สนทนาถึงวรรณกรรมกับนักเขียนทั่วโลกใน ‘เทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ 2023’ วันที่ 4 – 5 พ.ย. 66 ที่หอสมุดเนียลสัน เฮส์

สำหรับสายวรรณกรรม คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเหล่านักเขียนคนโปรดอย่างใกล้ชิด เพราะนั่นหมายถึงการสร้างเสริมให้ประสบการณ์ในการอ่านและมุมมองทางวรรณกรรมของเรากว้างขวางขึ้นผ่านสายตาของผู้สร้างสรรค์งานเขียน ในช่วงท้ายปีนี้ยังมีอีกงานหนังสือที่น่าสนใจและอยากชวนทุกคนไปร่วมกัน นั่นคือ การกลับมาเป็นปีที่ 2 ของเทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ Neilson Hays Bangkok Literature Festival 2023 ที่จัดขึ้นในห้องสมุดที่ถือว่ามีความสวยงามเป็นอันดับต้นๆ ของไทย โดยภายในงานเราจะได้พบกับนักเขียนชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 50 คนที่จะมาร่วมเสวนาพูดคุยถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น Adam Higginbotham, Will Schwalbe และ Nguyễn Phan Quế Mai เป็นต้น ยังไม่นับรวมนักเขียนไทยที่ชาวนักอ่านน่าจะคุ้นชื่อเป็นอย่างดี อาทิ อุรุดา โควินท์, ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ (ปราปต์) และ เชน บุนนาค ช่างภาพและผู้เขียนประวัติศาสตร์ตระกูลบุนนาค ที่จะมาแชร์มุมมองงานเขียนไทยในระดับสากล นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านการเขียน เช่น เวิร์กช็อปการวาดภาพประกอบหนังสือและการเขียนวรรณกรรม ศิลปะการเขียนตัวอักษรด้วยลายมือ รวมถึงการจัดฉายภาพยนตร์และกิจกรรมตลาดนัดงานคราฟต์ ที่จะมาสร้างสีสันให้งานหนังสือครั้งนี้มีชีวิตชีวาและสนุกสนานขึ้น งาน Neilson Hays Bangkok Literature Festival […]

‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ

เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]

ชวนอ่านกรุงเทพฯ ในจินตนาการ ผ่านเรื่องราวโดย 10 นักเขียนไทยในรวมเรื่องสั้น Dream Bangkok

ลองจินตนาการตามว่า ถ้าวันหนึ่ง กรุงเทพฯ ไม่ใช่กรุงเทพฯ แบบที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ แต่เป็นกรุงเทพฯ ในเวอร์ชันที่ผู้คนไม่ต้องขวนขวายจะถูกลอตเตอรี่ เพราะชีวิตไม่ได้ลำบากอะไร จะเดินทางไปไหนมาไหนก็สะดวก มีสวนสาธารณะให้พักผ่อนหย่อนใจ มีห้องสมุดเมืองทันสมัยขนาดใหญ่ที่ใครเข้าไปใช้งานก็ได้ เป็นเมืองที่คนพิการสามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้อย่างสะดวกสบาย เด็กๆ และคนหนุ่มสาวไม่ประสบปัญหาที่ทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่ ใช้ชีวิตด้วยพลังที่เต็มเปี่ยม มีความหวังกับอนาคต แค่ได้วาดฝันเท่านี้ก็อยากให้กรุงเทพฯ ไปถึงวันนั้นจะแย่ แต่หนังสือรวมเรื่องสั้น ‘Dream Bangkok’ ที่ happening, มูลนิธิฟรีดริช เนามัน และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ร่วมกันจัดทำ กลับพาจินตนาการเราไปไกลกว่านั้น ด้วยการสร้างเรื่องราวในรูปแบบ 10 เรื่องสั้นจาก 10 นักเขียนที่จินตนาการถึง ‘กรุงเทพฯ’ ในฝัน และตัวละครกับเรื่องราวที่ ‘เมือง’ จะเป็นไปได้ในเมืองแห่งนั้น ‘เมืองเลือนละลาย’ โดย วีรพร นิติประภา, ‘ห้องสมุด’ โดย วิภว์ บูรพาเดชะ, ‘ดีไหม มารี’ โดย จิราภรณ์ วิหวา และ ‘อภิเชษฐ์’ โดย ภาณุมาศ […]

รำลึกถึง ‘วัฒน์ วรรลยางกูร’ ด้วยรักและอาลัยแด่นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

21 มีนาคม 2565 แวดวงวรรณกรรมไทยสูญเสีย ‘วัฒน์ วรรลยางกูร’ กวีและนักเขียนเจ้าของรางวัลศรีบูรพา ที่ป่วยหนักและเสียชีวิตอย่างสงบขณะลี้ภัยทางการเมืองในประเทศฝรั่งเศส หนึ่งเดือนผ่านไป เครือข่ายคนเดือนตุลาคมและครอบครัววรรลยางกูรได้จัดงานรำลึกและไว้อาลัยต่อการจากไปของนักเขียนผู้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต งานรำลึกวัฒน์ วรรลยางกูร จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2565 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราษฎร์ดำเนิน กรุงเทพฯ โดยกิจกรรมจัดขึ้นตลอดทั้งวันตั้งแต่เวลา 8.30 – 19.00 น.  ในช่วงเช้า มีการเดินขบวนถือรูปภาพของวัฒน์จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา หลังจากนั้นคือพิธีการกล่าวไว้อาลัยและการวางช่อดอกไม้จากครอบครัว มิตรร่วมรบ เครือข่ายคนเดือนตุลา และองค์กรต่างๆ  สำหรับช่วงบ่าย มีกิจกรรมฉายสารคดี ‘ไกลบ้าน’ ภาพยนตร์ที่สะท้อนความรู้สึกและช่วงชีวิตสุดท้ายของวัฒน์ ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศลาวและฝรั่งเศส จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ ‘กึ่งศตวรรษ วัฒน์ วรรลยางกูร ในสายธารวรรณกรรมไทย’ ที่สะท้อนถึงผลงานและช่วงชีวิตของวัฒน์ รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงแวดวงวรรณกรรมของไทยด้วย ปิดท้ายด้วยกิจกรรมช่วงเย็น ‘รำลึกสหาย ร่ายกวี รำร้อง กับผองเพื่อน’ ที่มีทั้งการแสดงดนตรี การแสดงละคร การอ่านบทกวี […]

พ่อก็คือพ่อ Waseda สร้างห้องสมุด Haruki Murakami 

เดือนพฤศจิกายน 2563 สถาปนิก Kengo Kuma ได้ออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่มหาวิทยาลัย Waseda โตเกียว ซึ่งในอดีตนักเขียนชื่อดัง Haruki Murakami เคยเป็นนักศึกษาเอกการละครสมัยเรียนปริญญาตรี ห้องสมุดที่ว่านี้ชื่อ Murakami หรือชื่อทางการ Waseda International House of Literature  ห้องสมุดนี้จัดเก็บเอกสารส่วนตัว แผ่นเสียงนับหมื่นของมุราคามิ รวมถึงหนังสือและต้นฉบับงานเขียน นอกจากนี้ยังมีสำเนาการศึกษา พร้อมด้วยโต๊ะ หนังสือ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง แถมยังมีคาเฟ่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษาซึ่งให้บริการกาแฟคั่วเข้มที่มุราคามิชื่นชอบ และ Audio Room ที่แผ่นเสียงบางส่วนถูกประทับตรา Petercat ชื่อแจ๊สบาร์ที่มุราคามิเป็นเจ้าของหลังเรียนจบ (คาเฟ่นี้มีอีกชื่อว่า ‘แมวส้ม’ ด้วย) คุมะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเรื่องราวของมุราคามิ ผู้เข้าชมจะได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งบริเวณชั้น B1 มีชั้นวางหนังสือไม้โค้งขนาดใหญ่ คุมะตีความว่าคือการปลุกอารมณ์ตัวละครของนักเขียนรุ่นใหญ่ที่เล่าเรื่องระหว่างความจริงและความเหนือจริง มุราคามิเล่าในงานแถลงข่าวห้องสมุดนี้ว่า เขาหวังจะเห็นสถานที่ทำนองนี้ถูกสร้างขึ้นหลังตัวเองตายมากกว่า เขาจะได้พักผ่อนอย่างสงบ และมีคนมาดูแลสิ่งของเหล่านี้ต่อไป ซึ่งมุราคามิรู้สึกประหม่าเล็กน้อย เมื่อได้เห็นห้องสมุดของตัวเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Source : LITHUBPhoto : Kisa Toyoshima

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.