยังได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปฉายที่เทศกาลหนังปูซานในสาขา New Currents ที่มีหนังเพียงไม่กี่เรื่องได้เข้ารอบ พิสูจน์ในตัวมันเองแล้วว่าเป็นหนังที่พิเศษแค่ไหน แต่ใน 8 ปีของ Blue Again […]

ชวนดูหนังไทยชีวิตวัยรุ่น ‘Blue Again’ ที่ใช้เวลาสร้าง 8 ปีและได้ฉายในปูซาน วันที่ 8 ธ.ค.นี้ ที่ SF และ House Samyan

หลังจากที่ภาพยนตร์ ‘Blue Again’ ได้บินไกลไปฉายถึงเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 27 (Busan International Film Festival : BIFF) เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในที่สุดก็ได้ฤกษ์ฉายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการแล้ว Blue Again เป็นผลงานของผู้กำกับหญิง ‘ฐาปณี หลูสุวรรณ’ ร่วมกับโปรดิวเซอร์ ‘ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต’ และเหล่าทีมงาน ที่ใช้เวลาสร้างกว่า 8 ปี ผ่านเรื่องราวความสัมพันธ์แบบบลูๆ ของ 3 ตัวละครในความยาว 3 ชั่วโมง 10 นาที  ว่าด้วยชีวิตของ ‘เอ’ หญิงสาวลูกครึ่งอีสาน-ตะวันตก จากหมู่บ้านคาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในไทย เธอดิ้นรนเข้ามาเรียนออกแบบแฟชั่นในกรุงเทพฯ โดยหวังว่าจะสามารถชุบชีวิตโรงย้อมครามของครอบครัวที่กำลังจะตาย โดยมี ‘แพร’ เพื่อนสนิทคนแรกในมหาวิทยาลัยที่ถูกดึงดูดเข้ามาอยู่ในวงโคจรของเธอ เนื่องจากต้นทุนทางสังคมและความฝันที่คล้ายกัน  ทว่าในขณะที่หญิงสาวพยายามปกป้องความฝันของตัวเอง ไปพร้อมๆ กับถักทอความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเอาไว้ เส้นด้ายเหล่านั้นกลับเหมือนจะขาดลง และเหมือนชีวิตเอจะยุ่งยากไม่พอ เมื่อ ‘สุเมธ’ เพื่อนรักคนเดียวในวัยเด็กผู้เป็นเซฟโซน ได้กลับมาในวงโคจรของเธออีกครั้งในค่ำคืนวันคริสต์มาสตามสัญญา แต่มันยิ่งกลับทำให้หญิงสาวตั้งคำถามกับตัวเองว่า ‘บนโลกนี้…ที่ตรงไหนคือที่ของเธอจริงๆ’ […]

คนในกองถ่ายทำงานกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ แถลงการณ์ กำหนด ชม.การทำงาน ให้โอที ไม่เสี่ยงภัย

เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวที่สองผู้กำกับละครที่ทำงานมานานกว่า 30 ปี อย่าง ‘อ๊อด-บัณฑิต ทองดี’ และ ‘ปรัชญา ปิ่นแก้ว’ บอกเล่าเรื่องชีวิตในกองถ่ายว่าคนทำงานอาจจะต้องทำงานสูงถึง 16 ชั่วโมง และให้ความเห็นว่าเวลาที่ล่วงเลยขนาดนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่คนทำงานในสายงานนี้ก็ทำกันมาจนเป็นเรื่องปกติ รวมไปถึงประเด็นการจ่ายค่าล่วงเวลาให้คนทำงานที่ต้องตกลงกันตั้งแต่ก่อนรับงาน และการใช้แรงงานนักแสดงเด็กที่ถูกตั้งคำถามมาตลอด โดยเรื่องทั้งหมดนี้ได้กลายเป็นหัวข้อที่คนในสังคมพูดถึงไปในหลากหลายมิติ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2565 สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยได้ออกจดหมายแถลงการณ์ โดยมีสรุปเนื้อหาว่า ผู้กำกับทั้งสองไม่ได้สนับสนุนแนวคิดการทำงานเกินมาตรฐานสากล และพยายามหาหนทางแก้ไขปัญหาร่วมกับสมาคมผู้กำกับฯ มาตลอด ทั้งยังได้เข้าร่วมปรึกษากับหน่วยงานราชการ, คณะกรรมาธิการของรัฐสภา, พรรคการเมือง, บริษัทผู้ผลิต และองค์กรต่างๆ แต่ยังไม่สามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้สำเร็จ และอุปสรรคสำคัญของเรื่องนี้คือ ‘การขาดอำนาจต่อรองของแรงงานในอุตสาหกรรมบันเทิง’  ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์แรกที่มีคนในอุตสาหกรรมบันเทิงออกมาเรียกร้องถึงความไม่เป็นธรรมในการทำงาน เพราะหากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 นักแสดงซีรีส์ ‘นิ้ง-ชัญญา แม็คคลอรี่ย์’ และ ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ’ ได้ส่งคำร้องต่อ กมธ. ที่รัฐสภา เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตในกองถ่าย เช่น ปัญหาการใช้แรงงานเด็กในการผลิตสื่อ, ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน, ความปลอดภัยในการทำงาน และการไม่มีสัญญาจ้างที่เป็นธรรม แต่ก็ยังดูเหมือนว่าจะไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรนัก […]

ชวนฟังเสียงวัยรุ่นในดินแดง และชวนสมทบทุนให้คนทำสารคดีกับทีมแพทย์อาสา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลายคนคงได้ชม Prologue สารคดีรสชาติจัดจ้านเรื่อง Sound of ‘Din’ Daeng โปรเจกต์ล่าสุดที่กำลังสร้างและระดมทุนของ ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ผู้กำกับสารคดีหนุ่มชาวไทยที่เคยฝากผลงานประเด็นเชิงสังคมหนักๆ ไว้ในผลงานอย่าง ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง, สายน้ำติดเชื้อ, ดินไร้แดน และอื่นๆ ถ้าใครยังไม่ได้ดู Urban Creature แนะนำเลยว่าห้ามพลาด ท่ามกลางการชุมนุมทางการเมืองที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มในปัจจุบัน นนทวัฒน์ ตัดสินใจติดตามกลุ่มวัยรุ่นที่มาร่วมชุมนุมในย่านดินแดง ดินแดนที่ไร้แกนนำ ไร้การปราศรัย และไร้กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน แต่วัยรุ่นพลังล้นเหล่านี้ต่างพร้อมเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐแบบไม่หวั่นเกรงกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และพร้อมท้าทายความตายอย่างคนหลังชนฝา ซึ่งหลายคนรู้จักพวกเขาในชื่อ ‘ทะลุแก๊ซ (Thalugaz)’ “ผมโตมากับยุคที่มันเหมือนสลัมอะพี่ จุดหนึ่งเราไม่ค่อยมีเงินไปโรงเรียน ก็เลยไม่ได้ไป”  “ผมอยากให้ลูกผมไปอยู่ในที่ที่ดีกว่าเรา ถ้ามีลูก ผมไม่อยากให้เขาเจอแบบเรา อยากให้ลูกมีการงานที่ดี เรียนสูงๆ”  “เราแค่ออกมาส่งเสียงร้องเรียน ความจริงเราไม่ได้ตั้งใจจะมาต่อยตี แต่เขาเป็นฝ่ายทำเราก่อน”  จากบทสนทนาที่นนทวัฒน์พูดคุยและบันทึก สะท้อนให้เห็นว่าหลายคนมองพวกเขาเป็นเพียงกลุ่มวัยรุ่นเกเรขาลุยที่พร้อมบวกกับ คฝ. เพื่อสนองความสะใจเสียมากกว่าจะมีประเด็นทางการเมืองที่หนักแน่นจริงจัง แต่แท้จริงแล้วพวกคุณคิดว่าพวกเขาเป็นคนคิดตื้นๆ อย่างนั้นจริงๆ น่ะเหรอ? เมื่อทุกเสียงของคนในสังคมสำคัญ เสียงสะท้อนของวัยรุ่นที่มารวมตัวบริเวณแยกดินแดงจึงต้องได้รับการฟังไม่น้อยไปกว่าใครหน้าไหน Sound of ‘Din’ […]

‘เต๋อ-นวพล’ กับวิถีคนทำหนังที่พลิกวิกฤตเป็นพลัง

เปิดมุมมองชีวิตผ่านวิถีคนทำหนังกับ ‘เต๋อ-นวพล ธํารงรัตนฤทธิ์’ ที่เผชิญพายุแห่งวิกฤตเหมือนคนอื่นๆ แต่ก็พยายามค้นหาพลังกาย พลังใจ และพลังแห่งการรู้ เพื่อผ่านพายุลูกนี้ไปด้วยกัน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.