เปิดนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมือง เลือกตั้ง ปี 2566

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง 66 แล้ว เพราะเหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น ก็จะถึงช่วงเวลาตัดสินชะตาชีวิตคนไทยในอีก 4 ปีข้างหน้า ที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอจุดยืนและนโยบายของเหล่าพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านค่าครองชีพ มาเยอะแล้ว Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองที่มีชื่อติดโพลใหญ่ๆ และน่าจับตามองกันบ้าง เพราะเราคงมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนไม่ได้แน่ๆ หากผู้มีอำนาจไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และปล่อยให้ประชาชนใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองหม่นๆ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต พรรคภูมิใจไทย เบอร์ 7 ประเดิมด้วยพรรคแรกกับการไล่จากเลขเบอร์น้อยไปยังเลขมาก กับ ‘พรรคภูมิใจไทย’ ซึ่งนำโดย ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ ที่ปัจจุบันนั่งแท่นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ‘พูดแล้วทำ’ คือสโลแกนที่พรรคภูมิใจไทยนำมาชูสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และเมื่อเราเข้าไปดูข้อมูลนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็พบว่า ตัวพรรคไม่ได้เซตนโยบายสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจนนัก แต่มีนโยบายที่เกี่ยวกับพลังงานเข้ามาแทน นั่นคือ นโยบายพลังงานสะอาด ลดรายจ่ายประชาชน เพราะมองว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้าคือภาระใหญ่หลวงที่ประชาชนต้องแบกรับ และกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้ยังก่อให้เกิดมลภาวะ อากาศพิษ ทำร้ายสุขภาพประชาชน และเป็นต้นเหตุของโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน พรรคภูมิใจไทยจึงเสนอนโยบายผ่าน 2 โครงการ นั่นคือ ประชาชนจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการใช้หลังคาบ้านติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในบ้านเรือนตัวเอง คิดเป็นกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 450 […]

คู่มือเลือกตั้ง 2566 รวบตึงสิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้าคูหา

แม้ว่าเราจะไม่เคยนอนหลับทับสิทธิ์กับทุกการเลือกตั้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าถึงข้อมูลการเลือกตั้งได้ง่ายๆ โดยเฉพาะการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ยิ่งปีนี้การเลือกตั้งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2562 เล็กน้อย ประชาชนก็ยิ่งต้องหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและจะได้ไปอธิบายให้ญาติผู้ใหญ่เข้าใจด้วยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม และคะแนนเสียงของเรานั้นจะไปอยู่ในส่วนไหน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างไรบ้าง ไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหรือครั้งที่เท่าไรของคุณก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ Urban Creature ได้รวบตึงข้อมูลที่จำเป็นมาอธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆ ในโพสต์นี้แล้ว ที่สำคัญ อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ์เลือกตั้งของตัวเองที่ boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection และตามไปดูผลงานเก่าๆ ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้แทนที่ election66.wevis.info 01) รัฐสภา ประกอบด้วย 750 คน โครงสร้างรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญปี 60 ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 750 คน แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน 02) ต้องได้ ส.ส.เท่าไหร่ถึงจัดตั้งรัฐบาลได้ ตามปกติแล้ว การจัดตั้งรัฐบาลต้องมีจำนวน ส.ส.เกินครึ่งหนึ่งของที่นั่ง ส.ส.ทั้งหมดในสภา ดังนั้นพรรคที่ต้องการจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องมี ส.ส.จำนวน 250 ที่ขึ้นไป ในกรณีที่รวมคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตกับ […]

4 ปีผ่านมา พรรคไหนทำตามสัญญาบ้าง รวมข้อมูลการเมืองและการเลือกตั้งที่เว็บไซต์ Wevis Election’66

ผ่านไป 4 ปี การเลือกตั้งครั้งใหญ่ก็เวียนกลับมาอีกครั้ง แม้ว่ากฎกติกาที่ออกมาจะดูงงๆ แปลกๆ ราวกับไม่อยากให้ประชาชนคนไทยเข้าใจการเลือกตั้งง่ายๆ แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะขัดขวางให้เราไม่ไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตัวเอง นอกจากการแบ่งเขตและกฎกติกาการเลือกตั้งปี 2566 ที่ต้องทำความเข้าใจแล้ว อีกเรื่องที่คนน่าจะอยากรู้กันคือ ผลงานของ ส.ส.ในเขตของเรา และพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งเมื่อครั้งที่แล้ว ว่าพวกเขาทำอะไรให้ดีขึ้นบ้าง ซึ่งเว็บไซต์ election66.wevis.info/ ของกลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน Wevis ก็รวบรวมมาให้ทั้งหมดแล้วในรูปแบบการจัดเรียงข้อมูลที่ดูง่าย สนุก และสวยงาม Wevis Election’66 คือเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลการเมืองและการเลือกตั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประชาชนก่อนไปเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นโปรเจกต์ย่อยๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น – 4 ปีผ่านมา ส.ส. ทำอะไรกันในสภาบ้าง? ทบทวนความจำกับผลงานการลงมติและการย้ายพรรคของ ส.ส.ชุดล่าสุด– 4 ปีผ่านมา พรรคการเมืองทำตามสัญญาอะไรได้บ้าง? ทบทวนความจำกับพรรคในสภาชุดล่าสุด เคยขายนโยบายและทำอะไรไปบ้าง– 4 ปีผ่านมา กฎหมายอะไรผ่านเข้าสภาบ้าง? ตรวจงานรัฐสภาชุดล่าสุด เคยเสนอ/ผ่านกฎหมายอะไรให้เรา– ส่องเพจพรรค ที่ผ่านมา โพสต์อะไรกันไว้บ้าง? ส่องโลกออนไลน์ของ 6 พรรคการเมืองในสภา นอกจากนี้ยังมีการสำรวจความคิดเห็นว่าผู้แทนฯ แบบไหนที่ประชาชนอยากเห็น […]

จะเลือกตั้งใหญ่แล้ว #ทราบแล้วโหวต งาน BANGKOK THROUGH POSTER ชวนออกแบบโปสเตอร์ วันนี้ – 7 เม.ย. 66

หลังจากจัดงานมาแล้ว 3 ปี ครั้งนี้ BANGKOK THROUGH POSTER กลับมาพร้อมกับโปรเจกต์พิเศษต้อนรับการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในนิทรรศการ ‘#ทราบแล้วโหวต’ ภายใต้ความร่วมมือกับ iLaw โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน นิทรรศการ #ทราบแล้วเปลี่ยน จะจัดขึ้นในวันที่ 29 – 30 เมษายน 2566 ที่แกลเลอรี KINJAI CONTEMPORARY แต่ช่วงนี้ทีมงานกำลังเปิดรับผลงานการออกแบบโปสเตอร์จากศิลปิน นักออกแบบ คนทำงานสร้างสรรค์ทุกแขนง และผู้ที่สนใจ ทั้งบุคคลและองค์กร เพื่อมาร่วมแสดงใน BANGKOK THROUGH POSTER 2023 กับคอนเซปต์ ‘รณรงค์ให้ทุกคนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งปี 2566’ โดยครั้งนี้จะมีการคัดเลือกและจัดแสดงชิ้นงานทั้งหมด 66 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยผลงานจากนักสร้างสรรค์ที่ได้รับเชิญ ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ นักวาด ศิลปิน องค์กร หรือนักสร้างสรรค์ประเภทอื่นๆ จำนวน 33 ชิ้น และผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากรอบ Opencall อีกจำนวน 33 ชิ้น อีกทั้งชิ้นงานทั้งหมดจะมีการนำไปโพสต์และทำแคมเปญส่งต่อให้ประชาชนได้นำไปใช้ประชาสัมพันธ์ผ่าน Hashtag […]

นายกฯ ต้องมาจากประชาชนเท่านั้น ชวนลงชื่อแก้ไข ม.272 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี

คุณรู้หรือไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งล่าสุดปี 2562 ที่ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ได้มาจากเสียงของประชาชน แต่มาจากการเห็นชอบของ 250 ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา ที่ประยุทธ์มีส่วนร่วมในการคัดเลือกเข้ามา โดยทั่วไปแล้วอำนาจหน้าที่ขององค์กรนี้ที่คนอาจจะนึกถึงคือ การกลั่นกรองและตรวจสอบกฎหมายที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง ทว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ได้กำหนดให้ ส.ว. มีอำนาจอื่นที่สำคัญเพิ่มขึ้นมาด้วย เช่น อำนาจให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ อำนาจตั้งกระทู้ตรวจสอบฝ่ายบริหาร ไปจนถึงอำนาจในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีอำนาจในประเทศไทยมาจนถึงตอนนี้ เพราะอำนาจนี้ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยตามที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ที่กำหนดให้นายกฯ ต้องมาจากการเลือกด้วยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งการให้ ส.ว. มีอำนาจในการเลือกนายกฯ นั้นทำให้ ส.ว. ขาดความเป็นกลางทางการเมือง จึงทำให้เกิดแคมเปญ ‘ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.272 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี’ เพื่อคืนอำนาจนี้กลับสู่มือประชาชน หลักการของแคมเปญคือ ยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีมาจากเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว โดยกลุ่มผู้จัดทำแคมเปญได้ให้เหตุผลถึงการแก้ ม.272 ว่าถ้ามีการเลือกตั้งครั้งหน้า รัฐบาลชุดต่อไปจะทำหน้าที่ได้อย่างภาคภูมิตามวิถีประชาธิปไตย ส.ว. เองก็ทำงานได้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกมองเป็นนั่งร้าน สืบทอดอำนาจ อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง รัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.