ความสัมพันธ์แม่ลูก การเมือง และอำนาจปิตาธิปไตย ที่ยังคอยย้ำเตือนอยู่ในช่วงเวลาของ ‘อย่ากลับบ้าน’

*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของซีรีส์* เพื่อไม่ให้เป็นการเสียอรรถรสสำหรับคนที่อยากรับชม ‘อย่ากลับบ้าน’ ซีรีส์ออริจินัลสัญชาติไทยเรื่องล่าสุดของ Netflix คงต้องเรียนให้ผู้ที่เข้ามาอ่านบทความไปชมซีรีส์เรื่องนี้ก่อนโดยไม่ต้องรับรู้ข้อมูลใดๆ ยิ่งรู้น้อยเท่าไหร่ยิ่งดีที่สุด เพราะว่ากันตามตรง อย่ากลับบ้าน เป็นซีรีส์ที่เล่นกับความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับเรื่องราวลึกลับที่เก็บงำซ่อนเอาไว้เป็นไม้เด็ด ซึ่งหากรับรู้เรื่องราวมากเกินไป ความตั้งใจที่ตัวซีรีส์พยายามจะสร้างความรู้สึกคาดไม่ถึงแก่ผู้ชมก็อาจหายไปโดยพลัน แต่หากต้องเล่าเรื่องย่อให้คนที่อยากรู้จริงๆ เนื้อเรื่องคร่าวๆ ของ อย่ากลับบ้าน นั้นเล่าถึง ‘วารี’ (นุ่น วรนุช) หญิงสาวผู้มีใบหน้าฟกช้ำและคราบน้ำตากำลังเดินทางหอบลูกสาววัย 5 ขวบชื่อ ‘มิน’ (เจแปน พลอยปภัส) เดินทางกลับสู่บ้านเก่าของครอบครัว ณ อำเภอตะกั่วป่าที่เธอเติบโตในวัยเด็ก บ้านหลังนี้มีชื่อว่า ‘บ้านจารึกอนันต์ 2475’ เป็นบ้านเก่าทรงยุโรปกลางป่าที่เก็บซ่อนความลึกลับพิศวงของอดีตเอาไว้ และยังเชื่อมโยงไปถึงเหตุผลที่แม่ลูกทั้งสองเดินทางหนีบางสิ่งบางอย่างมาสู่สถานที่แห่งนี้ ที่ซึ่งนำไปสู่เหตุผลและความหมายของคำว่า ‘อย่ากลับบ้าน’ หลังจากนี้จะเป็นการพูดถึงเนื้อหาที่จะเปิดเผยเรื่องราวสำคัญในซีรีส์ อย่ากลับบ้าน แล้ว ด้วยวิธีการเล่าท่าทีล่อหลอกผู้ชมให้เชื่อไปในทางหนึ่ง ในที่นี้คือหลอกให้หลงเชื่อว่านี่คือซีรีส์แนว ‘สยองขวัญ’ ว่าด้วยผีวิญญาณร้ายที่สิงสถิตอยู่ในบ้านร้างและหลอกหลอนตัวละครสองแม่ลูก หลังจากหลอกตีหัวคนดูเข้าบ้านได้ด้วยแนวทางที่เหมาะสมแก่การเป็นซีรีส์ฉายในคืนวันฮาโลวีน จากนั้นเรื่องราวจะพาคนดูหัวหมุนตีลังกาด้วยความสงสัย ก่อนพลิกผันเฉลยตัวตนที่แท้จริงว่าเป็นแนว ‘ไซไฟ’ ในภายหลัง เป็นการเล่นกับความคาดหวังสงสัยใคร่รู้ของคนดูอย่างน่าตื่นเต้น หากแต่สิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ในซีรีส์เรื่องนี้ไม่ได้มีเพียงลูกเล่นที่เล่นกับการคาดเดาของคนดูเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความหมายซุกซ่อนอยู่ในเอเลเมนต์ต่างๆ ที่สะท้อนประเด็นสังคมได้อย่างน่าค้นหา ค่านิยมของสังคมที่วนลูปและไม่เคยหายไป การผันตัวเองจากความคาดหวังว่าจะได้ชมซีรีส์สยองขวัญแนวผีๆ ไปสู่การเป็นซีรีส์แนวไซไฟย้อนเวลาของ […]

I Feel ‘Them’ Linger in the Air มองความไม่เท่าเทียมในสังคมไทยผ่านละคร ‘หอมกลิ่นความรัก’

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของละคร ลองตั้งใจดม…นอกจากกลิ่นของความรักแล้ว…คุณรู้สึกถึงกลิ่นอื่นอีกไหม ลองตั้งใจมอง…นอกจากภาพสวยงามของคนรักกัน…คุณเห็นภาพความเหลื่อมล้ำอันแสนเจ็บปวดไหม ลองตั้งใจฟัง…นอกจากเสียงของคำรักพร่ำพลอด…คุณได้ยินเสียงกรีดร้องจากความเจ็บช้ำของผู้ถูกกดขี่หรือไม่ ลองตั้งใจละเลียด…นอกจากรสหวานล้ำของน้ำผึ้งพระจันทร์…คุณสัมผัสได้ถึงรสชาติขมขื่นซับซ้อนที่ถูกแทรกซอนเพิ่มเติมเข้ามาอย่างแนบเนียนบ้างหรือเปล่า แม้เส้นเรื่องหลักจะให้น้ำหนักกับความรักโรแมนติกของสองพระเอกอย่าง ‘พ่อจอม’ (ชานน สันตินธรกุล) และ ‘คุณใหญ่’ แห่งเรือนพลาธิป (รพีพงศ์ ทับสุวรรณ) สมกับชื่อเรื่อง ‘หอมกลิ่นความรัก’ หากแต่เส้นทางชีวิตของตัวละครสมทบที่รายล้อมนั้นก็มีสีสันจัดจ้านและรสชาติเข้มข้นจนไม่อาจมองข้าม เรื่องราวอันแสนตราตรึงนี้กำลังขยายตีแผ่สถานะและความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ จนพูดได้เต็มปากว่าไม่ใช่เพียง I Feel ‘You’ Linger in the Air เท่านั้น บทโทรทัศน์ถูกรีเสิร์ชมาโดยถ้วนถี่เพื่อเพิ่มเติมเส้นเรื่องตัวรองขึ้นมาอย่างละเมียดละไม จนสามารถขยายขอบเขตของนิยาย Boy’s Love ไปสู่ประเด็นสังคมที่กว้างขวางกว่าเดิมในระดับ I Feel ‘Them’ Linger in the Air ‘They/Them’ หมายความถึงใครบ้าง…หลังจากห้วงกาลของคุณใหญ่เคลื่อนผ่านไปร่วมร้อยปี สรรพนามบุรุษที่ 3 ตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษนี้มิได้หมายถึงแค่ ‘พวกเขา’ เหล่าชายหญิงทั้งหลายอีกแล้ว แต่หมายรวมเพศหลากหลายที่ปฏิเสธจะยึดมั่นการถูกจำแนกให้มีสิทธิ์เป็นได้เพียง ‘He/Him’ หรือ ‘She/Her’ ตามกรอบจำกัดของเพศกำเนิด สรรพนาม They/Them นี้อาจสามารถอ้างอิงถึง ‘นายเหนียว […]

‘แม้เราจะมีลูก แต่ก็ยังโดดเดี่ยว’ มองสังคมผู้สูงวัยแต่ละประเทศผ่าน 8 หนังและซีรีส์

แม้จะมีภาพยนตร์หรือซีรีส์จำนวนไม่มากที่เลือกถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตหรือบริบทสังคมผู้สูงอายุโดยมีพวกเขาเป็นคนแสดงนำ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้กำกับหยิบเรื่องของพวกเขาในแง่มุมต่างๆ มานำเสนอ ก็มักจะกินใจผู้ชมอยู่เสมอ เพราะไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก กลุ่มผู้สูงอายุก็เป็นหนึ่งฟันเฟืองที่ทำให้สังคมดำเนินต่อไปได้  และในขณะเดียวกัน การนำเสนอภาพผู้สูงอายุจากฝั่งตะวันตกหรือฝั่งเอเชียที่อยู่ในบริบททางสังคมที่แตกต่างกันในจอภาพยนตร์ ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดหรือปัญหาผู้สูงวัยที่แต่ละประเทศกำลังเผชิญ เพื่อเรียนรู้หรือหาหนทางแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน คอลัมน์ ‘เนื้อหนัง’ ชวนทุกคนมาร่วมมองประเด็นสังคมผู้สูงอายุผ่าน 8 ภาพยนตร์และซีรีส์ที่ล้วนสะท้อนถึงบริบททางสังคมและการจัดการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ 01 | Plan 75 (2022)เมื่อญี่ปุ่นเปิดโอกาสให้คนอายุ 75 ปี เลือกตายอย่างสมัครใจ(การการุณยฆาตและสังคมที่ไม่มีโอกาสให้ผู้สูงอายุ) ถ้าพูดถึงหนังที่มีตัวเอกดำเนินเรื่องเป็นผู้สูงอายุในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘Plan 75’ (2022) ที่หยิบจับเอาประเด็นเรื่องสังคมผู้สูงอายุและการการุณยฆาตมาเล่าผ่านบริบทความเป็นประเทศญี่ปุ่นได้อย่างเจ็บแสบ จนได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนภาพยนตร์ญี่ปุ่นเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์นานาชาติเวทีออสการ์ปี 2023 ผู้ชมจะรับรู้ถึงความยากลำบากของสถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศนี้ได้ผ่านการเล่าเรื่องราวสุดดิสโทเปีย เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมาย Plan 75 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไป เลือกการุณยฆาตตนเองได้อย่างสมัครใจ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับเงินชดเชยถึง 1 แสนเยน เพื่อหวังแก้ปัญหาตัวเลขผู้สูงอายุล้นเมือง และจากตัวกฎหมายนี้เองที่ทำให้เราเห็นถึงเบื้องลึกในจิตใจของคนแต่ละกลุ่ม ตั้งแต่คนที่มองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระของสังคม ไปจนถึงตัวผู้สูงอายุบางคนที่มองว่าการการุณยฆาตอาจไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ แต่เป็นเพราะสังคมที่ไม่มีโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตต่างหากที่กำลังบังคับให้พวกเขาเลือกเส้นทางนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ 02 | C’mon C’mon (2021)การออกเดินทางสัมภาษณ์เด็กในอเมริกาของลุงและหลาน(การมองโลกของคนสองวัยในมุมมองที่แตกต่างกัน) ‘เรานึกภาพอนาคตของตัวเองไว้แบบไหน’‘ถ้าเราสามารถมีพลังพิเศษได้ […]

‘แพรรี่ ธัญพิชชา’ Set Designer คนไทยในฮอลลีวูดที่ได้ออกแบบฉากให้ซีรีส์ Netflix

ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพหญิงสาวผู้สวมแว่นตาที่นั่งอยู่หน้าคอมฯ บนหน้าจอเต็มไปด้วยภาพทำเนียบขาวของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมคำอธิบายประกอบอย่างละเอียด เร็วเท่าความคิด, ภาพทำเนียบขาวที่เธอดีไซน์ในหัวปรากฏขึ้นในพื้นที่ว่างเปล่าข้างตัว…ถ้าเรื่องราวดำเนินในยุคนี้ มีตัวละครหลักเป็นคนนิสัยแบบนี้ ทำเนียบขาวควรจะมีหน้าตาเป็นยังไง…เธอออกแบบตั้งแต่ข้างนอกตึกไปจนถึงพื้นที่ภายใน ชั้นที่ 1 ถึง 5 เจาะลงไปถึงรายละเอียดเล็กๆ กระทั่งสีผนังและกลอนประตู นี่คือสิ่งที่ ‘แพรรี่-ธัญพิชชา ไตรวุฒิ’ ต้องทำในซีรีส์ใหม่ของ Netflix เรื่อง The Residence ซึ่งว่าด้วยคดีฆาตกรรมในทำเนียบขาว ย้อนกลับไปราวต้นปี 2023 เธอได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในทีมนักออกแบบฉาก (Set Designer) ประจำโปรเจกต์นี้ ความเจ๋งคือเธอเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่เป็นทีมงานเบื้องหลัง และเท่าที่เรารู้ เธอเป็นคนไทยหนึ่งในไม่กี่คนที่มีโอกาสได้ทำงานให้หนังและซีรีส์ฮอลลีวูด ไม่เคยฝันว่าจะมาถึงตรงนี้ได้เหมือนกัน-เธอสารภาพกับเราในเช้าที่เราวิดีโอคอลคุยกัน ก่อนจะเริ่มเล่าเรื่องราวอดีตเด็กสาวช่างฝันผู้รักศิลปะ ผู้ที่กว่าจะค้นพบว่าตัวเองชอบออกแบบฉากก็ตอนได้ทำละคอนถาปัดในรั้วจามจุรี ก่อนจะตัดสินใจเดินตามฝันในวัยใกล้ 30 จนสำเร็จ แน่นอนว่าหลังจากฟังเธอเล่าจบ ภาพจำที่เรามีต่อฉากในหนังหรือซีรีส์ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซีนแรกกรุงเทพฯ, 2011 ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพเด็กหญิงธัญพิชชาในโรงภาพยนตร์ หน้าจอปรากฏภาพจากหนังในตำนานอย่าง Star Wars และ Jurassic Park เด็กหญิงหัวเราะคิกคัก สนุกสนานไปกับเรื่องราว ไม่รู้หรอกว่าวันหนึ่งตัวเองจะได้ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโลกในจอ […]

แทบัก! Korean Dramaland เว็บไซต์พาตามรอยซีรีส์เกาหลีกว่า 3,100 โลเคชันใน 26 ประเทศ

แฟนๆ ซีรีส์เกาหลีคงรู้ดีว่า นอกจากเนื้อเรื่องที่สนุกและชวนติดตาม จนทำให้หลายคนตกอยู่ในสภาพดูตอนเดียวไม่เคยพอแล้ว ซีรีส์จากแดนกิมจิยังมาพร้อมโปรดักชันระดับคุณภาพและโลเคชันสวยสมจริง ที่ทำให้ผู้ชมจำนวนไม่น้อยใฝ่ฝันอยากไปตามรอยสถานที่เหล่านั้นสักครั้งในชีวิต เพื่อสานฝันคอซีรีส์เกาหลีให้เป็นจริง เราอยากพาไปรู้จัก ‘Korean Dramaland’ เว็บไซต์ที่รวบรวมสถานที่ในซีรีส์เกาหลีกว่า 690 เรื่อง แถมโลเคชันต่างๆ ยังมีมากถึง 3,110 แห่งใน 26 ประเทศทั่วโลก วิธีใช้งานนั้นง่ายมาก ผู้ใช้งานเพียงแค่พิมพ์ชื่อซีรีส์ที่อยากตามรอยในช่องค้นหา จากนั้นเว็บไซต์จะแสดงผลสถานที่ต่างๆ พร้อมที่อยู่และรายละเอียดที่น่าสนใจ แถมยังแนบวิธีเดินทางและปักหมุดในแผนที่ให้แฟนๆ ไปตามรอยกันแบบง่ายๆ ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ใช้งานยังค้นหาโลเคชันซีรีส์จากชื่อสถานีรถไฟใต้ดิน ชื่อย่านในเกาหลี ชื่อประเทศที่ถ่าย รวมถึงประเภทของสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ฯลฯ ได้ด้วย Korean Dramaland เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2016 จากนั้นเว็บไซต์นี้ก็ค่อยๆ เติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นคอลเลกชันออนไลน์ที่รวบรวมสถานที่ถ่ายทำซีรีส์เกาหลีที่ใหญ่ที่สุด ที่สำคัญทางเว็บไซต์ยังเปิดให้แฟนซีรีส์หรือผู้ที่สนใจมีส่วนร่วมด้วยการส่งชื่อพร้อมที่อยู่โลเคชันจากซีรีส์เกาหลี เพื่อรวบรวมสถานที่ในคอลเลกชันนี้ให้ได้มากที่สุด เข้าไปตามรอยซีรีส์เกาหลีกันแบบฟินๆ ได้ที่ koreandramaland.com

The Hope of Us สวมบทเป็นผู้รอดชีวิตใน The Last of Us และช่วยให้ผู้คนพ้นวิกฤตเชื้อรากลายพันธุ์

“มนุษย์นั้นทำสงครามกับเชื้อไวรัสมาทุกยุคสมัย แม้จะมีผู้คนที่ต้องสูญเสียชีวิตมากมาย แต่มนุษย์ก็ยังเป็นฝ่ายชนะอยู่เสมอ”  แต่ในปี 2003 คือจุดเริ่มต้นความพ่ายแพ้ของมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง เพราะเชื้อราคอร์ไดเซป (Cordyceps) ได้ปนเปื้อนไปกับพืชผลทางการเกษตรที่ถูกส่งออกไปทั่วโลก เมื่อผู้คนบริโภคเข้าไปเชื้อราก็จะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย มนุษย์ที่ติดเชื้อจะเสียการควบคุมและมีพฤติกรรมดุร้าย วิ่งเข้าโจมตีกัดกินคนอื่นๆ เพื่อหวังแพร่เชื้ออย่างไม่เลือกหน้า จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มจากร้อยคนเป็นอีกหลายล้านล้านคนทั่วโลกในเวลาไม่นาน เกิดเป็นโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก บ้านเมืองพังพินาศ มีเหตุการณ์นองเลือด มีเหตุจลาจล มีอุบัติเหตุที่ยากจะควบคุม รวมถึงการแย่งชิงอำนาจ ฯลฯ สงครามระหว่างเชื้อรากับมนุษย์ได้ทำให้ทุกอย่างบนโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันหวนคืน บางอย่างดับสูญ บางคนก็สูญเสียคนรักและครอบครัว ทุกคนต่างดิ้นรนเอาชีวิตรอดท่ามกลางความโกลาหล กว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ก็ผ่านเวลาไป 20 ปี  คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้เราจึงขอสวมบทบาทเป็นผู้รอดชีวิตในปี 2023 ที่อาศัยอยู่ใน Boston Quarantine Zone หรือพื้นที่กักกันผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อจากโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่มวลมนุษยชาติในโลกต้องพบเจอในเกมยอดนิยมที่ถูกนำมาสร้างเป็นซีรีส์อย่าง ‘The Last of Us’ ในเวลาที่ทุกฝ่ายกำลังหาทางออกของวิกฤตการณ์สำคัญครั้งนี้ เราในฐานะผู้รอดชีวิต จึงมองเห็นว่าความเป็นอยู่ที่ดีจะช่วยให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปได้ จึงทำการเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ดังนี้ สร้างระบบคัดกรองที่เป็นมิตรกับทุกคน ‘Boston Quarantine Zone’ หรือ ‘Boston QZ’ […]

ส่องปรากฏการณ์บุลลี่ในสังคมเกาหลีผ่าน The Glory ที่คว้ารางวัลซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

ประเทศเกาหลีใต้มีคำสามัญที่ใช้เรียกความรุนแรงในโรงเรียนว่า ‘학교폭력’ (ฮักกโยพงนย็อก) และมีคำศัพท์เฉพาะอย่างคำว่า ‘왕따’ (วังต้า) ที่ไม่มีคำแทนความหมายแบบแน่นอนในภาษาอังกฤษ แต่แปลความได้ราวๆ ว่า ‘เหยื่อที่ถูกบุลลี่’ โดยคำขั้วตรงข้ามของวังต้าคือ ‘일진’ (อิลจิน) หมายถึง ‘คนที่ชอบรังแกคนอื่นๆ และทำผิดกฎเป็นประจำ’ แค่ชุดคำไม่กี่คำ น่าจะพอทำให้เราเห็นกันแล้วว่า ศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยเฉพาะเหล่านี้ คือหลักฐานและชื่อเรียกของสิ่งที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในสังคมเกาหลีใต้ นี่คือความรุนแรงที่เกิดจริง ทั้งในกรณีที่มีคนออกมาพูดถึงปัญหาที่ตัวเองเผชิญ หรือเรียกร้องความเป็นธรรมจากสิ่งที่เกิดขึ้น และในกรณีที่มันถูกเก็บงำไว้กับผู้ที่ถูกกระทำตลอดไป และใช่ นั่นหมายถึงความเจ็บปวดรวดร้าวที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ และวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว The Glory เป็นซีรีส์เรื่องล่าสุดของนักแสดงสาวชื่อดัง ‘ซงฮเย-กโย’ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในผลพวงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมเกาหลี และไม่ใช่แค่ซีรีส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนัง นวนิยาย และเรื่องราวใน WEBTOON ที่เป็นผลผลิตสะท้อนแง่มุมของสังคมที่ผู้คนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เลวร้ายรูปแบบนี้ หลังจากปล่อยซีรีส์พาร์ต 1 ออกมาไม่นาน The Glory ก็กวาดอันดับ 1 ในด้านยอดการรับชมบนแพลตฟอร์ม Netflix ได้ถึง10 ประเทศ ตั้งแต่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย […]

Twerk เจ้าปัญหา และการยืนหยัดต่อการเป็นผู้หญิงธรรมดาใน She-Hulk ซีรีส์ฮีโร่หญิงของมาร์เวล

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาซีรีส์ สารภาพว่าตั้งแต่จบ Phase 3 ความสนใจในหนังและซีรีส์ Marvel Cinematic Universe (MCU) ของเราก็ลดตามลงไปด้วย เพราะส่วนตัวรู้สึกว่า Avengers : Endgame คือหนังที่ขมวดทุกสิ่งที่มาร์เวลสร้างมา 10 ปีได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ประกอบกับ Phase 4 ก็ขยันปล่อยคอนเทนต์ออกมาถี่เหลือเกินจนตามไม่ทัน สุดท้ายเลยเลือกตามเฉพาะเรื่องที่สนใจไปโดยปริยาย  She-Hulk : Attorney at Law คือหนึ่งในนั้น อันที่จริงเกือบจะขอข้ามไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะกว่าจะมารู้สึกอยากดูเอาก็ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ฉายไปแล้ว 3 ตอน ซึ่งเหตุที่อยากดูก็ไม่ได้เป็นเพราะคลิปต่อสู้สุดมันที่ค่ายตัดมาอ่อยแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะซีนหลังเครดิตที่ชาวเน็ตตัดมาทวีต พร้อมแคปชันเกรี้ยวกราดว่า WTF is happening with MCU?!  ตามมาด้วยรีแอ็กชันสุดเกรี้ยวกราดของแฟนบอยมาร์เวลอีกนับร้อยในทำนองเดียวกันว่า MCU is DONE. (จบเห่แน่จ้ามาร์เวล) ทำเอาเราตกอกตกใจจนต้องเปิดคลิปดู มันคือซีนที่ She-Hulk ตัวเอกของเรื่อง กำลังทำท่า Twerk อยู่ข้างๆ Megan Thee Stallion […]

9 นโยบายฟื้นฟูเมือง Hawkins ใน Stranger Things ให้ปลอดภัย ไร้กังวล

จะเป็นอย่างไรถ้าเราไปเกิดเป็นชาวเมือง Hawkins ในซีรีส์ยอดฮิต Stranger Things ประเดิมงานชิ้นแรกในคอลัมน์ Urban Isekai ที่จะพาทุกคนสวมบทบาทไปในต่างโลก เพื่อชี้ประเด็นหรือปัญหา พร้อมวิธีแก้ไขแบบเมืองๆ แน่นอนว่านาทีนี้หากพูดถึงซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คงหนีไม่พ้น Stranger Things ซีซัน 4 ที่ฉายไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราเลยขอหยิบซีรีส์ยอดฮิตเรื่องนี้มากระทำการอิเซไกซะหน่อย แฟนซีรีส์ Stranger Things ย่อมรู้อยู่แล้วว่า Hawkins เมืองเล็กๆ กลางป่าในรัฐ Indiana นั้นเกิดเรื่องลึกลับ และเหตุการณ์เหนือธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าขัดข้องอย่างไม่มีสาเหตุ เสียงร้องแปลกประหลาดจากชายป่ายามค่ำคืน ชาวเมืองหายสาบสูญ กระทั่งมีเหตุฆาตกรรมภายในเมือง จนเมืองนี้ ได้รับฉายาว่า ‘เมืองต้องคำสาป’ ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอรับบทเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Hawkins ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลพัฒนาเมืองให้ดี โดยขอเสนอเป็น 9 นโยบายที่จะช่วยล้างคำสาป ทำให้ Hawkins กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรและปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย 1. ตรวจสอบหน่วยงานในพื้นที่ เรื่องลึกลับใน Stranger Things มักเกิดขึ้นในพื้นที่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นห้องทดลองแห่งชาติ […]

5 หนังและซีรีส์อินเดียท้าทายค่านิยม โชว์กึ๋นคนทำหนังแดนภารตะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่านาทีนี้ หนึ่งในหนังที่มาแรงสุดๆ ในไทยคือ Gangubai Kathiawadi ที่ทำให้บางคนเปลี่ยนภาพจำของหนังอินเดียที่มักเป็นภาพของการร้อง เล่น เต้นข้ามภูเขาของพระนาง  ในความเป็นจริง หนังอินเดียก้าวไปไกลกว่านั้นมานานแล้ว หนังบางเรื่องจุดประเด็นถกเถียงในความเชื่อและค่านิยมเก่าๆ ในสังคม (ในที่นี้ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก) ไม่ว่าจะด้านศาสนา การศึกษา อาชญากรรม และสิทธิเสรีภาพ บางเรื่องประสบความสำเร็จจนทำรายได้หลักล้านล้าน (ใช่ หลักล้านล้าน อ่านไม่ผิดหรอก) และบางเรื่องถึงขั้นโดนฟ้องร้องตอนออกฉาย อย่างไรก็ดี นี่คือโอกาสเหมาะที่เราอยากแนะนำหนังอินเดียเรื่องโปรดให้ดู เพราะเชื่อว่าหนังจากดินแดนภารตะแห่งนี้มีความ ‘ว้าว’ ที่รอให้เราไปสำรวจอีกเยอะ  01 | Gangubai Kathiawadi (2022) ไม่แปลกใจเลยสักนิดว่าทำไม Gangubai Kathiawadi ถึงมีกระแสฮือฮาในบ้านเรา เพราะนี่คือหนังหญิงแกร่งแห่งมุมไบที่เต็มไปด้วยความบันเทิงครบเครื่อง และเมสเซจอันจัดจ้าน ถึงแก่น มันเล่าเรื่องราวของ ‘คังคุไบ’ ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กสาวที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดง กระทั่งถูกสามีหลอกไปขายให้ซ่องโสเภณี แต่ชีวิตของเธอก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น เธอสู้ชีวิตกลับด้วยการพยายามฝ่าฟันจนกลายมาเป็นแม่เล้า มาเฟีย รวมถึงแอ็กทิวิสต์สาวสุดปังแห่งย่านกามธิปุระผู้ผลักดันสิทธิของผู้ค้าบริการและเด็กกำพร้า  อันดับหนึ่งบนเน็ตฟลิกซ์ไทยตลอดทั้งสัปดาห์คงการันตีได้ว่า Gangubai Kathiawadi เป็นหนังที่ป็อปปูลาร์มากแค่ไหนในบ้านเรา ยังไม่นับรวมการถูกคัฟเวอร์ลุคโดยดารานักร้องและแม่ค้าออนไลน์ทั่วราชอาณาจักร (ถ้าหันมาเรียกร้องสิทธิให้เซ็กซ์เวิร์กเกอร์ไทยด้วยจะดีมากๆ) ดู Gangubai […]

ชวนดูซีรีส์ Servant of the People ที่ ปธน.ยูเครน รับบทผู้นำประเทศ รับชมได้ทาง Netflix ครบทั้ง 3 ซีซันแล้ว

“พวกคุณเป็นข้ารับใช้ของประชาชนนะ ตรงไหนบ้างที่บอกว่า ข้ารับใช้ควรจะอยู่ดีมีสุขกว่าเจ้านายของตน หรือบางทีคุณอาจจะแค่สับสนและดันไปรับใช้เจ้านายคนอื่น แทนที่จะรับใช้ประชาชน” นี่คือประโยคจาก ‘Servant of the People’ ซีรีส์ตลกสัญชาติยูเครนที่ ‘โวโลดีมีร์ เซเลนสกี’ ประธานาธิบดียูเครนคนปัจจุบันแสดงนำและร่วมสร้าง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าก่อนที่เซเลนสกีจะก้าวเข้ามาเป็นผู้นำของประเทศ เขาเคยเป็นนักแสดงตลกที่โลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิงของยูเครนนานเกือบ 20 ปี ซึ่ง Servant of the People คือหนึ่งในผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากที่สุด และยังเป็นซีรีส์ที่ปูทางสู่เส้นทางการเมืองในชีวิตจริงให้เขาด้วย Servant of the People คือซีรีส์ตลกเสียดสีการเมืองและสังคม ที่เล่าเรื่องราวของ ‘เปโตรวิช โกโลโบรอดโก’ (รับบทโดย โวโลดีมีร์ เซเลนสกี) คุณครูประวัติศาสตร์โรงเรียนมัธยมปลายธรรมดาๆ ที่จับพลัดจับผลูได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของประเทศ หลังจากมีนักเรียนแอบอัดคลิปเขาขณะด่าการเมืองในประเทศอย่างออกรส ก่อนจะแชร์ลงโลกออนไลน์ จนคลิปของโกโลโบรอดโกกลายเป็นไวรัลชั่วข้ามคืน  แม้จะเป็นซีรีส์ที่เต็มไปด้วยซีนตลกโปกฮาและความวุ่นวายที่อาจจะเกินจริงไปสักหน่อย แต่ก็มีหลายฉากที่สะท้อนความจริงและพูดแทนใจของประชาชนที่เบื่อหน่ายกับนักการเมืองและการคอร์รัปชันได้อย่างตรงไปตรงมา เช่น ฉากที่โกโลโบรอดโกพูดถึงเหล่ารัฐมนตรีที่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย มีรถหรูให้นั่ง มีบ้านหลังใหญ่ให้อยู่ ทั้งๆ ที่เงินเหล่านั้นสามารถเอาไปทำประโยชน์แก่ประชาชนที่กำลังเผชิญความยากจนข้นแค้นได้  รวมไปถึงฉากที่โกโลโบรอดโกย้ำถึงนิยามของคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ที่อำนาจอธิปไตยสูงสุดต้องเป็นของประชาชน นักการเมืองต้องรับใช้ประชาชน ไม่ใช่เหล่านายทุนหรือศักดินา เป็นประเด็นการเมืองและความเหลื่อมล้ำในสังคมที่ผู้ชมจากหลายประเทศน่าจะคุ้นชินและอินตามได้ไม่ยาก  […]

ตามหาตัวตนและรักหมดใจใน Heartstopper ซีรีส์วัยรุ่นฟีลกู้ดที่บอกว่าใครก็มีความรักดีๆ ได้

ถ้าตอนเด็กๆ คุณเคยดูหนังรักวัยรุ่นแล้วอินจนอยากมีความรักบ้าง เราคือเพื่อนกัน และถ้าตอนเด็กๆ คุณรู้ว่านั่นเป็นได้แค่ฝัน ความจริงแล้วคุณนึกภาพตัวเองมีความรักแบบตัวละครไม่ออกเพราะคุณกับพวกเขาไม่ ‘เหมือน’ กันเลยสักนิด เราขอยกมือตบบ่าอย่างเข้าใจ ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ เราเติบโตมากับหนังและซีรีส์โรแมนติกที่ตัวเอกเป็นชาย-หญิงที่รักเพศตรงข้าม หากจะมีเรื่องที่เล่าชีวิตรักของคนในคอมมูฯ ก็มักจะจบไม่สวย เต็มไปด้วยภาพชีวิตอันยากลำบากของชาวเพศหลากหลายที่สมจริงแต่ก็หดหู่ จนบางครั้งก็ทำให้เราในวัยเด็กดูแล้วตั้งคำถามว่า เกิดมาชอบเพศเดียวกันแล้วฉันจะมีความรักใสๆ มีโมเมนต์ใจเต้นตึกตักหรือความรู้สึกว่ามีผีเสื้อบินในท้องแบบเด็กคนอื่นไม่ได้เลยเหรอ หลายปีผ่านไปจนเลยวัยเด็กมาไกล ไม่เคยมีหนังหรือซีรีส์เรื่องไหนตอบคำถามนั้นได้ จนกระทั่งเรารู้จัก Heartstopper เพื่อนคนพิเศษ  อันที่จริง ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อ Heartstopper ไม่ใช่ซีรีส์ แต่เป็นคอมิกขายดีของ Alice Oseman นักเขียนชาว LGBTQ+ ที่ได้รับความนิยมมากจน Netflix หยิบมาทำซีรีส์  Heartstopper เริ่มต้นเรื่องราวที่โรงเรียนชายล้วนทรูแฮม ในวันเปิดเทอมหลังเทศกาลปีใหม่ ชาร์ลี (รับบทโดย Joe Locke) เด็กหนุ่มขี้อายผู้เปิดตัวว่าเป็นเกย์คนเดียวในโรงเรียน นัดพบกับ เบน (รับบทโดย Sebastian Croft) เด็กหนุ่มคนรักในความลับเพื่อมาจู๋จี๋กัน เป็นเรื่องปกติสำหรับชาร์ลีไปแล้วที่จะมาเจอเบนในเวลากับสถานที่ที่อีกฝ่ายสะดวก เพราะเบนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่มีแผนจะเปิดตัวกับใคร และใช่ว่าชาร์ลีพูดอะไรไปแล้วเบนจะสนใจ เขาแค่มาหาในเวลาที่อยากกอดจูบกับผู้ชายเท่านั้น แม้ภายนอกจะยิ้มแย้มแจ่มใส […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.