สำรวจนิยามครอบครัวหลากหลายผ่าน 5 รสชาติไอศกรีมที่ Diversity Cafe

ช่วงสัปดาห์ส่งท้ายเดือน Pride Month เราขอชวนทุกคนไปค้นหานิยามครอบครัวในแบบฉบับของตัวเองที่ ‘Diversity Cafe’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่อง ‘ครอบครัวหลากหลาย’ ภายใต้รูปแบบคาเฟ่ไอศกรีม เพื่อส่งเสริมสิทธิของทุกคนและทุกเพศอัตลักษณ์กับการสร้างครอบครัวในรูปแบบของตัวเอง นอกจากผู้เข้าร่วมงานจะได้ชิมไอศกรีม 5 รสชาติใหม่ๆ ที่สะท้อนรูปแบบครอบครัวในฝันของแต่ละคนแล้ว ภายในงานยังเล่าเรื่องของ 6 ครอบครัวที่มีนิยามแตกต่างกันเพื่อสะท้อนความหลากหลายในสังคมไทย รวมไปถึงปัญหาเชิงนโยบายและค่านิยมของสังคมที่มองคำว่าครอบครัวในนิยามของพ่อ-แม่-ลูกเท่านั้น นิทรรศการ Diversity Cafe จัดโดย Thailand Policy Lab ห้องปฏิบัติการนโยบาย ก่อตั้งโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) สยามพิวรรธน์ วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย และแสนสิริ จุดแรกที่นิทรรศการธีมคาเฟ่ไอศกรีมเตรียมไว้ต้อนรับเราคือ พื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘ครอบครัวยุคใหม่ในนิยามของฉัน’ ที่พาไปสำรวจนิยามของครอบครัวยุคปัจจุบันที่ไม่ได้จำกัดแค่พ่อ-แม่-ลูกเหมือนแต่ก่อน แต่มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น บางครอบครัวผูกพันกันทางสายเลือด ขณะที่บางครอบครัวอาจเป็นคู่รักเพศหลากหลายที่กฎหมายยังไม่รองรับ ครอบครัวที่อยู่กับเพื่อน ครอบครัวที่อยู่กับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ตัวเราคนเดียวก็เป็นครอบครัวให้ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย เช่น จำนวนคนอยู่คนเดียวที่เพิ่มสูงขึ้น คนไทยอายุยืนขึ้น คนไทยแต่งงานช้าลง คนไทยมีลูกน้อยลง ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]

ทางออกความรุนแรงผ่าน ‘แนวทางการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม’

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญความท้าทายทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ซับซ้อนและหลากมิติ ตั้งแต่ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติ ไปจนถึงการกีดกันหรือไม่ให้ความสำคัญกับชนกลุ่มน้อยทางด้านสัญชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษา ทั้งหมดนี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจและอาจเป็นแรงผลักให้บุคคลหรือกลุ่มคนไปสู่ ‘แนวความคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง’ (Violent Extremism) ในระดับสังคม ประเทศ และโลก ถือเป็นภัยคุกคามที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความรุนแรง รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟูมฟักของอุดมการณ์และความคิดสุดโต่งที่อาจพัฒนาไปเป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกแยกและความรุนแรง สหประชาชาติเสนอแนะให้ประเทศสมาชิกพิจารณาพัฒนา ‘แผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อป้องกันแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง’ (National Action Plans to Prevent Violent Extremism) เพื่อส่งเสริมแนวทางที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาต้นตอที่ทำให้คนหันไปนิยมแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง โดยแนวทางหลักที่ใช้คือ การสร้างความอดทนอดกลั้น เฉลิมฉลองความแตกต่างหลากหลาย และแก้ปัญหาตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับสถานะและความปลอดภัยของกลุ่มเปราะบาง ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นการทำงานร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของสังคม และระหว่างหน่วยงานรัฐทั้งองคาพยพ และที่สำคัญ เป็นแผนที่พัฒนาโดยแต่ละประเทศเอง จึงเหมาะสมกับบริบทของประเทศนั้นๆ แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีความรุนแรงสุดโต่งปรากฏให้เห็นชัด แต่สังคมไทยมีความท้าทายหลายมิติ โดยเฉพาะความท้าทายทางเศรษฐกิจ การเมือง และการเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่มคนชายขอบและกลุ่มเปราะบาง ที่ก่อให้เกิดการแบ่งฝักฝ่ายและขั้วความคิดที่ค่อนข้างชัดเจนขึ้น ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเหตุนี้ ประเทศไทยจึงลงนาม ‘แผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและการต่อต้านการขยายตัวของการบ่มเพาะแนวคิดหัวรุนแรงและแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง 2562 […]

‘ลัทธิชาตินิยามทางศาสนา’ คืออะไร ทำอย่างไรจึงจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และโอบรับความแตกต่างในสังคมได้

‘ศาสนา’ คือลัทธิความเชื่อของมนุษย์ ที่อธิบายการกำเนิดและความเป็นไปของโลก หลักศีลธรรม พิธีกรรม และความเชื่อ มากไปกว่านั้น ศาสนายังเป็นดั่งเข็มทิศที่กำหนดกรอบจริยธรรมให้ผู้นับถือปฏิบัติตาม ช่วยนำทางชีวิต และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นเรื่องปกติที่ประเทศจะมีศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่มีคนนับถือเป็นจำนวนมากกว่าศาสนาอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการนำ ‘อัตลักษณ์ทางศาสนา’ (Religious Identity) ไปหลอมรวมกับ ‘เอกลักษณ์ประจำชาติ’ (National Identity) จนเกิดเป็น ‘ลัทธิชาตินิยมทางศาสนา’ (Religious Nationalism) สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ศาสนาอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกแยกและกีดกันผู้นับถือศาสนาอื่น จนอาจลามไปถึงความขัดแย้งรุนแรงได้ ในหน้าประวัติศาสตร์ร่วมสมัย หลายต่อหลายครั้งพวกเราได้เห็นผลพวงจากการนำศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือ เช่น ในประเทศอินเดียที่พรรคการเมืองใช้วาทกรรมเหยียดศาสนาอิสลามเพื่อสร้างความนิยม และออกนโยบายเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม ‘กลุ่มรัฐอิสลาม’ หรือ ‘IS’ ที่ใช้ศาสนาอิสลามเป็นเครื่องมือรวบรวมกำลังพลและเป็นอุดมการณ์ในการก่อตั้งประเทศ และใช้ศาสนาเป็นข้ออ้างในการใช้ความรุนแรงอย่างสุดโต่งกับฝ่ายตรงข้ามและผู้เห็นต่าง และเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมโรฮิงญาในประเทศเมียนมาร์ที่กระทำโดยพลเมือง พระ และเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีบ่อเกิดความรุนแรงจากการโหมแนวคิดว่าชาวโรฮิงญาไม่ใช่ชาติพันธุ์ของประเทศเมียนมาร์ และเป็นภัยต่อศาสนาพุทธ ประเทศไทยเองก็เป็นดินแดนที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ถึงแม้จะไม่ได้มีความขัดแย้งระหว่างศาสนาอย่างชัดเจน และคนส่วนใหญ่ก็ให้ความเคารพในสิทธิการนับถือศาสนาที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนของชาวพุทธที่มีอย่างมากในประเทศไทย และสถานะของศาสนาพุทธที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีบทบาทอย่างมากกับสังคม ทำให้ในบางครั้งอาจเกิดการเคลื่อนไหวที่พยายามใช้ศาสนาพุทธในการขับเคลื่อนอุดมการณ์ชาตินิยมหรือทางการเมือง และมีการสร้างความหวาดระแวงต่อกลุ่มศาสนาอื่น โดยอ้างว่าเป็นภัยต่อศาสนาพุทธและประเทศ วาทกรรมเหล่านี้เป็นอันตรายต่อความตั้งใจของประเทศในการสร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย และเราจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรที่จะสามารถหยุดยั้งความขัดแย้งทางศาสนาก่อนที่จะปะทุไปเป็นความรุนแรง United Nations […]

สร้างความหลากหลายให้ผลิตภัณฑ์ทางเพศ ด้วยถุงยางอนามัยตามสีผิวครั้งแรกของโลก แถมยังย่อยสลายได้หลังการใช้งาน

ในยุคปัจจุบันที่สังคมค่อนข้างเปิดกว้าง ผู้คนกล้าพูดคุยถึงเรื่องทางเพศกันมากขึ้น แถมผลิตภัณฑ์ทางเพศอย่าง ‘ถุงยางอนามัย’ หลากหลายประเภทยังถูกผลิตและวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป มีตั้งแต่ถุงยางอนามัยกลิ่นสตรอว์เบอร์รี กลิ่นช็อกโกแลต หรือจะเลือกผิวสัมผัสและสีที่ต้องการก็ได้หมด ทั้งแดง ชมพู ดำ ทอง ฯลฯ แต่ทุกคนเคยสงสัยไหมว่า ทำไมถุงยางอนามัยถึงไม่มีสีที่เข้ากับสีผิวของ ‘คนผิวสี’ (People of Color) ด้วยเหตุนี้ ‘Roam’ แบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทางเพศกำลังท้าทายแนวคิดดังกล่าวด้วยการเปิดตัว ‘ถุงยางอนามัยที่มีสีผิว’ ครั้งแรกของโลก โดยทางบริษัทได้ทำงานร่วมกับที่ปรึกษาด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ ‘Word on the Curb’ เพื่อพัฒนาถุงยางที่รองรับโทนสีผิวที่หลากหลาย โดยอธิบายว่า การออกแบบที่ครอบคลุมนี้คือการเพิ่มทางเลือกและเป็นตัวแทนของผู้บริโภคทุกกลุ่ม โดยผลิตภัณฑ์นี้มีทั้งหมด 4 สี ได้แก่ สียางธรรมชาติ สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาล และสีน้ำตาลเข้ม นอกเหนือจากการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสำหรับผู้ที่มีสีผิวหลากหลายแล้ว ถุงยางอนามัยของ Roam ยังทำจากน้ำยางธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้หลังการใช้งาน มาพร้อมฟอยล์กระดาษแทนบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั่วไปเพื่อลดขยะอีกด้วย ที่สำคัญ ทุกการซื้อถุงยางอนามัย Roam จะบริจาคถุงยางอนามัยให้กับองค์กรการกุศลด้านสุขภาพทางเพศ ‘Brook’ เพื่อส่งเสริมการป้องกันทางเพศให้แก่ชุมชนที่การซื้อถุงยางอนามัยถูกตีตราและมองว่าเป็นเรื่องน่าอายด้วย Source : DesignTAXI | t.ly/Nxs43

โหลดฟรี! Welcoming the Rainbow คู่มือที่ช่วยให้ชาวพุทธรู้จักและเข้าใจความหลากหลาย

ขณะนี้ทั่วโลกเคลื่อนไหวและรณรงค์เกี่ยวกับ ‘กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ’ หรือ ‘LGBTQIA+’ อย่างกว้างขวางและหลากหลาย รวมไปถึงมีมูฟเมนต์จากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะศาสนาที่เริ่มเปิดกว้างและเปิดรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น  ‘Welcoming the Rainbow’ หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า ‘ยินดีที่มีรุ้ง’ คือคู่มือภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ LGBTQIA+ ให้กับชาวพุทธ ไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธที่เข้าวัดทำบุญ รวมไปถึงคนที่อยู่ในองค์กรและศูนย์ปฏิบัติธรรมต่างๆ เพื่อเปิดรับความหลากหลายของชุมชนชาวสีรุ้งมากขึ้น  คู่มือเล่มนี้มาพร้อมแนวทางด้านทัศนคติและการปฏิบัติให้แก่ชาวพุทธเพื่อทำให้กลุ่ม LGBTQIA+ รู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธอย่างแท้จริง เนื้อหาครอบคลุมสาระที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเพศหลากหลายอย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานที่ควรรู้ เช่น ความหมายและคำนิยามของอักษรย่อ LGBTQIA+ ความหมายของ ‘รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation)’ เช่น ‘เลสเบียน’ ‘เกย์’ ‘เควียร์’ และ ‘ไบเซ็กชวล’ ไปจนถึงวิธีหลีกเลี่ยงคำพูด คำถาม หรือแม้แต่การเล่าเรื่องตลกที่อาจก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเหมารวม และอคติทางเพศ ซึ่งจะทำให้ชาว LGBTQIA+ รู้สึกถูกโจมตีและละเมิดทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ คู่มือเล่มนี้ยังสอดแทรกด้วยภาพประกอบสีสันสดใสสวยงาม เช่นภาพการ์ตูนพระสงฆ์ และกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ สีผิว เชื้อชาติ และอายุ รวมไปถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาแต่ละบท เช่น ธงสีรุ้งและป้ายห้องน้ำสำหรับทุกเพศ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.