Skywalk ราชวิถี ทางเดินใหม่จากความคิดเห็นของคนกรุง อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยและเชื่อมต่อการเดินทาง

โครงการ Skywalk ราชวิถี เกิดขึ้นจากความพิเศษของถนนราชวิถีที่มีโรงพยาบาลตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกฯ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยฯ  และโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งทำให้มีผู้ป่วย ผู้พิการทางสายตา และผู้สูงอายุสัญจรไปมาผ่านเส้นทางนี้อยู่ตลอด นอกจากนี้ราชวิถียังอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเดินทางสำคัญของกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นจุดตั้งต้นของรถเมล์เกือบทุกสาย ผู้โดยสาร BTS สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เหล่ารถตู้ที่ออกเดินทางสู่ชานเมือง และยังมีวินมอเตอร์ไซค์จำนวนมากที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความไม่สะดวกของการเดินทาง อย่างปัญหาทางเท้าตามแนวถนนราชวิถีที่แคบเกินไป จนทำให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ป่วยเดินสัญจรได้ไม่สะดวก กทม.จึงออกแบบ Skywalk เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีเป้าหมายสำคัญ 4 ข้อคือ  1) ประชาชนทุกคนต้องเดินได้สะดวกสบาย เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนแก่ 2) เสาของ Skywalk ต้องตั้งอยู่ในพื้นที่เอกชน ไม่กีดขวางทางเท้า 3) Skywalk ต้องกว้างมากกว่า 4 เมตร ทำให้รถพยาบาลขนาดเล็กวิ่งรถได้ในกรณีฉุกเฉิน 4) เชื่อมต่อโครงข่ายขนส่งมวลชน BTS รถเมล์ ไปยัง Skywalk ของโรงพยาบาลรามาธิบดี  มากไปกว่านั้น โครงการ […]

เปลี่ยนการเดินในเมืองให้สนุกขึ้น ด้วยนวัตกรรมและการออกแบบทางเท้า ที่ส่งเสริมให้คนเอนจอยกับการเดิน

เคยคิดไหมว่า ทำไมเราถึงไม่อยากใช้เวลาในวันหยุดออกไปเดินเท้าท่องแต่ละย่านของเมือง คำตอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป แดดร้อน ทางเท้าไม่ดี หรือเดินได้ไม่สะดวก แต่นอกเหนือจากความปลอดภัยและความสะดวกสบายทั่วๆ ไปอย่างทางเท้าที่กว้างตามมาตรฐาน ความสม่ำเสมอของพื้นทางเท้าที่ไม่เหยียบแล้วเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือแม้กระทั่งไฟส่องสว่างตลอดการเดิน ยังมีอีกปัจจัยสำคัญอย่างการออกแบบสนุกๆ ที่จะช่วยทำให้การเดินในเมืองของพวกเรามีสีสันมากขึ้นได้อีก คอลัมน์ Urban Sketch ขอลองออกไอเดียว่า จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อเปลี่ยนการเดินธรรมดาๆ ให้มีชีวิตชีวาและสนุกได้ตลอดทาง 1) พื้นจอ Interactive เดินอย่างเดียว มองพื้น มองทางแล้วก็เบื่อๆ ถ้ามีจอ Interactive ที่ทำให้การเดินไม่ต้องมองแต่อะไรซ้ำๆ ก็คงดี เราเลยคิดถึงจอที่โต้ตอบได้ พร้อมใส่อะไรสนุกๆ อย่างปลาทองที่ว่ายไปว่ายมา พร้อมผืนน้ำที่เมื่อเราเหยียบแล้วมีคลื่นเกิดขึ้น กระทั่งทุ่งหญ้าที่มีกระรอกตัวเล็กๆ กระโดดดึ๋ง เวลาเหยียบจุดไหนหญ้าก็เกิดการเคลื่อนไหว 2) จุดแวะนับก้าวและเติมพลัง นี่เราเดินมาไกลแค่ไหน เป็นจำนวนกี่ก้าวแล้ว หรือวันนี้เดินได้มากกว่าเมื่อวานไหม นี่เลย เราขอเสนอจุดแวะนับก้าวและเติมพลังให้ทุกคนนำ Smart Watch ไปแปะที่แท่นพร้อมขึ้นโชว์เป็นลำดับแข่งขัน และมอบรางวัลให้นักเดินคนเก่งที่สะสมจำนวนก้าวได้มากที่สุดในสัปดาห์ คู่กับบริการเช่ายืมเซตนักเดินอย่างหมวก แว่นกันแดด ร่ม หรือพัดลมจิ๋ว โดยมีค่าบริการคิดตามรายชั่วโมงและคืนได้ที่จุดแวะนับก้าวจุดต่อไป อีกส่วนสำคัญที่จุดนับก้าวนี้มีคือ ข้อความให้กำลังใจสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันเดินแชมเปียนชิป แต่ก็ต้องการกำลังใจดีๆ ให้ผ่านวันยากๆ […]

ทางเท้า ญี่ปุ่น ออกแบบได้ปลอดภัยและฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์วิถีชีวิตนักเดินของชาวเมือง

‘ญี่ปุ่น’ คือประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองที่ทั้งสะอาด เป็นระเบียบ และสะดวกสบาย ซึ่งผลลัพธ์เช่นนี้มาจากความใส่ใจของรัฐบาลญี่ปุ่นและพฤติกรรมชาวเมืองที่มีวินัยในการใช้ชีวิตกันอย่างเป็นระบบระเบียบ และถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีพื้นที่ใช้สอยภายในประเทศอย่างจำกัด แต่หน่วยงานภาครัฐก็ให้ความสำคัญต่อระบบการเดินทางคมนาคมให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัยอย่างสูงสุด เช่นเดียวกับ ‘ทางคนเดินเท้า’ ที่ออกแบบมาตอบโจทย์วิถีชีวิตของประชากรในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้คนใช้วิธีการเดินในการเดินทางควบคู่ไปกับคมนาคมที่ดี 📌 การออกแบบที่ทุกคนใช้งานได้ โครงสร้างทางเท้าที่ญี่ปุ่นถูกออกแบบมาให้ทุกคนใช้งานได้อย่างปลอดภัย สะดวกสบาย และซัพพอร์ตผู้ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่างวีลแชร์และไม้เท้า ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดล้วนคำนึงถึงผู้ใช้งานและผ่านการคิดตามหลักวิศวกรรมมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความกว้างของทางเท้าที่ต้องมีขนาดเพียงพอต่อการรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย โดยมีการอ้างอิงจากขนาดความกว้างมาตรฐานในการใช้เดินทาง ได้แก่ คนปกติใช้ความกว้าง 0.75 เมตร ผู้ใช้วีลแชร์ใช้ความกว้าง 1 เมตร และผู้พิการทางสายตาที่ใช้สุนัขนำทางใช้ความกว้าง 1.5 เมตร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้นำมาใช้ในการออกแบบความกว้างของทางเท้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างเหมาะสม โดยทางเท้าญี่ปุ่นจะยึดหลักการออกแบบให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์สวนกันได้ ส่วนพื้นที่ทางเท้าที่อนุญาตให้จักรยานขึ้นมาขี่ได้จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และยังมีการแบ่งเป็น Bike Lane แยกออกมาด้วยในบางเขต ส่วนพื้นผิวบนทางเท้าจะปูพื้นเป็นบล็อกที่อัดแน่นและชิดกัน ทำให้การเดินปกติหรือใช้รถเข็นนั้นไม่มีสะดุดเลย รวมถึงเบรลล์บล็อก (Braille Block) ทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตาก็มีตลอดเส้นทาง และเชื่อมโยงกับทางม้าลายทุกพื้นที่ ไม่มีการตัดขาดเส้นทางอีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลถึงความปลอดภัยในการเดินบนทางเท้า 👥 ปรับทางเท้าให้ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มากมาย แถมระบบขนส่งก็ครอบคลุมทั่วทุกจังหวัดในประเทศ […]

ทางเท้า เกาหลีใต้ ต่อให้ก้มหน้าเล่นมือถือก็ไม่เป็นอันตราย เพราะให้ความสำคัญกับคนมากกว่ารถยนต์

ครั้งหนึ่งในปี 1982 ‘เกาหลีใต้’ เคยเป็นประเทศให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมยานยนต์และเศรษฐกิจโดยรวม ชนิดที่มีการออกกฎหมายพิเศษ ยกเว้นโทษให้ผู้กระทำผิดที่ละเมิดกฎจราจรบนถนนให้ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญา ตราบใดที่บุคคลนั้นมีประกันภัยครอบคลุม จนตามมาซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคนเดินเท้าสูงกว่าในประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ถึง 7.7 เท่า เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันน่าเป็นกังวลนี้ ในปี 1998 ‘Seoul Metropolitan Government (SMG)’ ได้ดำเนินโครงการ ‘Creation of pedestrian-friendly walkways’ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมอันน่ารื่นรมย์และปลอดภัยให้กับการเดินเท้า โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนให้โซลกลายเป็นเมืองที่เป็นมิตร และช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับคนเดินเท้า พร้อมทั้งพัฒนามาเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอตามข้อกำหนดของกฎหมายที่กล่าวว่า ทาง SMG จะต้องจัดทำ ‘แผนพื้นฐานสำหรับสภาพแวดล้อมสำหรับคนเดินเท้า’ เป็นประจำทุกๆ ห้าปี เพื่อปรับทางเท้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนเดินเท้าและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด เริ่มจากการแก้ไข 4 ปัญหาหลัก ได้แก่ 1) อันตรายจากการเดินข้ามถนนโดยผิดกฎหมาย อันเนื่องมาจากการขาดทางม้าลาย 2) การยึดครองถนนในเขตที่อยู่อาศัยโดยรถยนต์จำนวนมาก3) สะพานลอยสำหรับคนเดินเท้าและทางเดินใต้ดินมีมากเกินไป4) ทางเดินมีความกว้างไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลกรุงโซลจึงติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยกในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง […]

‘พี่ๆ ขอรูตเดินฉบับคนไม่ชอบเดินหน่อย’ รวม 5 รูตจากคนไม่เดิน ที่เดินแล้วไม่เหนื่อยอย่างที่คิด

ไม่ชอบเดินแต่อยากเดิน ควรเริ่มจากตรงไหนดี จริงๆ อาจไม่ต้องคิดเยอะหรือต้องตั้งเป้าหมายให้ยาก เพราะการเดินไม่ใช่เรื่องยากเท่าที่คิด ขอเพียงแค่ในระหว่างทางมีจุดให้แวะบ้าง ไม่ว่าจะเป็นของกิน ช้อปปิง หรือเข้าไปในโซนที่มีแอร์เย็นๆ ปะทะหน้า แค่นี้ก็ทำให้การเดินกลายเป็นเรื่องสนุกขึ้นมาแล้ว และแม้ว่าชาว Urban Creature ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกชมรมนักเดิน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนที่ไม่ชอบเดินสักหน่อย คอลัมน์ Urban’s Pick วันนี้เลยขอนำ 5 รูตที่คนไม่ชอบเดินมาฝากทุกคนกัน เชื่อเถอะว่าถ้าเราเดินได้ ทุกคนก็ต้องเดินได้ ไม่แน่นะ บางรูตในนี้หลายคนอาจใช้เป็นรูตเดินประจำอยู่แล้วแบบไม่รู้ตัว 1) เดินสั้นๆ แบบเท้าไม่แตะพื้น (เริ่ม BTS สถานีสยาม จบ BTS สถานีสนามกีฬาฯ) รูตเดินขั้นเบสิกของคนมาเที่ยวสยามที่แวะเติมพลังระหว่างทางด้วยแอร์เย็นๆ จากทั้ง Siam Paragon ต่อไปยัง Siam Center ทะลุ Siam Discovery ออกทางเชื่อมแยกปทุมวัน แวะเข้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ก่อนเดินทางกลับด้วย BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทั้งหมดนี้ระยะทางเพียง 640 เมตรเท่านั้น เดินกำลังดี […]

ทางเท้ากรุงเทพฯ ทำไมถึงไม่มีทางเดินดีๆ ให้ดื่มด่ำบรรยากาศเมือง

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปรับปรุงทางเท้าใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงยังมีการปรับทัศนียภาพทางเท้าบางจุดที่เคยถูกบุกรุกพื้นที่ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังไม่รู้สึกว่ากรุงเทพฯ น่าเดินเล่นชิลๆ อยู่ดี บางครั้งปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากสภาพทางเท้าอย่างเดียว เพราะต่อให้ทางเดินเรียบขนาดไหน แต่ถ้ายังต้องคอยระแวงหลบสิ่งกีดขวางอยู่ประจำก็คงไม่สบอารมณ์นัก ยังไม่นับบรรยากาศรอบข้างที่ไม่เอื้อให้รู้สึกอยากเดินเสพบรรยากาศไปเรื่อยๆ ทั้งที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองท่องเที่ยวระดับโลกแท้ๆ ทำไมเราถึงเดินเดตกันแบบเมืองปารีสหรือกรุงโซลไม่ได้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนมาเดินส่องหาสาเหตุกันว่า ทำไมเราถึงไม่สามารถเอนจอยกับการเดินทางเท้ากรุงเทพฯ ได้เสียที ปรับปรุงสภาพแต่ไม่ขยายขนาด ก็ไม่อาจทำให้ทางเท้าน่าเดินได้ ปัจจุบัน กทม.ทยอยปรับปรุงทางเท้าในกรุงเทพฯ หลายจุดทั่วเมืองตามโครงการปรับปรุงทางเท้า 1,000 กิโลเมตร แต่เนื่องจากระยะเวลาที่มีจำกัดและปัญหาอื่นที่ยังรุมเร้า คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในกรุงเทพฯ ยังมีทางเท้าอีกหลายจุดที่สภาพไม่ดีนัก โดยเฉพาะบริเวณชานเมืองและพื้นที่ที่ไกลออกไป ภาพจำของทางเท้าที่ขรุขระและสมบุกสมบันจึงยังไม่ถูกลบหายไปง่ายๆ และต่อให้เป็นทางเท้าที่ปรับปรุงแล้วก็ยังไม่วายมี ‘อุปสรรค’ มากีดขวางให้ผู้คนไม่สามารถเดินตรงๆ สบายๆ ยกตัวอย่าง เสาไฟฟ้า สะพานลอย ต้นไม้ที่ขนาดใหญ่เกินครึ่งของทางเท้า กระทั่งอากาศร้อนจัดเพราะไม่มีร่มเงาใดๆ ช่วยบดบังแสงแดด แม้บางพื้นที่มีตึกแถวเป็นร่มเงา ก็ดันมีน้ำไม่พึงประสงค์ที่หยดลงมาจากตึกแถวจนต้องเดินหลบกันจ้าละหวั่น แต่ที่หนักสุดคงเป็นขนาดทางเท้าที่ไม่สามารถขยับขยายไปมากกว่านี้ได้อีกแล้ว เนื่องจากการปรับปรุงทางเท้าที่กล่าวมามักเป็นการ ‘ปรับปรุง’ พื้นผิวทางเท้าอย่างเดียว ไม่ได้ขยายทางเดินให้กว้างขึ้นแต่อย่างใด มากไปกว่านั้น บางพื้นที่ยังปาดทางเท้าให้กลายเป็นถนนเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาทางเท้าแคบจึงไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนพื้นที่ที่เคยมีทางเท้ากว้างก็อาจจะแคบลงไปเรื่อยๆ ซ้ำร้ายถนนบางเส้นไม่มีทางเท้าให้เดินเลยแม้แต่เซนติเมตรเดียว อยากปรับปรุงเหมือนกัน แต่เหมือนหน่วยงานอื่นจะไม่เข้าใจ ข้อจำกัดหลักที่ทำให้ทางเท้ายังมีอุปสรรคจนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก […]

City Walk, City Work ก่อนจะเป็นเมืองน่าอยู่ ต้องเป็นเมืองที่คนเดินได้เดินปลอดภัยก่อน

ในชีวิตแต่ละวัน ‘การเดิน’ เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของผู้คนโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ออกจากประตูบ้านมาถึงที่เรียนหรือที่ทำงาน ต่อให้ขึ้นรถลงเรืออย่างไรก็ยังต้องอาศัยการเดินอยู่ดี ทั้งที่การเดินไม่จำเป็นต้องใช้อะไรนอกจากขาของเรา แต่เหมือนว่าวิธีเดินทางที่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุดนี้จะยังมีปัญหาซ่อนอยู่ ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากร่างกายของเราได้อย่างเต็มที่และมีความสุขนัก นั่นเป็นผลจากเมืองที่เราอาศัยอยู่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนและการเดินมาตั้งแต่แรก พอคนเดินได้ไม่ดีก็ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวจนเกิดโรคตามมา หรือกระทั่งความเหงาที่เกิดขึ้นเพราะไม่มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กลับกัน ในเมืองที่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จะออกแบบและจัดตั้งนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้คนอยากเดิน เช่น แนวคิดเมือง 15 นาที ที่กำหนดให้แต่ละพื้นที่ต้องมีบริการสาธารณะที่จำเป็นโดยคนสามารถเดินถึงภายใน 15 นาที หรือแนวคิดเมืองเดินได้ ที่ทำให้เมืองมีกายภาพน่าเดิน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ล้วนส่งผลดีในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติสุขภาพที่ประชาชนได้ออกกำลังกายไปในตัว มิติสิ่งแวดล้อมที่เมื่อลดการใช้รถยนต์ลงอากาศก็ดีขึ้น หรือมิติเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยระหว่างคนเดินกับร้านค้าริมทางเดิน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์ City Walk, City Work ขอชวนมาเดินสำรวจด้วยกันว่า จริงๆ แล้วเมืองที่เดินได้และปลอดภัยควรเป็นอย่างไร อะไรกันแน่ที่ทำให้คนไทยไม่อยากเดิน ไปจนถึงตอนนี้เมืองของเราทำอะไรไปบ้างแล้วเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองเดินได้เดินดีในอนาคต หลักการออกแบบทางเท้าที่ดี สำหรับนักเดินเมืองทั้งขาประจำและขาจรทั้งหลายคงรู้กฎการเดินเมืองเบื้องต้น 101 กันอยู่แล้วว่า การเดินที่ปลอดภัยที่สุดคือ ‘การเดินบนทางเท้า’ หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ‘ฟุตพาท’ ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ‘Foot = เท้า’ ‘Path = ทาง’ แต่น้อยฟุตพาทนักที่น่าเดินหรือเอื้อต่อการเดินเล่นและเดินจริงจังในปัจจุบัน […]

ทางเท้า สิงคโปร์ ทางเท้าที่ทำให้ใครๆ ก็อยากเดิน เมื่อเส้นทางเดินมีหลังคาคลุมและเชื่อมได้ไร้รอยต่อ

นอกจากการเป็นเมืองคอนเสิร์ต สถาปัตยกรรม เมอร์ไลออน และต้นแบบคาสิโนแล้ว สิงคโปร์ ประเทศเล็กๆ แห่งเกาะเซนโตซา ยังมีจุดเด่นสำคัญอย่างทางเท้าออกแบบดีที่ทำให้ชาวเมืองเดินได้สะดวกอีกด้วย 🚶ทางเท้ากว้างที่มีหลังคา ช่วยให้คนอยากเดิน การออกแบบทางเท้าของสิงคโปร์เน้นไปที่ทางเดินที่มีหลังคา ทางเดินเชื่อม และทางเชื่อมระหว่างอาคาร ที่รวมถึงเส้นทางเชื่อมต่อบนดินและชั้นใต้ดิน ด้วยองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบอย่างการมีกันสาดและทางเดินที่มีหลังคา จากลักษณะของสภาพอากาศสิงคโปร์ที่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน กันสาดและหลังคานี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องผู้เดินเท้าจากแสงแดดจัดและความถี่ของฝน อีกทั้งยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทางเดินที่มีหลังคาตามแนวอาคารพาณิชย์และอาคารอเนกประสงค์ที่หันหน้าไปทางถนนและทางเท้าว่า ต้องมีหลังคาสูงอย่างน้อย 3.6 เมตร และอาจอนุญาตให้มีเพดานที่สูงขึ้นได้หากมีการใช้วัสดุกรุผนังที่เหมาะสมและเพิ่มความกว้างของทางเดิน ส่วนข้อกำหนดความกว้างขั้นต่ำของทางเดินที่มีหลังคาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับที่ตั้งและความใกล้กับสถานีขนส่ง – ทางเดินบริเวณพื้นที่ใจกลางเมืองหรือภายในรัศมี 200 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า MRT/สถานีขนส่งหลัก : ความกว้างโดยรวมขั้นต่ำ 3.6 เมตร และความกว้างสุทธิขั้นต่ำ 3 เมตร – ทางเดินระหว่าง 200 – 400 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า MRT/สถานีขนส่งหลัก : ความกว้างโดยรวมขั้นต่ำ 3 เมตร และความกว้างสุทธิขั้นต่ำ 2.4 เมตร – ทางเดินอื่นๆ ทั้งหมด : ความกว้างโดยรวมขั้นต่ำ […]

‘Footpath Zoning’ ใช้กระเบื้องจัดโซน ฟื้นฟูย่านบรรทัดทอง แก้ปัญหาความวุ่นวายบนทางเท้า

หากพูดถึงย่านที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ คงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจาก ‘บรรทัดทอง’ ย่านเก่าใจกลางเมืองที่กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในรูปแบบของย่านสตรีทฟู้ด เดิมทีบรรทัดทองเป็นที่รู้จักในฐานะย่านขายอะไหล่รถยนต์และอุปกรณ์กีฬา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นจุดสนใจของเหล่านักกินและนักท่องเที่ยวมากมาย ถึงจะเป็นย่านป็อปขนาดไหน แต่ถ้าใครเคยไปเดินเล่นแถวนี้จะพบว่า ‘ทางเท้า’ บรรทัดทองทรุดโทรมและไม่มีการจัดการอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่การรอคิวของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ลูกค้าต้องยืนรอหน้าร้านกีดขวางทางเท้า ไม่มีโซนสำหรับรอรถยนต์รับ-ส่งอย่างชัดเจน ปัญหาทิ้งขยะจากร้านค้า ไม่มีการจัดระบบระเบียบ ทำให้ตามมาด้วยทางเท้าที่สกปรก อีกทั้งตัวถนนบรรทัดทองเองแม้จะมีการเชื่อมกับพื้นที่สำคัญให้เดินถึงกันได้ แต่กลับไม่มีการบอกเส้นทางที่ชัดเจน ส่งผลให้หลายคนสับสน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเดินทางไปเยือน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียจัดการพื้นที่ย่านบรรทัดทองใหม่ให้มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้ทางเท้าและเป็นระเบียบมากขึ้น โดยใช้สิ่งที่หลายคนคุ้นตาอย่าง ‘แผ่นกระเบื้อง’ มาจัดสรรพื้นที่ และปรับให้ทางเท้าย่านบรรทัดทองครอบคลุมทุกการใช้งานของคนในย่าน พื้นที่สำหรับคนเดินเท้า ปัจจุบันสภาพทางเท้าในย่านบรรทัดทองยังไม่สามารถรองรับคนทุกกลุ่มได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางและไม่มีพื้นที่รองรับสำหรับผู้พิการ เราจึงขอกำหนดขอบเขตบนทางเท้าให้ชัดเจนด้วย ‘กระเบื้องสีเทา’ เพื่อเป็นตัวบ่งบอกว่า บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทางเดินเท้าที่มีขนาดกว้างมากพอสำหรับคนเดินเท้า และผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์  รวมไปถึงการติดตั้ง ‘Braille Block’ สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ถูกต้องตามหลักการใช้งานตลอดทั้งเส้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ใช้ทางเท้าที่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น พื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า แต่การจะทำให้กระเบื้องสีเทาในข้อก่อนหน้าใช้ได้จริง จำเป็นต้องจัดการปัญหากีดขวางเส้นทางการเดินเท้าจากการรอคิวหน้าร้านค้าต่างๆ ให้ได้ก่อน เพราะหลายครั้งที่พื้นที่รองรับลูกค้าหน้าร้านไม่เพียงพอต่อจำนวนคนที่มารอ ทำให้มีคนยืนหรือนั่งออหน้าร้าน จนคนอื่นๆ สัญจรไปมาไม่สะดวก เราเลยหยิบเอากระเบื้องที่มีอยู่แล้วมาเปลี่ยนเป็น ‘กระเบื้องสีแดง’ กันไปเลย เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า พร้อมบอกคิวผ่านตัวเลขบนกระเบื้อง เพื่อช่วยให้ลูกค้าและไรเดอร์มีพื้นที่ของตนเองชัดเจน […]

เปรูปรับปรุง Sightwalks ใหม่ หวังช่วยให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นใช้ชีวิตและเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น

หลายคนคงเคยเห็นแผ่นปูนซีเมนต์ตามทางเท้าที่เป็นรอยเส้นขีดแนวตั้ง ที่มีตั้งแต่หนึ่งเส้นขีดไปจนถึงหลายเส้นขีด เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกทางแก่ผู้บกพร่องทางการมองเห็นให้ใช้ทางเท้าได้สะดวกขึ้น ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ในประเทศเปรูนั้น ผู้บกพร่องทางการมองเห็นนับได้ว่าเป็นหนึ่งในความพิการที่พบได้บ่อยที่สุด แต่ภูมิทัศน์ของเมืองกลับไม่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ทางเอเจนซีโฆษณา ‘Circus Grey Peru’ ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ‘Cemento Sol’ และเทศบาล ‘Miraflores District’ จึงร่วมมือกันปรับปรุงทางเท้าในเมืองหลวง Lima เพื่อให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นกว่า 500,000 คนในเมืองสัญจรไปมาอย่างสะดวกสบาย และเข้าถึงบริการต่างๆ ผ่านการใช้สัญลักษณ์เส้นขีดบนแผ่นปูนซีเมนต์ที่ระบุถึงบริการและสถานที่นั้นๆ เช่น เส้นขีด 1 ขีดสำหรับร้านอาหาร, 3 ขีดสำหรับร้านสะดวกซื้อ หรือ 6 ขีดสำหรับโรงพยาบาล ภายในพื้นที่กว่า 75,000 ตารางเมตรบนถนน Miraflores นั้นได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นอย่างมาก และในอนาคตจะมีการขยายไปยังเขตอื่นๆ ใน Lima รวมถึงจุดประกายไอเดียให้กับพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกด้วย Sources : DesignTAXI | t.ly/Al0HlLBBOnline | t.ly/feCcF

‘ศิลปะบนฝาท่อ’ คืนพื้นที่ทางเดินเท้าด้วยฝีมือคนในชุมชนและนักออกแบบกลุ่มเมืองยิ้ม

การนำศิลปะเข้าไปรวมอยู่กับสิ่งเล็กๆ ที่หลายคนมองข้าม อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของเมืองให้มากขึ้น ยกตัวอย่าง ‘ศิลปะบนฝาท่อ’ ของประเทศญี่ปุ่น ที่หยิบเอาสถานที่หรือสัญลักษณ์ในประเทศมาออกแบบและสื่อถึงเอกลักษณ์สำคัญๆ บนฝาท่อ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของย่านหรือเมือง จนเป็นเหมือนแบรนด์ดิงของพื้นที่นั้นๆ ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับการเดินเท้า มองหาศิลปะตามเส้นทาง และใช้เวลาเอนจอยกับระหว่างทางมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เองก็เคยมีศิลปะบนฝาท่อในย่านคลองโอ่งอ่างมาก่อนหน้านี้ และในตอนนี้มีอีกหนึ่งพื้นที่อย่างบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ที่เราอาจนึกไม่ถึงว่านอกจากตลาดโบ๊เบ๊ที่เป็นสถานที่ใกล้เคียงแถวนั้นแล้ว จะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างฝาท่อสีสันสดใสวางเรียงรายตามทางเท้าด้วย คอลัมน์ Art Attack ขออาสาพาทุกคนไปเดินชมฝาท่อที่ถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะจากจินตนาการและการใช้ชีวิตของเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านความร่วมมือระหว่าง ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ และกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น และคืนพื้นที่ทางเท้าให้กับผู้คนในย่านได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกันมากกว่าเดิม กลุ่มนักออกแบบที่อยากมอบรอยยิ้มให้ผู้คน ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ เกิดจากการรวมตัวกันของสามสมาชิกที่ทำงานด้านการออกแบบหลากหลายแขนง ได้แก่ ‘ดิว-วรรธนะ ทรงเพ็ชร์มงคล’ นักวิจัยผังเมืองและนักออกแบบ, ‘ธาม ศรีเพริศ’ นักออกแบบภายใน และ ‘ลอนทราย กังขาว’ สถาปนิก ทั้งสามสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมาด้วยกัน แต่ด้วยความที่เรียนคนละสาขา ทำให้ตลอดระยะเวลาการเรียนพวกเขายังไม่เคยมีโอกาสร่วมงานกันมาก่อน หรือกระทั่งเข้าสู่ช่วงทำงานแล้วทั้งหมดก็ยังไม่เคยลงมือทำโปรเจกต์ใดๆ ด้วยกันเลย ถึงจะเรียนคนละสาขา และต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่ถนัดของตัวเอง ทั้งสามคนก็มีความสนใจร่วมกันอยู่ นั่นคือ การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถมอบรอยยิ้มให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนำมาสู่การรวมตัวกันและเป็นที่มาของชื่อกลุ่มเมืองยิ้มที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ปี […]

Silom Master Plan เปลี่ยนทางเท้าสีลมให้เขียวขจีและน่าเดิน ด้วยโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสีลม ปี 2564

หลังจากเปิดตัว ‘โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสีลม พ.ศ. 2564 หรือ Silom Master Plan’ อย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ในที่สุดก็มีภาพอัปเดตโครงการล่าสุดออกมาให้ชาวกรุงเทพฯ ได้ชมกันแล้ว Silom Master Plan เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรุงเทพมหานคร สมาคมเรารักสีลม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักการโยธา และสำนักผังเมือง เพื่อจุดประสงค์ในการปรับปรุงทางเท้าในย่านสีลมให้เกิด Active Transport อย่างการเดินเท้าในกรุงเทพที่มากขึ้น ทางโครงการได้ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) มาร่วมจัดทำผังแนวความคิด (Conceptual Plan) และผังแม่บท (Master Plan) และบริษัท ฉมา จำกัด ร่วมออกแบบรายละเอียดภูมิสถาปัตยกรรมที่จะสร้างสรรค์พื้นที่และทัศนียภาพโดยรอบให้เกิดความสะดวก สบาย และความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม  แนวคิดการออกแบบของ Silom Master Plan คือ การให้ความสำคัญกับคนเดินเท้าเป็นลำดับแรก (Pedestrian First) ประกอบกับการสร้างสวนสาธารณะแนวยาว (Linear Park) […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.