‘Footpath Zoning’ ใช้กระเบื้องจัดโซน ฟื้นฟูย่านบรรทัดทอง แก้ปัญหาความวุ่นวายบนทางเท้า

หากพูดถึงย่านที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ คงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจาก ‘บรรทัดทอง’ ย่านเก่าใจกลางเมืองที่กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในรูปแบบของย่านสตรีทฟู้ด เดิมทีบรรทัดทองเป็นที่รู้จักในฐานะย่านขายอะไหล่รถยนต์และอุปกรณ์กีฬา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นจุดสนใจของเหล่านักกินและนักท่องเที่ยวมากมาย ถึงจะเป็นย่านป็อปขนาดไหน แต่ถ้าใครเคยไปเดินเล่นแถวนี้จะพบว่า ‘ทางเท้า’ บรรทัดทองทรุดโทรมและไม่มีการจัดการอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่การรอคิวของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ลูกค้าต้องยืนรอหน้าร้านกีดขวางทางเท้า ไม่มีโซนสำหรับรอรถยนต์รับ-ส่งอย่างชัดเจน ปัญหาทิ้งขยะจากร้านค้า ไม่มีการจัดระบบระเบียบ ทำให้ตามมาด้วยทางเท้าที่สกปรก อีกทั้งตัวถนนบรรทัดทองเองแม้จะมีการเชื่อมกับพื้นที่สำคัญให้เดินถึงกันได้ แต่กลับไม่มีการบอกเส้นทางที่ชัดเจน ส่งผลให้หลายคนสับสน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเดินทางไปเยือน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียจัดการพื้นที่ย่านบรรทัดทองใหม่ให้มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้ทางเท้าและเป็นระเบียบมากขึ้น โดยใช้สิ่งที่หลายคนคุ้นตาอย่าง ‘แผ่นกระเบื้อง’ มาจัดสรรพื้นที่ และปรับให้ทางเท้าย่านบรรทัดทองครอบคลุมทุกการใช้งานของคนในย่าน พื้นที่สำหรับคนเดินเท้า ปัจจุบันสภาพทางเท้าในย่านบรรทัดทองยังไม่สามารถรองรับคนทุกกลุ่มได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางและไม่มีพื้นที่รองรับสำหรับผู้พิการ เราจึงขอกำหนดขอบเขตบนทางเท้าให้ชัดเจนด้วย ‘กระเบื้องสีเทา’ เพื่อเป็นตัวบ่งบอกว่า บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทางเดินเท้าที่มีขนาดกว้างมากพอสำหรับคนเดินเท้า และผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์  รวมไปถึงการติดตั้ง ‘Braille Block’ สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ถูกต้องตามหลักการใช้งานตลอดทั้งเส้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ใช้ทางเท้าที่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น พื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า แต่การจะทำให้กระเบื้องสีเทาในข้อก่อนหน้าใช้ได้จริง จำเป็นต้องจัดการปัญหากีดขวางเส้นทางการเดินเท้าจากการรอคิวหน้าร้านค้าต่างๆ ให้ได้ก่อน เพราะหลายครั้งที่พื้นที่รองรับลูกค้าหน้าร้านไม่เพียงพอต่อจำนวนคนที่มารอ ทำให้มีคนยืนหรือนั่งออหน้าร้าน จนคนอื่นๆ สัญจรไปมาไม่สะดวก เราเลยหยิบเอากระเบื้องที่มีอยู่แล้วมาเปลี่ยนเป็น ‘กระเบื้องสีแดง’ กันไปเลย เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า พร้อมบอกคิวผ่านตัวเลขบนกระเบื้อง เพื่อช่วยให้ลูกค้าและไรเดอร์มีพื้นที่ของตนเองชัดเจน […]

เปรูปรับปรุง Sightwalks ใหม่ หวังช่วยให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นใช้ชีวิตและเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น

หลายคนคงเคยเห็นแผ่นปูนซีเมนต์ตามทางเท้าที่เป็นรอยเส้นขีดแนวตั้ง ที่มีตั้งแต่หนึ่งเส้นขีดไปจนถึงหลายเส้นขีด เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกทางแก่ผู้บกพร่องทางการมองเห็นให้ใช้ทางเท้าได้สะดวกขึ้น ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ในประเทศเปรูนั้น ผู้บกพร่องทางการมองเห็นนับได้ว่าเป็นหนึ่งในความพิการที่พบได้บ่อยที่สุด แต่ภูมิทัศน์ของเมืองกลับไม่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ทางเอเจนซีโฆษณา ‘Circus Grey Peru’ ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ‘Cemento Sol’ และเทศบาล ‘Miraflores District’ จึงร่วมมือกันปรับปรุงทางเท้าในเมืองหลวง Lima เพื่อให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นกว่า 500,000 คนในเมืองสัญจรไปมาอย่างสะดวกสบาย และเข้าถึงบริการต่างๆ ผ่านการใช้สัญลักษณ์เส้นขีดบนแผ่นปูนซีเมนต์ที่ระบุถึงบริการและสถานที่นั้นๆ เช่น เส้นขีด 1 ขีดสำหรับร้านอาหาร, 3 ขีดสำหรับร้านสะดวกซื้อ หรือ 6 ขีดสำหรับโรงพยาบาล ภายในพื้นที่กว่า 75,000 ตารางเมตรบนถนน Miraflores นั้นได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นอย่างมาก และในอนาคตจะมีการขยายไปยังเขตอื่นๆ ใน Lima รวมถึงจุดประกายไอเดียให้กับพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกด้วย Sources : DesignTAXI | t.ly/Al0HlLBBOnline | t.ly/feCcF

‘ศิลปะบนฝาท่อ’ คืนพื้นที่ทางเดินเท้าด้วยฝีมือคนในชุมชนและนักออกแบบกลุ่มเมืองยิ้ม

การนำศิลปะเข้าไปรวมอยู่กับสิ่งเล็กๆ ที่หลายคนมองข้าม อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของเมืองให้มากขึ้น ยกตัวอย่าง ‘ศิลปะบนฝาท่อ’ ของประเทศญี่ปุ่น ที่หยิบเอาสถานที่หรือสัญลักษณ์ในประเทศมาออกแบบและสื่อถึงเอกลักษณ์สำคัญๆ บนฝาท่อ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของย่านหรือเมือง จนเป็นเหมือนแบรนด์ดิงของพื้นที่นั้นๆ ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับการเดินเท้า มองหาศิลปะตามเส้นทาง และใช้เวลาเอนจอยกับระหว่างทางมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เองก็เคยมีศิลปะบนฝาท่อในย่านคลองโอ่งอ่างมาก่อนหน้านี้ และในตอนนี้มีอีกหนึ่งพื้นที่อย่างบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ที่เราอาจนึกไม่ถึงว่านอกจากตลาดโบ๊เบ๊ที่เป็นสถานที่ใกล้เคียงแถวนั้นแล้ว จะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างฝาท่อสีสันสดใสวางเรียงรายตามทางเท้าด้วย คอลัมน์ Art Attack ขออาสาพาทุกคนไปเดินชมฝาท่อที่ถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะจากจินตนาการและการใช้ชีวิตของเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านความร่วมมือระหว่าง ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ และกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น และคืนพื้นที่ทางเท้าให้กับผู้คนในย่านได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกันมากกว่าเดิม กลุ่มนักออกแบบที่อยากมอบรอยยิ้มให้ผู้คน ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ เกิดจากการรวมตัวกันของสามสมาชิกที่ทำงานด้านการออกแบบหลากหลายแขนง ได้แก่ ‘ดิว-วรรธนะ ทรงเพ็ชร์มงคล’ นักวิจัยผังเมืองและนักออกแบบ, ‘ธาม ศรีเพริศ’ นักออกแบบภายใน และ ‘ลอนทราย กังขาว’ สถาปนิก ทั้งสามสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมาด้วยกัน แต่ด้วยความที่เรียนคนละสาขา ทำให้ตลอดระยะเวลาการเรียนพวกเขายังไม่เคยมีโอกาสร่วมงานกันมาก่อน หรือกระทั่งเข้าสู่ช่วงทำงานแล้วทั้งหมดก็ยังไม่เคยลงมือทำโปรเจกต์ใดๆ ด้วยกันเลย ถึงจะเรียนคนละสาขา และต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่ถนัดของตัวเอง ทั้งสามคนก็มีความสนใจร่วมกันอยู่ นั่นคือ การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถมอบรอยยิ้มให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนำมาสู่การรวมตัวกันและเป็นที่มาของชื่อกลุ่มเมืองยิ้มที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ปี […]

Silom Master Plan เปลี่ยนทางเท้าสีลมให้เขียวขจีและน่าเดิน ด้วยโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสีลม ปี 2564

หลังจากเปิดตัว ‘โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสีลม พ.ศ. 2564 หรือ Silom Master Plan’ อย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ในที่สุดก็มีภาพอัปเดตโครงการล่าสุดออกมาให้ชาวกรุงเทพฯ ได้ชมกันแล้ว Silom Master Plan เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรุงเทพมหานคร สมาคมเรารักสีลม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักการโยธา และสำนักผังเมือง เพื่อจุดประสงค์ในการปรับปรุงทางเท้าในย่านสีลมให้เกิด Active Transport อย่างการเดินเท้าในกรุงเทพที่มากขึ้น ทางโครงการได้ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) มาร่วมจัดทำผังแนวความคิด (Conceptual Plan) และผังแม่บท (Master Plan) และบริษัท ฉมา จำกัด ร่วมออกแบบรายละเอียดภูมิสถาปัตยกรรมที่จะสร้างสรรค์พื้นที่และทัศนียภาพโดยรอบให้เกิดความสะดวก สบาย และความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม  แนวคิดการออกแบบของ Silom Master Plan คือ การให้ความสำคัญกับคนเดินเท้าเป็นลำดับแรก (Pedestrian First) ประกอบกับการสร้างสวนสาธารณะแนวยาว (Linear Park) […]

โซล เมืองคนเดินเท้าเป็นใหญ่ รัฐเพิ่มทางม้าลายซัปพอร์ตประชาชน

ถ้าเคยไปเยือนโซล ประเทศเกาหลีใต้ คุณน่าจะเคยได้สัมผัสทางเท้าที่มีคุณภาพ และการข้ามถนนที่แสนสะดวกสบาย แถมยิ่งนานวัน ระบบการสัญจรของเมืองก็ยิ่งพัฒนาขึ้น ล่าสุด ทางรัฐบาลกรุงโซล (The Seoul Metropolitan Government) รายงานว่า ได้ขยายการติดตั้งทางม้าลายใหม่ๆ ทั่วเมืองทั้งสิ้น 28 แห่งในปี 2021 โดยคำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมของทางเท้าที่ปลอดภัยต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแผนการที่จะติดตั้งทางม้าลายอีก 31 แห่งในปี 2022 ก่อนหน้านี้ รัฐบาลกรุงโซลดำเนินหลายๆ โปรเจกต์ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านนโยบายการจราจรบนยานพาหนะ จนกระทั่งนำมาสู่นโยบายการสัญจรทางเท้า โดยส่วนสำคัญของโครงการ คือการติดตั้งและขยายทางม้าลาย ซึ่งสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินถนนได้อย่างมาก และด้วยประสบการณ์ด้านบวก ที่ชาวเมืองได้รับจากการใช้งานได้ดีจริงๆ จึงทำให้โปรเจกต์นี้ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนในวงกว้าง ทั้งนี้ รัฐบาลกรุงโซลได้ติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยก 14 ทาง ในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง เพื่อบรรเทาความไม่สะดวกของคนเดินเท้า ที่เคยต้องเดินอ้อมเส้นทางไกลๆ ในช่วงก่อนหน้า ขณะเดียวกันก็สร้างสภาพแวดล้อมของทางข้ามที่ปลอดภัยสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และยังมีการอำนวยความสะดวกด้วยการติดตั้งทางม้าลายต่างๆ เพิ่มเติมในส่วนทางเดินเท้าที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับทางเดินอื่นๆ ด้วย สำหรับการขยายทางม้าลายอย่างต่อเนื่องในปี […]

นิวยอร์กกำลังจะเปลี่ยนถนนกว่า 20 สายให้เป็นเขตปลอดรถยนต์

‘ทางเท้ากว้างขวาง คนเดินถนนปลอดภัย มีร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่ตลอดทาง’ นี่ไม่ใช่คำขวัญของเมืองนิวยอร์กแต่อย่างใด แต่เป็นแผนการทำเมืองในฝันให้เป็นจริงที่ Downtown Brooklyn Partnership กำลังทำอยู่  โปรเจกต์นี้คือการร่วมมือกันของ Downtown Brooklyn Partnership บริษัทออกแบบ Bjarke Ingels Group และบริษัทสถาปนิกและออกแบบผังเมือง WXY เพื่อวาง Roadmap พัฒนาเมืองพลิกโฉมพื้นที่สาธารณะย่านดาวน์ทาวน์บรูกลินให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตคนเมืองมากยิ่งขึ้น ด้วยการเรียกคืนถนนกว่า 20 สายเพื่อให้คนเดินเท้าใช้งานได้มากขึ้น รวมถึงปรับปรุงพื้นที่สาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานโดยให้ความสำคัญกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เข้าถึงง่ายและใช้ได้จริง เพราะปัจจุบันการสัญจรทั้งทางเท้าและบนถนนในย่านดาวน์ทาวน์บรูกลินหนาแน่นมาก Downtown Brooklyn Partnership จึงต้องการเปลี่ยนดาวน์ทาวน์บรูกลินจากศูนย์กลางของย่านธุรกิจที่เน้นการใช้รถยนต์เป็นหลัก ให้เป็นเมืองที่เป็นผู้นำด้านการออกแบบที่ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตของผู้คนมากขึ้น เพราะนับตั้งแต่การแบ่งเขตในปี 2004 ดาวน์ทาวน์บรูกลินได้เติบโตกลายเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของนิวยอร์ก มีประชากรเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในจำนวน 5 เขตเลือกตั้ง และมีการใช้งานของผู้คนที่หลากหลาย มีทั้งที่อยู่อาศัย ที่ตั้งของธุรกิจใหม่ๆ และมีงานรองรับความหลากหลายของผู้คน สภาพถนนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงไม่ได้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานอีกต่อไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนเดินถนน นักปั่นจักรยาน หรือคนที่โดยสารขนส่งสาธารณะ  ปัญหาที่ย่านดาวน์ทาวน์บรูกลินเผชิญอยู่ในขณะนี้มีหลากหลายสาเหตุ เช่น ขาดพื้นที่สีเขียว ยานพาหนะแออัด ทางเท้าแคบและต่ำกว่ามาตรฐาน มีการละเมิดป้ายจอดรถ กริดของถนนที่มีอยู่ที่ชวนสับสน อีกทั้งภูมิทัศน์ถนนทางเดิน […]

คืนชีวิตให้คนเมืองด้วยการมี ‘ทางเท้าที่ดี’

ถ้าให้ขอของขวัญปีใหม่ได้หนึ่งอย่างจากรัฐบาลคุณอยากขออะไร…วัคซีนโควิด-19 ระบบขนส่งสาธารณะที่ได้มาตรฐาน สวัสดิการที่ครอบคลุม หรือพื้นที่สีเขียวที่มากขึ้น สำหรับเรา อยากคืนชีวิตให้คนเมืองด้วยการมี ‘ทางเท้าที่ดี’

8 โปรเจกต์รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นใน ‘กรุงเทพฯ ปี 2564’

ขออาสาไปติดตามความคืบหน้าโปรเจกต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ทางเท้า หรือแม้กระทั่งศาลาพักผู้โดยสารรถประจำทาง ว่าแล้วจะมีอันไหนอยู่ใกล้ตัวเพื่อนๆ บ้าง ตามไปส่องกันเถอะ!

ฟุตพาท ทางม้าลาย สะพานลอย เรื่องพื้นๆ ของผู้ใช้ทางเท้า

ก่อนที่เราจะมีรถยนตร์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางทั้งหลาย หรือระบบขนส่งสาธารณะ วิธีการเดินทางที่เรียบง่าย เก่าแก่ และเสมอต้นเสมอปลายที่สุดของเราก็คือการเดินเท้า

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.