ในโลกอันแสนโหดร้ายที่ใครๆ ให้ค่าแต่ความสำเร็จ เราจะปล่อยวางยังไง ไม่ให้ปล่อยปละละเลย

ขณะที่โลกแห่งการตื่นรู้เรื่องสุขภาพจิตได้พร่ำบอกทุกคนถึงความสำคัญของการ Slow Down หรือค่อยๆ ทำอะไรให้ช้าลง แต่โลกแห่งความจริงที่หลายคนต้องตรากตรำทำทุกอย่างให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การปั้นชีวิตให้สวยดั่งที่ฝัน หรือความสัมพันธ์ ฯลฯ เราก็ไม่สามารถปรับโหมดเป็น ‘ปล่อยมันไป’ กันได้ง่ายๆ และจะยิ่งกระตุ้นความโมโหทุกครั้ง เวลาได้ยินใครบอกให้ ‘อย่าไปคิดมากกับชีวิตนักเลย’ การเข้าถึงสุขภาวะจิต ไม่ได้แปลว่าเราต้องอยู่ฝั่ง ‘Worry-free’ ไร้ซึ่งความกังวลเสมอไป แต่คือการขับเคลื่อนชีวิตไปเรื่อยๆ อย่างมีสติ รับรู้ถึงทุกอารมณ์ และปล่อยบางอย่างที่ขุ่นมัวหัวใจออกไป ไม่ให้มันมาทำลายเราได้ แล้วเรื่องอะไรบ้างเล่าที่เราควรปล่อยวาง ชวนมาสำรวจพร้อมๆ กันในบทความนี้ โลกไม่ได้จ้องแต่จะทำร้ายเรา แต่เป็นหน้าที่ของเราในการจัดการตนเอง นิสัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคในการมีสุขภาพจิตที่ดีคือ การมองว่าตัวเองคือ ‘เหยื่อ’ ในทุกเหตุการณ์โชคร้ายที่เกิดขึ้นกับเรา  สิ่งนี้ไม่ใช่การปล่อยวาง แต่คือการปล่อยปละละเลยแน่นอน เพราะเราไม่ได้รู้สึกสบายใจขึ้นหลังจากมองตัวเองว่าเป็นเหยื่อ อีกทั้งยังกลับทำให้เราไม่อยากพยายามลองหาทางแก้ไขหรือปรับปรุงชีวิตให้เติบโตและพัฒนาขึ้นจากจุดที่เป็นอยู่ ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้เรารู้สึกไม่มีความสุขกับตัวเอง เพราะเชื่อไปแล้วว่าคนอย่างเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ในส่วนหนึ่งก็จริง มีหลายสิ่งที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่เราทุกคนมีความสามารถที่จะทำชีวิตให้ดีขึ้นหรือสุขขึ้นได้เสมอ เช่น ถ้าเราโดนไล่ออกจากงานที่รักและทุ่มเทอย่างเต็มที่ มันไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย เราโมโหโวยวายกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่หลังจากนั้นมันก็อยู่ในอำนาจของเราเช่นกัน ที่จะเลือกเดินต่อไปในชีวิตยังไง จะพยายามหางานใหม่ ที่แม้ไม่ได้เป็นงานที่รักเหมือนเดิมแต่ก็พอเลี้ยงตัวเองอยู่รอด หรือจะจมอยู่ที่เดิม ยอมแพ้กับชีวิต และเอาแต่จ้องจับข้อเสียของโลกใบนี้ที่เกิดกับเรา เพื่อนำมาเป็นบทสรุปให้ชีวิตตัวเองว่า […]

‘ไม่ยาก ถ้าไม่อยากเป็นคน Toxic’ ขอโทษให้เป็น เยียวยาใจ และเตือนตัวเองให้อย่าเผลอไปทำร้ายใจใครอีก

หนึ่งคำพูดอันทรงพลังเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่เราเคยได้ยินคือ “Hurt people, hurt people.” อธิบายคือ คนที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเจ็บปวดมา หากเขากอดความปวดร้าวนั้นไว้แน่นกับตัว ไม่ช้าก็เร็ว เขาต้องส่งความเจ็บปวดนี้ให้คนอื่นอีก และประโยคที่ตามมาจากประโยคแรกคือ “Healed people, heal people.” ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเจ็บปวดมาแค่ไหน หากเขาคนนั้นเลือกที่จะเดินเข้าสู่หนทางแห่งการเยียวยาจิตใจ ไม่ช้าก็เร็ว แรงกระเพื่อมของการอยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อคนรอบข้างให้อยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามได้แน่นอน แต่ถ้า Hurt People (คนที่เจ็บปวด) ไม่ได้เจ็บปวดจากการที่คนอื่นทำตัวเองเจ็บ แต่เจ็บปวดจากการทำให้คนอื่นเจ็บแล้วรู้สึกแย่มากๆ หลังจากนั้นแทนล่ะ ความรู้สึกที่เหมือนตัวเองเป็นตัวร้ายนี้จะ Heal (เยียวยา) อย่างไรดี หาต้นตอที่ทำให้เราเจ็บปวด เพื่อรีบออกจากวงจรการเผลอเป็นคน Toxic แทบทุกคนที่เคยทำตัวไม่น่ารักใส่ใคร มักเคยมีคนมาทำให้เจ็บก่อน ไม่ว่าคนคนนั้นจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่นี่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่อนุญาตให้เราสมควรส่งต่อความเจ็บนี้กระจายสู่คนอื่นไปเรื่อยได้ มีช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนเคยมีเรื่องผิดใจกับแม่ รู้สึกเจ็บใจที่ไม่น่าเล่าเรื่องส่วนตัวให้เขาฟัง ปนกับความน้อยใจที่คาดหวังไปเองว่าแม่น่าจะเข้าใจฉันมากกว่านี้ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญแม่อยู่เสมอ ซึ่งก็มาจากก้อนความเศร้าที่ต่างคนต่างผิดหวังในกันและกันจากความเชื่อในการใช้ชีวิตบางอย่างที่ไม่ตรงกัน จึงเกิดเป็นถ้อยคำทำร้ายจิตใจกัน แต่ก็เป็นตัวผู้เขียนเองที่ไม่ยอมสลัดความเจ็บนี้ออกจากใจ เลือกที่จะแบกไว้ เพราะหวังเองอยู่ลึกๆ ว่าแม่ต้องเข้าใจความเจ็บปวดนี้บ้าง ซึ่งวิธีจัดการความเจ็บในใจโดยการปักธงอยากจะลงโทษทางอารมณ์คนที่ทำให้เจ็บนั้น ก็เป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก เพราะทุกครั้งที่เราโฟกัสกับความเจ็บที่เรารู้สึกจากเขา และพยายามจะส่งก้อนความเจ็บนี้กลับไปให้เขา กลายเป็นเราเองนั่นแหละที่เจ็บในใจกว่าเหลือเกิน สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือ เราหงุดหงิดและรำคาญแม่แทบทุกเรื่องที่เขาทำ […]

เปิดสิ่งที่เก็บไว้ ปล่อยใจไปกับสนามอารมณ์ ในงาน GOOD MOOD ที่โกดังเสริมสุข วันที่ 1 – 4 / 8 – 11 / 15 – 17 ธ.ค. 66

ไม่มีช่วงเวลาไหนเหมาะกับการทบทวนอารมณ์ ย้อนรำลึกถึงเรื่องที่ผ่านมา เพื่อตกตะกอนตัวตนและความทรงจำสำหรับก้าวต่อไปในปีหน้าเท่าช่วงเวลาสิ้นปีแบบนี้อีกแล้ว ท่ามกลางสังคมที่บีบคั้น หวังให้คนโปรดักทีฟ การมี ‘พื้นที่’ ให้ระบายอารมณ์ พร้อมพบปะเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ น่าจะเป็นเรื่องดีไม่น้อย Eyedropper Fill จับมือกับ Good Hood Services ร่วมกันสร้างสรรค์งาน ‘GOOD MOOD’ งานออกแบบเชิงประสบการณ์ที่มอบ ‘สนามอารมณ์’ ให้กับทุกอารมณ์ได้มี ‘พื้นที่แสดงออก’ โดยชิ้นงานจะประกอบไปด้วยประสบการณ์ Interactive 5 โซนอารมณ์ ได้แก่ – โซน GOOD RAGE สวมวิญญาณเป็นบัวขาว เตะ ต่อยกระสอบทราย ระบายความโกรธที่สะสมมาทั้งปี– โซน GOOD JOY คาราโอเกะแบบตะโกน ร่วมร้องเพลงพร้อมกัน 16 ไมค์– โซน GOOD TEAR นอนฟังเพลงร่วมกันด้วยอุปกรณ์ Silent Disco กับเพลย์ลิสต์เพลงเศร้าที่เลือกมาแล้วว่าเศร้าสุดๆ– โซน GOOD LOVE ถ่ายรูปเปิดวาร์ปกันในโซน พื้นที่ให้คนเหงาลองเข้ามาตามหาคนที่ใช่– […]

ทำไมเวลาสูญเสียดาราคนโปรด เราถึงเศร้าไม่ต่างจากการที่คนรักจากไป

วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ควรจะเป็นวันธรรมดาวันหนึ่ง แต่โลกก็หม่นลงไปอีกเฉด ด้วยข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง ‘แมทธิว เพอร์รี’ (Matthew Perry) วัย 54 ปี ที่ถูกพบว่าสิ้นลมในอ่างอาบน้ำที่บ้านของเขาในเมืองลอสแอนเจลิส แมทธิวโด่งดังจากบทแชนด์เลอร์ บิง (Chandler Bing) ในซีรีส์เรื่อง Friends กับบทบาทชายหนุ่มที่มักสร้างเสียงหัวเราะให้คนดูรู้สึกอบอุ่นใจเสมอ  ‘ตั้งแต่แมทธิวตาย ฉันดิ่งเลยว่ะ ไม่รู้จะทำยังไงดี ดู Friends ต่อไปไม่ไหวแล้ว ร้องไห้ทุกครั้งเลย เขาคือตัวละครที่ฉันชอบมาก ปกติดูทุกคืนเลย มันเคยทำให้ฉันมีความสุขมาก ไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไงต่อ ฉันไม่รู้จะคุยกับใครจริงๆ’ นี่คือถ้อยคำที่เราได้รับในช่วงที่ข่าวเศร้านี้ออกมา แม้ว่าตัวเราเองจะไม่ได้สนิทกับรุ่นพี่คนนี้มากนัก แต่การที่เธอพิมพ์มาหารุ่นน้องที่ทำงานด้านสภาพจิตใจอย่างเรา คงเป็นส่วนหนึ่งที่บอกได้ว่า สิ่งนี้เป็นความเจ็บปวดที่ละเอียดอ่อนและมีความเฉพาะ เสียจนไม่กล้าระบายออกมาให้คนทั่วไปรับรู้ เพราะคงยากจะเชื่อว่ามีคนเข้าใจหรือรับรู้ว่าการสูญเสียครั้งนี้เป็นแผลช้ำใหญ่ในใจของใครบางคนจริงๆ ความสัมพันธ์ของเขาและเรา มันเป็นมากกว่าตัวละครและผู้ชม ‘สายสัมพันธ์ของเรากับคนดังคนหนึ่ง มันมาจากความสำคัญในการมีอยู่ของเขา ต่อช่วงเวลายิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา’ คำอธิบายจากบทสัมภาษณ์ของนักจิตบำบัด ‘อาเนียซา แฮนสัน’ (Aniesa Hanson) ในเว็บไซต์สุขภาพจิต Psychology Today พอจะทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของรุ่นพี่คนนั้น เพราะรุ่นพี่ของเรามีซีรีส์เรื่อง […]

‘เปลี่ยนจากการโทษเหยื่อเป็นเข้าใจ’ ในช่วงที่ใจอยู่ในโหมดอันตราย แทบเป็นไปไม่ได้ที่เราจะป้องกันตัวเอง

‘หนูดีใจนะที่เขาไม่เข้าใจ โชคดีแล้วที่ไม่ต้องมาเจออะไรแบบนี้’ ผู้เขียนยังจำบทสนทนาครั้งนั้นเมื่อสิบปีมาแล้ว ที่เคยสัมภาษณ์น้องคนหนึ่งที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ดี น้องเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกตัวเองอย่างละเอียด และมุมมองของพ่อที่มีต่อเธอ พ่อหาว่าโรคซึมเศร้าไม่มีจริงหรอก เธอแค่ขี้เกียจ สถานการณ์เดียวกันนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่ถูกปั่นหัวปั่นประสาท หลอกลวง และทำร้ายไม่ว่าจะทางร่างกาย คำพูด จิตใจ หรือเซ็กซ์เป็นเวลานาน หากใครไม่ได้เป็นคนคนนั้นผู้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่ค่อยๆ แทรกซึมถึงจุดที่ตัวเองรู้สึกตกต่ำและหวาดกลัวสุดๆ ก็ยากมากที่จะเข้าใจว่าทำไมคนคนนั้นถึงยอมปล่อยให้ตัวเองจมดิ่งจนถึงขั้น ‘ออกมาไม่ได้’ ขนาดนั้น ระบบป้องกันตัวโดยสัญชาตญาณที่ทำให้ไม่กล้ามีปากเสียง หากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ระบบการรับมือกับความเครียดอย่างหนักนั้นจะต่างจากการตัดสินใจทั่วไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง แฟนถามคุณว่าคืนนี้อยากทำอะไร การตัดสินใจก็เป็นเรื่องง่ายเพราะไม่มีเรื่องคอขาดบาดตายมากดดันให้คุณต้องเครียดในการเลือก แต่ถ้าคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน เช่น คนกำลังจะเข้ามาลวนลามในซอยเปลี่ยว ภายในเสี้ยววินาทีนั้นแทบไม่มีทางเลยที่สมองจะตัดสินใจได้อย่างกระจ่างเฉียบแหลม ทำให้ระบบป้องกันตัวของเราจะปรับเข้าสู่โหมด ‘1) Fight – 2) Flight – 3) Freeze’ ในตอนนั้นเราอาจเลือกต่อสู้ผู้ที่กำลังเข้ามาทำร้าย หรือหนีให้เร็วที่สุด หรือตัวแข็งชา เนื่องจากไม่สามารถประมวลผลตอบโต้อีกฝ่ายได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคนเรามีหลายวิธีป้องกันตัวเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น พยายามพูดจาดีๆ เป็นมิตร หรือไม่มีปากเสียง ทำตัวให้เป็นปัญหาน้อยที่สุด ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพราะสมองมีหน้าที่หลักในการทำให้มั่นใจว่าเจ้าของสมองนั้นจะรอดตาย ความยาวนานของเหตุการณ์ที่เลวร้าย ยิ่งทำให้ยากที่จะออกมาได้ นอกจากระบบป้องกันตัวที่ทำให้ไม่กล้าพูดหรือสู้กลับแล้ว อีกปัจจัยที่ทำให้เราออกมาจากความทุกข์ทรมานจากการถูกควบคุมหรือหลอกใช้ได้ยากคือความเคยชิน […]

ฟังเสียงจากข้างใน เพื่อเข้าใจตัวเอง กับ ‘ข้ า ง ใ น มาร์เก็ต Vol.02’ วันที่ 30 ก.ย. – 1 ต.ค. 66 ที่ Muchimore

‘ข้ า ง ใ น มาร์เก็ต’ กลับมาอีกครั้งในเวอร์ชันอัปเกรด ‘ข้ า ง ใ น มาร์เก็ต Vol.02’ หลังจากได้กระแสตอบรับไปอย่างล้นหลามในครั้งที่ผ่านมา คราวนี้ ข้ า ง ใ น มาร์เก็ต Vol.02 เกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนโดย ‘สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth’ และโครงการของ ‘กระบวนทัศน์ใหม่ New Paradigm Channel’ ในรูปแบบของตลาดนัดรวมคนสนใจเรื่องใจใจ ด้วยธีม ‘ขอบคุณที่ฟังฉัน’ เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการฟัง ในวันที่ใครต่อใครต่างแข่งกันเสียงดังจนลืมฟังกันและกัน เพื่อให้เราได้ยินเสียงของแต่ละสิ่งชัดเจนขึ้น งานนี้จึงรวบรวมกิจกรรม ‘รับฟัง’ หลากหลายรูปแบบในมิติต่างๆ ตามความถนัดและความตั้งใจของเพื่อนๆ ผู้ร่วมจัดงานมาไว้ด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นการฟังที่ทุกคนคุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยบ้าง ฟังเสียงที่เคยได้ยินบ้าง ไม่เคยได้ยินบ้าง ปะปนกันไป ผ่าน 6 กิจกรรมน่าสนใจ ได้แก่ 1) Awareness […]

‘Inner Child’ ทำความเข้าใจตัวตนผ่านความเป็นเด็กในตัวเรา กับบาดแผลในวัยเยาว์ที่มาเจอเอาตอนโต

ในช่วงแรกๆ ที่ผู้เขียนเริ่มทำงานเป็นนักจิตบำบัด มีคนไข้อยู่ในช่วงวัยรุ่นตั้งแต่มัธยมฯ จนถึงมหาวิทยาลัยค่อนข้างเยอะ ซึ่งเวลาอยู่ในชั่วโมงบำบัดจะเกิดความรู้สึกที่แปลกมาก เพราะสังเกตว่าใจตัวเองเต้นตึกๆ รู้สึกร้อนผ่าวอยู่หลายครั้ง ทั้งๆ ที่เราก็ไม่ได้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่อีกฝ่ายเขาเจออยู่ เมื่อได้มาคุยกับ Supervisor และค่อยๆ กะเทาะเข้าไปทำความเข้าใจตัวเองเรื่อยๆ ถึงได้รู้ว่า ความรู้สึกหนักๆ ที่เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในชั่วโมงบำบัดนั้น มันคือความรู้สึกโดนกระทบแรงๆ (Triggered) ที่ทำให้ตัวเองย้อนกลับไปนึกถึงช่วงวัยรุ่นที่ผ่านเหตุการณ์ยากลำบากต่อจิตใจคนเดียว  ตอนนั้นไม่รู้จะเล่าให้ใครฟัง รู้สึกอาย และเชื่อว่าเรื่องราวของเราควรเก็บมันไว้ในใจ ไม่ให้ใครข้างนอกเห็นว่าเรามีจุดที่อ่อนแอ กลายเป็นว่าช่วงเวลาที่ผู้เขียนได้ทำหน้าที่เป็นนักจิตบำบัดให้น้องๆ เหล่านั้น ความรู้สึกหนักๆ ก้อนใหญ่ได้เด้งกลับไปที่เจ้าเด็กมะเฟืองในช่วงวัยรุ่น ตอนนั้นเธอไม่รู้จะหันไปพึ่งใคร ทั้งที่ลึกๆ แล้วเธอก็อยากได้คนอย่าง Therapist มาคอยรับฟัง อยู่เป็นเพื่อนโดยไม่ตัดสินอะไร และไม่ทำให้ผู้เขียนต้องรู้สึกแย่กับตัวเองกว่าเดิม เด็กคนนั้นโตมากลายเป็นเธอ เราอยากชวนทุกคนมารู้จักกับคำว่า ‘Inner Child’ ที่แปลง่ายๆ คือ ‘เด็กคนนั้นที่อยู่ในตัวเรา’ เพราะตอนที่เราเป็นเด็ก สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคงหนีไม่พ้นความสนุก ความรัก และความรู้สึกปลอดภัย หากในวัยเด็กของเราเติบโตมาด้วยความรู้สึกขาดหรือโหยหาบางสิ่งที่เราอยากได้ แต่ในตอนนั้นเรามีตรรกะหรือความเข้าใจต่อโลกไม่มากพอที่จะรับมือกับความอัดอั้นในใจ จึงทำให้อธิบายออกมาเป็นคำพูดที่ต้องการไม่ได้ และหากเรามีความทรงจำวัยเด็กบางเหตุการณ์ที่ส่งผลให้จิตใจสั่นคลอน โดยเฉพาะความทรงจำที่เกิดขึ้นในครอบครัว และเราต้องเจอเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นประจำในระยะเวลานาน มันง่ายมากที่เราซึ่งเป็นเด็กในตอนนั้นจะกดบาดแผลที่มองไม่เห็นให้ลึกสุดใจ แต่ขณะเดียวกัน บาดแผลนั้นก็ยังไม่ไปไหน มันแค่แปลงร่างกลายเป็นเราในเวอร์ชันเด็กที่ซุกซ่อนอยู่ในเสี้ยวใดเสี้ยวหนึ่งของจิตสำนึก […]

‘ทำไมคนถึงชอบฟังเพลงเศร้า’ รู้จักกับหนึ่งในวิธีการเยียวยาจิตใจผ่านความเจ็บปวด

‘ความสุขมักถูกซ่อนเอาไว้ในความเจ็บปวด’ คำกล่าวนี้ผู้เขียนไม่ได้ทึกทักขึ้นมาเอง แต่ความเจ็บสามารถสร้างความสุขแบบแปลกๆ ให้เราได้จริง จากฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) หรือฮอร์โมนแห่งความสุขที่ปล่อยออกมาเวลาเราทำกิจกรรมที่สนุกหรือเพลิดเพลินไปกับมัน เช่น ออกกำลังกาย ทานของอร่อย นวดสปา หรือการมีเซ็กซ์ ขณะเดียวกัน ถ้าลองนึกดูดีๆ หลายครั้งเราก็ ‘เพลิดเพลิน’ ไปกับกิจกรรมที่มีความทรมานแฝงอยู่ มาก-น้อย ช้า-เร็วต่างกันไป เช่น การกินเผ็ด เล่นเครื่องเล่นหวาดเสียว ดูหนังผี ไปจนถึงการดูหนังหรือฟังเพลงเศร้า โดยเฉพาะช่วงที่เรากำลังอกหัก สิ่งนี้เรียกว่า ‘Tragedy Paradox’ หรือความย้อนแย้ง ที่ใช้ในสถานการณ์เมื่อคนเราพยายามจะทำอะไรสักอย่างเพื่อลดหรือบรรเทาความเศร้าในชีวิต แต่ก็เจอความสุขในความสวยงามของความเศร้านั้นไปด้วย นอกจากนี้ ในระหว่างที่เรากำลังฟังเพลงเศร้า ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนโพรแลกทิน (Prolactin) ที่สร้างขึ้นเมื่อน้ำตาเราไหล ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกบันเทิงไปกับเพลงที่ฟังดูเจ็บปวด หรือเมื่อกำลังมีประสบการณ์กับอารมณ์คลื่นความถี่ต่ำ เช่น เศร้า โหยหาถึงคนที่คิดถึง เครียด โดยจะช่วยให้รู้สึกผูกพันและเชื่อมต่อกับสิ่งที่เรารู้สึกว่ามีความหมาย ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้คือตัวเดียวกับฮอร์โมนที่จะปล่อยออกมาตอนที่เราจะได้เป็นพ่อคนแม่คน และได้ยินเสียงลูกร้องไห้ สิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนที่ปลอดภัยต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราทั้งที่ปล่อยออกมาตอนฟังเพลงเศร้า เป็นเพราะระบบรับรู้ของเราจับได้ว่า ‘เรากำลังฟังเพลงเศร้า เพื่อให้นึกถึงช่วงเวลาที่เศร้าตอนนั้น แต่เราไม่ได้กำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่ทรมานหดหู่ตอนนี้’ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเกิดการแยกกันระหว่างเรื่องจริงตรงหน้ากับอารมณ์ที่เกิดขึ้น (Dissociation) ความเจ็บปวดทางจิตใจที่หนักหนาจนใจรับไม่ไหวก็ไม่เกิดขึ้น ทว่ากลายเป็นความผ่อนคลายหรือสบายใจเข้ามาแทนที่ […]

‘แต่ละคนมีช่วงเวลาผลิบานของตัวเอง’ อย่าไปกลัวโลกที่เราช้าลงเมื่อไหร่ คนอื่นพร้อมวิ่งแซงเมื่อนั้น

‘รู้สึกผิดมากเลย ที่ต้องมาเครียดเรื่องความรัก แทนที่จะไปเครียดเรื่องงาน’ สาวผู้บริหารคนหนึ่งเคยบ่นกับเรา เพราะเธอเพิ่งอกหักจากความรักที่คาดหวังไว้มาก ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่ผู้คนวัยทำงานเริ่มหันมามองการดูแลทะนุถนอมหัวใจว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลา มันคืออะไรกันแน่ที่ทำให้ ‘บทสนทนาเรื่องความรู้สึก’ ได้รับการยอมรับน้อยกว่าบทสนทนาเรื่องการลงทุน ผลกำไร หรือการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เราขอตอบเลยว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเรานั้นล้วนอาศัยอยู่ในโลกแห่งทุนนิยม ทุกคนพอจะเข้าใจดีว่า หน้าตาของระบบทุนนิยมคือระบบเศรษฐกิจที่เน้นการแข่งขัน เร่งผลผลิต และคืนกำไรขึ้นไปสู่นายทุน อ่านมาถึงตรงนี้คงเริ่มคิ้วขมวดกันว่า เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นเกี่ยวข้องอะไรกับสุขภาพจิตเราด้วย เพราะในความเป็นจริงแล้ว สุขภาพจิตที่ดีแทบสร้างได้ยากมากๆ หากมาจากเราเพียงฝ่ายเดียว เราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทางจิตใจไม่ว่าในทางดีหรือไม่ดี จากสังคมที่เราอยู่หรือผู้คนที่รายล้อมเราเสมอ สิ่งที่ระบบทุนนิยมมีอิทธิพลต่อการกระทบใจเราก็คือ 1) ชีวิตเสพติดการแข่งขัน2) ชีวิตที่ไม่อยากคิดจะหยุดพัก3) ชีวิตที่ไม่อยากจะสนใจเรื่องหัวใจและความรู้สึก สภาพแวดล้อมที่ดำเนินด้วยความเร็วและการแข่งขัน การทำงานในแต่ละวันที่ต้องเร่งรีบ ยิ่งทำหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ยิ่งดี ไปจนถึงความเครียดจากงาน บางครั้งกลายเป็นถ้วยรางวัลแห่งความมุ่งมั่นของบางคน หากวันไหนที่เราร่วงโรยจากการจดจ่อกับงาน เมื่อนั้นจะรู้สึกว่านี่คือบาดแผลของนักรบผู้ยิ่งใหญ่ ในขณะเดียวกัน ความเครียดเรื่องงานในจังหวะชีวิตที่เร่งรีบนี้เป็นบ่อเกิดของ Anxiety หรือก้อนความวิตกกังวลให้ใครหลายๆ คน อีกหนึ่งโรคใหม่ที่หนุ่มสาวออฟฟิศคุ้นเคยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ ‘โรคกลัวไลน์’ เพราะรู้สึกมีคนต้องการตามตัวเราไม่จบไม่สิ้น ต้องตื่นตัว พร้อมรับมือปัญหาจากงานตลอดเวลา หลายคนไม่ใช่แค่รู้สึกถึงความจำเป็นในการเอาชนะบริษัทคู่แข่ง แต่เพื่อนร่วมงานเองก็รู้สึกอยากเอาชนะด้วยเหมือนกัน เพียงเพราะอยากหลีกหนีให้ไกลๆ กับ ‘ความรู้สึกดีไม่พอ’ เราขอยกตัวอย่างความเร็ว ความแรง ความต้องแอ็กทีฟตลอดเวลาผ่านวงการเหล่านี้ […]

‘ไม่มีใครที่อยากมีความสัมพันธ์แย่ๆ หรอก’ ค่านิยมสุขภาพจิตที่อยากให้ทำความเข้าใจใหม่

เรารักสังคมที่เปิดกว้างและเข้าถึงเรื่องสุขภาพจิตอย่างง่ายดายขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มากๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ไม่รักเลยกับการที่บางคนนำชุดความรู้จิตวิทยาบางอย่างมาวิเคราะห์กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จนลืมไปว่า ทุกเหตุการณ์และตัวบุคคลล้วนมีความละเอียดอ่อนต่างกันโดยสิ้นเชิง  แค่เพียงชุดความคิดเดียวที่แม้จะได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างขนาดไหน ก็ไม่ได้เป็นบทการันตีว่าจะสามารถนำมาใช้กับทุกคนบนโลกได้ ไม่มีใครคนไหนเหมือนกัน และไม่ว่าอะไรแย่ๆ จะเกิดขึ้นในชีวิต ไม่จริงเลยที่สิ่งนั้นจะทำให้เรากลายเป็นคนต้องคำสาป และมันไม่มีหรอก ปัญหาสุขภาพจิตไหนที่โหดร้ายเกินเยียวยา หากคนคนนั้นเลือกที่จะมีความกล้า ให้เวลา และเชื่อมั่นในตัวเอง เพื่อเดินทางไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพจิตดี เพราะอยากให้คนในสังคมเปิดใจ มีมายด์เซตที่ไม่ตัดสินคนอื่นผ่านความสัมพันธ์ของพวกเขาไปก่อน เราขอแชร์บางชุดความคิดที่อยากกระตุ้นให้ทุกคนลองมองในมุมใหม่ดู “เกิดมาในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น โตมาก็จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่อบอุ่น” เราขอเริ่มด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยาที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นคือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ในช่วงปี 1950s ที่ชื่อ Attachment Theory โดย John Bowlby  เขาเชื่อว่า ทารกทุกคนเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดเพื่อเป็นทักษะในการอยู่รอด ซึ่งคนใกล้ชิดของทารกคือ ‘ผู้ดูแล’ นั่นเอง (เราขอใช้คำว่า ผู้ดูแล เพราะคนคนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อหรือแม่เท่านั้น ใครก็ตามที่ใกล้ชิดและผูกพันกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นคุณยาย พี่เลี้ยง คนเลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์ ฯลฯ ก็ถือเป็นผู้ดูแลทั้งสิ้น) John Bowlby ได้ทำการทดลองกับหลายครอบครัว และได้บทสรุปที่กึ่งๆ เป็นคำทำนายอนาคตของเด็กแต่ละครอบครัวมาว่า ‘สิ่งที่คนใกล้ชิดเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสิ่งที่เด็กเลือกตอบสนองนั้น จะช่วยสร้างแพตเทิร์นความสัมพันธ์ของเด็กคนนั้น เมื่อเขาโตมามีคนรักเป็นของตัวเอง’ […]

เป้าหมายปีใหม่นี้คือ ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ เพื่อปลอบประโลมหัวใจอย่างแท้จริง

หลายคนที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะใครที่ย้ายจากบ้านในต่างจังหวัดมาปักหลักใช้ชีวิตและฝากความหวังความเจริญไว้กับเมืองใหญ่นี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทุ่มสุดตัวเสมอมาคือ ‘หน้าที่การงาน’ เพราะนั่นหมายถึงความก้าวหน้าในอาชีพของตัวเอง การมีเงินมากพอที่จะอยู่อย่างสบายและไม่ทำให้ครอบครัวต้องลำบาก และการมีตัวตนอย่างภาคภูมิใจในสังคมที่คนจะล้นเมืองแห่งนี้  ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คงเป็นสโลแกนที่ใครๆ ได้ยินบ่อยมากเมื่อปีที่ผ่านมา ปีนี้เราเลยอยากชวนให้ลองมาปรับสมดุลชีวิตเป็น ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ จะได้ไหม เพราะเราเชื่อว่ายิ่งวันเวลาผ่านไป สังคมที่มีแต่การแข่งขันขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้เราหลงลืมไปเลยว่าการพักผ่อนนั้นไม่ใช่แค่สิ่งสำคัญ แต่เป็น ‘ที่สุดของความจำเป็น‘ เราเลยอยากชวนทุกคนมาลองสร้างความตั้งใจใหม่จากที่ผ่านมา หลายคนอาจทุ่มให้งานจนหมดตัวแล้ว ปีนี้ลองมาเผื่อพื้นที่อบอุ่นๆ ให้การพักผ่อนเพื่อหัวใจที่ชุ่มชื่นขึ้นบ้างดีกว่า โทรศัพท์ยังชาร์จทุกวันเลย ทำไมไม่ยอมชาร์จแบตฯ ร่างกาย ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนเราหรือเปล่า วันไหนที่รู้สึกตัวเองนิสัยไม่ดี หงุดหงิดอะไรไปทั่ว จะมานึกขึ้นได้ทีหลังว่าวันนั้นนอนน้อย พอๆ กับคนรักสุขภาพทั้งหลายที่เห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าวันนั้นต้องเลือกระหว่างการ ‘นอนให้พอ’ หรือ ‘ไปออกกำลังกาย’ ขอเลือกการนอนมาก่อนเสมอ เพราะร่างกายเราจะแข็งแรงหรือสุขภาพจิตจะดีขึ้นไม่ได้เลย ถ้ารากฐานของเรานั้นสั่นคลอน เมื่อไหร่ที่เหลือบมองโทรศัพท์มือถือแล้วเห็นแบตฯ เหลืออยู่รอมร่อ เราจะรีบหาที่ชาร์จอย่างไม่มีรีรอ ในขณะเดียวกัน หากความเหนื่อยล้าที่สั่งสมมานานในวันนั้นหรือตลอดสัปดาห์นั้น ทำให้พลังการใช้ชีวิตของเราเหือดแห้งเต็มที สิ่งที่จะดูสมเหตุสมผลที่สุดคือการชาร์จพลังของเราให้ไปต่อได้นั่นเอง ไม่ใช่ทู่ซี้ทำสิ่งที่ทำอยู่ต่อไปอย่างไม่ยอมฟังเสียงร่างกาย การพักผ่อนเพื่อดูแลตัวเองให้ดี คือการว่ายทวนกระแสสังคมทุนนิยมที่บ้าคลั่ง […]

รู้จักตัวเอง รับมือกับความกังวล ผ่านชุดปฐมพยาบาลใจเบื้องต้น ‘Anxiety First Aid Kit’ 

รู้หรือไม่ ‘ความวิตกกังวล (Anxiety)’ ถือเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยมากที่สุด เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การงาน ความรัก ความปลอดภัย หรือสายตาคนภายนอก ต่างสร้างความวิตกกังวลทั้งเล็กและใหญ่ได้ทั้งนั้น เพราะอยากให้ผู้คนเตรียมพร้อมรับมือกับความกังวลใจได้อย่างรู้เท่าทันตัวเอง เพจและเว็บไซต์ ‘Cozybara’ ที่นิยามตัวเองว่าเป็นพื้นที่แห่งความอบอุ่น เป็นมิตร โดยนำเสนอเรื่องราวจิตวิทยาและการดูแลใจแบบง่ายๆ เหมือนคุยกับเพื่อน จึงทำ ‘Anxiety First Aid Kit’ ที่เปรียบเหมือนชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับจิตใจ เพื่อให้ทุกคนหยิบไปใช้รับมือกับความกังวลได้เพียงแค่มีปากกาหนึ่งด้ามและกระดาษหนึ่งแผ่น Anxiety First Aid Kit เป็นแบบฝึกหัดหนึ่งหน้ากระดาษที่จะชวนให้พวกเราได้สำรวจความกังวลใจ ทั้งในแง่ที่มาที่ไปและความเข้มข้นของความกังวล รวมไปถึงการจัดการที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ ผ่านการรับฟังเสียงหัวใจและใช้เวลาอยู่กับตัวเองให้มากขึ้น เป้าหมายของ Anxiety First Aid Kit คือการสร้างการรับรู้ เพิ่มความเข้าใจ และอยากให้ทุกคนได้ลองสำรวจวิธีการรับมือความกังวลในมุมมองใหม่ๆ โดยไม่จำเป็นต้องซีเรียสว่าต้องทำแบบฝึกหัดให้ได้ทั้งหมด ตอบให้ได้ทุกข้อ หรือควรรับมือกับความกังวลได้ร้อยเปอร์เซ็นต์  ดาวน์โหลดไฟล์ JPG และ PDF ของ Anxiety First Aid Kit เพื่อนำไปใช้สำรวจความกังวลใจของตัวเองได้ที่ https://cozybara.com/content/anxiety-firstaid หมายเหตุ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.