‘Synthiesis’ รองเท้ามีชีวิตด้วยหมึกพิมพ์จากเซลล์สาหร่าย ที่ช่วยดูดซับคาร์บอนในอากาศได้

รู้หรือไม่ว่า ทุกๆ การซื้อรองเท้าคู่ใหม่ เรากำลังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยไม่รู้ตัว ในแต่ละปี มีรองเท้าจากทั่วโลกผลิตขึ้นมากถึง 22,000 ล้านคู่ ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล ถ้าคิดไวๆ อาจเทียบได้กับการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของโลกทำให้หลังๆ มานี้เรามักเห็นแบรนด์รองเท้าต่างๆ หันมาให้ความสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม เลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการผลิต และมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการผลิตที่มากขึ้น ซึ่ง ‘Synthiesis’ คือหนึ่งในนั้น Synthiesis คือรองเท้าที่ได้รับการออกแบบจากฝีมือของ ‘Jessica Thies’ นักออกแบบจากบรุกลิน ที่ใช้งานวิจัยของตนมาช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมรองเท้า และสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม เจสสิกาเลือกใช้วัสดุที่ทำจากโฟมโพลียูรีเทน ซึ่งรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ตามธรรมชาติมาใช้ในการทำพื้นรองเท้า รวมถึงเลือกใช้ผ้าป่านในการขึ้นตัวรองเท้า และพิมพ์ด้วยหมึกชีวภาพที่ผสมเซลล์สาหร่ายทะเลมีชีวิตลงไป ทำให้ Synthiesis กลายเป็นรองเท้าที่มีชีวิต ประโยชน์ของสาหร่ายที่มีชีวิตในรองเท้าเหล่านี้คือ พวกมันสามารถสังเคราะห์แสง เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศระหว่างสวมใส่ และอาจทำความสะอาดตัวเองได้ด้วย อีกทั้งจากงานวิจัยของเจสสิกายังแสดงให้เห็นว่า สาหร่ายเหล่านี้กินสารอาหารและไซยาโนแบคทีเรียที่ผลิตออกซิเจนได้ โดยใช้วิธีการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ และมีชีวิตอยู่บนรองเท้าได้นานถึง 1 เดือนโดยไม่ต้องให้สารอาหารเสริม หรืออาจมากกว่านั้นหากได้รับการดูแลอย่างดี โดยจะสังเกตได้จากสีคลอโรฟิลล์ที่ค่อยๆ จางเมื่อสาหร่ายตายลง ปัจจุบัน Synthiesis เป็นนวัตกรรมใหม่ที่หลายคนอาจยังเข้าไม่ถึง แต่เจสสิกาหวังว่า รองเท้าคู่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นในอนาคตได้ Sources :Dezeen […]

‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ จุดเริ่มต้น F1 ที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน

‘ใครคือผู้ที่เร็วที่สุดในโลก’ คำถามที่หลายคนตั้งตารอในแต่ละปีสำหรับการแข่งขัน ‘Motorsport’ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ‘Formula 1’ หรือ ‘F1’ การแข่งขันรถยนต์สูตร 1 ที่ขับเคี่ยวกันด้วยความเร็วกว่า 300 กม./ชม. โดยทั้งนักแข่งและผู้ชมต่างก็โฟกัสที่ความเร็วเป็นหลัก โดยอาจลืมไปว่าในการแข่งขันรถยนต์นั้น สิ่งที่ตามมาคือการสิ้นเปลืองพลังงานและการปล่อยมลพิษทางอากาศปริมาณมหาศาล ด้วยจำนวนรถยนต์ 20 คันจากทั้งหมด 10 ทีม และการแข่งขัน 23 รายการทั่วโลก คือสาเหตุที่ทำให้การแข่งขัน F1 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 256,000 ตันในแต่ละฤดูกาล จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในแต่ละการแข่งขัน ซึ่งขัดกับเทรนด์โลกในปัจจุบันที่กำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ถึงอย่างนั้นทางผู้จัดเองก็ไม่ได้ละเลยปัญหาการสร้างมลภาวะนี้ และได้มองหาทางแก้ปัญหาที่สามารถจัดการไปพร้อมกับสร้างความสนุกสนานจากการแข่งขันได้ โดยมี ‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ (Singapore Grand Prix) การแข่งขัน F1 ในประเทศสิงคโปร์ เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ ‘สิงคโปร์’ จุดเริ่มต้นแห่ง Net Zero ของการแข่ง F1 ปัญหาการปล่อยมลภาวะจำนวนมากจากการแข่งขัน F1 ทำให้ ‘สหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA)’ หันมาให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น […]

น้ำหอมรักโลก ‘Air Eau de Parfum’ ทำจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หวังช่วยลดมลภาวะทางอากาศ

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวันมีส่วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้โลกของเราประสบปัญหาภาวะโลกร้อน แต่หากเราต้องการนำมลพิษเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์ จะเป็นไปในทางไหนได้บ้าง ‘AIR COMPANY’ บริษัทที่มีเป้าหมายเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นพลังงานที่ใช้ได้ไม่จำกัด ค้นพบวิธีใหม่ในการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นเอทานอล และนำมาผสมกับน้ำและน้ำมันหอมระเหย เพื่อผลิตเป็นน้ำหอมที่ไม่เหมือนใคร ด้วยข้อความบนแพ็กเกจผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า ‘กำลังทำให้ CO2 เป็นสิ่งสวยงาม’ เพราะ AIR COMPANY จะใช้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 3.6 กรัมที่ไม่ได้ปล่อยไปในบรรยากาศ มาใช้ทำน้ำหอม ‘Air Eau de Parfum’ ปริมาณ 50 มิลลิลิตร ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตน้ำหอมแต่ละขวดอาจทำให้น้ำหอม Air Eau de Parfum มีราคาสูงกว่า Coco Chanel No.5 ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน แม้ว่าเทคโนโลยีการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ใหม่จะเป็นวิธีเล็กๆ ที่มีศักยภาพในการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมได้ก็ตาม แต่ปัญหาด้านค่าใช้จ่าย การโน้มน้าวผู้ใช้เทคโนโลยีใหม่ และวิธีการขยายธุรกิจนี้ออกไปในระดับอุตสาหกรรมก็ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องหาแนวทางแก้ไขและพัฒนากันต่อไป ไม่แน่ว่าหลังจากนี้เราอาจจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้สร้างมลพิษมาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการลดมลพิษผ่านการใช้น้ำหอม Air Eau de Parfum นี้ก็ได้ […]

จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อย Carbon Footprint 400,000 ตัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต่างตื่นตัว เพราะสภาพแวดล้อมทุกวันนี้อยู่ในช่วงวิกฤต โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนัก (Climate Change) ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของทุกสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมทุกพื้นที่แปรเปลี่ยนไปตามๆ กัน คำว่า ‘ทั่วโลกตื่นตัว’ ในที่นี้ ไม่ใช่แค่เรื่องใหญ่ระดับชาติที่เหล่าผู้นำประเทศกังวลเท่านั้น แต่มันยังลงลึกไปถึงหน่วยย่อยในทุกอุตสาหกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน เพราะทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการผลิต การบริการ หรือสิ่งบันเทิงอย่าง ‘คอนเสิร์ต’ ก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดโลกร้อนไม่แพ้กัน ยิ่งหลังผ่านพ้นช่วงกักตัว คอนเสิร์ตก็กลับมาจัดขึ้นบ่อยครั้ง และมีคนให้ความสนใจจำนวนมาก เพราะทุกคนต่างโหยหากิจกรรมและความบันเทิงนอกบ้านที่ห่างหายไปนานหลายปี ในทางกลับกัน ปัญหาโลกร้อนยังคงมีอยู่และเกิดสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหนักจากฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 400,000 ตัน ปัจจุบันหลายองค์กรในอุตสาหกรรมพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงตามเป้าหมายที่กำหนด จึงต้องมีค่ากลางในการประเมิน และเกิดการจัดทำ ‘Carbon Footprint’ หนึ่งวิธีการวัดและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยขององค์กร โดยคิดตั้งแต่การผลิต การใช้งาน และการกำจัดของเสีย คำนวณออกมาเป็นตัวเลขหน่วยกรัม กิโลกรัม หรือตัน เพื่อนำผลลัพธ์ไปจัดการและบริหารการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในองค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รายงาน Tyndall […]

โควิด-19 สาเหตุที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของไทยลดลง?

ในปี 2563 ไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ อยู่ที่ 224.3 ล้านตัน CO2 ลดลงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้นตามนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของรัฐบาล รวมถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.