‘SOAPBOTTLE’ ขวดสบู่จากสบู่ที่ใช้ได้ทั้งข้างนอกและข้างใน ช่วยลดขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์

โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละปี โลกของเรามีปริมาณขยะพลาสติกจากขวดสบู่และแชมพูมากถึง 75 กิโลตัน และขยะเหล่านี้ต่างใช้เวลาในการย่อยสลายตัวเองเฉลี่ยมากถึง 500 ปี ด้วยเหตุนี้ ‘Jonna Breitenhuber’ นักออกแบบชาวเบอร์ลินจึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีอันชาญฉลาด ด้วยการนำสบู่เหลวใส่ไปในสบู่ก้อน และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้ระดมทุนเมื่อปี 2021 โดยใช้ชื่อว่า ‘SOAPBOTTLE’ ความพิเศษของ SOAPBOTTLE คือไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์หรือสบู่ภายในต่างใช้งานได้จริง เพราะทำมาจากทรัพยากรธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นวีแกน ไม่ก่อให้เกิดขยะพลาสติกเมื่อใช้สบู่เหลวหมดขวด และทุกกระบวนการผลิตยังไม่ทดลองใช้กับสัตว์ด้วย หลักการทำงานของ SOAPBOTTLE คือเมื่อเราเปิดใช้สบู่เหลวภายในหมดแล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากสบู่ข้างนอกจะค่อยๆ ละลายกลายเป็นสบู่สำหรับล้างมือ หรือนำไปแปรรูปเป็นสบู่สำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ ปัจจุบัน SOAPBOTTLE ได้ปิดรับการระดมทุนและอยู่ในขั้นตอนการวิจัย ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และมองหาพันธมิตรที่เหมาะสม เพื่อขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมไปถึงของเหลวประเภทอื่นๆ อย่างแชมพูหรือครีมนวดผม และเตรียมพร้อมในการปล่อยผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดในอนาคต Sources : SOAPBOTTLE | soapbottle.com/aboutYanko Design | t.ly/5CA4GDesignboom | t.ly/mheMz

สวยด้วยนะ รักโลกด้วยนะ ถูกใจมากๆ ‘Absolut Vodka’ ออกแบบขวดกระดาษที่ทั้งสวยงามและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไร้สีในขวดแก้วใสคือภาพจำของวอดก้าที่สายดื่มคุ้นชิน แต่ล่าสุด ‘Absolut Vodka’ ได้ออกแบบขวดวอดก้ารูปแบบล่าสุดที่มีความโดดเด่น สวยงาม และเป็นมิตรกับธรรมชาติ เพราะทำจากกระดาษ 57 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นขวดพลาสติกรีไซเคิล 43 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ขวดวอดก้าถูกออกแบบให้อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกับกล่องน้ำผลไม้ ไม่ใช่รูปแบบเดิมๆ ที่เป็นขวดแก้ว ขวดกระดาษนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง Paper Bottle Company (Paboco), Coca-Cola Company, Carlsberg, P&G และ L’Oréal โดยผ่านการทดสอบครั้งแรกที่งานเทศกาลต่างๆ ในสหราชอาณาจักรและสวีเดน และพร้อมวางจำหน่ายในเทสโก้ 22 แห่งทั่วมหานครแมนเชสเตอร์ในช่วงฤดูร้อนนี้ เพื่อดูว่าขวดรูปแบบใหม่ส่งผลต่อตลาดอย่างไร ขวดรูปแบบใหม่ที่สร้างขึ้นยังคงออกแบบภายใต้รูปทรงเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ โดยขวดมีขนาด 500 มิลลิลิตร ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะเป็น 5 เปอร์เซ็นต์แบบเครื่องดื่ม Absolut Mixt พร้อมดื่ม และจำหน่ายในราคาประมาณ 690 บาท ที่สำคัญขวดนี้ยังมีน้ำหนักเบากว่ากระจกถึง 8 เท่า ทำให้ง่ายต่อการพกพาและขนส่ง อีกทั้งยังนำขวดไปรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับกระดาษและขยะอื่นๆ ทั่วไปในบ้าน […]

Packioli บรรจุภัณฑ์สบู่ย่อยสลายได้จากเศษอาร์ติโชกและฝักถั่ว แก้ปัญหาพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ขณะที่เราซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับอุปโภคจำพวกสบู่ แชมพู หรือสกินแคร์ ในแต่ละครั้ง สิ่งหนึ่งที่เราได้รับมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบกระดาษและพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้จำนวนมาก จากปัญหานี้ ทำให้นักวิจัยและนักออกแบบผลิตภัณฑ์หลายคนเริ่มมองหาทางเลือกที่ยั่งยืนมากขึ้น รวมถึง ‘Alara Ertenü’ นักศึกษาชาวตุรกี มหา’ลัย Izmir University of Economics สาขาการออกแบบอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน Ertenü พบว่าในบริเวณตะวันตกของประเทศตุรกีมีพืชเมืองหนาวที่บริโภคได้อย่างอาร์ติโชก (Artichoke) กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดถูกโยนทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ เธอจึงหยิบเอาอาร์ติโชกเหลือทิ้ง และฝักถั่ว (Peapod) มาเป็นส่วนผสมหลักของบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้สำหรับสบู่ก้อนในชื่อ ‘Packioli’  ในกระบวนการทำ Packioli จะนำส่วนใบและลำต้นของอาร์ติโชก รวมถึงฝักของถั่วไปทำให้แห้งในตู้เย็นที่อุณหภูมิติดลบ 70 องศาเซลเซียส ก่อนบดเป็นผงละเอียด ผสมกับน้ำ กลีเซอรีนจากพืช และกรดแอลจินิก (Alginic Acid) รวมถึงย้อมสีจากบีตรูตและขมิ้นจนกลายเป็นสีน้ำตาลทอง ก่อนเทลงในแม่พิมพ์ให้เซตตัวในอุณหภูมิห้อง จากนั้นจึงนำสบู่หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการบรรจุเข้าไป และใช้ความร้อนปิดผนึกขอบห่อ จนได้ออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์สีน้ำตาลทองที่เสร็จสมบูรณ์สำหรับใช้งานจริงในระยะเวลา 10 ถึง 15 วัน โดยมีคุณลักษณะทนต่อความชื้นและน้ำได้นานถึงหนึ่งสัปดาห์ ก่อนย่อยสลายไป โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม Packioli ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างการบริโภคพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง […]

ต่อจากนี้ จะไม่มีขวดเขียวอีกต่อไป Sprite เปลี่ยนเป็นขวดใสอย่างถาวร หวังสนับสนุนแนวคิดความยั่งยืน

เมื่อช่วง 2 – 3 ปีที่แล้ว หลายคนคงเห็นการเปลี่ยนแปลงของเครื่องดื่มน้ำใสซ่า ‘สไปรท์’ (Sprite) ที่ออกบรรจุภัณฑ์แบบใหม่เป็นขวดใส ไม่มีสี จากเดิมที่ใช้ขวดสีเขียวมาตั้งแต่ปี 1961 จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของน้ำอัดลมแบรนด์นี้ไปแล้ว ในปีนี้ บริษัทผู้ผลิตอย่าง Coca-Cola ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นไป สไปรท์จะเลิกใช้ขวดพลาสติกสีเขียวที่ใช้มานานกว่า 60 ปีอย่างถาวร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ใสที่นำไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น การเปลี่ยนโฉมขวดใหม่นี้จะเริ่มในประเทศสหรัฐอเมริกากับแคนาดา และภายในสิ้นปีนี้ ในตลาดกว่า 70 ประเทศก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าขวดใสจะยังคงคาดด้วยฉลากสีเขียวอันเป็นเอกลักษณ์ของสไปรท์ ควบคู่กับข้อความ ‘Recycle My’ หรือ ‘รีไซเคิลฉันสิ’ ‘Julian Ochoa’ แห่ง R3cycle หนึ่งในบริษัทรีไซเคิลที่ทำงานร่วมกับ Coca-Cola บอกว่าการนำสีเขียวออกจากการผลิตขวดนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คุณภาพวัสดุรีไซเคิลดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มอัตราการรีไซเคิลของบรรจุภัณฑ์ให้สูงขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีกลุ่มนักสิ่งแวดล้อมมองว่าปัญหาของขวดสไปรท์ไม่ใช่เรื่องสี แต่เป็นวัสดุพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมากกว่า เนื่องจาก Coca-Cola ผลิตขวดพลาสติกมากกว่า 1 แสนล้านขวดต่อปี และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก การเปลี่ยนขวดบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้เป็นการทำตามวิสัยทัศน์ World Without Waste […]

ศรีแสงดาว แบรนด์ข้าวรางวัลระดับโลกที่กู้ชีพข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยี

ข้าวสวยขาวๆ ร้อนๆ หอม นุ่ม ทำให้นึกถึงตอนเด็กที่แม่ชอบสอนว่า “กินข้าวอย่าให้เหลือนะ สงสารชาวนา” และหลายครั้งที่เรามักได้ยินประโยค “ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ” ผ่านจอทีวี ซึ่งเป็นวาทกรรมที่พร่ำบอกว่า เกิดเป็นชาวนาต้องอดทนหลังขดหลังแข็ง ชวนตั้งคำถามว่า “ชาวนามีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ได้ไหม”

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.