เปิดหูเปิดตา ฟังเสียงกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย ในนิทรรศการ ‘Sound of the Soul’ 19 – 31 ก.ค. 65 ที่หอศิลปกรุงเทพฯ

เดือนกรกฎาคมนี้ หอศิลปกรุงเทพฯ (BACC) ชวนมางาน ‘Sound of the Soul’ นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ว่ากันด้วยเรื่องเสียงที่ไม่ค่อยถูกได้ยินในสื่อกระแสหลัก เพื่อมุ่งหวังให้ระยะห่างของผู้คนใกล้กันมากขึ้น  นิทรรศการครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการฟัง พูด คุย รับรู้ความเป็นไปและการมีอยู่ เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นอันเป็นวิถีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างหลากหลายและห่างไกลของผู้คนจากผืนดินอื่น อาทิ กลุ่มปกาเกอะญอ กลุ่มไทดำ กลุ่มไทกะเลิง กลุ่มกะเหรี่ยงโปว์ กลุ่มมูเซอ กลุ่มอาข่า กลุ่มอูรักลาโว้ย ฯลฯ ภายในงานมีกิจกรรมที่ชวนเปิดผัสสะผ่าน Visual Performance ฟังและมองดูสิ่งต่างๆ ที่บันทึกจากการไปสัมผัสถิ่นที่อยู่จริง โดยกลุ่มศิลปิน 3 สาขา ได้แก่ – ‘Hear&Found’ กลุ่มคนทำงานที่ใช้ดนตรีเพื่อลดการแบ่งแยกในสังคม ประกอบด้วย ‘เม-ศิรษา บุญมา’ กับ ‘รักษ์-ปานสิตา ศศิรวุฒิ’ ที่ตั้งใจสร้างพื้นที่ส่งเสียงความหลากหลายทางวัฒนธรรมออกไปให้ผู้คนได้รับรู้ ผ่านการใช้ความถนัดคือ เสียง ดนตรี และการสื่อสาร – ‘ศุภชัย เกศการุณกุล’ ช่างภาพผู้โดดเด่นเรื่องการถ่าย Portrait […]

เปลี่ยนเศษผ้าเป็นที่คั่นหนังสือลายชนเผ่า โดยช่างฝีมือชาวม้งจากแบรนด์ Reviv  ของขวัญสุดลิมิเต็ด มีเพียง 1 ชิ้นบนโลก

ที่คั่นหนังสือ คือไอเทมสำคัญที่นักอ่านแทบขาดไม่ได้ บางคนอาจมีที่คั่นหนังสือชิ้นโปรดเป็นของตัวเอง บางคนอาจใช้ที่คั่นหนังสือที่สำนักพิมพ์แถมมา หรือบางคนอาจใช้กระดาษใบเสร็จ หรือทิชชูคั่น มีอะไรใกล้มือก็คว้ามาคั่นไว้ก่อน แต่เมื่อไม่นานมานี้ Urban Creature ได้ค้นพบที่คั่นหนังสือแสนสวยที่นอกจากใช้งานคั่นกระดาษได้ดีตรงตามจุดประสงค์ ลวดลายยังสะท้อนถึงความเป็นชาติพันธุ์กับความครีเอทีฟ เป็นฝีมือของช่างฝีมือชาวม้งที่มีจำกัดเพียง 1 ลาย 1 ชิ้นเท่านั้น  ที่คั่นหนังสือปักลายม้ง เป็นผลงานของแม่ๆ ชาวม้งของ Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์ที่ Urban Creature เคยนำเสนอเรื่องราวของพวกเขามาแล้ว (อ่านเพิ่มเติมที่นี่ https://urbancreature.co/reviv/) โดยที่คั่นหนังสือสุดน่ารักนี้เป็นการนำเศษผ้าของ FolkCharm มาถักทอขึ้นด้วยความประณีต ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอลวดลายใหม่ๆ ให้เอกลักษณ์ของชนเผ่ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนได้ ทาง Reviv ได้เล่าถึงลวดลายเอกลักษณ์ของชนเผ่าม้งว่า แสดงบุคลิกของชนเผ่าที่เป็นคนเข้มแข็ง ขยัน บากบั่น อดทน บุคลิกเฉพาะชนเผ่าม้งล้วนได้รับการถ่ายทอดออกมาในลักษณะลวดลายที่สง่างาม ใช้สีโดดเด่น แสดงความมั่นใจ รูปทรงลวดลายที่ใช้มีความสมมาตรทั้งบน-ล่าง-ซ้าย-ขวา จนเกิดเป็นลวดลายที่สะดุดตา ความพิเศษของที่คั่นหนังสือเซตนี้คือ ทุกคนจะได้เห็นลายปักแบบดั้งเดิมของชาวม้ง เช่น ลายก้นหอย ลายดวงตา แอบซ่อนอยู่ในดีไซน์ใหม่ ทำให้ที่คั่นหนังสือแต่ละชิ้นเป็นผลงานพิเศษที่มีเพียงลายละ 1 ชิ้นบนโลกเท่านั้น จะซื้อไว้ใช้เองหรือซื้อให้เป็นของขวัญสำหรับนักอ่านก็ช่วยลดขยะเศษผ้าได้อย่างมีคุณค่าทั้งคู่ น่าเสียดายที่ตอนนี้ที่คั่นหนังสือลายปักม้งจำหน่ายหมดไปแล้ว […]

บอร์ดเกม ‘นักสืบของอดีต’ ที่ยกประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์แม่ฮ่องสอนมาให้คนหยิบเล่นได้

ที่ผ่านมาประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ได้กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนพูดถึงในวงกว้าง จากที่หลายคนเคยมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัวก็เริ่มอยากเรียนรู้ศึกษามากขึ้น ซึ่งคงดีไม่น้อยถ้ามีแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงง่าย สร้างความเข้าใจ และสนุกด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงตื่นเต้นมากเมื่อได้เห็นบอร์ดเกมชุด ‘นักสืบของอดีต’ ที่จัดทำโดยทีมวิจัยจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แน่นอนว่าถ้าความรู้ชุดนี้อยู่แค่ในรูปแบบงานวิจัย มันคงมีคุณค่าและถูกหยิบมาใช้งานในกลุ่มคนวิชาการเท่านั้น ทว่าเมื่อข้อมูลทั้งหมดได้แปลงร่างมาเป็นสื่อร่วมสมัย ที่มีทั้งข้อมูลสนุกๆ ภาพประกอบ กราฟิกสวยๆ และเล่นได้อย่างบอร์ดเกม ย่อมทำให้ประชาชนคนทั่วไปอยากลองเรียนรู้ โปรเจกต์นี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่นำผลงานวิจัยทางด้านโบราณคดี มานุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ของทีมวิจัยมาประยุกต์ใช้ผ่านการเรียนรู้จากบอร์ดเกม จำนวน 3 ชุดความรู้ ได้แก่ บอร์ดเกมที่ 1 นักสืบชาติพันธุ์ จุดประสงค์คือ ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายของชาติพันธุ์และวัฒนธรรม การใช้ทรัพยากรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดอื่นๆ ทำให้รู้จักเกิดความเข้าใจคนต่างวัฒนธรรม บอร์ดเกมที่ 2 ปริศนาโลงไม้ ทีมผู้จัดทำเล่าว่าเป็นชุดเกมใหญ่และซับซ้อนซ่อนเงื่อนที่สุด สร้างความเข้าใจและความรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมโลงไม้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในอำเภอปางมะผ้าที่มีอายุเก่าถึงสองพันกว่าปี การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน ลักษณะทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงทั้งในอดีตและปัจจุบัน บอร์ดเกมที่ 3 นักสืบของอดีต ทำเพื่อส่งเสริมทักษะในการสืบค้นเรื่องราวของคน สังคมและวัฒนธรรมในอดีต ด้วยกระบวนการทางโบราณคดี โดยมุ่งให้เกิดความตระหนักรู้และสร้างกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา พร้อมกับให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้เล่นในทุกระดับวัย บอร์ดเกมชุดนี้ได้รับการออกแบบ ตรวจสอบข้อมูล และนำตัวเกมไปทดสอบกับคนหลายกลุ่มอย่างพิถีพิถัน เรียกว่าครบทั้งความสนุกและความรู้ […]

ภาคีSaveบางกลอย ชวนระดมอาหารช่วยคนบางกลอยที่ขาดสารอาหารอย่างหนัก

ชาวหมู่บ้านบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีบ้านอยู่ใน ‘ใจแผ่นดิน’ แถบจุดศูนย์กลางของป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งแต่เดิมทุกคนอาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลาร่วม 100 ปี ก่อนการเป็นอุทยานแห่งชาติ ด้วยวิถีการเกษตรที่มีความเกื้อกูลกันระหว่างคนและป่า แต่ในตอนนี้ชาวบางกลอยกลับถูกรัฐขับไล่ให้ออกจากบ้านที่เคยอยู่กันมาชั่วชีวิต ด้วยการให้เหตุผลว่าคนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่ป่า จนต้องย้ายมาอยู่ที่บางกลอยล่าง และบ้านโป่งลึก สถานที่ที่ปลูกพืชไม่ได้ ทำเกษตรกรรมไม่ได้ ทำให้ชาวบางกลอยตัดสินใจเดินทางกลับบ้านที่เคยอยู่ ในขณะที่รัฐตอบโต้ด้วยวิธีการที่แข็งกร้าว และดำเนินคดีกับพี่น้องบางกลอยโดยไม่ใส่ใจมิติทางวัฒนธรรม ซึ่งแม้ช่วงต้นปี 2564 ชาวบางกลอยจะลุกขึ้นมาเรียกร้องความยุติธรรมให้ตัวเอง แต่จนปัจจุบันจะสิ้นปีแล้ว ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ และแน่นอน ทุกคนยังคงมีชีวิตที่ยากลำบาก เพราะไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีรายได้ ไม่มีอาหาร นำมาสู่การตกงาน และการเข้ามาดิ้นรนในเมืองแต่กลับได้เงินค่าตอบแทนน้อยมาก  ที่สำคัญคือภาวะการขาดสารอาหารของคนในชุมชน โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อนที่ไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กจึงมีภาวะผอมหัวโต ทำให้สถานการณ์ต่างๆ อยู่ในระดับวิกฤติ และเมื่อมีความป่วยไข้ทั้งจากภาวะขาดสารอาหารหลักร้อยคน และจากการเกิดโรคระบาดตามฤดูกาล แต่พวกเขากลับเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากมากอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่ ภาคี Saveบางกลอย ชวนทุกคนให้มาช่วยระดมอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อสถานการณ์วิกฤติในตอนนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แม้ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาลูกโซ่ที่รัฐไม่แก้ให้เหมาะสมสักทีก็ตาม  สิ่งที่ชาวหมู่บ้านบางกลอยจำเป็นต้องใช้อย่างมากก็คือ 1. ข้าวสาร 2. อาหารแห้ง จำพวกอาหารทะเลแห้ง ปลาแห้ง และหมูแห้ง เป็นต้น 3. นมผงสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก […]

You Me We Us นิทรรศการที่เล่าว่าไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนคุณก็คือคน

‘จะดีแค่ไหน ถ้าอยู่ที่ไหนคุณก็ยังเป็นคน’  อาจฟังดูแปลก แต่ความเป็นจริง โลกนี้ยังเต็มไปด้วยคนที่ถูกคนด้วยกันกดขี่ และถูกบังคับให้ไม่เป็นคน เพียงเพราะต่างเพศ ชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา รสนิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง แม้ร่างกายมีเลือดเนื้อเหมือนกัน แต่กลับถูกคนด้วยกันตีคุณค่าต่างจนไม่เท่าเทียม และอาจนำไปสู่การทำร้ายและเข่นฆ่า ประเด็นขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ในสังคมไทยก็เกิดจากสาเหตุคล้ายกัน นั่นอาจเพราะความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่เคยถูกคลี่คลายทำความเข้าใจถ่องแท้ ราวกับว่าการผลักให้คนที่แตกต่างกลายเป็นอื่นจะง่ายกว่าการใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกัน เรากำลังพูดถึง You Me We Us นิทรรศการออนไลน์โดย UNDP ประเทศไทย ซึ่งร่วมมือกับเยาวชนกว่า 10 ชาติพันธุ์ และกลุ่มเยาวชนไร้สัญชาติที่มองเห็นช่องโหว่ด้านการรับรู้เกี่ยวกับกลุ่มชนต่างๆ นิทรรศการนี้จึงหยิบความหลากหลายทางเชื้อชาติในสังคมไทยมาบอกเล่าว่าภายใต้ความต่าง เรามีความเหมือน เพียงแค่ระยะห่างทางสังคมอาจทำให้คนเข้าใจกันน้อยเกินไป You Me We Us จึงเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำพาไปสู่การมองเห็นกันมากขึ้น  บนหน้าเว็บไซต์ของนิทรรศการจะชวนทุกคนไปสำรวจเชื้อชาติของตัวเองและคนรอบข้าง ทดสอบความเข้าใจว่ารู้จักเผ่าพันธุ์ไหนบ้าง เพราะไทยไม่ได้มีแค่ไทย แต่มีคนกว่า 60 ชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ลาวอีสาน กะเหรี่ยง ขมุ ม้ง อาข่า ล้านนา ละว้า มอญ หรือไทใหญ่ ฯลฯ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.