ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

NAYA Cafe Ayutthaya คาเฟ่สีอิฐกลางทุ่งนาสีเขียว จังหวัดอยุธยา เชื่อมผู้คนเข้ากับบริบทชุมชนเกษตรกรรมวัดสะแก

ร้อนๆ แบบนี้ เห็นแล้วอยากหนีร้อนจากกรุงเทพฯ ไปเที่ยวจังหวัดข้างเคียงอย่าง ‘พระนครศรีอยุธยา’ กับเขาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทริปไหว้พระ สัมผัสประวัติศาสตร์ หรือไปที่ไหนก็ได้ แต่อย่าลืมแวะมาจิบกาแฟรับลมชิลๆ ที่ ‘NAYA Cafe Ayutthaya’ เพราะที่นี่คือคาเฟ่สีอิฐที่ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งนาเขียวชอุ่ม บนพื้นที่ดินเดิมที่ได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจากครอบครัว ใกล้กับวัดสะแก (หลวงปู่ดู่) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับปลูกข้าวของชาวอยุธยา NAYA Cafe Ayutthaya เป็นผลงานการออกแบบของ ‘BodinChapa Architects’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติไทย ที่ออกแบบกำแพงภายนอกคาเฟ่โดยใช้รูปร่างโค้งรีที่ให้ความรู้สึกคล้ายรูปทรงเมล็ดข้าวอันใหญ่ใจกลางท้องทุ่ง ซึ่งลูกค้าจะได้สัมผัสกับวิวธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม และวิวธรรมชาติของทุ่งนานี้จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามการทำเกษตรกรรมในแต่ละช่วงปี ตั้งแต่เริ่มเตรียมพื้นที่ทำการเกษตร ช่วงเวลาต้นกล้าเจริญเติบโต จนออกมาเป็นรวงข้าวสีทองอร่ามพร้อมเก็บเกี่ยว ตลอดจนฤดูน้ำหลากในบางครั้ง เสริมให้ NAYA Cafe Ayutthaya น่าค้นหายิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทางเดินยาวและผนังที่ก่อขึ้นด้วยอิฐแดงซึ่งเป็นวัสดุที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่นในจังหวัด ยังทำให้ NAYA Cafe Ayutthaya กลมกลืนไปกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว โดยมีการไล่ระดับอิฐสูงต่ำต่างกันแบบลาดเอียงเพื่อเปิดพื้นที่ให้สายตาของผู้ใช้บริการพบกับมุมมองตัวทุ่งนา รวมไปถึงถนนหลักด้านหน้าอาคาร ทั้งยังเลือกก่ออิฐสูงในส่วนของหมู่บ้านและถนนใกล้เคียงเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้คนในบริเวณนั้น ในการออกแบบครั้งนี้ NAYA Cafe Ayutthaya และ BodinChapa […]

“เซ็นทรัล อยุธยา” โครงการที่ใช้ Kyoto Model ส่องสปอตไลต์ให้เมืองเก่ามรดกโลก

แพลนท่องเที่ยวอยุธยาในหนึ่งวันของคุณมีอะไรบ้าง กินกุ้งแม่น้ำตัวโตและโรตีสายไหมหวานฉ่ำ แต่งชุดไทยเป็นออเจ้ากับพี่หมื่น แวะชมวัดและโบราณสถาน แล้วจากนั้นล่ะ จะทำอะไรต่อดี เพราะระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพฯ ไม่มาก ทำให้หลายๆ คนมักจัดอยุธยาให้เป็นจังหวัดสำหรับไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจในเวลาสั้นๆ อาจมาเพียงไปเช้าเย็นกลับ แวะกินกุ้ง เดินชมวัด มีแพลนไว้เพียงหลวมๆ ท่องเที่ยวเพียงไม่กี่ที่ จากนั้นก็เดินทางกลับเข้าเมืองแต่เพื่อให้การท่องเที่ยวอยุธยาของทุกคนครบขึ้น สนุกขึ้น ศูนย์การค้า เซ็นทรัล อยุธยา จึงจับเอาแนวคิด ‘อัศจรรย์อยุธยา’ มาเป็นธีมหลัก ผสมผสานเอาของดีอยุธยามาจับคู่กันกับความโมเดิร์นของศูนย์การค้า ให้ที่แห่งนี้เป็นเสมือนจุดเช็กอินแห่งใหม่ของแขกเมืองผู้มาเยือน ซึ่งนี่เป็นแนวคิดแบบเดียวกันกับ Kyoto Model ที่ไม่เพียงแต่มีเมืองเก่าให้เดินชม แต่ยังมีแหล่งช้อปปิ้งที่ทันสมัยไว้รับรอง โครงการเซ็นทรัล อยุธยา จึงถือเป็นโครงการมิกซ์ยูสที่ครบครันทั้งศูนย์การค้า Tourist Attraction โรงแรม ที่พักอาศัย และคอนเวนชันฮอลล์ ที่ไม่เพียงแต่ต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน แต่คนในจังหวัดเองก็ยังใช้พื้นที่นี้รองรับการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วย มาดูกันว่าหากเราปักหมุดที่เซ็นทรัล อยุธยา เป็นที่แรก ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ที่นี่จะมีอะไรให้ทำบ้าง Capital of Histagram เพียงแรกเห็นตัวอาคารสีขาวทอง ที่ภายนอกดูเรียบหรูผิดตาไปจากศูนย์การค้าเซ็นทรัลในจังหวัดอื่นๆ ที่เราเคยเห็น ก็พนันได้เลยว่าศูนย์การค้าแห่งนี้จะตรึงใจผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาให้สนใจอยากเข้ามาสัมผัสประสบการณ์ความเป็นอยุธยาในรูปแบบใหม่เช่นเดียวกันกับเราได้ไม่ยาก ยิ่งเมื่อรู้ว่าผู้หนึ่งในทีมผู้ออกแบบศูนย์การค้าแห่งนี้คือผู้ออกแบบศาลาอยุธยา โรงแรมที่นำเสนอความสวยงามของอยุธยาให้คนตะลึงมาแล้วก่อนหน้าก็ยิ่งไม่แปลกใจ เพราะตั้งใจจะนำความเรืองรองของเมืองที่เป็น Unesco […]

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้ เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว ช้ะช้ะ… ห่างช่วงไหนใกล้เวลาที่ข้าวจะอุ้มท้องทุ่งนาส่องแสงสีเหลืองอร่ามมาแต่ไกล ซึ่งหลังเกี่ยวข้าวมักเหลือฟาง บ้างก็อัดก้อนขาย บ้างก็มักเผาทิ้ง แต่ส่วนใหญ่นิยมเผาซะมากกว่าเพราะต้นทุนไม่มากนัก แน่นอนล่ะ ว่าต้องเกิดควันโขมงที่ชั้นบรรยากาศอาจได้รับผลกระทบ เมื่อเป็นแบบนี้ ลองเปลี่ยนกันดีไหม ‘เปลี่ยนจากฟางที่ไร้ค่า มาเป็น “จาน” สร้างรายได้ให้ชุมชนกัน’ ‘ครูเต้ย-ดาธิณี ตามเติ้ง’ และ ‘พี่ออ-นาถลดา เข็มทอง’ คือสองหญิงหัวเรือหลักผู้ริเริ่มและเป็นประธานของศูนย์ฝึกมีชีวิตกศน. อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รวบรวมสิ่งรอบตัวของชาวบ้านที่มีอยู่ในมือแต่มักมองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็นผักตบชวา ฟางข้าว หรือเปลือกสับปะรด มาทำเป็นภาชนะใส่อาหารทั้งแห้งและน้ำ อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ | ฟางข้าวที่ไม่ไร้ค่า ‘ถ้าเริ่มต้นดี ขั้นตอนต่อไปจะไม่เหนื่อย’ พี่ออพูดก่อนเริ่มต้นทำจานข้าวฟาง ฟางหนึ่งก้อนราคาอยู่ที่ 25 บาท ขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ หากบ้านใครมีฟางอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อเลย นำฟางมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จะใช้กรรไกร มีดอีโต้ หรือมีดพร้าก็ได้ เพื่อความรวดเร็วขึ้น โดยขั้นตอนนี้มีความสำคัญเสมือนย่อยให้ฟางเล็กลง เพื่อช่วยร่นระยะเวลาตอนนำไปต้ม | ต้มจนยุ่ย 12 ชั่วโมง เจ้าขั้นตอนนี้แหละที่จะช่วยร่นระยะเวลามากขึ้น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.